ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) (Academic
Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง “ประเมินความ
สุขของคนทำงาน (Happiness at Workplace) : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 - 60 ปีที่ทำงานในสถานประกอบการและองค์กรธุรกิจใน
เขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,023 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1-18 สิงหาคม 2551 ผลสำรวจพบว่า
จากการประเมินความสุขของคนทำงาน เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ค่าคะแนนความสุขในชีวิตโดยภาพรวมของคนทำงานอยู่ที่
7.05 คะแนน แต่เมื่อสอบถามถึงความสุขในการทำงานโดยภาพรวมกลับพบว่ามีค่าคะแนนความสุขต่ำกว่าคืออยู่ที่ 6.50 คะแนน อย่างไรก็ตาม ความสุข
ของคนทำงานในสถานประกอบการและองค์กรธุรกิจเหล่านี้ยังมีค่าคะแนนความสุขสูงกว่าความสุขมวลรวมของสาธารณชนคนไทยภายในประเทศที่อยู่
ระดับ 6.08 ในการวิจัยครั้งล่าสุดที่ผ่านมา
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อจำแนกออกตามฝ่าย/แผนกที่ทำงาน พบว่า คนที่ทำงานด้านการเงิน/การบัญชี มีค่าคะแนนความสุขต่ำที่สุด ในขณะที่
ด้านบุคคลหรือฝึกอบรม มีค่าคะแนนสูงสุด คือ 6.92 คะแนน รองลงมาคือ ไอที/คอมพิวเตอร์ได้ 6.60 คะแนน วิจัยและพัฒนาได้ 6.56 คะแนน
ประชาสัมพันธ์ได้ 6.49 คะแนน การตลาด/การขายได้ 6.43 คะแนน ธุรการได้ 6.42 คะแนน และการเงิน/การบัญชี ได้ 6.22 คะแนน ตาม
ลำดับ ยิ่งไปกว่านั้นผลสำรวจยังพบว่า คนทำงานในระดับที่แตกต่างกันจะมีความสุขในการทำงานแตกต่างกันไปด้วย โดยคนทำงานในระดับผู้จัดการฝ่าย
มีค่าคะแนนสูงสุดคือ 6.86 คะแนน รองลงมาคือ หัวหน้างาน ได้ 6.76 คะแนน ผู้จัดการแผนก 6.64 คะแนน ในขณะที่พนักงานทั่วไปได้คะแนนต่ำสุด
เพียง 6.39 คะแนนเท่านั้น
เมื่อจำแนกออกตามลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า เพศชายมีค่าคะแนนความสุขสูงกว่าเพศหญิง โดยได้ 6.68 คะแนน ใน
ขณะที่เพศหญิงได้ 6.41 คะแนน และคนที่ทำงานร่วมกับบริษัทหรือองค์กรมาอย่างยาวนานเกินกว่า 15 ปี จะมีความสุขในการทำงานสูงที่สุด คือ
6.88 คะแนน รองลงมาคือ ไม่เกิน 5 ปี ได้ 6.52 คะแนน ทำงานเกิน
10 ปีแต่ไม่เกิน 15 ปี ได้ 6.41 คะแนน และเกิน 5 ปีแต่ไม่เกิน 10 ปีได้ 6.38 คะแนน ตามลำดับ ผลสำรวจยังพบอีกว่า รายได้
จากการทำงานที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับความสุขในการทำงานที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งมีความสอดคล้องกันกับระดับของพนักงาน โดยคนทำงานที่ได้รับราย
ได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท มีค่าคะแนนความสุขในการทำงานต่ำที่สุด คือ 6.22 คะแนน ในขณะที่คนทำงานที่มีรายได้ต่อเดือน 40,000 บาทขึ้น
ไป มีค่าคะแนนความสุขในการทำงานสูงที่สุด คือ 7.00 คะแนน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สิ่งที่ทำให้คนทำงานมีความสุขหรือความทุกข์จากการทำงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงินเดือน รายได้ หรือสภาวะเศรษฐกิจ
เรื่องปากท้องเพียงอย่างเดียว เพราะงานวิจัยชิ้นนี้ได้ค้นพบองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความสุขในการทำงานหลายประการ โดยผลวิจัยพบว่า ความ
สุขของคนทำงานต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานมีค่าคะแนนสูงสุดคือ 6.75 คะแนน เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน รองลงมาคือสุขภาพกายได้คะแนน
6.66 คะแนน ในขณะที่ด้านสุขภาพใจ/อารมณ์ ความรู้สึกทั่วๆ ไป ได้ 6.65 คะแนน ด้านหัวหน้าที่รายงานตรงได้ 6.53 คะแนน ด้านสภาพแวดล้อมใน
ที่ทำงานได้ 6.31 คะแนน ด้านการใช้เวลา/การจัดแบ่งเวลาระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัวได้ 6.24 คะแนน ด้านการส่งเสริมรูปแบบการใช้ชีวิตในที่ทำ
งานกับชีวิตส่วนตัวได้ 6.22 คะแนน ด้านบริษัท/นโยบาย/ผลิตผล ได้ 6.19 คะแนน ด้านธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมได้ 6.14 คะแนน
และด้านงาน ความมั่นคง และความก้าวหน้าได้ 5.97 คะแนน ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน 3 อันดับแรก ได้แก่ งาน ความมั่นคง และความก้าวหน้า โดยมีค่าร้อย
ละจากการถ่วงน้ำหนักเท่ากับ 12.7 ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 12.3 และ หัวหน้างานที่รายงานตรง ร้อยละ 11.1 ตามลำดับ ที่น่า
สนใจและควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือปัจจัยทางด้านงาน ความมั่นคงและความก้าวหน้า เนื่องจากเป็นปัจจัยที่คนทำงานระบุว่ามีผลต่อความสุขใน
การทำงานมากที่สุด แต่กลับพบว่าคนทำงานมีค่าคะแนนความสุขต่อด้านนี้ต่ำที่สุด
เมื่อวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติวิจัยสัมประสิทธิ์การถดถอย พบปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน ได้แก่ งาน ความมั่นคง
และความก้าวหน้า (.151) ธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบต่อสังคม (.146) และการส่งเสริมรูปแบบการใช้ชีวิตในที่ทำงานกับชีวิตส่วนตัว
(.130) ตามลำดับ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คนทำงานมีความสุขในชีวิตมากกว่าในการทำงาน ในขณะที่ความความสุข
ในการทำงานก็มีความแตกต่างกันไปตามเพศ รายได้ ตำแหน่งหน้าที่ และลักษณะงานที่ทำ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานมากที่สุดคือ งาน
ความมั่นคงและความก้าวหน้า แต่คนทำงานกลับมีความสุขในด้านนี้ต่ำที่สุด การมุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถ
ตลอดจนเปิดโอกาสให้เจริญเติบโตในหน้าที่การงาน บนหลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมชุมชนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารควรพิจารณาให้ความ
สำคัญส่งเสริมรูปแบบการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในที่ทำงานกับชีวิตส่วนตัวของพนักงานเพื่อเติมความสุขในการทำงานของพนักงานให้มากยิ่งขึ้น
ต่อไป
รายละเอียดโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสร้างดัชนีชี้วัดและเกณฑ์ความสุขของคนทำงาน
2. เพื่อประเมินระดับความสุขในการทำงานของคนทำงาน
3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชนหรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัส
สัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง “ประเมินความสุขของคนทำงาน (Happiness at Workplace)” โดยศึกษากับคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพ
มหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,023 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 — 18 สิงหาคม 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบ
ถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์และให้ผู้ตอบแบบสอบถามตอบเอง หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบ
ถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 67.0 ระบุเป็นหญิง และร้อยละ 33.0 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 63.6 อายุไม่เกิน 30 ปี ร้อยละ 16.0 อายุระหว่าง 31-35 ปี ร้อยละ 10.4 อายุระหว่าง 36-40 ปี ร้อยละ 5.2 อายุ
ระหว่าง 41-45 ปี และร้อยละ 4.8 อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 72.8 ระบุเป็นโสด ร้อยละ 17.8 ระบุสมรสและมีบุตรแล้ว ร้อยละ 7.7 ระบุสมรสแต่ยังไม่มีบุตร และร้อยละ 1.7ระบุ
หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 55.7 ระบุว่ากำลังเลี้ยงดูบุตรที่อยู่ในบ้านเดียวกันจำนวน 1 คน ร้อยละ 30.3ระบุ 2 คน และ
ร้อยละ 14.0 ระบุ 3 คนขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาชั้นสูงสุดที่สำเร็จมา พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 2.9 ระบุมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 7.3 ระบุมัธยม
ศึกษาตอนปลาย/ปวช. ร้อยละ 8.2 ระบุอนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 70.4 ระบุปริญญาตรี และร้อยละ 11.2 ระบุสูงกว่าปริญญาตรี
เมื่อสอบถามถึงระดับพนักงาน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 72.9 ระบุระดับพนักงานทั่วไป ร้อยละ 13.9 ระบุระดับหัวหน้างานหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 6.6 ระบุระดับผู้จัดการฝ่ายหรือเทียบเท่า และร้อยละ 6.6 ระบุระดับผู้จัดการแผนกหรือเทียบเท่า และเมื่อพิจารณาถึงระยะเวลาที่ร่วมงาน
กับบริษัท พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 71.1 ระบุไม่เกิน 5 ปี ร้อยละ 14.0 ระบุระหว่าง 5-10 ปี ร้อยละ 7.4 ระบุระหว่าง 11-15 ปี และร้อยละ
7.5 ระบุมากกว่า 15 ปี
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงรายได้ส่วนตัว ซึ่งรวมถึงเงินเดือนและรายได้อื่นๆ ที่ได้จากบริษัทที่กำลังทำงาน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ
22.9 มีรายได้ส่วนตัวต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 45.1 อยู่ระหว่าง 10,000 — 19,999 บาท ร้อยละ 15.7 อยู่ระหว่าง 20,000 —
29,999 บาท ร้อยละ 7.9 อยู่ระหว่าง 30,000 — 39,999 บาท และร้อยละ 8.4 มีรายได้ตั้งแต่ 40,000 บาทขึ้นไป
สำหรับฝ่าย/แผนกที่ตัวอย่างทำงานอยู่ ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 30.1 ทำงานฝ่ายธุรการ/ประสานงาน ร้อยละ 18.8 ฝ่ายการ
ตลาด/การขาย ร้อยละ 16.8 ฝ่ายการเงิน/การบัญชี ร้อยละ 13.1 ฝ่ายบุคคล/ฝึกอบรม ร้อยละ 6.7 ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ร้อยละ 6.2 ฝ่ายไอที/
คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 5.5 ฝ่ายวิจัยและพัฒนา และร้อยละ 2.8 ทำงานเฉพาะทาง ได้แก่ แพทย์ พยาบาล ครู-อาจารย์
และเมื่อพิจารณาถึงประเภทธุรกิจที่ถูกสำรวจ พบว่า ร้อยละ 15.0 เป็นธุรกิจประเภทการเงิน/การธนาคาร/หลักทรัพย์ ร้อยละ 13.8
เป็นธุรกิจประเภทการค้า/นำเข้า/ส่งออก ร้อยละ 9.6 เป็นธุรกิจประเภทสินค้าอุปโภค/บริโภค ร้อยละ 8.1 เป็นธุรกิจประเภทค้าขายปลีก/ค้าขาย
ส่ง ร้อยละ 8.1 เป็นธุรกิจประเภทไอที/ซอร์ฟแวร์/โทรคมนาคม/อินเทอร์เน็ต/ฮาร์ดแวร์ ร้อยละ 5.7 เป็นธุรกิจประเภทอิเล็กโทรนิกส์/เครื่องใช้
ไฟฟ้า ร้อยละ 4.2 เป็นธุรกิจประเภทอสังหาริมทรัพย์ ร้อยละ 4.0 เป็นธุรกิจประเภทการท่องเที่ยว/การโรงแรม ร้อยละ 3.1 เป็นธุรกิจ
ประเภทการคมนาคมขนส่ง ร้อยละ 2.2 เป็นธุรกิจประเภทวิจัย/ที่ปรึกษาทางธุรกิจ และร้อยละ 4.6 เป็นหน่วยงานรัฐบาล และร้อยละ 21.6 เป็น
ธุรกิจประเภทอื่นๆ อาทิ สถานศึกษา โรงพยาบาล ธุรกิจด้านอาหาร บริษัทโฆษณา ฯลฯ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความสุขในการทำงานและความสุขในชีวิตโดยภาพรวมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ระดับความสุข ระดับคะแนน ระดับความสุข ระดับความสุขในชีวิต
ในการทำงาน
1. ไม่มีความสุขเลย 0 0.5 0.1
2. น้อย 1 0.2 0.4
2 1.9 0.7
3. ค่อนข้างน้อย 3 2.7 1
4 6 3.1
4. ปานกลาง/เฉยๆ 5 15.3 12.3
5. ค่อนข้างมาก 6 18.1 15
7 26.3 25
6. มาก 8 18.3 24.3
9 8.9 14.2
7. มีความสุขมากที่สุด 10 1.8 3.9
รวมทั้งสิ้น 100 100
ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ยของระดับความสุขในการทำงานและความสุขในชีวิตโดยภาพรวมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา คะแนนเฉลี่ย S.D. ต่ำสุด สูงสุด ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย
(ใช้ T-Test ในการวิเคราะห์)
1. ความสุขในการทำงานโดยภาพรวม 6.5 1.73 0 10 Sig. = 0.000*(แตกต่างกัน)
2. ความสุขในชีวิตโดยภาพรวม 7.05 1.62 0 10 Sig. = 0.000*(แตกต่างกัน)
ทดสอบค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ * Sig.< 0.05
ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยของระดับความสุขในการทำงานโดยภาพรวม ในรอบ 30 วันที่ผ่านมาเมื่อจำแนกตามเพศ
เพศ คะแนนเฉลี่ย S.D. ต่ำสุด สูงสุด ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย
(ใช้ T-Test ในการวิเคราะห์)
1. ชาย 6.68 1.66 0 10 Sig. = 0.002* (แตกต่างกัน)
2. หญิง 6.41 1.76 0 10 Sig. = 0.002* (แตกต่างกัน)
ทดสอบค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ * Sig.< 0.05
ตารางที่ 4 แสดงค่าเฉลี่ยของระดับความสุขในการทำงานโดยภาพรวม ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา จำแนกตามสถานภาพสมรส
สถานภาพสมรส คะแนนเฉลี่ย SD ต่ำสุด สูงสุด ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย
(ใช้ ANOVA ในการวิเคราะห์)
1. โสด 6.46 1.75 0 10 Sig. = 0.064(ไม่แตกต่างกัน)
2. สมรส - มีบุตร 6.64 1.67 0 10 Sig. = 0.064(ไม่แตกต่างกัน)
3. สมรส - ไม่มีบุตร 6.45 1.81 0 10 Sig. = 0.064(ไม่แตกต่างกัน)
4. หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ 6.26 1.65 2 9 Sig. = 0.064(ไม่แตกต่างกัน)
ทดสอบค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ * Sig.< 0.05
ตารางที่ 5 แสดงค่าเฉลี่ยของระดับความสุขในการทำงานโดยภาพรวม ในรอบ 30 วันที่ผ่านมาจำแนกตามระยะเวลาที่ร่วมงานกับบริษัท
ระยะเวลาที่ร่วมงานกับบริษัท คะแนนเฉลี่ย SD ต่ำสุด สูงสุด ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย
(ใช้ ANOVA ในการวิเคราะห์)
1. ไม่เกิน 5 ปี 6.52 1.71 0 10 Sig. = 0.064(ไม่แตกต่างกัน)
2. เกิน 5 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี 6.38 1.87 0 10 Sig. = 0.064(ไม่แตกต่างกัน)
3. เกิน 10 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี 6.41 1.7 2 10 Sig. = 0.064(ไม่แตกต่างกัน)
4. มากกว่า 15 ปี 6.88 1.6 3 10 Sig. = 0.064(ไม่แตกต่างกัน)
ทดสอบค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ * Sig.< 0.05
ตารางที่ 6 แสดงค่าเฉลี่ยของระดับความสุขในการทำงานโดยภาพรวม ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา จำแนกตามรายได้จากการทำงานต่อเดือน
รายได้จากการทำงาน คะแนนเฉลี่ย SD ต่ำสุด สูงสุด ผลการเปรียบเทียบ
ต่อเดือน คะแนนเฉลี่ย
(ใช้ ANOVA ในการวิเคราะห์)
1. ต่ำกว่า 10,000 บาท 6.22 1.78 0 10 Sig. = 0.000* (แตกต่างกัน)
2. 10,000 — 19,999 บาท 6.53 1.67 0 10 Sig. = 0.000* (แตกต่างกัน)
3. 20,000 — 29,999 บาท 6.7 1.73 0 10 Sig. = 0.000* (แตกต่างกัน)
4. 30,000 — 39,999 บาท 6.4 1.66 2 10 Sig. = 0.000* (แตกต่างกัน)
5. 40,000 บาทขึ้นไป 7 1.59 2 10 Sig. = 0.000* (แตกต่างกัน)
ทดสอบค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ * Sig.< 0.05
ตารางที่ 7 แสดงค่าเฉลี่ยของระดับความสุขในการทำงานโดยภาพรวม ในรอบ 30 วันที่ผ่านมาจำแนกตามระดับพนักงาน
ระดับพนักงาน คะแนนเฉลี่ย SD ต่ำสุด สูงสุด ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย
(ใช้ ANOVA ในการวิเคราะห์)
1. ผู้จัดการฝ่ายหรือเทียบเท่า 6.86 1.94 0 10 Sig. = 0.002*(แตกต่างกัน)
2. ผู้จัดการแผนกหรือเทียบเท่า 6.64 1.77 0 10 Sig. = 0.002*(แตกต่างกัน)
3. หัวหน้างานหรือเทียบเท่า 6.76 1.69 0 10 Sig. = 0.002*(แตกต่างกัน)
4. พนักงานทั่วไป 6.39 1.7 0 10 Sig. = 0.002*(แตกต่างกัน)
ทดสอบค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ * Sig.< 0.05
ตารางที่ 8 แสดงค่าเฉลี่ยของระดับความสุขในการทำงานโดยภาพรวม ในรอบ 30 วันที่ผ่านมาจำแนกตามฝ่าย/แผนก
ฝ่าย/แผนก คะแนนเฉลี่ย SD ต่ำสุด สูงสุด ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย
(ใช้ ANOVA ในการวิเคราะห์)
1.ธุรการ/ประสานงาน 6.42 1.8 0 10 Sig. = 0.004*(แตกต่างกัน)
2. การตลาด/การขาย 6.43 1.59 2 10 Sig. = 0.004*(แตกต่างกัน)
3. การเงิน/การบัญชี 6.22 1.85 0 10 Sig. = 0.004*(แตกต่างกัน)
4. บุคคล/ฝึกอบรม 6.92 1.66 2 10 Sig. = 0.004*(แตกต่างกัน)
5. วิจัยและพัฒนา 6.56 1.57 0 10 Sig. = 0.004*(แตกต่างกัน)
6. ไอที/คอมพิวเตอร์ 6.6 1.51 0 9 Sig. = 0.004*(แตกต่างกัน)
7. ประชาสัมพันธ์ 6.49 1.93 1 10 Sig. = 0.004*(แตกต่างกัน)
ทดสอบค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ * Sig.< 0.05
ตารางที่ 9 แสดงค่าเฉลี่ยของระดับความสุขในการทำงานโดยภาพรวม ในรอบ 30 วันที่ผ่านมาจำแนกตามประเภทธุรกิจ
ประเภทธุรกิจ คะแนนเฉลี่ย SD ต่ำสุด สูงสุด ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย
(ใช้ ANOVA ในการวิเคราะห์)
1. การคมนาคมขนส่ง 7.06 1.55 1 10 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
2. การค้า/นำเข้า/ส่งออก 6.36 1.63 0 9 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
3. การท่องเที่ยว/การโรงแรม 6.61 1.55 2 10 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
4. การเงิน/การธนาคาร/หลักทรัพย์ 6.42 1.83 2 10 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
5. ค้าขายปลีก/ค้าขายส่ง 6.52 1.57 2 10 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
6. สินค้าอุปโภค/บริโภค 6.66 1.56 2 10 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
7. อสังหาริมทรัพย์ 6.38 1.74 2 10 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
8. อิเล็กโทรนิกส์/เครื่องใช้ไฟฟ้า 6.64 1.54 2 10 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
9.ไอที/ซอฟท์แวร์/โทรคมนาคม/อินเทอร์เน็ต/ฮาร์ดแวร์ 6.50 2.03 0 10 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
10. วิจัย/ที่ปรึกษาทางธุรกิจ 6.15 1.66 2 8 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
11. หน่วยงานรัฐบาล 6.55 1.93 0 10 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
ทดสอบค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ * Sig.< 0.05
ตารางที่ 10 แสดงค่าเฉลี่ยของระดับความสุขในแต่ละองค์ประกอบ
องค์ประกอบ คะแนนเฉลี่ย SD ต่ำสุด สูงสุด
1. บริษัท/นโยบาย/ผลิตผล 6.19 1.79 0 10
2. สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน 6.31 1.79 0 10
3. หัวหน้างานที่รายงานตรง 6.53 2.15 0 10
4. ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 6.75 1.82 0 10
5. งาน ความมั่นคง และ ความก้าวหน้า 5.97 1.86 0 10
6. สุขภาพกาย 6.66 1.84 0 10
7. สุขภาพใจ/อารมณ์ ความรู้สึกทั่วๆ ไป 6.65 1.75 0 10
8. การใช้เวลา/การจัดแบ่งเวลาระหว่างงาน กับชีวิตส่วนตัว 6.24 1.87 0 10
9. การส่งเสริมรูปแบบการใช้ชีวิต ในที่ทำงานกับชีวิตส่วนตัว 6.22 1.57 0 10
10. ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม 6.14 1.79 0 10
ตารางที่ 11 การจัดอันดับปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน (ค่าร้อยละที่ได้รับการถ่วงน้ำหนักแล้ว)
อันดับที่ ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน ค่าร้อยละ
1 งาน ความมั่นคง และความก้าวหน้า 12.7
2 ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 12.3
3 หัวหน้างานที่รายงานตรง 11.1
4 สุขภาพกาย 10.9
5 สุขภาพใจ/อารมณ์ ความรู้สึกทั่วๆ ไป 10.8
6 สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน 10.8
7 บริษัท/นโยบาย/ผลิตผล 9.7
8 การใช้เวลา/การจัดแบ่งเวลาระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว 8.8
9 การส่งเสริมรูปแบบการใช้ชีวิตในที่ทำงานกับชีวิตส่วนตัว 7.2
10 ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม 5.7
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 12 แสดงค่าระดับความสุขในการทำงานโดยภาพรวม (ค่าที่ได้รับการถ่วงน้ำหนักแล้ว)
ความสุขในการทำงานโดยภาพรวม ค่าระดับความสุข
6.39
ตารางที่ 13 แสดงผลวิเคราะห์สถิติวิจัย ปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน (ค่า = .575)
อันดับที่ ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน ค่ามาตรฐานของสัมประสิทธิ์
การถดถอย
1 งาน ความมั่นคง และความก้าวหน้า 0.151
2 ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม 0.146
3 การส่งเสริมรูปแบบการใช้ชีวิตในที่ทำงานกับชีวิตส่วนตัว 0.13
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง “ประเมินความ
สุขของคนทำงาน (Happiness at Workplace) : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 - 60 ปีที่ทำงานในสถานประกอบการและองค์กรธุรกิจใน
เขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,023 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1-18 สิงหาคม 2551 ผลสำรวจพบว่า
จากการประเมินความสุขของคนทำงาน เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ค่าคะแนนความสุขในชีวิตโดยภาพรวมของคนทำงานอยู่ที่
7.05 คะแนน แต่เมื่อสอบถามถึงความสุขในการทำงานโดยภาพรวมกลับพบว่ามีค่าคะแนนความสุขต่ำกว่าคืออยู่ที่ 6.50 คะแนน อย่างไรก็ตาม ความสุข
ของคนทำงานในสถานประกอบการและองค์กรธุรกิจเหล่านี้ยังมีค่าคะแนนความสุขสูงกว่าความสุขมวลรวมของสาธารณชนคนไทยภายในประเทศที่อยู่
ระดับ 6.08 ในการวิจัยครั้งล่าสุดที่ผ่านมา
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อจำแนกออกตามฝ่าย/แผนกที่ทำงาน พบว่า คนที่ทำงานด้านการเงิน/การบัญชี มีค่าคะแนนความสุขต่ำที่สุด ในขณะที่
ด้านบุคคลหรือฝึกอบรม มีค่าคะแนนสูงสุด คือ 6.92 คะแนน รองลงมาคือ ไอที/คอมพิวเตอร์ได้ 6.60 คะแนน วิจัยและพัฒนาได้ 6.56 คะแนน
ประชาสัมพันธ์ได้ 6.49 คะแนน การตลาด/การขายได้ 6.43 คะแนน ธุรการได้ 6.42 คะแนน และการเงิน/การบัญชี ได้ 6.22 คะแนน ตาม
ลำดับ ยิ่งไปกว่านั้นผลสำรวจยังพบว่า คนทำงานในระดับที่แตกต่างกันจะมีความสุขในการทำงานแตกต่างกันไปด้วย โดยคนทำงานในระดับผู้จัดการฝ่าย
มีค่าคะแนนสูงสุดคือ 6.86 คะแนน รองลงมาคือ หัวหน้างาน ได้ 6.76 คะแนน ผู้จัดการแผนก 6.64 คะแนน ในขณะที่พนักงานทั่วไปได้คะแนนต่ำสุด
เพียง 6.39 คะแนนเท่านั้น
เมื่อจำแนกออกตามลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า เพศชายมีค่าคะแนนความสุขสูงกว่าเพศหญิง โดยได้ 6.68 คะแนน ใน
ขณะที่เพศหญิงได้ 6.41 คะแนน และคนที่ทำงานร่วมกับบริษัทหรือองค์กรมาอย่างยาวนานเกินกว่า 15 ปี จะมีความสุขในการทำงานสูงที่สุด คือ
6.88 คะแนน รองลงมาคือ ไม่เกิน 5 ปี ได้ 6.52 คะแนน ทำงานเกิน
10 ปีแต่ไม่เกิน 15 ปี ได้ 6.41 คะแนน และเกิน 5 ปีแต่ไม่เกิน 10 ปีได้ 6.38 คะแนน ตามลำดับ ผลสำรวจยังพบอีกว่า รายได้
จากการทำงานที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับความสุขในการทำงานที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งมีความสอดคล้องกันกับระดับของพนักงาน โดยคนทำงานที่ได้รับราย
ได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท มีค่าคะแนนความสุขในการทำงานต่ำที่สุด คือ 6.22 คะแนน ในขณะที่คนทำงานที่มีรายได้ต่อเดือน 40,000 บาทขึ้น
ไป มีค่าคะแนนความสุขในการทำงานสูงที่สุด คือ 7.00 คะแนน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สิ่งที่ทำให้คนทำงานมีความสุขหรือความทุกข์จากการทำงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงินเดือน รายได้ หรือสภาวะเศรษฐกิจ
เรื่องปากท้องเพียงอย่างเดียว เพราะงานวิจัยชิ้นนี้ได้ค้นพบองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความสุขในการทำงานหลายประการ โดยผลวิจัยพบว่า ความ
สุขของคนทำงานต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานมีค่าคะแนนสูงสุดคือ 6.75 คะแนน เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน รองลงมาคือสุขภาพกายได้คะแนน
6.66 คะแนน ในขณะที่ด้านสุขภาพใจ/อารมณ์ ความรู้สึกทั่วๆ ไป ได้ 6.65 คะแนน ด้านหัวหน้าที่รายงานตรงได้ 6.53 คะแนน ด้านสภาพแวดล้อมใน
ที่ทำงานได้ 6.31 คะแนน ด้านการใช้เวลา/การจัดแบ่งเวลาระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัวได้ 6.24 คะแนน ด้านการส่งเสริมรูปแบบการใช้ชีวิตในที่ทำ
งานกับชีวิตส่วนตัวได้ 6.22 คะแนน ด้านบริษัท/นโยบาย/ผลิตผล ได้ 6.19 คะแนน ด้านธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมได้ 6.14 คะแนน
และด้านงาน ความมั่นคง และความก้าวหน้าได้ 5.97 คะแนน ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน 3 อันดับแรก ได้แก่ งาน ความมั่นคง และความก้าวหน้า โดยมีค่าร้อย
ละจากการถ่วงน้ำหนักเท่ากับ 12.7 ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 12.3 และ หัวหน้างานที่รายงานตรง ร้อยละ 11.1 ตามลำดับ ที่น่า
สนใจและควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือปัจจัยทางด้านงาน ความมั่นคงและความก้าวหน้า เนื่องจากเป็นปัจจัยที่คนทำงานระบุว่ามีผลต่อความสุขใน
การทำงานมากที่สุด แต่กลับพบว่าคนทำงานมีค่าคะแนนความสุขต่อด้านนี้ต่ำที่สุด
เมื่อวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติวิจัยสัมประสิทธิ์การถดถอย พบปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน ได้แก่ งาน ความมั่นคง
และความก้าวหน้า (.151) ธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบต่อสังคม (.146) และการส่งเสริมรูปแบบการใช้ชีวิตในที่ทำงานกับชีวิตส่วนตัว
(.130) ตามลำดับ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คนทำงานมีความสุขในชีวิตมากกว่าในการทำงาน ในขณะที่ความความสุข
ในการทำงานก็มีความแตกต่างกันไปตามเพศ รายได้ ตำแหน่งหน้าที่ และลักษณะงานที่ทำ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานมากที่สุดคือ งาน
ความมั่นคงและความก้าวหน้า แต่คนทำงานกลับมีความสุขในด้านนี้ต่ำที่สุด การมุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถ
ตลอดจนเปิดโอกาสให้เจริญเติบโตในหน้าที่การงาน บนหลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมชุมชนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารควรพิจารณาให้ความ
สำคัญส่งเสริมรูปแบบการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในที่ทำงานกับชีวิตส่วนตัวของพนักงานเพื่อเติมความสุขในการทำงานของพนักงานให้มากยิ่งขึ้น
ต่อไป
รายละเอียดโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสร้างดัชนีชี้วัดและเกณฑ์ความสุขของคนทำงาน
2. เพื่อประเมินระดับความสุขในการทำงานของคนทำงาน
3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชนหรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัส
สัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง “ประเมินความสุขของคนทำงาน (Happiness at Workplace)” โดยศึกษากับคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพ
มหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,023 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 — 18 สิงหาคม 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบ
ถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์และให้ผู้ตอบแบบสอบถามตอบเอง หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบ
ถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 67.0 ระบุเป็นหญิง และร้อยละ 33.0 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 63.6 อายุไม่เกิน 30 ปี ร้อยละ 16.0 อายุระหว่าง 31-35 ปี ร้อยละ 10.4 อายุระหว่าง 36-40 ปี ร้อยละ 5.2 อายุ
ระหว่าง 41-45 ปี และร้อยละ 4.8 อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 72.8 ระบุเป็นโสด ร้อยละ 17.8 ระบุสมรสและมีบุตรแล้ว ร้อยละ 7.7 ระบุสมรสแต่ยังไม่มีบุตร และร้อยละ 1.7ระบุ
หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 55.7 ระบุว่ากำลังเลี้ยงดูบุตรที่อยู่ในบ้านเดียวกันจำนวน 1 คน ร้อยละ 30.3ระบุ 2 คน และ
ร้อยละ 14.0 ระบุ 3 คนขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาชั้นสูงสุดที่สำเร็จมา พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 2.9 ระบุมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 7.3 ระบุมัธยม
ศึกษาตอนปลาย/ปวช. ร้อยละ 8.2 ระบุอนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 70.4 ระบุปริญญาตรี และร้อยละ 11.2 ระบุสูงกว่าปริญญาตรี
เมื่อสอบถามถึงระดับพนักงาน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 72.9 ระบุระดับพนักงานทั่วไป ร้อยละ 13.9 ระบุระดับหัวหน้างานหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 6.6 ระบุระดับผู้จัดการฝ่ายหรือเทียบเท่า และร้อยละ 6.6 ระบุระดับผู้จัดการแผนกหรือเทียบเท่า และเมื่อพิจารณาถึงระยะเวลาที่ร่วมงาน
กับบริษัท พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 71.1 ระบุไม่เกิน 5 ปี ร้อยละ 14.0 ระบุระหว่าง 5-10 ปี ร้อยละ 7.4 ระบุระหว่าง 11-15 ปี และร้อยละ
7.5 ระบุมากกว่า 15 ปี
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงรายได้ส่วนตัว ซึ่งรวมถึงเงินเดือนและรายได้อื่นๆ ที่ได้จากบริษัทที่กำลังทำงาน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ
22.9 มีรายได้ส่วนตัวต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 45.1 อยู่ระหว่าง 10,000 — 19,999 บาท ร้อยละ 15.7 อยู่ระหว่าง 20,000 —
29,999 บาท ร้อยละ 7.9 อยู่ระหว่าง 30,000 — 39,999 บาท และร้อยละ 8.4 มีรายได้ตั้งแต่ 40,000 บาทขึ้นไป
สำหรับฝ่าย/แผนกที่ตัวอย่างทำงานอยู่ ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 30.1 ทำงานฝ่ายธุรการ/ประสานงาน ร้อยละ 18.8 ฝ่ายการ
ตลาด/การขาย ร้อยละ 16.8 ฝ่ายการเงิน/การบัญชี ร้อยละ 13.1 ฝ่ายบุคคล/ฝึกอบรม ร้อยละ 6.7 ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ร้อยละ 6.2 ฝ่ายไอที/
คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 5.5 ฝ่ายวิจัยและพัฒนา และร้อยละ 2.8 ทำงานเฉพาะทาง ได้แก่ แพทย์ พยาบาล ครู-อาจารย์
และเมื่อพิจารณาถึงประเภทธุรกิจที่ถูกสำรวจ พบว่า ร้อยละ 15.0 เป็นธุรกิจประเภทการเงิน/การธนาคาร/หลักทรัพย์ ร้อยละ 13.8
เป็นธุรกิจประเภทการค้า/นำเข้า/ส่งออก ร้อยละ 9.6 เป็นธุรกิจประเภทสินค้าอุปโภค/บริโภค ร้อยละ 8.1 เป็นธุรกิจประเภทค้าขายปลีก/ค้าขาย
ส่ง ร้อยละ 8.1 เป็นธุรกิจประเภทไอที/ซอร์ฟแวร์/โทรคมนาคม/อินเทอร์เน็ต/ฮาร์ดแวร์ ร้อยละ 5.7 เป็นธุรกิจประเภทอิเล็กโทรนิกส์/เครื่องใช้
ไฟฟ้า ร้อยละ 4.2 เป็นธุรกิจประเภทอสังหาริมทรัพย์ ร้อยละ 4.0 เป็นธุรกิจประเภทการท่องเที่ยว/การโรงแรม ร้อยละ 3.1 เป็นธุรกิจ
ประเภทการคมนาคมขนส่ง ร้อยละ 2.2 เป็นธุรกิจประเภทวิจัย/ที่ปรึกษาทางธุรกิจ และร้อยละ 4.6 เป็นหน่วยงานรัฐบาล และร้อยละ 21.6 เป็น
ธุรกิจประเภทอื่นๆ อาทิ สถานศึกษา โรงพยาบาล ธุรกิจด้านอาหาร บริษัทโฆษณา ฯลฯ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความสุขในการทำงานและความสุขในชีวิตโดยภาพรวมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ระดับความสุข ระดับคะแนน ระดับความสุข ระดับความสุขในชีวิต
ในการทำงาน
1. ไม่มีความสุขเลย 0 0.5 0.1
2. น้อย 1 0.2 0.4
2 1.9 0.7
3. ค่อนข้างน้อย 3 2.7 1
4 6 3.1
4. ปานกลาง/เฉยๆ 5 15.3 12.3
5. ค่อนข้างมาก 6 18.1 15
7 26.3 25
6. มาก 8 18.3 24.3
9 8.9 14.2
7. มีความสุขมากที่สุด 10 1.8 3.9
รวมทั้งสิ้น 100 100
ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ยของระดับความสุขในการทำงานและความสุขในชีวิตโดยภาพรวมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา คะแนนเฉลี่ย S.D. ต่ำสุด สูงสุด ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย
(ใช้ T-Test ในการวิเคราะห์)
1. ความสุขในการทำงานโดยภาพรวม 6.5 1.73 0 10 Sig. = 0.000*(แตกต่างกัน)
2. ความสุขในชีวิตโดยภาพรวม 7.05 1.62 0 10 Sig. = 0.000*(แตกต่างกัน)
ทดสอบค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ * Sig.< 0.05
ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยของระดับความสุขในการทำงานโดยภาพรวม ในรอบ 30 วันที่ผ่านมาเมื่อจำแนกตามเพศ
เพศ คะแนนเฉลี่ย S.D. ต่ำสุด สูงสุด ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย
(ใช้ T-Test ในการวิเคราะห์)
1. ชาย 6.68 1.66 0 10 Sig. = 0.002* (แตกต่างกัน)
2. หญิง 6.41 1.76 0 10 Sig. = 0.002* (แตกต่างกัน)
ทดสอบค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ * Sig.< 0.05
ตารางที่ 4 แสดงค่าเฉลี่ยของระดับความสุขในการทำงานโดยภาพรวม ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา จำแนกตามสถานภาพสมรส
สถานภาพสมรส คะแนนเฉลี่ย SD ต่ำสุด สูงสุด ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย
(ใช้ ANOVA ในการวิเคราะห์)
1. โสด 6.46 1.75 0 10 Sig. = 0.064(ไม่แตกต่างกัน)
2. สมรส - มีบุตร 6.64 1.67 0 10 Sig. = 0.064(ไม่แตกต่างกัน)
3. สมรส - ไม่มีบุตร 6.45 1.81 0 10 Sig. = 0.064(ไม่แตกต่างกัน)
4. หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ 6.26 1.65 2 9 Sig. = 0.064(ไม่แตกต่างกัน)
ทดสอบค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ * Sig.< 0.05
ตารางที่ 5 แสดงค่าเฉลี่ยของระดับความสุขในการทำงานโดยภาพรวม ในรอบ 30 วันที่ผ่านมาจำแนกตามระยะเวลาที่ร่วมงานกับบริษัท
ระยะเวลาที่ร่วมงานกับบริษัท คะแนนเฉลี่ย SD ต่ำสุด สูงสุด ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย
(ใช้ ANOVA ในการวิเคราะห์)
1. ไม่เกิน 5 ปี 6.52 1.71 0 10 Sig. = 0.064(ไม่แตกต่างกัน)
2. เกิน 5 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี 6.38 1.87 0 10 Sig. = 0.064(ไม่แตกต่างกัน)
3. เกิน 10 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี 6.41 1.7 2 10 Sig. = 0.064(ไม่แตกต่างกัน)
4. มากกว่า 15 ปี 6.88 1.6 3 10 Sig. = 0.064(ไม่แตกต่างกัน)
ทดสอบค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ * Sig.< 0.05
ตารางที่ 6 แสดงค่าเฉลี่ยของระดับความสุขในการทำงานโดยภาพรวม ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา จำแนกตามรายได้จากการทำงานต่อเดือน
รายได้จากการทำงาน คะแนนเฉลี่ย SD ต่ำสุด สูงสุด ผลการเปรียบเทียบ
ต่อเดือน คะแนนเฉลี่ย
(ใช้ ANOVA ในการวิเคราะห์)
1. ต่ำกว่า 10,000 บาท 6.22 1.78 0 10 Sig. = 0.000* (แตกต่างกัน)
2. 10,000 — 19,999 บาท 6.53 1.67 0 10 Sig. = 0.000* (แตกต่างกัน)
3. 20,000 — 29,999 บาท 6.7 1.73 0 10 Sig. = 0.000* (แตกต่างกัน)
4. 30,000 — 39,999 บาท 6.4 1.66 2 10 Sig. = 0.000* (แตกต่างกัน)
5. 40,000 บาทขึ้นไป 7 1.59 2 10 Sig. = 0.000* (แตกต่างกัน)
ทดสอบค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ * Sig.< 0.05
ตารางที่ 7 แสดงค่าเฉลี่ยของระดับความสุขในการทำงานโดยภาพรวม ในรอบ 30 วันที่ผ่านมาจำแนกตามระดับพนักงาน
ระดับพนักงาน คะแนนเฉลี่ย SD ต่ำสุด สูงสุด ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย
(ใช้ ANOVA ในการวิเคราะห์)
1. ผู้จัดการฝ่ายหรือเทียบเท่า 6.86 1.94 0 10 Sig. = 0.002*(แตกต่างกัน)
2. ผู้จัดการแผนกหรือเทียบเท่า 6.64 1.77 0 10 Sig. = 0.002*(แตกต่างกัน)
3. หัวหน้างานหรือเทียบเท่า 6.76 1.69 0 10 Sig. = 0.002*(แตกต่างกัน)
4. พนักงานทั่วไป 6.39 1.7 0 10 Sig. = 0.002*(แตกต่างกัน)
ทดสอบค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ * Sig.< 0.05
ตารางที่ 8 แสดงค่าเฉลี่ยของระดับความสุขในการทำงานโดยภาพรวม ในรอบ 30 วันที่ผ่านมาจำแนกตามฝ่าย/แผนก
ฝ่าย/แผนก คะแนนเฉลี่ย SD ต่ำสุด สูงสุด ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย
(ใช้ ANOVA ในการวิเคราะห์)
1.ธุรการ/ประสานงาน 6.42 1.8 0 10 Sig. = 0.004*(แตกต่างกัน)
2. การตลาด/การขาย 6.43 1.59 2 10 Sig. = 0.004*(แตกต่างกัน)
3. การเงิน/การบัญชี 6.22 1.85 0 10 Sig. = 0.004*(แตกต่างกัน)
4. บุคคล/ฝึกอบรม 6.92 1.66 2 10 Sig. = 0.004*(แตกต่างกัน)
5. วิจัยและพัฒนา 6.56 1.57 0 10 Sig. = 0.004*(แตกต่างกัน)
6. ไอที/คอมพิวเตอร์ 6.6 1.51 0 9 Sig. = 0.004*(แตกต่างกัน)
7. ประชาสัมพันธ์ 6.49 1.93 1 10 Sig. = 0.004*(แตกต่างกัน)
ทดสอบค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ * Sig.< 0.05
ตารางที่ 9 แสดงค่าเฉลี่ยของระดับความสุขในการทำงานโดยภาพรวม ในรอบ 30 วันที่ผ่านมาจำแนกตามประเภทธุรกิจ
ประเภทธุรกิจ คะแนนเฉลี่ย SD ต่ำสุด สูงสุด ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย
(ใช้ ANOVA ในการวิเคราะห์)
1. การคมนาคมขนส่ง 7.06 1.55 1 10 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
2. การค้า/นำเข้า/ส่งออก 6.36 1.63 0 9 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
3. การท่องเที่ยว/การโรงแรม 6.61 1.55 2 10 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
4. การเงิน/การธนาคาร/หลักทรัพย์ 6.42 1.83 2 10 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
5. ค้าขายปลีก/ค้าขายส่ง 6.52 1.57 2 10 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
6. สินค้าอุปโภค/บริโภค 6.66 1.56 2 10 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
7. อสังหาริมทรัพย์ 6.38 1.74 2 10 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
8. อิเล็กโทรนิกส์/เครื่องใช้ไฟฟ้า 6.64 1.54 2 10 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
9.ไอที/ซอฟท์แวร์/โทรคมนาคม/อินเทอร์เน็ต/ฮาร์ดแวร์ 6.50 2.03 0 10 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
10. วิจัย/ที่ปรึกษาทางธุรกิจ 6.15 1.66 2 8 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
11. หน่วยงานรัฐบาล 6.55 1.93 0 10 Sig. = 0.256(ไม่แตกต่างกัน)
ทดสอบค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ * Sig.< 0.05
ตารางที่ 10 แสดงค่าเฉลี่ยของระดับความสุขในแต่ละองค์ประกอบ
องค์ประกอบ คะแนนเฉลี่ย SD ต่ำสุด สูงสุด
1. บริษัท/นโยบาย/ผลิตผล 6.19 1.79 0 10
2. สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน 6.31 1.79 0 10
3. หัวหน้างานที่รายงานตรง 6.53 2.15 0 10
4. ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 6.75 1.82 0 10
5. งาน ความมั่นคง และ ความก้าวหน้า 5.97 1.86 0 10
6. สุขภาพกาย 6.66 1.84 0 10
7. สุขภาพใจ/อารมณ์ ความรู้สึกทั่วๆ ไป 6.65 1.75 0 10
8. การใช้เวลา/การจัดแบ่งเวลาระหว่างงาน กับชีวิตส่วนตัว 6.24 1.87 0 10
9. การส่งเสริมรูปแบบการใช้ชีวิต ในที่ทำงานกับชีวิตส่วนตัว 6.22 1.57 0 10
10. ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม 6.14 1.79 0 10
ตารางที่ 11 การจัดอันดับปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน (ค่าร้อยละที่ได้รับการถ่วงน้ำหนักแล้ว)
อันดับที่ ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน ค่าร้อยละ
1 งาน ความมั่นคง และความก้าวหน้า 12.7
2 ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 12.3
3 หัวหน้างานที่รายงานตรง 11.1
4 สุขภาพกาย 10.9
5 สุขภาพใจ/อารมณ์ ความรู้สึกทั่วๆ ไป 10.8
6 สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน 10.8
7 บริษัท/นโยบาย/ผลิตผล 9.7
8 การใช้เวลา/การจัดแบ่งเวลาระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว 8.8
9 การส่งเสริมรูปแบบการใช้ชีวิตในที่ทำงานกับชีวิตส่วนตัว 7.2
10 ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม 5.7
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 12 แสดงค่าระดับความสุขในการทำงานโดยภาพรวม (ค่าที่ได้รับการถ่วงน้ำหนักแล้ว)
ความสุขในการทำงานโดยภาพรวม ค่าระดับความสุข
6.39
ตารางที่ 13 แสดงผลวิเคราะห์สถิติวิจัย ปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน (ค่า = .575)
อันดับที่ ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน ค่ามาตรฐานของสัมประสิทธิ์
การถดถอย
1 งาน ความมั่นคง และความก้าวหน้า 0.151
2 ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม 0.146
3 การส่งเสริมรูปแบบการใช้ชีวิตในที่ทำงานกับชีวิตส่วนตัว 0.13
--เอแบคโพลล์--
-พห-