ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหา วิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สถานการณ์การใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชน กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 12- 24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,511 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10—17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พบว่า เด็กและเยาวชน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.1 ติดตามข่าวสารเป็นประจำผ่านสื่อโทรทัศน์ รองลงมาคือ ร้อยละ 54.4 ติดตามผ่านทางหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 54.2 ติดตาม ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 32.4 ติดตามผ่านทางวิทยุ เป็นต้น
แต่เมื่อถามถึงรายการโทรทัศน์ที่ติดตาม พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 64.3 ติดตามชม ละครโทรทัศน์ รองลงมาคือ ร้อยละ 57.9 ระบุ รายการเพลง ร้อยละ 55.6 ระบุ รายการข่าว หรือวิเคราะห์ข่าว ร้อยละ 44.5 ระบุรายการเกมโชว์ ร้อยละ 40.3 ระบุรายการวาไรตี้ หรือ ทอล์คโชว์ และร้อยละ 34.2 ระบุรายการการ์ตูน ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ เด็กและเยาวชนเกินครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 52.2 พบเห็นภาพความรักความอบอุ่นของครอบครัวผ่านรายการโทรทัศน์ บ่อยๆ รองลงมาคือ ร้อยละ 40.3 พบเห็นภาพการทำบุญทำทาน กิจกรรมทางศาสนาบ่อยๆ และเพียงร้อยละ 39.4 ที่พบเห็นภาพการบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อสังคม บ่อยๆ
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.8 พบเห็นภาพการใช้อาวุธ เช่น อาวุธปืน มีด ทำร้ายกันบ่อยๆ รองลงมา คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.5 พบเห็นภาพการต่อสู้ทำร้ายร่างกายกันบ่อยๆ ร้อยละ 51.4 พบเห็นภาพของสงครามและการฆาตกรรม บ่อยๆ ร้อยละ 49.3 พบเห็นภาพการคุกคามทางเพศ บ่อยๆ ร้อยละ 46.5 พบเห็นพฤติกรรมการพูดจาหยาบคาย ด่าทอ โต้เถียงกัน บ่อยๆ และร้อยละ 39.3 พบเห็น ภาพการทะเลาะวิวาทของคนในครอบครัว บ่อยๆ เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อถามถึงกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่เด็กและเยาวชนผู้ถูกศึกษาทำเป็นประจำในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ส่วน ใหญ่หรือร้อยละ 67.9 ระบุเรียนพิเศษ แต่ที่น่าพิจารณาคือ เด็กและเยาวชนในช่วงเศรษฐกิจถดถอยนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.4 ทำงานหารายได้ ทำงานพิเศษ ร้อยละ 53.0 ทำกิจกรรมเพื่อสังคมสาธารณะประโยชน์ แต่เพียงร้อยละ 44.5 อ่านหนังสือ ร้อยละ 42.9 เล่นกีฬา เล่นดนตรี และร้อย ละ 39.0 เท่านั้นที่ ทำบุญ หรือบริจาคทาน
ส่วนกิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.0 เล่นเกมคอมพิวเตอร์หรือเกมออนไลน์ประเภท เกมต่อสู้ เช่น ยิงปืน ฟัน เตะต่อย ร้อยละ 34.1 ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ ร้อยละ 25.9 เที่ยวกลางคืน เช่น ผับ ดิสโก้ คาราโอเกะ และที่น่าเป็นห่วงคือ เกือบ 1 ใน 4 หรือ ร้อยละ 23.7 หนีเรียน ร้อยละ 21.4 เล่นการพนัน ร้อยละ 16.7 เข้าร่วมกับกลุ่มเพื่อนบุกยกพวกตีกัน ร้อยละ 16.7 ทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นโดยใช้ กำลัง ร้อยละ 13.5 ใช้สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ และร้อยละ 14.1 ทะเลาะกับผู้อื่นโดยใช้อาวุธ
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ค่าสถิติวิจัยด้วยค่า Odds Ratio ทำให้เห็นพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชน อย่างชัดเจน ดังต่อไปนี้
เด็กและเยาวชนที่ใช้สารเสพติดประเภทต่างๆ ไม่นับรวมเหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์ มีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึงประมาณ 20 เท่า หรือ 19.75 เท่ามากกว่า เด็กและเยาวชนที่ไม่ใช้สารเสพติด
เด็กและเยาวชนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ มีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึง 9.34 เท่ามากกว่า กลุ่ม เด็กและเยาวชนที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เด็กและเยาวชนที่ติดเกมออนไลน์ เกมคอมพิวเตอร์ประเภทเกมต่อสู้มีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึง 3.43 เท่ามากกว่าเด็ก และเยาวชนที่ไม่ติดเกมออนไลน์
เด็กและเยาวชนที่พบเห็นภาพการใช้อาวุธทำร้ายกันผ่านรายการโทรทัศน์บ่อยๆ มีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึง 2.26 เท่า มากกว่าเด็กและเยาวชนที่ไม่พบเห็นภาพการใช้อาวุธทำร้ายกันในรายการโทรทัศน์
เด็กและเยาวชนที่พบเห็นการทำผิดกฎหมายของคนในชุมชนที่พักอาศัยมีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึง 1.70 เท่ามากกว่าเด็กและ เยาวชนที่ไม่พบเห็นการทำผิดกฎหมายของคนในชุมชน
เด็กและเยาวชนที่พบเห็นภาพการคุกคามทางเพศผ่านรายการโทรทัศน์มีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึง 1.54 เท่ามากกว่าเด็ก และเยาวชนที่ไม่พบเห็นภาพดังกล่าวในรายการโทรทัศน์
เด็กและเยาวชนที่มีปัญหาครอบครัวมีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึง 1.31 เท่ามากกว่าเด็กที่ไม่มีปัญหาครอบครัว
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่มีผลต่อการใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชนมากที่สุดคือ การใช้ สารเสพติดประเภทต่างๆ ตามด้วยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การติดเกมออนไลน์ การเห็นภาพการใช้อาวุธทำร้ายกันในรายการโทรทัศน์ การทำผิด กฎหมายของคนในชุมชนที่พักอาศัย การเห็นภาพคุกคามทางเพศในรายการโทรทัศน์ และการมีปัญหาครอบครัว ตามลำดับ ซึ่งหน่วยงานรัฐและผู้ใหญ่ใน สังคมที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องรีบเยียวยาปัญหาเหล่านี้ เพราะมิฉะนั้นแล้วจะมี “เหยื่อบริสุทธิ์” ของพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงจากกลุ่มเด็กและเยาวชน เพิ่มขึ้นอีกมากจนยากจะควบคุมสถานการณ์การใช้ความรุนแรงในสังคมไทยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องอาจแสดงความรับ ผิดชอบต่อสังคม ด้วยการเชิญชวนเด็กและเยาวชนทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์สะท้อนภาพของความรักความมีไมตรีจิตช่วยเหลือเกื้อกูลกันมากกว่ามุ่งแต่จะ ชนะกันด้วยอาวุธและกำลังและการกระทำที่ผิดกฎหมายของบ้านเมือง
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวต่อว่า มาตรการในการป้องกันแก้ไขต้องทำไปพร้อมๆ ร่วมกันของกลุ่มบุคคลต่างๆ ต่อไปนี้ ได้แก่
กลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องพูดคุยกับเด็กและเยาวชนแบบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกันและกันในการแก้ปัญหาความขัดแย้งภายในครอบครัว พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการเป็นผู้มีความมั่นคงในอารมณ์ ไม่ใช้ความรุนแรงเสียเอง ควรรวมตัวกันจัดตั้งเป็น “กลุ่มโรงเรียนพ่อแม่” เพื่อ พบปะพูดคุยทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์และแก้ปัญหาร่วมกันระหว่างครอบครัวกับครอบครัว
กลุ่มเด็กและเยาวชน ต้องรายงานทุกพฤติกรรมที่รุนแรงต่อครูอาจารย์ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา ผู้นำชุมชน และพ่อแม่ผู้ปกครองทราบ และเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ต่อต้านการใช้ความรุนแรงของสถานศึกษา วัด และชุมชน
กลุ่มวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน น่าจะลดการนำเสนอภาพการใช้ความรุนแรงในสถานศึกษา และชุมชน แต่ควรมุ่งเน้นการนำเสนอสาระของ เหตุการณ์ และข้อคิด เพื่อเตือนให้สังคมเกิดความตระหนักในปัญหาการใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กเยาวชน และควรรวมตัวกันเปิดเวทีสาธารณะในชุมชน ที่เป็นพื้นที่เกิดเหตุการณ์ใช้ความรุนแรงให้ชาวบ้านในชุมชนท้องที่มีส่วนร่วมสะท้อน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขต่อปัญหาที่ เกิดขึ้น
กลุ่มวิชาชีพด้านสาธารณสุข ต้องจัดตั้งกลุ่มเฝ้าระวังในพื้นที่ที่มีเหตุใช้ความรุนแรงเข้มลงไปทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ระดับสถานศึกษา และชุมชน เพื่อคิดค้นแนวทางป้องกันปัญหาจากสาเหตุที่อาจแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่น การให้คำแนะนำปรึกษา ให้ความรู้และแนวทางแก้ไขปัญหาการ ใช้ยาเสพติดและอาวุธในทางที่ผิด เชื่อมประสานสร้างเครือข่ายบริการเด็ก เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่รัฐในการดูแลรักษาพฤติกรรมการ ใช้ความรุนแรงที่มีผลมาจากปัญหาด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต เป็นต้น
กลุ่มบุคลากรด้านการศึกษา ต้องสร้างบรรยากาศความเชื่อ ทัศนคติและพฤติกรรมเชิงบวก ด้วยการทำให้เด็กและเยาวชนรู้สึกว่าตนเองมี คุณค่าต่อตัวเองและผู้อื่น และจากความเชื่อความรู้สึกดังกล่าวได้ทำให้เด็กและเยาวชนประสบความสำเร็จจริงๆ ในเรื่องการเรียน มีสุขภาวะทางด้าน จิตใจและอารมณ์ โดยต้องเริ่มดำเนินการมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วฉับไวเมื่อพบว่า มีจำนวนเด็กประมาณร้อยละ 10 ของนักเรียนทั้งหมด เริ่ม มีพฤติกรรมปัญหาที่รุนแรง และแจ้งให้หน่วยงานเฝ้าระวังอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องรับทราบเพื่อช่วยกันเยียวยาแก้ไขได้ทันท่วงที
กลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ออกกฎหมาย ต้องใช้มาตรการทางกฎหมายที่เด็ดขาดในการลดปัญหาเด็กและเยาวชนที่เข้าถึงการใช้อาวุธ ยา เสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่าย และถึงเวลาหรือยังต้องมีบทลงโทษพ่อแม่ผู้ปกครองที่ปล่อยปละละเลยให้เด็กและเยาวชนอยู่บ้าน หน้าจอ โทรทัศน์และเกมออนไลน์เพียงลำพัง
และรัฐบาลต้องเข้ามาร่วมสนับสนุนในการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ไม่ใช่เข้ามาแสดงบทบาทตามกระแสเพียง อย่างเดียว จึงจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ชาติเพื่อเฝ้าระวังดูแลรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชนแบบบูรณาการทุกหน่วยงานรัฐและทุกภาคส่วนของสังคม
รายละเอียดงานวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัม ชัญ ครั้งนี้ เรื่อง สถานการณ์การใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชน กรณีศึกษาเด็กเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้ง สิ้น 2,511 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10—17 กุมภาพันธ์ 2552 กลุ่มประชากรเป้าหมายคือเด็กและเยาวชนอายุ 12 — 24 ปี ใน เขตกรุงเทพมหานคร เทคนิคการสุ่มตัวอย่างคือ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร เป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้อง สมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 92 คน
ลำดับที่ สื่อที่ติดตามข่าวสารประจำวัน ค่าร้อยละ 1 โทรทัศน์ 91.1 2 หนังสือพิมพ์ 54.4 3 อินเทอร์เน็ต 54.2 4 วิทยุ 32.4 5 อื่นๆ อาทิเสียงตามสายในชุมชน /วิทยุชุมชน 5.3 6 ไม่ได้ติดตามข่าวเลย 0.9 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรายการโทรทัศน์ที่นิยมติดตามชม ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ รายการโทรทัศน์ที่นิยมติดตามชม ค่าร้อยละ 1 ละคร 64.3 2 รายการเพลง 57.9 3 รายการข่าว/วิเคราะห์ข่าว 55.6 4 รายการเกมโชว์ 44.5 5 วาไรตี้/ทอล์คโชว์ 40.3 6 การ์ตูน 34.2 7 กีฬา 29.2 8 ภาพยนตร์ต่างประเทศ 28.4 9 สารคดี 28.3 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการพบเห็นภาพเชิงสร้างสรรค์ในรายการโทรทัศน์ ภาพเชิงสร้างสรรค์ที่พบเห็นในรายการโทรทัศน์ พบเห็นบ่อย ไม่ค่อยบ่อย ไม่บ่อย รวมทั้งสิ้น 1. ภาพความรักความอบอุ่นของครอบครัว 52.2 26.6 21.2 100.0 2. ภาพการทำบุญทำทาน /กิจกรรมทางศาสนา 40.3 29.1 30.6 100.0 3. ภาพการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม 39.4 32.2 28.4 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการพบเห็นภาพการใช้ความรุนแรงในรายการโทรทัศน์ ภาพการใช้ความรุนแรงที่ปรากฎทางโทรทัศน์ พบเห็นบ่อย ไม่ค่อยบ่อย ไม่บ่อย รวมทั้งสิ้น 1. ภาพการใช้อาวุธทำร้ายกัน อาทิ อาวุธปืน มีด 60.8 17.8 21.4 100.0 2. ภาพพฤติกรรมการต่อสู้ทำร้ายร่างกายกัน 57.5 21.0 21.5 100.0 3. ภาพของสงครามและการฆาตกรรม 51.4 19.8 28.8 100.0 4. ภาพการคุกคามทางเพศ 49.3 20.4 30.3 100.0 5. ภาพพฤติกรรมการพูดจาหยาบคาย/ด่าทอ/โต้เถียงกัน/ ตะคอก หรือไม่ให้เกียรติคู่สนทนา 46.5 24.7 28.8 100.0 6. ภาพการทะเลาะวิวาทของคนในครอบครัว 39.3 25.8 34.9 100.0 7. ภาพพฤติกรรมการขว้างปาสิ่งของ /ทำลายข้าวของ หรือ ทรัพย์สินให้เสียหาย 36.4 23.4 40.2 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกิจกรรมที่ทำเป็นประจำในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ กิจกรรมที่ทำเป็นประจำในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 เรียนพิเศษ 67.9 2 ทำงานหารายได้/ทำงานพิเศษ 64.4 3 ทำกิจกรรมเพื่อสังคมสาธารณะประโยชน์ 53.0 4 อ่านหนังสือ/เข้าห้องสมุด 44.5 5 เล่นกีฬา/เล่นดนตรี 42.9 6 ทำบุญ/บริจาคทาน 39.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกิจกรรมเชิงไม่สร้างสรรค์ที่ทำในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ กิจกรรมเชิงไม่สร้างสรรค์ที่ทำในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 เล่นเกมคอมพิวเตอร์หรือเกมออนไลน์ประเภท เกมต่อสู้ เช่น ยิงปืน ฟัน เตะ ต่อย 55.0 2 การดื่มเหล้า/เบียร์/ไวน์/สปาย 34.1 3 เที่ยวกลางคืน เช่น ผับ/ดิสโก้/คาราโอเกะ 25.9 4 หนีเรียน/ไม่ไปเรียน 23.7 5 เล่นการพนัน 21.4 6 เข้าร่วมกับกลุ่มเพื่อนบุกทำร้าย ทะเลาะกับคนอื่น 16.7 7 ทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นโดยมีการใช้กำลังตบ ตี ต่อย 16.7 8 ใช้สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ (ไม่นับรวมเหล้า/เบียร์/ไวน์/สปาย และบุหรี่) 13.5 9 ทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นโดยใช้อาวุธสิ่งของ 14.1 ตารางที่ 7 แสดงค่าอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อการมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชน ลำดับที่ ปัจจัยที่มีผลต่อการมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชน Odds Ratio ค่านัยสำคัญ
(95% C I) p-value 1 ใช้สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ (ไม่นับรวม เหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สปาย)
ใช้ 19.75 0.000 ไม่ใช้ อ้างอิง 2 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาทิ เหล้า เบียร์ ไวน์ สปาย ดื่ม 9.338 0.000 ไม่ดื่ม อ้างอิง 3 การเล่นเกมออนไลน์/เกมคอมพิวเตอร์ประเภทเกมต่อสู้เช่น ยิงปืน ฟัน เตะ ต่อย เคยเล่น 3.433 0.000 ไม่เคยเล่น อ้างอิง 4 การพบเห็นภาพการใช้อาวุธทำร้ายกัน ผ่านทางรายการโทรทัศน์ เคยพบเห็น 2.263 0.028 ไม่เคยพบเห็น อ้างอิง 5 การพบเห็นการกระทำผิดกฎหมายของคนในชุมชนที่พักอาศัย เคยพบเห็น 1.703 0.000 ไม่เคยพบเห็น อ้างอิง 6 การพบเห็นภาพการคุกคามทางเพศ ผ่านทางโทรทัศน์ เคยพบเห็น 1.544 0.074 ไม่เคยพบเห็น อ้างอิง 7 การมีปัญหาครอบครัว มีปัญหาครอบครัว 1.314 0.011 ไม่มีปัญหาครอบครัว อ้างอิง --เอแบคโพลล์-- -พห-