ฮ่องกง--12 พ.ย.--ซินหัว-พีอาร์นิวสไวร์-เอเชียเน็ท
มูลค่าความเสียหายจากการโจรกรรมในร้านค้าปลีกมีสัดส่วนเทียบเท่ากับอัตราการชำระ "ภาษี" รายปีของพลเมืองดีที่คิดเป็นเงินเกือบ 230 ดอลลาร์สหรัฐต่อครัวเรือน
การศึกษาระดับการโจรกรรมในร้านค้าปลีกทั่วโลกประจำปีครั้งที่สองระบุว่า มูลค่าความเสียหายจากการโจรกรรมสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วโลกมีจำนวนสูงถึง 1.045 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ทั้งเจ้าของธุรกิจค้าปลีกและลูกค้ามีแนวโน้มต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่อัตราการสูญหายของสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วโลกซึ่งคิดเทียบกับยอดขายโดยรวมนั้นปรับตัวลดลงเล็กน้อยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา แต่มูลค่าความเสียหายจากการโจรกรรมในร้านค้าปลีกกลับเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
(โลโก้: http://www.xprn.com/xprn/sa/200701241626.jpg )
"ความเสียหายจากการโจรกรรมสินค้ามิได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ค้าปลีกเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและสังคมเป็นวงกว้าง" รอบ ฟาน เดอร์ เมอร์เว ประธานและซีอีโอของเช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนการศึกษาครั้งนี้กล่าว "ปัญหาสินค้าสูญหายถือเป็นภัยร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อเม็ดเงินในบัญชีของผู้ค้าปลีก รวมถึงเงินภาษีของประชาชนที่พวกเขาต้องเจียดเงินรายได้ภาคครัวเรือนส่วนหนึ่งมาให้กับประเทศท่ามกลางภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ"
การศึกษาระดับการโจรกรรมในธุรกิจค้าปลีกทั่วโลก (The Global Retail Theft Barometer หรือ GRTB) เป็นผลสำรวจประจำปีที่จัดทำโดยศูนย์วิจัยธุรกิจค้าปลีกในเมืองนอตติ้งแฮม สหราชอาณาจักร ภายใต้การสนับสนุนของบริษัท เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ โดยผลการสำรวจในปีนี้สามารถกล่าวได้ว่าเป็นการวิเคราะห์อัตราการสูญหายสินค้าระดับโลกที่สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่เคยทำมาซึ่งได้เปิดเผยถึงข้อเท็จจริงที่สำคัญเกี่ยวกับปัญหาสินค้าสูญหายและการโจรกรรมสินค้าใน 36 ประเทศทั่วโลกจาก 5 ทวีป ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจากการสำรวจร้านค้าปลีกขนาดใหญ่อย่างลับๆจำนวน 920 ร้านโดยมียอดขายรวมกันทั้งสิ้น 8.14 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และร้านค้าย่อยอีก 115,612 แห่ง ตัวเลขทั้งหมดในรายงานดังกล่าวมาจากการสำรวจภายในระยะเวลา 12 เดือนที่สิ้นสุด ณ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551
ความเสียหายจากการโจรกรรมในร้านค้าปลีกทั่วโลก
มูลค่าความเสียหายจากปัญหาสินค้าสูญหายในร้านค้าปลีกทั่วโลก (เปรียบเทียบสัดส่วนของสินค้าในสต็อกที่สูญหายจากการโจรกรรมหรือใช้งานไม่ได้กับยอดขาย) นั้นอยู่ที่ระดับ 1.045 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่ผ่านมา ซึ่งมีสัดส่วนเทียบเท่ากับ 1.34% ของยอดขายในร้านค้าปลีก โดยมูลค่าของสินค้าที่สูญหายในอเมริกาเหนือมียอดรวมอยู่ที่ 4.2338 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมีสัดส่วนเท่ากับ 1.48% ของยอดขาย โดยในจำนวนนี้มีสหรัฐที่รายงานตัวเลขสูงสุด
ข้อมูลจากทั่วโลกสะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าของสินค้าสูญหายที่ปรับตัวลดลง 1.56 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (-1.5%) เมื่อเทียบกับปีพ.ศ. 2550 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามที่เพิ่มขึ้นและอัตราการสูญหายของสินค้าที่ลดลงเล็กน้อย ขณะที่ความเสียหายโดยรวมของการโจรกรรมในร้านค้าปลีกเพิ่มขึ้น 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐนับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ความเสียหายจากการโจรกรรมในร้านค้าปลีกนั้นคำนวณจากการขโมยสินค้าของลูกค้า พนักงาน และซัพพลายเออร์/ผู้ค้า (ไม่รวมถึงความผิดพลาดภายในร้าน) รวมกับค่าใช้จ่ายในการป้องกันการสูญหายของสินค้าซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 1.1278 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปีพ.ศ.2551 เมื่อเทียบกับระดับ 1.081 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่ผ่านมา
"ข้อมูลข้างต้นนี้สามารถสรุปได้ว่าความเสียหายจากการโจรกรรมในร้านค้าปลีกมีสัดส่วนเทียบเท่ากับอัตราการชำระภาษีของพลเมืองดีที่ 229.73 ดอลลาร์ต่อครัวเรือน หรือ 71.12 ดอลลาร์ต่อคนใน 36 ประเทศที่ทำการสำรวจ" ศาสตราจารย์แบมฟิลด์ ผู้อำนวยการประจำศูนย์การวิจัยธุรกิจค้าปลีกกล่าว
ใครรับผิดชอบ?
พนักงานในร้านเป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งที่ทำให้สินค้าในร้านค้าปลีกในภูมิภาคอเมริกาเหนือและลาตินอเมริกาสูญหาย (46.3% และ 42.0% ตามลำดับ) ขณะที่ในเอเชียแปซิฟิกและยุโรปนั้น สินค้าที่สูญหายส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากลูกค้าที่เข้ามาลักขโมยสินค้าในร้าน (53.8% และ 46.8% ตามลำดับ)
ขณะที่ผลการศึกษารวมทุกภูมิภาคระบุว่า ลูกค้าที่ประพฤติตัวเป็นหัวขโมย ทั้งพวกรายเล็กและรายใหญ่ซึ่งทำเป็นขบวนการ ยังคงเป็นต้นเหตุใหญ่สุดของการขโมยสินค้าภายในร้าน ซึ่งคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (41.2% ของสินค้าที่สูญหายทั้งหมด) ขณะที่ การขโมยสินค้าโดยพนักงานในร้าน คิดเป็น 36.5% (3.81 หมื่นล้านดอลลาร์) และ อีก 5.8% (6.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ของมูลค่าความสูญเสียเป็นผลจากการโจรกรรมสินค้าจากพวกซัพพลายเออร์และการยักยอกในระบบซัพพลายเชน ส่วนความผิดพลาดภายในองค์กรและความผิดพลาดด้านงานธุรการ (เช่น การกำหนดราคา หรือความผิดพลาดด้านบัญชี) อยู่ที่ 16.5% (1.72 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ)
จำนวนของลูกค้าที่ประพฤติตัวเป็นหัวขโมยกำลังเพิ่มมากขึ้นในภูมิภาคอเมริกาเหนือและเอเชียแปซิฟิก โดยเพิ่มขึ้นในสัดส่วน 3.1% และ 2.3% ตามลำดับ ขณะที่ ในยุโรป การขโมยสินค้าโดยพนักงานเพิ่มขึ้นจาก 28.6% เป็น 30.5%
บรรดาผู้ค้าปลีกรายงานว่า การขโมยสินค้าคิดเป็น 38.4% (หรือ 1.46 หมื่นล้านดอลลาร์) ของการทุจริตฉ้อโกงทั้งหมดภายในองค์กร ขณะที่เกือบ 1 ใน 4 (23.8%) ของมูลค่าความเสียหายภายในองค์กร เป็นการขโมยในรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ การขโมยเงินสด คูปอง บัตรกำนัล หรือบัตรของขวัญ (มากกว่า 9 พันล้านดอลลาร์)
ระบบและกรรมวิธีป้องกันการสูญหายในปัจจุบันช่วยให้ร้านค้าปลีกจับกุมลูกค้าและพนักงานที่เป็นหัวขโมยได้เกือบ 5.3 ล้านรายในช่วงปีพ.ศ. 2550-2551 ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนมากเป็นลูกค้า (84.6%) มูลค่าความเสียหายโดยเฉลี่ยต่อครั้งจากลูกค้าที่เป็นหัวขโมยอยู่ที่ 328 ดอลลาร์ ส่วนมูลค่าความเสียหายโดยเฉลี่ยต่อครั้งจากพนักงานที่เป็นหัวขโมยมากกว่าถึง 5.6 เท่า อยู่ที่ 1,842 ดอลลาร์ สำหรับมูลค่าความเสียหายจากการโจรกรรมรวมทั้งสิ้นอยู่ที่ 3 พันล้านดอลลาร์
“บทบาทหลักของระบบ Shrink Management Systems ก็คือการสร้างอุปสรรคกีดขวางพวกหัวขโมย ด้วยการทำให้การวิเคราะห์ความเสี่ยงหรือผลตอบแทนมีความน่าดึงดูดใจน้อยลงสำหรับผู้ที่อาจเป็นขโมย” เพอร์ เลอวิน ประธานฝ่าย Shrink Management Solutions บริษัท เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ กล่าว “ผู้คนเคยชินกับวิถีชีวิตบางอย่าง และจะทำซ้ำๆ แม้ว่าพวกเขาจะต้องเสียงานไปหรือได้ค่าตอบแทนน้อยลงอันเนื่องมาจากเศรษฐกิจตกต่ำ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ระบบและกระบวนการจะต้องได้รับการปรับปรุงขึ้น”
ร้านค้าปลีกในยุโรปและอเมริกาเหนือสามารถจับกุมตัวพวกที่ก่อคดีโจรกรรมสินค้าในร้านมากที่สุด (2.8 ล้าน และ 2.1 ล้านราย ตามลำดับ) โดยรายงานระบุว่า ภูมิภาคอเมริกาเหนือจับกุมพนักงานที่เป็นผู้ลักขโมยสินค้าได้มากที่สุดที่ 32.3%
การโกงสินค้าที่ลูกค้านำมาแลกเงินคืนและสินค้าลดราคาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งรวมถึง 19.37% ของการทุจริตภายในองค์กร (7.5 พันล้านดอลลาร์) หรือเพิ่มขึ้นถึง 34% นับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ขณะที่การสมรู้ร่วมคิดกันยักยอกสินค้าคิดเป็น 10.3% ของมูลค่าความเสียหาย (3.9 พันล้านดอลลาร์) การทุจริตทางการบัญชีก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยคิดเป็น 7.8% ของมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทุจริตภายในองค์กร (2.97 พันล้านดอลลาร์)
นอกจากนี้ ภูมิภาคอเมริกาเหนือยังได้รายงานมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยสูงสุดอันเนื่องมาจากพฤติกรรมการขโมยของลูกค้า โดยคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย 747 ดอลลาร์ต่อการขโมยในแต่ละครั้ง มูลค่าเฉลี่ยที่สูงในอเมริกาเหนือสะท้อนเป็นผลมาจากอาชญากรรมค้าปลีกที่มีการทำเป็นขบวนการ เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าความเสียหายจากการขโมยสินค้าต่อครั้งในภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งน้อยกว่านี้มาก ตัวอย่างเช่น ในยุโรปมีมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยอยู่ที่ 108 ดอลลาร์ และในแอฟริกาเพียง 35 ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ในยุโรป มูลค่าความเสียหายเฉลี่ยที่เกิดจากการยักยอกสินค้าโดยพนักงานในร้านต่อครั้งอยู่ที่ 3,145 ดอลลาร์ (สูงกว่าในอเมริกาเหนือซึ่งอยู่ที่ 1,391 ดอลลาร์) ขณะที่ส่วนในเอเชียแปซิฟิก มูลค่าความเสียหายเฉลี่ยจากการขโมยสินค้าโดยพนักงานอยู่ที่ 395 ดอลลาร์ต่อครั้ง
คุณฟาน เดอร์ เมอร์เว กล่าวว่า “ภายใต้สถานการณ์ที่ผันผวนในปัจจุบัน เราเชื่อว่า อุตสาหกรรมค้าปลีกจะสามารถเรียนรู้ได้บ้างจากข้อมูลที่ได้มีการเปิดเผยในผลการศึกษา GRTB ปีนี้ เราคาดว่า ยอดการขโมยสินค้าปลีกที่สูงขึ้นที่ได้มีการเปิดเผยในผลการศึกษาดังกล่าวจะส่งผลโดยตรงที่ทำให้เศรษฐกิจของเราอยู่ในช่วงขาลง”
สินค้าที่ถูกโจรกรรมมากที่สุด
“ข้อมูลที่น่าสนใจอีกประเด็นที่ได้มีการเปิดเผยในผลการสำรวจคือ กลุ่มผู้ค้าปลีกทั่วไปจะไม่คุ้มครองสินค้าที่ติดอันดับ 1 — 50 รายการที่ถูกขโมยมากที่สุด โดยคิดเป็นสัดส่วนถึงเกือบ 1 ใน 3 (30.3%)” ฟาน เดอ เมอร์เว กล่าว “สถิติดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการแก้ปัญหาในทันที โดยในขณะที่ภาวะเศรฐกิจถดถอยเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการโจรกรรมสินค้ามากขึ้น เราก็ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับกลุ่มผู้ค้าปลีก เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่มีความท้าทายมากที่สุด กลุ่มผู้ค้าปลีกส่วนใหญ่เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการปรับปรุงโครงการบริหารจัดการสินค้าสูญหาย และถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะพัฒนาวิธีการขึ้นมาอย่างมีเป้าหมายเพื่อคุ้มครองสินค้าที่ถูกโจรกรรมมากที่สุดไม่ให้ประสบภาวะขาดทุนในปีหน้า”
ผลการศึกษาในทุกภูมิภาคระบุว่า เหล่าหัวขโมยเองก็ยึดติดกับประเภทของสินค้าด้วยเช่นกัน โดยสินค้าที่ล่อตาล่อใจหัวขโมยมากที่สุดได้แก่ ใบมีดโกน ผลิตภัณฑ์โกนหนวด เครื่องสำอาง ครีมทาหน้า น้ำหอม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื้อสด ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีราคาแพง นมสำหรับเด็กทารก ซีดีและดีวีดี สินค้าแฟชั่น เกมอิเล็คทรอนิค โทรศัพท์มือถือ และนาฬิกา
กลุ่มผู้ค้าปลีกได้ประเมินว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ขโมยจะขโมยสินค้าชนิดใหม่ไปในสัดส่วน 2-5% สินค้าที่ได้รับความนิยม เช่น หนังสือแฮร์รี่ พ็อตเตอร์ เกมอิเล็คทรอนิค และดีวีดีใหม่ๆนั้น หายสูงถึง 8% ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนสินค้า
การป้องกันการสูญหายและผลกระทบของเทคโนโลยี EAS
ค่าใช้จ่ายในการป้องกันการสูญหายทั่วโลกอยู่ที่ 2.54 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 0.33% ของยอดขายปลีก นับเป็นตัวเลขที่ลดลงจากระดับปีที่แล้ว 0.35%
เทคโนโลยีการติดตามการโจรกรรมสินค้าแบบอิเล็คทรอนิค (EAS) เป็นวิธีการที่สำคัญในการคุ้มครองสินค้าที่ถูกขโมยสูง (ซึ่งมีการใช้งานสำหรับสินค้าต่างๆ 38.3%) ส่วนวิธีการอื่นๆในการป้องกัน ได้แก่ การจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัย การจัดแสดงสินค้าบนชั้นวางที่สามารถล็อคไว้ได้ การติดตั้งสัญญาณเตือนภัย การใช้กล่องสินค้าจำลอง หรือระบบการออกตั๋ว (4.1%)
กลุ่มผู้ค้าปลีกในอเมริกาเหนือและลาตินอเมริกา มีต้นทุนในการป้องกันการสูญหายของสินค้าสูงขึ้นพอๆกับเปอร์ซ็นต์การขาย (0.43%) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ค้าปลีกในภูมิภาคอื่นๆ และมีแนวโน้มว่าจะใช้เทคโนโลยี EAS มากขึ้น
ในอเมริกาเหนือและลาตินอเมริกา มีการใช้เทคโนโลยี EAS กับสินค้าที่เสี่ยงจะถูกขโมยสูงในสัดส่วน 43.5% เมื่อเปรียบเทียบกับในยุโรปที่ 36% และเอเชียแปซิฟิก/แอฟริกาที่ 31.3% อัตราการใช้แถบป้าย EAS กับสินค้าที่ถูกขโมยสูงในอเมริกาเหนือและลาตินอเมริกาอยู่ที่ 13.7% เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในยุโรปที่ 7.9% เอเชียแปซิฟิก/แอฟริกาที่ 3.6%
“เราหวังว่า กลุ่มผู้ค้าปลีกทั่วโลกจะใช้ข้อมูลจาก GRTB ในปีนี้ เป็นเครื่องมือทำความเข้าใจเรื่องแนวโน้มสินค้าสูญหายได้ดีขึ้น” ฟาน เดอ เมอร์เว กล่าว “ในช่วงที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจอ่อนแอนั้น ยอดสินค้าสูญหายมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่กลุ่มผู้ค้าปลีกจะยังคงระมัดระวัง เป้าหมายของเราก็คือการให้การสนับสนุนการจัดทำรายงาน เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีก และผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันสินค้าสูญหายได้สรรหาวิธีการรับมือที่ทันสมัยใหม่ๆมาเพื่อรับมือกับการขโมยสินค้าท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
ผลการสำรวจ
บริษัททั้งหมด 212 แห่งในอเมริกาเหนือ (ซึ่งมียอดขายรวม 3.28 แสนล้านดอลลาร์) บริษัท 502 แห่งในยุโรป (ยอดขาย 4.16 แสนล้านดอลลาร์) บริษัท 131 แห่งจากเอเชียแปซิฟิก (5.2 หมื่นล้านดอลลาร์) บริษัท 57 แห่งจากลาตินอเมริกา ( 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์) และบริษัทในแอฟริกา 18 แห่ง (3.3 พันล้านดอลลาร์) ที่ร่วมตอบแบบสอบถามที่ถูกส่งไปยังธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ 3,900 แห่งนั้น ครอบคลุมธุรกิจค้าปลีกประเภทใหญ่ๆทั้งหมดใน 36 ประเทศที่ได้มีการสำรวจ อัตราการตอบแบบสำรวจอยู่ที่ 23.6% โดยในปีนี้ การสำรวจได้ขยายขอบเขตและรวมข้อมูลจากอาร์เจนติน่า บราซิล เม็กซิโก แอฟริกาใต้ และมาเลเซีย
ศูนย์วิจัยด้านธุรกิจค้าปลีก
ศาสตราจารย์โจชัว แบมฟิล์ด ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยด้านธุรกิจค้าปลีก (www.retailresearch.org) เป็นผู้อำนวยการจัดทำผลการศึกษาระดับการโจรกรรมในธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกครั้งที่สองนี้ โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัท เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ โดยศูนย์วิจัยดังกล่าวเป็นองค์กรอิสระที่ดำเนินการวิจัยและเป็นที่ปรึกษาแก่ภาคธุรกิจค้าปลีกที่ต้องรับมือกับบทบาทที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาของธุรกิจค้าปลีกและมุ่งเน้นที่การโจรกรรมและยักยอกสินค้า โดยขยายผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันการโจรกรรม การใช้ประโยชน์จากระบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันการโจรกรรมและการยักยอกสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วโลก
เกี่ยวกับเช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์
เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ เป็นผู้นำด้านการจัดหาโซลูชั่นระบบป้องกันสินค้าสูญหายสำหรับอุตสาหกรรมค้าปลีก ทีมงานระดับโลกของเช็คพอยท์จะไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกและซัพพลายเออร์ของผู้ค้าปลีกลดอัตราการสูญหายของสินค้า แต่ยังจะเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการคลังสินค้า และช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าต่อสินค้าที่มีวางจำหน่ายโดยไม่ขาดสต็อกผ่านการใช้เทคโนโลยี RF ที่เพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดเก็บสินค้าความเร็วสูงขยายผลถึงการป้องกันสินค้าสูญหาย และโซลูชั่นด้านการติดแถบป้องกันการขโมยด้วยระบบการจัดการ Check-Net ทั้งนี้ บริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก (NYSE: CKP) และดำเนินงานในตลาดทั่วทุกทวีป และมีพนักงาน 3,900 คนทั่วโลก หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ http://www.checkpointsystems.com
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม, รายงานผลการศึกษาในรูปแบบไฟล์ PDF, ภาพการโจรกรรมเพื่อเผยแพร่ทางโทรทัศน์ รูปภาพ และบทสัมภาษณ์ กรุณาติดต่อแผนกประชาสัมพันธ์ของเช็คพอยท์
ติดต่อ:
บริษัทเช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์
นาตาลี ชาน
โทร: +852-2995-8350
อีเมล์: Natalie.chan@checkpt.com
แหล่งข่าว เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --