ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ยืนยันไม่เกิดวิกฤตราคาสินค้าตามที่ ธ.โลกแสดงความกังวล นางสาวดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ผู้บริหาร ธ.โลกกล่าวเตือนประเทศในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย ที่มีมาตรการควบคุม
ราคาสินค้าหรือแทรกแซงราคาสินค้า เช่น ข้าว เนื้อหมู น้ำมันปาล์ม ฯลฯ โดยระบุว่า การดำเนินการดังกล่าวอาจทำให้เกิดแรงจูงใจให้
ผู้ประกอบการมีการผลิตสินค้าน้อยลง จนกระทั่งส่งผลให้สินค้าเกิดขาดแคลนได้ ว่า ธปท.ได้มีการติดตามมาตรการควบคุมราคาสินค้าของ
รัฐบาลอย่างใกล้ชิด แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่พบปัญหาที่น่าเป็นห่วง ทั้งนี้ การควบคุมราคาของไทยไม่ได้คุมเข้มสินค้ามากจนเกินไป รวมทั้งไม่ได้
คุมราคาจนกระทบต่อกำไรของผู้ผลิต ดังนั้น จึงเชื่อว่าการควบคุมราคาดังกล่าวจะไม่ส่งผลให้ผู้ผลิตเลิกผลิต หรือกระทบต่อกำไรมากเกินไป
ในส่วนของปัญหาราคาน้ำมัน อาหารสด ที่ปรับตัวสูงขึ้นจนผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ จนกระทั่งมีหลายฝ่ายเสนอให้
ธปท.หันมาใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่สะท้อนราคาค่าสินค้าที่แท้จริง ในการดูแลเป้าหมายนโยบายการเงินแทนการใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานนั้น
ธปท.ได้มีการทบทวนเป็นระยะ โดยมีการกำหนดเป้าหมายปีละครั้งว่าควรจะใช้อัตราเงินเฟ้อเท่าใดในการดูแลนโยบายการเงินจึงจะเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังเห็นว่าการใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเป็นเป้าหมายเหมาะสมแล้ว โดยปัจจุบันอยู่ที่ 0-3.5% (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ,
โลกวันนี้)
2. หนี้ภาคครัวเรือนไทยยังคงกระจุกตัวในกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำ นางสาวอนรรฆ เสรีเชษฐพงษ์ เศรษฐกร ทีมนโยบายเศรษฐกิจ
มหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุในบทความเรื่อง หนี้สินภาคครัวเรือน : สถานะล่าสุด ว่า ปัญหาหนี้สิน
ภาคครัวเรือนของไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่ผ่านมายังคงกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำ มีการศึกษาและความรู้ทางการเงินน้อย
และกลุ่มคนที่พึ่งพาแหล่งเงินทุนนอกระบบเป็นหลัก เพราะเป็นกลุ่มที่มีเงินออมต่ำและมีสินทรัพย์ทางการเงินน้อย ทำให้ขาดสภาพคล่องและมี
ความเสี่ยงต่อปัญหาชำระหนี้ นอกจากนี้ ภาคเกษตรเป็นกลุ่มที่มีปัญหาหนี้สินมากกว่าครัวเรือนทั่วไป เนื่องจากรายได้ของเกษตรกรขึ้นอยู่กับปัจจัย
ที่ควบคุมไม่ได้หลายอย่าง ทั้งนี้ จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องจากปี 43 ที่หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 68,405 บาท เพิ่มมาอยู่ที่ 116,681 บาท ในปี 50 หรือเพิ่มขึ้น 70% โดยการเพิ่มขึ้น
ของหนี้สินดังกล่าวเป็นผลจากการที่โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไป อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และสถาบันการเงินให้ความสำคัญกับการให้
สินเชื่อส่วนบุคคลมากขึ้น และหากพิจารณาประเภทของหนี้ครัวเรือนพบว่า หนี้เพื่อการบริโภคมีสัดส่วนเพียง 33% ส่วน 61% เป็นหนี้เพื่อการ
ซื้ออสังหาริมทรัพย์ และหนี้เพื่อการประกอบอาชีพ อย่างไรก็ตาม แม้ปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ความสามารถในการ
ชำระหนี้ของครัวเรือนไทย ยังไม่แย่ลงมากนัก โดยสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนที่เคยเพิ่มขึ้นเป็น 7 เท่าในปี 47 มีแนวโน้มลดลง
อย่างต่อเนื่องเหลือเพียง 6.3 ในปี 50 อีกทั้งสัดส่วนหนี้เสียต่อภาคประชาชนในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
โดยสัดส่วนยอดคงค้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในส่วนของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในระบบสถาบันการเงินสิ้นปี 50 อยู่ที่ระดับ 4.1%
ลดลงจากระดับ 4.8% ณ สิ้นปี 49 และอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้รวมของทุกประเภทธุรกิจที่อยู่ที่ระดับ 7.3%
(กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
3. นักวิชาการเสนอรัฐปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี 51 ขึ้น 5-10% ให้ใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อ นางสาววรวรรณ ชาญด้วยวิทย์
ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวถึงการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปีนี้ว่า หากจะให้ใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อ
และค่าครองชีพของแรงงานที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลต้องอนุมัติให้ปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประมาณ 5-10% เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาการ
ปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานไร้ฝีมือนั้นต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่ปรับขึ้นตลอดเวลา ทำให้รายได้ของ
แรงงานขยับขึ้นไม่ทันค่าครองชีพ สำหรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานล่าสุดอยู่ที่วันละ 144 บาท โดยมีจังหวัดน่านและพะเยาที่ได้รับค่าจ้างใน
อัตราดังกล่าว ส่วนจังหวัดที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดคือ กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร และสมุทรปราการ ได้รับค่าจ้าง
วันละ 195 บาท (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ Euro zone ในเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 14 เม.ย.51
ผลผลิตอุตสาหกรรมของ Euro zone เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อเดือนและร้อยละ 3.1 ต่อปีในเดือน ก.พ.51 ดีกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.2 ต่อเดือนและร้อยละ 2.9 ต่อปี หลังจากในเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่อเดือนและร้อยละ 3.3 ต่อปี นักวิเคราะห์จึง
คาดว่าผลผลิตในไตรมาสแรกปีนี้จะเพิ่มสูงขึ้น หลังจากชะลอตัวลงในไตรมาสสุดท้ายปีก่อน แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์เห็นว่าผลผลิตได้เพิ่มขึ้นมา
อยู่ในระดับสูงสุดแล้วและมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากผลกระทบของค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงโดยเฉพาะ สรอ. ทั้งนี้ ผลผลิต
ในเดือน ก.พ.51 ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุนและพลังงาน ในขณะที่สินค้าสำหรับผู้บริโภคลดลงร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือนและต่อปี สร้าง
ความกังวลว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคใน Euro zone อาจกำลังชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษเดือน มี.ค. เทียบต่อปีทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5 รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 15 เม.ย.51
สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ทำให้อัตราเทียบต่อปีไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ระดับ
เดิมร้อยละ 2.5 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อรายเดือนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และอัตราเทียบต่อปีจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.6
ซึ่งตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ช่วยสนับสนุนแนวคิดที่ว่า ธ.กลางอังกฤษจะยังคงปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง
ในปีนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวจากปัญหาด้านสินเชื่อที่ส่งผลกระทบถึงภาคครัวเรือน ด้านคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางอังกฤษ
ได้แสดงความกังวลว่ากำลังมีแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจและคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ในปีนี้
(รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ยังคงอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบเกือบ 26 ปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 51
รมว.การค้าสิงคโปร์เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ในช่วงครึ่งแรกปีนี้จะยังคงอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบเกือบ 3 ทศวรรษ แม้ว่า
ธ.กลางจะดำเนินนโยบายเข้มงวดแล้วก็ตาม ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 6.6 สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 25 ซึ่ง รมว.การค้า
กล่าวว่าจะยังคงสูงเช่นนี้ไปจนกระทั่งเดือน มิ.ย. แต่คาดว่าจะลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่าแรงกดดันด้านราคาเกิดขึ้น
จากการสูงขึ้นของราคาอาหารและพลังงานส่งผลกระทบต่อรัฐบาลที่จะรักษาระดับการคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อสำหรับทั้งปีให้อยู่ที่ร้อยละ 4.5 — 5.5
ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธ.กลางสิงคโปร์ได้ดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวเพื่อที่จะควบคุมภาวะเงินเฟ้อโดยได้ปล่อยให้เงินดอลลาร์ สิงคโปร์
เมื่อเทียบต่อเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการดำเนินโยบายการเงินของ ธ.กลางสิงคโปร์ที่ไม่เหมือนกับ ธ.กลาง
ของประเทศอื่นๆที่ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินนโยบายการเงิน (รอยเตอร์)
4. ดัชนีค้าปลีกของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 8.8 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 51
สำนักงานสถิติของสิงคโปร์เปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ. ดัชนีค้าปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 จากที่ลดลงร้อยละ 2.2 เมื่อเดือน ม.ค. (ตัวเลขหลัง
ปรับฤดูกาล) อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วดัชนีค้าปลีกกลับลดลงร้อยละ 1.3 เนื่องจากยอดขายปลีกรถยนต์ลดลง ขณะที่
นักเศรษฐศาสตร์หลายคนได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าดัชนีค้าปลีกในเดือน ก.พ. จะไม่สูงมากนักเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบ
ต่อยอดจำหน่ายรถยนต์ อย่างไรก็ตามหากไม่นับรวมยอดขายรถยนต์ ดัชนีค้าปลีกในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล)
หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.7 เมื่อเดือน ม.ค. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 เม.ย. 51 11 เม.ย. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.604 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.3814/31.7180 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25000 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 827.10/12.78 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,750/13,850 13,750/13,850 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 103.25 102.43 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 35.09*/31.24** 35.09*/30.74 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 9 เม.ย.51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 11 เม.ย. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ยืนยันไม่เกิดวิกฤตราคาสินค้าตามที่ ธ.โลกแสดงความกังวล นางสาวดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ผู้บริหาร ธ.โลกกล่าวเตือนประเทศในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย ที่มีมาตรการควบคุม
ราคาสินค้าหรือแทรกแซงราคาสินค้า เช่น ข้าว เนื้อหมู น้ำมันปาล์ม ฯลฯ โดยระบุว่า การดำเนินการดังกล่าวอาจทำให้เกิดแรงจูงใจให้
ผู้ประกอบการมีการผลิตสินค้าน้อยลง จนกระทั่งส่งผลให้สินค้าเกิดขาดแคลนได้ ว่า ธปท.ได้มีการติดตามมาตรการควบคุมราคาสินค้าของ
รัฐบาลอย่างใกล้ชิด แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่พบปัญหาที่น่าเป็นห่วง ทั้งนี้ การควบคุมราคาของไทยไม่ได้คุมเข้มสินค้ามากจนเกินไป รวมทั้งไม่ได้
คุมราคาจนกระทบต่อกำไรของผู้ผลิต ดังนั้น จึงเชื่อว่าการควบคุมราคาดังกล่าวจะไม่ส่งผลให้ผู้ผลิตเลิกผลิต หรือกระทบต่อกำไรมากเกินไป
ในส่วนของปัญหาราคาน้ำมัน อาหารสด ที่ปรับตัวสูงขึ้นจนผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ จนกระทั่งมีหลายฝ่ายเสนอให้
ธปท.หันมาใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่สะท้อนราคาค่าสินค้าที่แท้จริง ในการดูแลเป้าหมายนโยบายการเงินแทนการใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานนั้น
ธปท.ได้มีการทบทวนเป็นระยะ โดยมีการกำหนดเป้าหมายปีละครั้งว่าควรจะใช้อัตราเงินเฟ้อเท่าใดในการดูแลนโยบายการเงินจึงจะเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังเห็นว่าการใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเป็นเป้าหมายเหมาะสมแล้ว โดยปัจจุบันอยู่ที่ 0-3.5% (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ,
โลกวันนี้)
2. หนี้ภาคครัวเรือนไทยยังคงกระจุกตัวในกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำ นางสาวอนรรฆ เสรีเชษฐพงษ์ เศรษฐกร ทีมนโยบายเศรษฐกิจ
มหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุในบทความเรื่อง หนี้สินภาคครัวเรือน : สถานะล่าสุด ว่า ปัญหาหนี้สิน
ภาคครัวเรือนของไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่ผ่านมายังคงกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำ มีการศึกษาและความรู้ทางการเงินน้อย
และกลุ่มคนที่พึ่งพาแหล่งเงินทุนนอกระบบเป็นหลัก เพราะเป็นกลุ่มที่มีเงินออมต่ำและมีสินทรัพย์ทางการเงินน้อย ทำให้ขาดสภาพคล่องและมี
ความเสี่ยงต่อปัญหาชำระหนี้ นอกจากนี้ ภาคเกษตรเป็นกลุ่มที่มีปัญหาหนี้สินมากกว่าครัวเรือนทั่วไป เนื่องจากรายได้ของเกษตรกรขึ้นอยู่กับปัจจัย
ที่ควบคุมไม่ได้หลายอย่าง ทั้งนี้ จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องจากปี 43 ที่หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 68,405 บาท เพิ่มมาอยู่ที่ 116,681 บาท ในปี 50 หรือเพิ่มขึ้น 70% โดยการเพิ่มขึ้น
ของหนี้สินดังกล่าวเป็นผลจากการที่โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไป อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และสถาบันการเงินให้ความสำคัญกับการให้
สินเชื่อส่วนบุคคลมากขึ้น และหากพิจารณาประเภทของหนี้ครัวเรือนพบว่า หนี้เพื่อการบริโภคมีสัดส่วนเพียง 33% ส่วน 61% เป็นหนี้เพื่อการ
ซื้ออสังหาริมทรัพย์ และหนี้เพื่อการประกอบอาชีพ อย่างไรก็ตาม แม้ปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ความสามารถในการ
ชำระหนี้ของครัวเรือนไทย ยังไม่แย่ลงมากนัก โดยสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนที่เคยเพิ่มขึ้นเป็น 7 เท่าในปี 47 มีแนวโน้มลดลง
อย่างต่อเนื่องเหลือเพียง 6.3 ในปี 50 อีกทั้งสัดส่วนหนี้เสียต่อภาคประชาชนในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
โดยสัดส่วนยอดคงค้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในส่วนของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในระบบสถาบันการเงินสิ้นปี 50 อยู่ที่ระดับ 4.1%
ลดลงจากระดับ 4.8% ณ สิ้นปี 49 และอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้รวมของทุกประเภทธุรกิจที่อยู่ที่ระดับ 7.3%
(กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
3. นักวิชาการเสนอรัฐปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี 51 ขึ้น 5-10% ให้ใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อ นางสาววรวรรณ ชาญด้วยวิทย์
ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวถึงการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปีนี้ว่า หากจะให้ใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อ
และค่าครองชีพของแรงงานที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลต้องอนุมัติให้ปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประมาณ 5-10% เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาการ
ปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานไร้ฝีมือนั้นต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่ปรับขึ้นตลอดเวลา ทำให้รายได้ของ
แรงงานขยับขึ้นไม่ทันค่าครองชีพ สำหรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานล่าสุดอยู่ที่วันละ 144 บาท โดยมีจังหวัดน่านและพะเยาที่ได้รับค่าจ้างใน
อัตราดังกล่าว ส่วนจังหวัดที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดคือ กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร และสมุทรปราการ ได้รับค่าจ้าง
วันละ 195 บาท (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ Euro zone ในเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 14 เม.ย.51
ผลผลิตอุตสาหกรรมของ Euro zone เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อเดือนและร้อยละ 3.1 ต่อปีในเดือน ก.พ.51 ดีกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.2 ต่อเดือนและร้อยละ 2.9 ต่อปี หลังจากในเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่อเดือนและร้อยละ 3.3 ต่อปี นักวิเคราะห์จึง
คาดว่าผลผลิตในไตรมาสแรกปีนี้จะเพิ่มสูงขึ้น หลังจากชะลอตัวลงในไตรมาสสุดท้ายปีก่อน แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์เห็นว่าผลผลิตได้เพิ่มขึ้นมา
อยู่ในระดับสูงสุดแล้วและมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากผลกระทบของค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงโดยเฉพาะ สรอ. ทั้งนี้ ผลผลิต
ในเดือน ก.พ.51 ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุนและพลังงาน ในขณะที่สินค้าสำหรับผู้บริโภคลดลงร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือนและต่อปี สร้าง
ความกังวลว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคใน Euro zone อาจกำลังชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษเดือน มี.ค. เทียบต่อปีทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5 รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 15 เม.ย.51
สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ทำให้อัตราเทียบต่อปีไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ระดับ
เดิมร้อยละ 2.5 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อรายเดือนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และอัตราเทียบต่อปีจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.6
ซึ่งตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ช่วยสนับสนุนแนวคิดที่ว่า ธ.กลางอังกฤษจะยังคงปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง
ในปีนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวจากปัญหาด้านสินเชื่อที่ส่งผลกระทบถึงภาคครัวเรือน ด้านคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางอังกฤษ
ได้แสดงความกังวลว่ากำลังมีแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจและคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ในปีนี้
(รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ยังคงอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบเกือบ 26 ปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 51
รมว.การค้าสิงคโปร์เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ในช่วงครึ่งแรกปีนี้จะยังคงอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบเกือบ 3 ทศวรรษ แม้ว่า
ธ.กลางจะดำเนินนโยบายเข้มงวดแล้วก็ตาม ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 6.6 สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 25 ซึ่ง รมว.การค้า
กล่าวว่าจะยังคงสูงเช่นนี้ไปจนกระทั่งเดือน มิ.ย. แต่คาดว่าจะลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่าแรงกดดันด้านราคาเกิดขึ้น
จากการสูงขึ้นของราคาอาหารและพลังงานส่งผลกระทบต่อรัฐบาลที่จะรักษาระดับการคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อสำหรับทั้งปีให้อยู่ที่ร้อยละ 4.5 — 5.5
ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธ.กลางสิงคโปร์ได้ดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวเพื่อที่จะควบคุมภาวะเงินเฟ้อโดยได้ปล่อยให้เงินดอลลาร์ สิงคโปร์
เมื่อเทียบต่อเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการดำเนินโยบายการเงินของ ธ.กลางสิงคโปร์ที่ไม่เหมือนกับ ธ.กลาง
ของประเทศอื่นๆที่ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินนโยบายการเงิน (รอยเตอร์)
4. ดัชนีค้าปลีกของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 8.8 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 51
สำนักงานสถิติของสิงคโปร์เปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ. ดัชนีค้าปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 จากที่ลดลงร้อยละ 2.2 เมื่อเดือน ม.ค. (ตัวเลขหลัง
ปรับฤดูกาล) อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วดัชนีค้าปลีกกลับลดลงร้อยละ 1.3 เนื่องจากยอดขายปลีกรถยนต์ลดลง ขณะที่
นักเศรษฐศาสตร์หลายคนได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าดัชนีค้าปลีกในเดือน ก.พ. จะไม่สูงมากนักเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบ
ต่อยอดจำหน่ายรถยนต์ อย่างไรก็ตามหากไม่นับรวมยอดขายรถยนต์ ดัชนีค้าปลีกในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล)
หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.7 เมื่อเดือน ม.ค. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 เม.ย. 51 11 เม.ย. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.604 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.3814/31.7180 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25000 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 827.10/12.78 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,750/13,850 13,750/13,850 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 103.25 102.43 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 35.09*/31.24** 35.09*/30.74 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 9 เม.ย.51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 11 เม.ย. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--