ทำเนียบรัฐบาล--3 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชีย รวมทั้งหลักเกณฑ์เงื่อนไขการจัดสรรการใช้เงินกู้ เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural Adjustment Loans - SAL) ตามที่กระทรวงการคลังรายงาน ดังนี้
1. ความคืบหน้าของการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (SAL)
1.1 เงินกู้จากธนาคารโลก
(1) ธนาคารโลกได้ผูกพันที่จะให้เงินกู้แก่ประเทศไทยในวงเงิน 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเงินกู้สำหรับโครงการที่ได้ผูกพันแล้ว (Ongoing Projects) จำนวน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ และส่วนเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (SAL) ที่จะผูกพันใหม่ จำนวน 900 ล้านเหรียญสหรัฐ
(2) เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากธนาคารโลก จำนวน 900 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรก คือ เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างและปฏิรูประบบการเงิน (Financial Structural Adjustment Loans - SAL) จำนวน 700 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแบ่งการกู้เป็น 2 โครงการ โครงการละ 350 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้แก่ โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน (Finance Companies Restructuring Project) และโครงการเงินกู้เพื่อปฏิรูปภาคการเงิน (Financial Secter Reforms Project)
ส่วนที่สอง คือ เงินกู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเศรษฐกิจมหภาคและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Macroeconamic Management and Competitivencess) วงเงิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐ
1.2 เงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเซีย
(1) ธนาคารพัฒนาเอเซียได้ผูกพันที่จะให้เงินกู้แก่ประเทศไทยในวงเงิน 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ เป็นเงินกู้สำหรับดครงการที่ได้ผูกพันแล้ว (Ongoing Projucts) จำนวน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Program Loans) ที่จะผูกพันใหม่ จำนวน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ
(2) เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของธนาคารพัฒนาเอเซีย แบ่งออกเป็น 2 โครงการ คือ โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างและปฏิรูปตลาดการเงิน (Financial Markets Reform Program Loan) วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ และเงินกู้เพื่อปฏิรูปภาคสังคม (Social Sector Program Loan) วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ
1.3 โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ลงนามในสัญญากู้เงินและเบิกเงินกู้แล้ว
(1) จนถึงขณะนี้ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเซีย สำหรับโครงการปรับโครงสร้างและปฏิรูปตลาดการเงิน จำนวน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ และจากธนาคารโลก สำหรับโครงการปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน จำนวน 350 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งได้เบิกจ่ายและโอนเข้าบัญชีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเสริมเงินสำรองระหว่างประเทศเรียบร้อยแล้ว และได้แลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยเข้า 2 บัญชี ดังมีรายละเอียด ดังนี้
วันที่เบิกจ่าย บัญชีเลขที่ จำนวน (ล้านเหรียญสหรัฐ) จำนวน (ล้านบาท)
24 ธ.ค. 2540 (ADB-I) 001-003822-1 300 (@ 47.9396) 14,381.880
30 ธ.ค. 2540 (IBRD-I) 001-003821-3 350 (@ 46.6335) 16,321.725
รวม 650 30,703.605
(2) วงเงินกู้ที่จะนำมาจัดสรรงวดแรก คือเงินกู้ที่ได้ดำเนินการเบิกจ่ายเรียบร้อยแล้วจากธนาคารพัฒนาเอเซียและธนาคารโลก จำนวน 30,703.605 ล้านบาทดังกล่าว ซึ่งเบิกจ่ายจากโครงการปรับโครงสร้างและปฏิรูปตลาดการเงิน (Financial Markets Reform) และโครงการปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน (Finance Companies Restructuring) ซึ่งต้องนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจด้านการปฏิรูประบบการเงินดังกล่าว และไม่สามารถจัดสรรเพื่อใช้ทดแทนงบประมาณรายจ่ายได้
2. หลักเกณฑ์การจัดสรรเงินกู้
สำหรับการจัดสรรเงินกู้ดังกล่าว กระทรวงการคลังสามารถนำมาใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและส่งเสริมภาคการผลิตตามที่เห็นสมควรได้ โดยการใช้เงินดังกล่าวจะต้องไม่มีผลกระทบต่อการรักษางบประมาณให้เกินดุล 1% ของ GDP ตามข้อกำหนดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงไม่สามารถใช้เงินดังกล่าวในการสนับสนุนงบประมาณของรัฐได้
อย่างไรก็ตาม เงินกู้ดังกล่าวนี้สามารถนำไปใช้ในส่วนที่ไม่เป็นการเพิ่มงบประมาณของรัฐ โดยจัดสรรผ่านสถาบันการเงินของรัฐและสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะจัดตั้งขึ้น เช่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บรรษัทฯ) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธ.ส.น.) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บ.อ.ย.) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธ.อ.ส.) เป็นต้น เพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบเศรษฐกิจ และในขณะเดียวกันก็จะช่วยในการเร่งรัดการผลิตและการส่งออกทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรด้วย การจัดสรรจะพิจารณาถึงโครงการ ความสามารถในการใช้เงิน และความต้องการเงินกู้ของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนั้น เงินกู้ SAL บางส่วนจะใช้จัดสรรเพื่อเป็นทุนประเดิมสำหรับสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นใหม่โดยความเห็นชอบจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารัตนสิน จำกัด (มหาชน) และองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เป็นต้น
3. ระยะเวลาและเงื่อนไขการจัดสรรเงินกู้
กระทรวงการคลังกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเซียและธนาคารโลก โดยมีระยะเวลาจ่ายคืนภายใน 15 ปี รวมระยะเวลาปลอดหนี้ 3 ปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเซียใช้ระบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ซึ่งธนาคารจะแจ้งอัตราดอกเบี้ยทุก 6 เดือน โดยอัตราดอกเบี้ยในช่วงระหว่าง 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2541 เท่ากับร้อยละ 6.93 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารโลกใช้ระบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ ซึ่งธนาคารจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ณ วันที่เบิกจ่ายเงินกู้ ขณะนี้กำลังรอให้ธนาคารโลกแจ้งอย่างเป็นทางการ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 7 ต่อปี
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้กำหนดเงื่อนไขการกู้ต่อ ดังนี้
สกุลเงินที่ให้กู้ : เงินบาท
ระยะเวลา : ชำระคืนเงินกู้ภายใน 7 ปี รวมระยะเวลาปลอดหนี้ 3 ปี
อัตราดอกเบี้ย : คิดจากอัตราต้นทุนเงินกู้เฉลี่ยของธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเซีย
บวกด้วยอัตราขายฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย และอัตราส่วนเหลื่อม (Margin) อีกร้อยละ 0.5 โดยให้มีการปรับอัตราดอกเบี้ยทุกปี
การจ่ายดอกเบี้ย : จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ทุกวันที่ 12 มกราคม และ 12 กรกฎาคม
ของทุกปี
การชำระเงินต้น : จ่ายคืนเงินต้นทั้งหมด 8 งวด โดยจ่ายชำระปีละ 2 ครั้ง ทุกวันที่ 12
มกราคม และ 12 กรกฎาคม เริ่มจ่ายชำระเงินต้นงวดแรกพร้อมกับการชำระ
ดอกเบี้ยงวดที่ 7 และงวดสุดท้าย พร้อมการชำระดอกเบี้ยงวดที่ 14
เงื่อนไขอื่น ๆ : ตามมาตรฐานการให้กู้ยืมต่อของกระทรวงการคลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชีย รวมทั้งหลักเกณฑ์เงื่อนไขการจัดสรรการใช้เงินกู้ เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural Adjustment Loans - SAL) ตามที่กระทรวงการคลังรายงาน ดังนี้
1. ความคืบหน้าของการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (SAL)
1.1 เงินกู้จากธนาคารโลก
(1) ธนาคารโลกได้ผูกพันที่จะให้เงินกู้แก่ประเทศไทยในวงเงิน 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเงินกู้สำหรับโครงการที่ได้ผูกพันแล้ว (Ongoing Projects) จำนวน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ และส่วนเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (SAL) ที่จะผูกพันใหม่ จำนวน 900 ล้านเหรียญสหรัฐ
(2) เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากธนาคารโลก จำนวน 900 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรก คือ เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างและปฏิรูประบบการเงิน (Financial Structural Adjustment Loans - SAL) จำนวน 700 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแบ่งการกู้เป็น 2 โครงการ โครงการละ 350 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้แก่ โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน (Finance Companies Restructuring Project) และโครงการเงินกู้เพื่อปฏิรูปภาคการเงิน (Financial Secter Reforms Project)
ส่วนที่สอง คือ เงินกู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเศรษฐกิจมหภาคและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Macroeconamic Management and Competitivencess) วงเงิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐ
1.2 เงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเซีย
(1) ธนาคารพัฒนาเอเซียได้ผูกพันที่จะให้เงินกู้แก่ประเทศไทยในวงเงิน 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ เป็นเงินกู้สำหรับดครงการที่ได้ผูกพันแล้ว (Ongoing Projucts) จำนวน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Program Loans) ที่จะผูกพันใหม่ จำนวน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ
(2) เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของธนาคารพัฒนาเอเซีย แบ่งออกเป็น 2 โครงการ คือ โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างและปฏิรูปตลาดการเงิน (Financial Markets Reform Program Loan) วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ และเงินกู้เพื่อปฏิรูปภาคสังคม (Social Sector Program Loan) วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ
1.3 โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ลงนามในสัญญากู้เงินและเบิกเงินกู้แล้ว
(1) จนถึงขณะนี้ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเซีย สำหรับโครงการปรับโครงสร้างและปฏิรูปตลาดการเงิน จำนวน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ และจากธนาคารโลก สำหรับโครงการปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน จำนวน 350 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งได้เบิกจ่ายและโอนเข้าบัญชีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเสริมเงินสำรองระหว่างประเทศเรียบร้อยแล้ว และได้แลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยเข้า 2 บัญชี ดังมีรายละเอียด ดังนี้
วันที่เบิกจ่าย บัญชีเลขที่ จำนวน (ล้านเหรียญสหรัฐ) จำนวน (ล้านบาท)
24 ธ.ค. 2540 (ADB-I) 001-003822-1 300 (@ 47.9396) 14,381.880
30 ธ.ค. 2540 (IBRD-I) 001-003821-3 350 (@ 46.6335) 16,321.725
รวม 650 30,703.605
(2) วงเงินกู้ที่จะนำมาจัดสรรงวดแรก คือเงินกู้ที่ได้ดำเนินการเบิกจ่ายเรียบร้อยแล้วจากธนาคารพัฒนาเอเซียและธนาคารโลก จำนวน 30,703.605 ล้านบาทดังกล่าว ซึ่งเบิกจ่ายจากโครงการปรับโครงสร้างและปฏิรูปตลาดการเงิน (Financial Markets Reform) และโครงการปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน (Finance Companies Restructuring) ซึ่งต้องนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจด้านการปฏิรูประบบการเงินดังกล่าว และไม่สามารถจัดสรรเพื่อใช้ทดแทนงบประมาณรายจ่ายได้
2. หลักเกณฑ์การจัดสรรเงินกู้
สำหรับการจัดสรรเงินกู้ดังกล่าว กระทรวงการคลังสามารถนำมาใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและส่งเสริมภาคการผลิตตามที่เห็นสมควรได้ โดยการใช้เงินดังกล่าวจะต้องไม่มีผลกระทบต่อการรักษางบประมาณให้เกินดุล 1% ของ GDP ตามข้อกำหนดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงไม่สามารถใช้เงินดังกล่าวในการสนับสนุนงบประมาณของรัฐได้
อย่างไรก็ตาม เงินกู้ดังกล่าวนี้สามารถนำไปใช้ในส่วนที่ไม่เป็นการเพิ่มงบประมาณของรัฐ โดยจัดสรรผ่านสถาบันการเงินของรัฐและสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะจัดตั้งขึ้น เช่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บรรษัทฯ) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธ.ส.น.) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บ.อ.ย.) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธ.อ.ส.) เป็นต้น เพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบเศรษฐกิจ และในขณะเดียวกันก็จะช่วยในการเร่งรัดการผลิตและการส่งออกทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรด้วย การจัดสรรจะพิจารณาถึงโครงการ ความสามารถในการใช้เงิน และความต้องการเงินกู้ของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนั้น เงินกู้ SAL บางส่วนจะใช้จัดสรรเพื่อเป็นทุนประเดิมสำหรับสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นใหม่โดยความเห็นชอบจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารัตนสิน จำกัด (มหาชน) และองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เป็นต้น
3. ระยะเวลาและเงื่อนไขการจัดสรรเงินกู้
กระทรวงการคลังกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเซียและธนาคารโลก โดยมีระยะเวลาจ่ายคืนภายใน 15 ปี รวมระยะเวลาปลอดหนี้ 3 ปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเซียใช้ระบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ซึ่งธนาคารจะแจ้งอัตราดอกเบี้ยทุก 6 เดือน โดยอัตราดอกเบี้ยในช่วงระหว่าง 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2541 เท่ากับร้อยละ 6.93 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารโลกใช้ระบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ ซึ่งธนาคารจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ณ วันที่เบิกจ่ายเงินกู้ ขณะนี้กำลังรอให้ธนาคารโลกแจ้งอย่างเป็นทางการ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 7 ต่อปี
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้กำหนดเงื่อนไขการกู้ต่อ ดังนี้
สกุลเงินที่ให้กู้ : เงินบาท
ระยะเวลา : ชำระคืนเงินกู้ภายใน 7 ปี รวมระยะเวลาปลอดหนี้ 3 ปี
อัตราดอกเบี้ย : คิดจากอัตราต้นทุนเงินกู้เฉลี่ยของธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเซีย
บวกด้วยอัตราขายฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย และอัตราส่วนเหลื่อม (Margin) อีกร้อยละ 0.5 โดยให้มีการปรับอัตราดอกเบี้ยทุกปี
การจ่ายดอกเบี้ย : จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ทุกวันที่ 12 มกราคม และ 12 กรกฎาคม
ของทุกปี
การชำระเงินต้น : จ่ายคืนเงินต้นทั้งหมด 8 งวด โดยจ่ายชำระปีละ 2 ครั้ง ทุกวันที่ 12
มกราคม และ 12 กรกฎาคม เริ่มจ่ายชำระเงินต้นงวดแรกพร้อมกับการชำระ
ดอกเบี้ยงวดที่ 7 และงวดสุดท้าย พร้อมการชำระดอกเบี้ยงวดที่ 14
เงื่อนไขอื่น ๆ : ตามมาตรฐานการให้กู้ยืมต่อของกระทรวงการคลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541--