ทำเนียบรัฐบาล--14 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามข้อเสนอของกระทรวงการต่างประเทศ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา (ฝ่ายไทย) ลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ในระหว่างการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 14 - 16 มิถุนายน 2543
2. อนุมัติในหลักการที่จะให้ความช่วยเหลือทางวิชากาารเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำแผนที่สมัยใหม่แก่ฝ่ายกัมพูชา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจของฝ่ายกัมพูชา โดยฝ่ายไทยจัดหางบประมาณเพื่อการนี้ให้ในระดับที่จำเป็นและเหมาะสมต่อไป
ทั้งนี้ บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. พื้นฐานทางกฎหมาย การสำรวจและปักหลักเขตแดนทางบกจะดำเนินกากรโดยใช้เอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทยและกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ คืออนุสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 กับพิธีสารแนบท้าย และแผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามาตราส่วน1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน
2. กลไกการปฏิบัติงาน ได้แก่ 1) คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ควบคุมดูแลและพิจารณาตัดสินใจเรื่องการสำรวจและปักหลักเขตแดนทางบกตามกรอบของกฎหมาย และผลิตแผนที่แสดงเส้นเขตแดนทางบก และ2) คณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วม จัดทำแผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ (TOR) ของการสำรวจฯ
3. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน แบ่งพื้นที่ปฏิบัติงานออกเป็นหลายตอน และเมื่อดำเนินงานแล้วเสร็จในตอนใดก็ให้ประธานกรรมาธิการเขตแดนร่วมฯ จัดทำบันทึกความเข้าใจพร้อมแนบแผนที่แสดงพื้นที่ตอนนั้นกำกับไว้ ทั้งสองฝ่ายจะงดเว้นการดำเนินการใด ๆ ที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศบริเวณชายแดน เว้นแต่จะเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในการสำรวจฯ
4. ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน แต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการสำรวจฯ ของฝ่ายตน ส่วนค่าวัสดุที่ใช้ในการจัดทำหลักเขตแดนกับค่าจัดทำและผลิตแผนที่แสดงเส้นเขตแดนที่ได้สำรวจและจัดทำหลักเขตแดนแล้วนั้น จะรับผิดชอบฝ่ายละครึ่งหนึ่ง
5. ให้บันทึกความเข้าใจมีผลบังคับใช้ในวันที่มีการลงนาม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มิ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามข้อเสนอของกระทรวงการต่างประเทศ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา (ฝ่ายไทย) ลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ในระหว่างการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 14 - 16 มิถุนายน 2543
2. อนุมัติในหลักการที่จะให้ความช่วยเหลือทางวิชากาารเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำแผนที่สมัยใหม่แก่ฝ่ายกัมพูชา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจของฝ่ายกัมพูชา โดยฝ่ายไทยจัดหางบประมาณเพื่อการนี้ให้ในระดับที่จำเป็นและเหมาะสมต่อไป
ทั้งนี้ บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. พื้นฐานทางกฎหมาย การสำรวจและปักหลักเขตแดนทางบกจะดำเนินกากรโดยใช้เอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทยและกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ คืออนุสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 กับพิธีสารแนบท้าย และแผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามาตราส่วน1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน
2. กลไกการปฏิบัติงาน ได้แก่ 1) คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ควบคุมดูแลและพิจารณาตัดสินใจเรื่องการสำรวจและปักหลักเขตแดนทางบกตามกรอบของกฎหมาย และผลิตแผนที่แสดงเส้นเขตแดนทางบก และ2) คณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วม จัดทำแผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ (TOR) ของการสำรวจฯ
3. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน แบ่งพื้นที่ปฏิบัติงานออกเป็นหลายตอน และเมื่อดำเนินงานแล้วเสร็จในตอนใดก็ให้ประธานกรรมาธิการเขตแดนร่วมฯ จัดทำบันทึกความเข้าใจพร้อมแนบแผนที่แสดงพื้นที่ตอนนั้นกำกับไว้ ทั้งสองฝ่ายจะงดเว้นการดำเนินการใด ๆ ที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศบริเวณชายแดน เว้นแต่จะเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในการสำรวจฯ
4. ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน แต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการสำรวจฯ ของฝ่ายตน ส่วนค่าวัสดุที่ใช้ในการจัดทำหลักเขตแดนกับค่าจัดทำและผลิตแผนที่แสดงเส้นเขตแดนที่ได้สำรวจและจัดทำหลักเขตแดนแล้วนั้น จะรับผิดชอบฝ่ายละครึ่งหนึ่ง
5. ให้บันทึกความเข้าใจมีผลบังคับใช้ในวันที่มีการลงนาม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มิ.ย. 2543--
-สส-