คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2550 ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ ดังนี้
สำนักงานสถิติแห่งชาติได้จัดทำการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร ปี 2550 เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้สูบบุหรี่และผู้ดื่มสุรา อายุที่เริ่มสูบและดื่ม ประเภทของบุหรี่ที่สูบและสุราที่ดื่ม ตลอดจนลักษณะทางประชากรของผู้ที่สูบและดื่ม โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 เดือน (กรกฎาคม — กันยายน 2550) จากครัวเรือนตัวอย่างในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาล ประมาณ 80,000 ครัวเรือน ซึ่งสรุปผลสำคัญจากการสำรวจได้ดังนี้
เรื่องบุหรี่
1. ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปจำนวน 51.2 ล้านคน เป็นผู้สูบบุหรี่ประมาณ 10.8 ล้านคน หรือร้อยละ 21.2 ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้สูบเป็นประจำร้อยละ 18.5 สูบนาน ๆ ครั้งร้อยละ 2.7
2. อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบ คือ 18.5 ปี
3. จำนวนบุหรี่ที่สูบเฉลี่ย 10.3 มวนต่อวัน
4. คนกลุ่มวัยทำงาน (25 — 59 ปี) มีอัตราการสูบบุหรี่ร้อยละ 21.0 ซึ่งเป็นกลุ่มที่สูบมากกว่าคนกลุ่มวัยอื่น และกลุ่มเยาวชน (15 — 24 ปี) มีอัตราการสูบถึงร้อยละ 12.1
5. ผู้ชายสูบบุหรี่มากกว่าผู้หญิง ประมาณ 22 เท่า (ผู้ชายร้อยละ 41.7 ผู้หญิงร้อยละ 1.9)
6. แนวโน้มการสูบบุหรี่ของประชากรไทยโดยรวมมีอัตราลดลงเล็กน้อย คือ ร้อยละ 18.9 ในปี 2549 เป็นร้อยละ 18.5 ในปี 2550
เรื่องสุรา
7. ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปจำนวน 51.2 ล้านคน เป็นผู้ดื่มสุราในช่วง 12 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์ประมาณ 15.3 ล้านคน หรือร้อยละ 30.0 ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ดื่มแบบทุกเดือน (1 — 3 วันต่อเดือน) มากที่สุดคือ ร้อยละ 7.9 รองลงมาเป็นดื่มทุกสัปดาห์ (1-2 วันต่อ
สัปดห์) คือ ร้อยละ 5.7
8. อายุเฉลี่ยที่เริ่มดื่มคือ 20.5 ปี
9. คนกลุ่มวัยทำงาน (25 — 59 ปี) มีอัตราการดื่มสูงกว่าคนกลุ่มวัยอื่น คือ ร้อยละ 34.4 กลุ่มเยาวชน (15 — 24 ปี) มีอัตราการดื่มร้อยละ 21.9
10.ผู้ชายดื่มสุรามากกว่าผู้หญิง ประมาณ 6 เท่า (ผู้ชายร้อยละ 51.0 เป็นผู้หญิงร้อยละ 8.8)
11.แนวโน้มการดื่มสุราของประชากรไทยโดยรวมมีอัตราลดลงจากปีที่ผ่านมา คือ ร้อยละ 31.5 ในปี 2549 เป็นร้อยละ 29.3
ในปี 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--
สำนักงานสถิติแห่งชาติได้จัดทำการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร ปี 2550 เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้สูบบุหรี่และผู้ดื่มสุรา อายุที่เริ่มสูบและดื่ม ประเภทของบุหรี่ที่สูบและสุราที่ดื่ม ตลอดจนลักษณะทางประชากรของผู้ที่สูบและดื่ม โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 เดือน (กรกฎาคม — กันยายน 2550) จากครัวเรือนตัวอย่างในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาล ประมาณ 80,000 ครัวเรือน ซึ่งสรุปผลสำคัญจากการสำรวจได้ดังนี้
เรื่องบุหรี่
1. ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปจำนวน 51.2 ล้านคน เป็นผู้สูบบุหรี่ประมาณ 10.8 ล้านคน หรือร้อยละ 21.2 ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้สูบเป็นประจำร้อยละ 18.5 สูบนาน ๆ ครั้งร้อยละ 2.7
2. อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบ คือ 18.5 ปี
3. จำนวนบุหรี่ที่สูบเฉลี่ย 10.3 มวนต่อวัน
4. คนกลุ่มวัยทำงาน (25 — 59 ปี) มีอัตราการสูบบุหรี่ร้อยละ 21.0 ซึ่งเป็นกลุ่มที่สูบมากกว่าคนกลุ่มวัยอื่น และกลุ่มเยาวชน (15 — 24 ปี) มีอัตราการสูบถึงร้อยละ 12.1
5. ผู้ชายสูบบุหรี่มากกว่าผู้หญิง ประมาณ 22 เท่า (ผู้ชายร้อยละ 41.7 ผู้หญิงร้อยละ 1.9)
6. แนวโน้มการสูบบุหรี่ของประชากรไทยโดยรวมมีอัตราลดลงเล็กน้อย คือ ร้อยละ 18.9 ในปี 2549 เป็นร้อยละ 18.5 ในปี 2550
เรื่องสุรา
7. ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปจำนวน 51.2 ล้านคน เป็นผู้ดื่มสุราในช่วง 12 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์ประมาณ 15.3 ล้านคน หรือร้อยละ 30.0 ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ดื่มแบบทุกเดือน (1 — 3 วันต่อเดือน) มากที่สุดคือ ร้อยละ 7.9 รองลงมาเป็นดื่มทุกสัปดาห์ (1-2 วันต่อ
สัปดห์) คือ ร้อยละ 5.7
8. อายุเฉลี่ยที่เริ่มดื่มคือ 20.5 ปี
9. คนกลุ่มวัยทำงาน (25 — 59 ปี) มีอัตราการดื่มสูงกว่าคนกลุ่มวัยอื่น คือ ร้อยละ 34.4 กลุ่มเยาวชน (15 — 24 ปี) มีอัตราการดื่มร้อยละ 21.9
10.ผู้ชายดื่มสุรามากกว่าผู้หญิง ประมาณ 6 เท่า (ผู้ชายร้อยละ 51.0 เป็นผู้หญิงร้อยละ 8.8)
11.แนวโน้มการดื่มสุราของประชากรไทยโดยรวมมีอัตราลดลงจากปีที่ผ่านมา คือ ร้อยละ 31.5 ในปี 2549 เป็นร้อยละ 29.3
ในปี 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--