คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรายงานมาตรการควบคุมการใช้ SIM Card ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้
1. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือ ให้มีการลงทะเบียนผู้รับบัตรเติมเงิน (Pre-Paid) ณ จุดขาย ทั้งรายเก่าและรายใหม่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เรียบร้อยภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 โดยผู้ที่ไม่ได้แสดงตนในวันเวลาที่กำหนดจะถูกระงับสัญญาณโทรศัพท์
2. ภายใต้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (มาตรา 11) ได้ประกาศให้การซื้อ — ขาย SIM Card ต้องมีการระบุหลักฐานแสดงตนตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ออกประกาศกระทรวงฯ ไว้เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 และวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548
3. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือทุกรายให้ เข้มงวดในการตรวจสอบหลักฐานการแสดงตนของผู้ใช้บริการ (ผู้ซื้อ) ตลอดทั้งได้ประสานงานกับประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2549 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ที่จะให้มีข้อตกลงร่วมกันในการลดกำลังส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ข้ามชายแดนไทย — มาเลเซีย ขณะเดียวกันได้ขอความร่วมมือมายัง กอ.สสส.จชต. ให้กำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการจุดชนวนระเบิดตามแนวชายแดนไทย — มาเลเซีย ด้วย SIM Card ที่ใช้สัญญาณโทรศัพท์จากประเทศมาเลเซีย
4. สำหรับการดำเนินงานในระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อควบคุมการซื้อ — ขาย SIM Card โดยขอความร่วมมือมายังผู้ประกอบการรายย่อยในจังหวัดให้ดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน การซื้อ — ขาย SIM Card อย่างเข้มงวดและมีแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลของผู้ซื้อที่ครอบครอง SIM Card ไว้เป็นหลักฐานทุกราย
5. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการการควบคุมและแนวทางในการป้องกันการใช้ SIM Card ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันต่อที่ประชุมหน่วยงานความมั่นคง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานและผู้แทนหน่วยงานความมั่นคง (พลเรือน ทหารและตำรวจ) เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 ณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ข้อเสนอเชิงนโยบาย
จากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยการใช้ระเบิดปรากฏว่าก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและทางราชการ แม้ว่ารัฐบาลได้ออกมาตรการควบคุมแต่ยังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ในการนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้มีหนังสือลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2549 ไปยังผู้ประกอบการทุกรายเพื่อขอความร่วมมือในการระงับการให้บริการซิมการ์ดที่ถูกยึดไปทั้งหมดและระงับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงินที่ยังไม่จดทะเบียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยสิ้นเชิง
ในการนี้ ได้เชิญหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือทุกราย (ระดับตัดสินใจ) มาร่วมประชุมเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2549 ณ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อกำหนดมาตรการเข้มงวดเพิ่มขึ้น โดยมีประเด็นหารือสรุปได้ดังนี้
1. กรณีซิมการ์ดถูกโจรกรรมไป กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ออกประกาศกระทรวงฯ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2549 เรื่องการจัดระเบียบการใช้โทรศัพท์ระบบเติมเงิน ซึ่งกำหนดว่ากรณีซิมการ์ดเกิดสูญหายต้องรีบแจ้งต่อศูนย์บริการลูกค้าของแต่ละบริษัทที่ใช้บริการ เพื่อการระงับสัญญาณโทรศัพท์ทันที และศูนย์บริการที่รับแจ้งจะต้องออกหนังสือรับรองให้เพื่อเป็นหลักฐานในการนำไปแจ้งความต่อสถานีตำรวจต่อไป
2. การจดทะเบียนซิมการ์ดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการและจดทะเบียนในพื้นที่แล้วจำนวนทั้งสิ้น 867,000 ราย โดยผู้ประกอบการทุกรายยืนยันว่าได้ระงับสัญญาณผู้ที่ไม่ได้จดทะเบียนซิมการ์ดแล้วทั้งหมด ซึ่งมีประมาณ 10 % และขณะนี้ยืนยันว่าผู้ที่จดทะเบียนซิมการ์ดของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ครบ 100 % แล้ว
3. การจดทะเบียนโทรศัพท์มือถือทั่วประเทศ เป็นอำนาจของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ที่จะต้องกำหนดหลักเกณฑ์และ/หรือวิธีการอื่นใดตามอำนาจของคณะกรรมการที่จะพักหรือหยุดให้การบริการโทรศัพท์มือถือระบบ Pre-Paid ในกรณีที่ไม่ได้มีการแสดงตนหรือจดทะเบียน ทั้งนี้ เพื่อความมั่นคงของชาติ
4. SIM Card ใหม่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการทุกรายให้คำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการให้จดทะเบียนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงินเป็นสำคัญและให้กวดขันการตรวจสอบเอกสารในการจดทะเบียนซิมการ์ด
5. การควบคุมสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่บริเวณชายแดนไทย — มาเลเซีย ปัจจุบันพบว่ามีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่รุกล้ำชายแดนประเทศไทยประมาณ 1.5 — 5 กิโลเมตร ผู้ประกอบการโทรศัพท์ของมาเลเซียทั้งสามรายได้แจ้งว่าขอยึดถือข้อตกลงกับ กทช. เมื่อธันวาคม 2548 ที่ตกลงจะให้สัญญาณล้ำเข้ามาได้ถึง 3 กิโลเมตร แต่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้กำหนดเป็นนโยบายที่จะให้สัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องสิ้นสุด ณ บริเวณชายแดน ซึ่งจะต้องหารือกันในระดับกระทรวงกับประเทศมาเลเซียต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 สิงหาคม 2549--จบ--
1. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือ ให้มีการลงทะเบียนผู้รับบัตรเติมเงิน (Pre-Paid) ณ จุดขาย ทั้งรายเก่าและรายใหม่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เรียบร้อยภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 โดยผู้ที่ไม่ได้แสดงตนในวันเวลาที่กำหนดจะถูกระงับสัญญาณโทรศัพท์
2. ภายใต้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (มาตรา 11) ได้ประกาศให้การซื้อ — ขาย SIM Card ต้องมีการระบุหลักฐานแสดงตนตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ออกประกาศกระทรวงฯ ไว้เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 และวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548
3. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือทุกรายให้ เข้มงวดในการตรวจสอบหลักฐานการแสดงตนของผู้ใช้บริการ (ผู้ซื้อ) ตลอดทั้งได้ประสานงานกับประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2549 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ที่จะให้มีข้อตกลงร่วมกันในการลดกำลังส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ข้ามชายแดนไทย — มาเลเซีย ขณะเดียวกันได้ขอความร่วมมือมายัง กอ.สสส.จชต. ให้กำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการจุดชนวนระเบิดตามแนวชายแดนไทย — มาเลเซีย ด้วย SIM Card ที่ใช้สัญญาณโทรศัพท์จากประเทศมาเลเซีย
4. สำหรับการดำเนินงานในระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อควบคุมการซื้อ — ขาย SIM Card โดยขอความร่วมมือมายังผู้ประกอบการรายย่อยในจังหวัดให้ดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน การซื้อ — ขาย SIM Card อย่างเข้มงวดและมีแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลของผู้ซื้อที่ครอบครอง SIM Card ไว้เป็นหลักฐานทุกราย
5. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการการควบคุมและแนวทางในการป้องกันการใช้ SIM Card ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันต่อที่ประชุมหน่วยงานความมั่นคง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานและผู้แทนหน่วยงานความมั่นคง (พลเรือน ทหารและตำรวจ) เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 ณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ข้อเสนอเชิงนโยบาย
จากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยการใช้ระเบิดปรากฏว่าก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและทางราชการ แม้ว่ารัฐบาลได้ออกมาตรการควบคุมแต่ยังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ในการนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้มีหนังสือลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2549 ไปยังผู้ประกอบการทุกรายเพื่อขอความร่วมมือในการระงับการให้บริการซิมการ์ดที่ถูกยึดไปทั้งหมดและระงับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงินที่ยังไม่จดทะเบียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยสิ้นเชิง
ในการนี้ ได้เชิญหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือทุกราย (ระดับตัดสินใจ) มาร่วมประชุมเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2549 ณ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อกำหนดมาตรการเข้มงวดเพิ่มขึ้น โดยมีประเด็นหารือสรุปได้ดังนี้
1. กรณีซิมการ์ดถูกโจรกรรมไป กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ออกประกาศกระทรวงฯ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2549 เรื่องการจัดระเบียบการใช้โทรศัพท์ระบบเติมเงิน ซึ่งกำหนดว่ากรณีซิมการ์ดเกิดสูญหายต้องรีบแจ้งต่อศูนย์บริการลูกค้าของแต่ละบริษัทที่ใช้บริการ เพื่อการระงับสัญญาณโทรศัพท์ทันที และศูนย์บริการที่รับแจ้งจะต้องออกหนังสือรับรองให้เพื่อเป็นหลักฐานในการนำไปแจ้งความต่อสถานีตำรวจต่อไป
2. การจดทะเบียนซิมการ์ดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการและจดทะเบียนในพื้นที่แล้วจำนวนทั้งสิ้น 867,000 ราย โดยผู้ประกอบการทุกรายยืนยันว่าได้ระงับสัญญาณผู้ที่ไม่ได้จดทะเบียนซิมการ์ดแล้วทั้งหมด ซึ่งมีประมาณ 10 % และขณะนี้ยืนยันว่าผู้ที่จดทะเบียนซิมการ์ดของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ครบ 100 % แล้ว
3. การจดทะเบียนโทรศัพท์มือถือทั่วประเทศ เป็นอำนาจของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ที่จะต้องกำหนดหลักเกณฑ์และ/หรือวิธีการอื่นใดตามอำนาจของคณะกรรมการที่จะพักหรือหยุดให้การบริการโทรศัพท์มือถือระบบ Pre-Paid ในกรณีที่ไม่ได้มีการแสดงตนหรือจดทะเบียน ทั้งนี้ เพื่อความมั่นคงของชาติ
4. SIM Card ใหม่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการทุกรายให้คำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการให้จดทะเบียนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงินเป็นสำคัญและให้กวดขันการตรวจสอบเอกสารในการจดทะเบียนซิมการ์ด
5. การควบคุมสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่บริเวณชายแดนไทย — มาเลเซีย ปัจจุบันพบว่ามีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่รุกล้ำชายแดนประเทศไทยประมาณ 1.5 — 5 กิโลเมตร ผู้ประกอบการโทรศัพท์ของมาเลเซียทั้งสามรายได้แจ้งว่าขอยึดถือข้อตกลงกับ กทช. เมื่อธันวาคม 2548 ที่ตกลงจะให้สัญญาณล้ำเข้ามาได้ถึง 3 กิโลเมตร แต่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้กำหนดเป็นนโยบายที่จะให้สัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องสิ้นสุด ณ บริเวณชายแดน ซึ่งจะต้องหารือกันในระดับกระทรวงกับประเทศมาเลเซียต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 สิงหาคม 2549--จบ--