ข้อมูลประเทศกัมพูชา

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 30, 2009 17:04 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1.1 ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป

ประเทศกัมพูชามีระบบเศรษฐกิจแบบอาศัยกลไกตลาดที่มีพื้นที่เพียง 1 ใน 3 ของประเทศไทย และมีประชากร ประมาณ 13 ล้านคน ประกอบกับการเป็นประเทศที่มีสงครามกลางเมือง (เขมร 4 ฝ่าย) ต่อเนื่องกว่า 2 ทศวรรษ ทำให้ ฐานการผลิตทั้งทางด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเสียหายไปมาก แม้ว่ารัฐบาลและองค์กรระหว่างประเทศได้เข้ามาช่วยเหลือ ฟื้นฟูโดยตลอดนับแต่สงครามภายในได้ยุติลงเมื่อปี พ.ศ. 2534 แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จและถือว่าเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ประเทศหนึ่งของโลก โดยมี GDP ปี 2546 เพียง 4,215 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ประมาณว่าประชาชนร้อยละ 50 มีรายได้ ต่ำกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนต่อวัน ประกอบกับการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ต้องพึ่งพา การนำเข้าจากต่างประเทศเป็นสำคัญ

ในระยะ 5 ปี ที่ผ่านมา GDP มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.8 ต่อปี โดยในปี 2547 GDP จะขยายตัว ร้อยละ 5.5 ส่วนปี 2548 เนื่องจากภาวะความแห้งแล้งในประเทศกระทบต่อภาคการเกษตรซึ่งมีสัดส่วนที่สำคัญใน GDP และการ ยกเลิกระบบโควต้าสิ่งทอ นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 ทำให้สิทธิประโยชน์ที่เคยเอื้อการส่งออกสิ่งทอบางส่วนหมดไป จึงคาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 4-4.5

ด้านอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยวซึ่งเป็นตัวผลักดันเศรษฐกิจที่สำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ โดยปัจจุบันมีสัดส่วนเกือบ ร้อยละ 40 ของ GDP คาดว่าจะมีอัตราเติบโต 8% จากการขยายตัวของธุรกิจและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาชมนครวัด-นครธม สิ่งมหัศจรรย์ของโลกและผลต่อเนื่องจากนโยบาย “Open Sky Policy” ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2547 มีสูงถึง 1 ล้านคน

2. โครงสร้างทางเศรษฐกิจของกัมพูชา
2.1 นโยบายการค้า

รัฐบาลกัมพูชาประกาศดำเนินนโยบายการค้าตามแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด โดยมุ่งเน้นบทบาทที่จะไม่แทรกแซง ราคาสินค้าหรือบริการ นอกจากชี้แนะแนวนโยบายด้านการค้าให้นักธุรกิจภายในและชาวต่างชาติให้ประกอบธุรกิจสอดคล้องกับ ทิศทางนโยบายและกฎหมายของประเทศ สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภคให้เพียงพอและเอื้อต่อการค้า เช่น ปรับปรุงบูรณะถนนที่มีอยู่ สนับสุนนให้มีการผลิตสินค้าในประเทศกัมพูชาให้มีปริมาณและคุณภาพดีมากยิ่งขึ้น เสริมสร้างความสัมพันธ์ ด้านการค้าระหว่างประเทศ เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างตลาดภายในกับตลาดต่างประเทศเพื่อผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน

รัฐบาลกัมพูชาเปิดรับการลงทุนในทุกด้าน นักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนและถือหุ้นร้อยละ 100 ในกิจการต่างๆ ทั้งสามารถถือครองทรัพย์สินต่างๆ ได้โดยเสรี ยกเว้นที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ซึ่งสงวนไว้สำหรับบุคคลในชาติและมีอาชีพหรือธุรกิจ ที่สงวนสำหรับบุคคลในชาติหรือต้องร่วมลงทุนกับคนในชาติเพียงไม่กี่รายการเช่น มัคคุเทศน์นำเที่ยว โรงสีข้าว และโรงอิฐ เป็นต้น

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายและป้องกันการละเมิดในทรัพย์สิน กัมพูชาอยู่ระหว่างการพิจารณาออกก ฎหมายแพ่ง (Civil Code) ได้ปรับปรุงกฎหมายการค้าและการลงทุนให้ถูกต้อง และสอดคล้องกับสากล เพื่ออำนวยความสะดวก ให้แก่นักลงทุนภายในและต่างประเทศรวมทั้งมีนโยบายป้องกันการละเมิดทรัพย์สินที่ถูกต้องตามกฎหมายของนักลงทุนภายในและต่าง ประเทศให้มีประสิทธิภาพ

ปี 2546 รัฐบาลกัมพูชาคาดว่าจะมียอดขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 976 พันล้านเรียล ในปี 2545 เป็น 991 พันล้านเรียล หรือขาดดุลราว 6.3% ของ GDP

ด้านรายได้ รัฐบาลกัมพูชาตั้งประมาณการรายได้ไว้ที่ 1,982 พันล้านเรียล เพิ่มขึ้น 14.1% จากปี 2545 โดยแหล่ง รายได้หลักของรัฐบาลกัมพูชา คือ รายได้จากการจัดเก็บภาษี ซึ่งมีสัดส่วนราย 67.3% ของรายได้รวม ทั้งนี้ รัฐบาลกัมพูชาคาดว่า จะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 9.4% เป็น 1,333 พันล้านเรียล

ด้านรายจ่าย รัฐบาลกัมพูชาตั้งงบประมาณรายจ่ายไว้ที่ 2,973 พันล้านเรียล เพิ่มขึ้น 9.6% จากปี 2545 แบ่งเป็น รายจ่ายประจำและรายจ่ายด้านการลงทุน คิดเป็นสัดส่วน 59.8% และ 38.2% ของรายจ่ายรวม ตามลำดับ รายจ่ายประจำที่สำคัญ คือ การปฏิรูประบบราชการ การปลดทหาร และการเลือกตั้ง เป็นต้น ซึ่งคาดว่า รายจ่ายประจำจะเพิ่มขึ้น 15.7% เป็น 1,778 พันล้านเรียล

ภาระหนี้ต่างประเทศและความสามารถในการชำระหนี้

  Indicators               Unite                               2545                                                      2546
                                        Cambodia    Vietnam    Myanmar      Laos      Thailand     Cambodia    Vietnam    Myanmar      Laos     Thailand
  Total External Debt    USD Million    2,403.00     13,300    6,031.00    12,291    60,856.00    1,370.00      15,079    6,011.00    14,060      54,895
        - % GDP               %             65.6         38        n.a.      69.4         48.3        n.a.        39.6        n.a.      66.7        38.5
  Debt-Service Ratio          %              3.0        6.6         5.0      14.7         17.6         2.6         6.5         4.0      18.8        10.1
     Import Cover          Months            3.3        2.2         0.9       3.7          5.8         3.6         2.1         1.5       3.7         5.7
Note : n.a = not availabel (ไม่มีข้อมูล)
Sources :  - Cambodia จาก International Monetary Fund (IMF), “IMF Country Report No. 03/58 : Cambodia”, March 2003
  • Vietnam จาก The Economist Intelligence Unit (EIU), “5-year Forecast, Vietnam”, March 15, 2004
  • Myanmar จาก The Economist Intelligence Unit (EIU), “Country Risk Rating : Myanmar”, September 2003 and March 2004.
  • Laos จาก International Monetary Fund (IMF), “IMF Country Report : Loas”, October 2003.
  • D&B International Risk and Payment Review, “Country Risk Indicator”, December 2003.
  • หนี้ต่างประเทศคงค้างต่อ GDP ปี 2545 กัมพูชาดีกว่าลาว แต่แย่กว่าเวียดนามและไทย
  • ความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศของกัมพูชา พิจารณาจาก Debt-Service Ratio ทั้งปี 2545 และปี 2546กัมพูชาดีกว่าทุกประเทศ
  • Import Cover ปี 2546 กัมพูชาดีกว่าเวียดนามและพม่า แต่แย่กว่าลาวและไทย

กัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก IMF เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2512 ทั้งนี้ กัมพูชาเพิ่งประกาศรับ Article 8 Sections 2-4 ของ IMF เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2545 ในช่วงที่ผ่านมากัมพูชาได้รับอนุมัติเงินกู้จาก IMF รวม 2 ครั้ง คือ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ