ภาวะตลาดเครื่องแต่งกายและส่วนประกอบของชาวอาหรับ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 8, 2009 14:00 —กรมส่งเสริมการส่งออก

บทนำ

ชาวมุสลิมในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะในกลุ่ม GCC ประเทศแถบอ่าวอาระเบีย(อ่าวเปอร์เซีย)ประกอบด้วยประเทศซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต บาห์เรน โอมาน และกาตาร์ ซึ่งยังเคร่งครัดในการแต่งกายถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม เป็นเอกลักษณแสดงถึงตัวตน ความเชื่อถือ ศรัทธา และวัฒนธรรมที่ยั่งยืนสืบต่อกันมา

ข้อมูลที่ปรากฎในรายงานฉบับนี้สามารถใช้เป็นแนวทางการศึกษาองคป์ระกอบสินค้า รูปแบบ พฤติกรรมผู้บูริโภค และคู่แข่งขันในตลาดเป้าหมาย เพื่อใช้สำหรับพัฒนาสินค้าตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่มีลักษณะเฉพาะ

เครื่องแต่งกายชายอาหรับและส่วนประกอบ

ชุดประจำชาติเป็นชุดยาวคลุมข้อเท้า เสื้อแขนยาว สวมหมวกทรงกลมใบเล็ก ทับด้วยผ้าคลุมศรีษะ มีเชือกสีดำครอบกันผ้าเลื่อนหลุด บางประเทศในโอกาสหรือพิธีสำคัญจะมีสวมใส่เสื้อคลุมเนื้อบางสีดำเดินขอบด้วยแถบสีทองแต่ประเทศ เช่น อิรัค ใช้สวมใส่ประจำวันรายละเอียดของเสื้อผ้าและเครื่องประกอบการแต่งกายมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1. ผ้าคลุมศรีษะ Ghutra / Shumagg

ในอดีตผ้าคลุมศรีษะเป็นวัฒนธรรมของชาวอาหรับที่ใช้ชีวิตอยู่กลางทะเลทรายสามารถใช้ประโยชน์ Ghutra ได้หลายอย่างเช่นเดียวกับผ้าขาวม้า ของไทย คือ ใช้ปูนอน ใช้ปูละหมาด ใช้แทนเชือก กันหนาว ป้องกันฝุ่นผง ความร้อนและกันแดดในทะเลทราย

ปัจจุบันชาวอาหรับในกลุ่มประเทศอ่าวอาระเบียน (อ่าวเปอร์เซีย) ใช้ผ้า Ghutra สำหรับประกอบการแต่งกายประจำวัน แต่ละประเทศมีความนิยมใช้สี ลายผ้าแตกต่างกันเช่น ในประเทศ คูเวต บาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส?(ยูเออี) นิยมใช้ผ้าสีขาวล้วน ในประเทศซาอุดิอาระเบีย กาตาร์นิยมเป็นผ้าตาหมากรุกสีแดง-ขาว (เรียกว่า Shumagg/ smagh /shmagh)

หากเป็นผ้าตาหมากรุกสีดำ-ขาว(เรียกว่า Kofiyah / Kaffiyeh) นิยมใช้ในประเทศปาเลสไตน์ จอร์แดน ซีเรียและอิรัค เป็นต้น

ผ้าคลมุ yashmagh ที่ผลิตด้วยผ้าผสมขนสัตว์ตกแต่งด้วยการปักลวดลาย สำหรับใช้ในฤดูหนาว ส่วนใหญ่ตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายเนื้อบาง เป็นรูปสี่เหลี่ยม ชายผ้าเป็นครุยโดยรอบ ผ้าบางแบบมีภู่ห้อยที่มุง เมื่อใช้คลุมศรีษะจะพับเป็นรูปสามเหลี่ยน หากผ้าที่มีภู่ห้อย การพับผ้าจะต้องให้ภู่ห้อยอยู่ที่มุมล่างของผ้า โดยสวมผ้าพับเป็นสามเหลี่ยมทับบนหมวกสีขาว และรัดด้วยเชือกให้อยู่ตัวหากไม่ใช้เชือกรัด จะมัดผ้าให้แน่นศรีษะด้วยปลายผ้าสองข้าง

วัสดุผ้าที่ใช้คือผ้าฝ้าย ผ้า Poly, T/C; T/R ผ้า Jacquard (เนื้อมันวาวและเนื้อด้าน) ขนาดมาตรฐานของผ้า คือ 110 x 110 (ซม.)

การบรรจุหีบห่อสำหรับส่งออกนิยมบรรจุผ้า 1 ผืนในถุงพลาสติกใส / จำนวน 12 ชิ้น ในกล่องเล็ก และ 10 กล่องเล็กบรรจุในกล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับขนส่ง

ราคาของผ้ามีความหลากหลายมาก สินค้าราคาถูกเป็นพิมพ์ลายราคาขายปลีกผืนละ 30 บาท -200 บาท ส่วนสินค้าคุณภาพดี ราคาแพงบรรจุในกล่องสวยงามมีราคาผืนละ 1000-3000 บาท (สินค้าจากเกาหลี)

2. เชือก Ogal /Igal

เชือกถักสีดำสำหรับใช้รัดผ้าโพกศรีษะ Ghutrah ไม่ให้หลุดเลื่อน ทำจากเชือกขนสัตว์ขนแพะ ขนแกะและขนอูฐ รูปแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันเชือกถักกลม บางประเทศ (โดยเฉพาะชาวยูเออี) นิยมแบบมีภู่ห้อย เชือก Igal สมัยก่อนจะเป็นสีทอง ชื่ออื่นใช้เรียกเชือกรัดนี้ว่า Egal, Agal และ Aqal

ขนาดความยาวของเชือกโดยทั่วไปประมาณ 50 ซม. 51 ซม. 52 ซม. 53 ซม. และ 54 ซม.

การบรรจจุหีบห่อเชือก 1 ชนิ้ บรรจุในกล่อง / กล่องจำนวน 20 กล่อง — 60 กล่อง

บรรจุในลังลูกฟูกสำหรับขนส่งราคาปลีกจำหน่ายเส้นละ 300 บาท ถึงราคาเส้นละ 1,000 บาทก็มี

3. หมวก Tagiya Taqiyah

เป็นคำยืมจากภาษาอาระบิคคนไทยใช้ทับศัพท์ว่า หมวกกะปิเยาะห์ ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จะใช้คำว่ากปิเยาะห์ หรอื บางที ก็กร่อนเสียงเหลือเพียง “ปิเยาะห์” กะปิเยาะห์ เป็นหมวกของชาวมุสลิมสวมใส่ในการประกอบศาสนกิจ หรือประกอบพิธีละหมาด ภาษาอังกฤษจึงเรียกหมวกนี้ว่า “prayer cap”

ผ้าคลุม ศรีษะและหมวกกะปิเยาะห์ นับได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการแต่งกายของชาวมุสลิม ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่เป็นเครื่องอาภรณ์ ประดับร่างกายเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ต้องยึดถือฏิบัติตามหลักศาสนาที่จำเป็นต้องมี

รูปทรงของกะปิเยาะห์มีหลากหลาย มีการออกแบบลวดลายงดงามแตกต่างกันไปโดยทั่วไปมี 3 ขนาด พอเหมาะสำหรับผู้ใช้ ได้แก่ ขนาดสำหรับผู้ใหญ่วัยรุ่นและเด็ก วิธีการตัดเย็บกะปิเยาะห์ต้องใช้ฝีมือการผลิตที่ประณีต เพื่อให้ได้รูปทรงการตัดเย็บจะใช้ผ้าหลายชนิดทับซ้อนกัน พร้อมทั้งออกแบบให้มีลวดลายต่างๆ ปักและฉลุเพื่อเป็นรูระบายอากาศให้สวมใส่สบาย

แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรมโดยเครื่องจักรอุตสาหกรรมในการตัดเย็บปักและฉลุลาย เพื่อผลิตสินค้าจำนวนมากในราคาที่ย่อมเยาว

หมวก Taqiyah ของชาวอาหรับประเทศกลุ่มอ่าวอาระเบีย นิยมใช้แบบลายโครเชต์สีขาว สวมแนบศรีษะ ประเทศซาอุดิอาระเบียเป็นผู้นำเข้า หมวกกะปิเยาะห์รายสำคัญ เพราะแต่ละปีมีผู้เดินทางเข้าไปแสวงบุญ เช่น อุมเราหะ ฮัชญ์ ปีละหลายล้านคน ( อย่างน้อย 3 ล้านคน/ปี ) และมักจะซื้อหมวกกะปิเยาะห์ กลับไปเป็นของฝากที่ประเทศตน แต่ละคนจะซื้อจำนวนหลายใบ จนถึงหลายๆ โหล โดยมีจีนเป็นประเทศผู้ส่งออกรายสำคัญ อีกทั้งมีโรงงานขนาดใหญ่ ผลิตกาปิเยาะห์ในบังคลาเทศโดยร่วมลงทุนกับนักลงทุนซาอุดิอาระเบีย

มุสลิมในกลุ่มประเทศแอฟริกาตอนเหนือและตะวันออก เช่น อียิปต์ ซูดาน จะสวมสวมกะปิเยาะห์อย่างเดียวเหมือนชาวมุสลิมในอินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย ดังนั้นหมวกกะปิเยาะห์สำหรับสวมเดี่ยวจึงมีการออกแบบลวดลายและใช้สีผ้าหลากหลายสวยงาม

ประเทศยูเออีมีปีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 5.2 ล้านคน ชาวอาหรับพื้นเมืองจำนวนไมถึ่งล้านคนเหลือเป็นประชากรชาวต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ (ประมาณ 3 ล้านคน) นอกจากนั้นชาวอิหร่าน อาหรับอื่น และมุสลิมกลุ่มประเทศอัฟริกัน

กะปิเยาะห์ที่นำเข้าจึงมีหลากหลายแบบ เพื่อตอบสนองต่อผู้ซื้อในประเทศที่แตกต่างเชื้อชาติและความนิยม สินค้าบางส่วนนำเข้าสำหรับตลาดส่งออกต่อ (Re-export) ที่อยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลางด้วยกันย ตลาดอัฟริกาและเอเซีย

รูปแบบกะปิเยาะห์ที่มีวางจำหน่ายในดูไบ ได้แก่ กะปิดเยาะห์แบบอินเดีย แบบซูดาน แบบถักโครเชต์ แบบโอมาน แบบอัฟกานิสถาน เป็นต้น โดยนำเข้าจากประเทศจีน บังคลาเทศ และอินเดีย สินค้าของจีนราคาถูกมาก (ราคาขายส่งประมาณ 150 บาทต่อ 1 โหล) ราคาขายปลีกย่อมเยาว์ใบละ 18.00 บาท ไปจนถึงประมาณใบละ 200 บาท

ขนาดหมวกมีประมาณ 21.5 - 22 ซ.ม. สูง 10 ซ.ม. เป็นต้น

4. เสื้อคลุม Bisht / Mishlah / Meshlah.

มิชลาฮ์ (Mishlah) เป็นเสื้อคลุมใช้ช้สวมทับดชิ ดาชา ตดั เยบ็ ด้วยผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ ( ขนอฐู ขนแกะ) สีดำ สีน้ำตาลทอง สีขาว สีเนื้อ ตกแต่งบริเวณสาบเสื้อด้วยแถบผ้าปักสีทอง ชาวอาหรับระดับราชวงค์หรือผู้มีตำแหน่งระดับสูง นิยมสวมใส่ในโอกาสและพิธีการสำคัญ เจ้าบ่าวสวมในงานแต่งงาน ขนาดเสื้อเป็น Free size บางประเทศเรียกเสื้อคลุมนี้ว่า Bisht

ประเทศที่ใช้เสื้อคลุมนี้สวมใส่ ได้แก่ ประเทศกลุ่ม GCC 6 ประเทศ และประเทศจอร์แดน อิรัค ซีเรีย และปาเลสไตน์

ราคาเสื้อคุณภาพธรรมดาตัวละ 3,000 บาท จนถึงหลักหมื่น หากเป็นเสื้อคลุมชนิดพิเศษใช้เส้นทองเงินจริง ราคาตัวละ 100,000 บาทก็มี (ทำจากซาอุดิอาระเบีย)

5. Kandura/Dishdasha / Thobe

ชุดประจำชาติอาหรับเรียกแตกต่างกัน ในกลุ่มประเทศอาหรับส่วนเหนือ เรียกดิชดาชา(dishdasha) ยูเออีเรียก กันดูร่า (Kandura) ส่วนในซาอุดิอาระเบียเรียก โต๊ป (Thobe) เป็นชุดแต่งกายสำหรับชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในกลุ่มอ่าวอาระเบีย ลักษณะชุดยาวคลุมข้อเท้า ผ่าหน้าความกว้างพอสำหรับสวมหัวได้ เสื้อแขนยาว นิยมใช้ผ้าสีขาวตัดเย็บ แต่การออกแบบปกและปลายแขนแตกต่างกัน เช่น คอกลมผ่าหน้ามีภู่ห้อย คอตั้ง ปกเชิ้ต ปลายแขนแบบปล่อย ปลายแขนติดกระดุมแบบเสื้อเชิ้ต หรือใช้ Cufflink

ส่วนใหญ่นิยมสั่งตัดจากร้านตัดเสื้อผ้าในประเทศ หากเป็นสินค้าราคาปานกลางถึงราคาถกู เป็นชุดสำเร็จรูปตัดจากโรงงานในประเทศ หรือนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ราคาของเสื้อผ้าที่ผลิตในประเทศมีราคาถูกสามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้ในฤดูหนาวจะใช้สีเข้ม เช่น น้ำเงิน เทา น้ำตาล ผ้าเนื้อหนาหรือเนื้อผสมขนสัตว์

บางประเทศชายอาหรับจะสวมชุดนี้ทับกางเกงขายาวข้างในที่เรียกว่า Sirwal / Sarwal บางประเทศ เช่น ยูเออีจะสวมทับผ้าโสร่งลายหมากรุก หรือโสร่งสีขาว

หากเป็น ชุดอยู่บ้านหรือชุดนอน ส่วนใหญ่เป็นชุดสำเร็จรูป แขนสั้น ใช้ผ้าฝ้ายผสมโพลีเอสเตอร์และผ้าลายตัดเย็บ เนื้อผ้าจะหนาวกว่าชุดสีขาวที่ส่วนใหญ่มักจะเป็นผ้าฝ้ายเนื้อนุ่ม คุณภาพดี ซึ่งเป็นสินค้าของญี่ปุ่น (ผ้า Kanebo) เกาหลี

ชุดสำเร็จรูปนำเข้าจากจีน อินเดีย บังคลาเทศ ซีเรีย จอร์แดน และตุรกี เป็นต้นราคาจำหน่ายปลีกชุดละ 350-450 บาท

สำหรับราคาชุดสีขาวคุณภาพดีราคาชุดละประมาณ 2,000-8,000 บาทขึ้นไปสินค้า คุณภาพรองถึงราคาถูกประมาณชุดละ 450-2000 บาท ขนาดที่นิยมทั่วไปคือ

          ขนาด      ความยาว      อกกว้าง
          52 นิ้ว        52          42
          54 นิ้ว        54          44
          56 นิ้ว        56          46
          58 นิ้ว        58          47
          60 นิ้ว        60          48
          62 นิ้ว        62          49

ภาวะตลาด :

กลุ่มเป้าหมาย: ชาวอาหรับพื้นเมืองและชาวต่างชาติ ส่วนใหญ่เป็นชายอายุระหว่าง 20-60 ปี นอกจากนั้นเป็นสินค้าใช้ส่งออกต่อ เช่น ประเทศอัฟริกา และประเทศอาหรับอื่นๆ

ขนาดตลาด : ยูเออีมีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 3.1 ล้านคน เป็นชาวต่างชาติร้อยละ 70 อีกร้อยละ 30 เป็นชาวอาหรับพื้นเมือง รัฐดูไบเป็นศูนย์การนำเข้าสินค้าสัดส่วนการนำเข้าเสื้อผ้ากล่มุนี้ผ่านรัฐดูไบคิดเป็นร้อยละ 80 จากการนำเข้าประเทศยูเออี

ดังนั้นสถิติการนำเข้าของดูไบจึงใช้เป็นฐานประเมินการนำเข้าของประเทศได้มูลค่าการนำเข้าสินค้ากลุ่มเสื้อชายและเด็กชายดูไบ (ภายใต้ H.S.Code 6201/6203/6205/6207/6214/6217) ของปี 2007 มีปริมาณ 102,250 ตัน มูลค่า 478 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยนำเข้าจาก ประเทศต่างๆ เรียงตามสัดส่วนตลาด พอสรุปไดด้ งั นี้

จีน 42% อินเดีย 20% อิตาลี 8% อังกฤษ 7% อินโดนีเซีย 3% อินโดนีเซีย ปากีสถาน ไทย และตุรกีประมาณ 2% และฝรั่งเศส 1% ตามลำดับ

การค้าส่ง : ย่านขายส่งสินค้าเสื้ออยู่ในบริเวณตลาด Murshid Barzar รัฐดูไบ การจัดจำหน่ายและนำเข้า: ผู้นำเข้ามี 3 กลุ่มคือ

  • ผู้นำเข้า ร้อยละ 40
  • นายหน้า ร้อยละ 40
  • ผู้ค้าปลีก ร้อยละ 20

การแข่งขัน

ราคา : มีการแข่งขันในด้านราคาระหว่างสินค้านำเข้าและสินค้าที่ผลิตในประเทศแต่อย่างไรก็ตามสินค้าราคาถูกจากจีน ที่มีสัดส่วนตลาดมากกว่าร้อยละ 40 นั้นนำเข้ามากเพื่อส่งออกต่อไปยังประเทศอื่น

เงื่อนไขและกฎระเบียบการนำเข้า:

  • มาตรการกีดกันทางการค้า : ไม่มี
  • อัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 5
  • ภาษีอื่นๆ : ไม่มี
  • วิธีการชำระเงิน : ระบบ L/C
  • การขนส่ง : ขนส่งทางเรือ
สรุป :

1. ราคานำเข้าเป็นตัวกำหนด ดังนั้นสินค้าไทยที่จะสามารถแข่งขันกับสินค้าจีนราคาถูกได้นั้น ไทยจะต้องพัฒนาคุณภาพ ลวดลาย การตัดเย็บ ต้องมีค วามประณีต นอกจากนี้ยี งจะตอ้ งแขง่ขนั กับสินค้า ที่มีผลิตในประเทศ ซึ่งได้เปรียบในเรื่องราคา เพราะไม่ต้องมีต้นทุนการขนส่งเวลาแน่นอนในการส่งมอบ และผู้ซื้อสามารถซื้อจำนวนน้อยได้ โรงงานตัดเย็บ เสื้อผ้าส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมพิเศษ (Free Zone) ในดูไบและรัฐชาร์จาห?

2. จากการสำรวจตลาดพบว่าสินค้าหมวกกะปิเยาะห์ ชุดกันดูร่า ผ้าคลุมกุตตร้านั้นส่วนใหญ่เป็นสินค้าของจีนเกือบทั้งสิ้น

ผู้ซื้อ/ผู้นำเข้าในดูไบ สนใจและต้องการพบกับผู้ผลิต และชอบที่จะพบกับผู้ผลิต/ผู้ส่งออกรายใหญ่ๆ เพื่อเป็นการหาแหล่งสินค้าใหม่ซึ่งสามารถทำกำไรได้ดี นอกจากนี้ผู้ซื้อ/ผู้นำเข้านิยมที่จะติดต่อกับผู้ผลิตโดยตรงโดยมีความเชื่อมั่นว่าจะได้สินค้าในราคาที่ต่ำกว่าการติดต่อผ่านคนกลาง

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ