ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของไทยยังมีโอกาสเจาะขยายตลาดจีน

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 24, 2010 16:05 —กรมส่งเสริมการส่งออก

จีนเป็นทั้งผู้ผลิตและนำเข้าอาหารทะเล ทั้งเพื่อแปรรูปส่งออกและเพื่อบริโภคที่น่าจับตามอง เนื่องจากตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในจีน เป็นตลาดน่าสนใจจากปริมาณผลิตที่ไ ม่เพยีงพอตอ่ความต้องการบริโภค ทำให้จีนต้องพงึ่การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เพื่อป้อนตลาดในประเทศ ปัจจุบัน มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลไทยไปตลาดจีนยังไม่สูงนัก ประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของจีน คือ รัสเซียสหรัฐอเมริกา นอรเวย์ ญี่ปุ่น แคนาดา อินเดียและเกาหลีใต้ ซึ่งสัดส่วนตลาดรวมกันถึง 65% ของมูลค่านำเข้าอาหารทะเลทั้งหมดของจีน สำหรับไทย อยู่อันดับ 8 ของแหล่งนำเข้าอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์ของจีน โดยใน ปี3 เดือนแรกของ ปี2009 มณฑลกวางตุ้งนำเข้าอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์จากไทยเฉลี่ย 6,779 ตัน คิดเป็นมูลค่า 14.94 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2010 มณฑลกวางตุ้งนำเข้าอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์จากไทยเฉลี่ย 6,058 ตัน คิดเป็นมูลค่า 6.59 ล้านเหรียญสหรัฐ เปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี2009 ลดลงร้อยละ 10.63 เนื่องจากรัฐบาลมณฑลกวางตุ้งส่งเสริม การเลี้ยงสัตว์ เช่น ฟาร์มเลี้ยงกุ้ง บ่อเลี้ยงปลา การเพาะเลี้ยงชายฝั่งในมณฑล

แนวโน้มบริโภคอาหารทะเลของคนจีนเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาหารทะเลมีความสดและคุณภาพดีขึ้น เนื่องจากการปรับปรุงและพัฒนาช่องทางขนส่ง และรายได้เฉลี่ยต่อหัวคนจีน มี แนวโน้มเพิ่มขนึ้ ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายตลาดอาหารทะเลนำเข้าคือกลุ่มผู้มีรายได้สูงและอาศัยตามเมืองใหญ่ๆ เนื่องจากเป็นกลุ่มรายได้เพียงพอซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลนำเข้า ปัจจุบันพื้นที่แถบชนบทของมณฑลกวางตุ้งเริ่มหันมาเลี้ยงสัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำทะเลในพื้นที่น้ำจืดเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเลี้ยงรายย่อยเพื่อจำหน่ายให้พื้นที่ใกล้เคียงรวมทั้งนักธุรกิจหันมาลงทุนเพาะเลี้ยงลักษณะฟาร์มขนาดใหญ่ เพื่อจำหน่ายให้ผู้บริโภคในเมืองใหญ่และป้อนเข้าโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเพื่อส่งออกอาหารทะเลแปรรูปเพื่อส่งออก

แม้จีนจะเป็นผู้ผลิตอาหารทะเลและผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลมากที่สุดในโลกแต่จีนยังต้องการนำเข้าสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เนื่องจาก

1. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค กลุ่มคนรุ่นใหม่ของจีนเป็นตลาดสำคัญของอาหารทะเลนำเข้า เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้เห็นว่า อาหารทะเลนำเข้าต่างจากอาหารทะเลที่ผลิตได้ในประเทศ ทั้งความหลากหลายของประเภท และรสชาติจึงเป็นโอกาสของผลติภัณฑ์อาหารทะเลที่ยังไม่สามารถผลิตได้ในจีน โดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋องเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามสไตล์ตะวันตก

2. ปัจจัยเอื้อนโยบายรัฐบาลจีน ราคาเป็นปัจจัยสำคัญมากในการตัดสินใจซื้ออาหารทะเลของกลุ่มคนจีนโดยทวั่ไป นอกจากนี้กลุ่มคนจีนที่มีอายุนิยมซื้ออาหารทะเลจากตลาดสด ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่จะทราบที่มาของอาหารทะเลเหล่านี้ อาหารทะเลที่จำหน่ายส่วนใหญ่ยังมีชีวิต ซึ่งโดยทั่วไปคนจีนนิยมซื้ออาหารทะเลเป็นๆ ซึ่งเมื่ออาหารทะเลเป็นๆ ราคาแพงขึ้น เนื่องจากนโยบายรัฐบาลจำกัดปริมาณจับสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติอาหารทะเลแช่แข็งจึงเป็นทางเลือกน่าสนใจมากขึ้น รองลงไปคืออาหารทะเลกระป๋องและอาหารทะเลตากแห้ง โดยเฉพาะปลาหมึกตากแห้งเป็นของขบเคี้ยวที่นิยมมากในกลุ่มคนจีนอย่างไรก็ตาม อาหารทะเลนำเข้าที่มีโอกาสขยายตลาดในจีน ต้องเป็นอาหารทะเลที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคของคนจีน กล่าวคือ คนจีนนิยมบริโภคหัวปลาและพุงปลาส่วนขนาดปลาที่เป็นที่นิยมในตลาดจีนควรจะมีน้ำหนักประมาณ 200-500 กรัมต่อตัวยังมีหัวและหางอยู่ครบ เนื่องจากปลาขนาดนี้เหมาะสำหรับนำไปนึ่ง ซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมของคนจีน

3. การแข่งขันของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลนำเข้า ยังไม่สูงนัก ปัจจุบันอาหารทะเลนำเข้าของจีน ยังไม่มีประเทศใดเป็นผู้นำตลาดชัดเจนและความต้องการอาหารทะเลของจีนหลากหลาย อย่างไรก็ตาม อาหารทะเลที่ส่งออกจากประเทศแถบเอเชีย มีความสามารถแข่งขันในตลาดจีนได้ดีกว่า เนื่องจากราคาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เมื่อเทียบกับอาหารทะเลจากประเทศตะวันตก

4. ตามกรอบความร่วมมือเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน (China — ASEAN FreeTrade Area) ภาษีในการนำเข้าสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเล ไม่ว่าจะสด แช่แข็ง หรือแห้งจะเป็น 0% ดังนั้นจีนจึงเป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของไทย

สคร. กวางโจว

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก การนำเข้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ