คณะมนตรี IMO เป็นองค์กรระดับบริหาร มีหน้าที่ตรวจสอบ กำกับดูแล และติดตามงานของ IMO ประกอบด้วยประเทศสมาชิกที่ได้การเลือกตั้งจากสมัชชา IMO จำนวน ๔๐ ที่นั่ง ดำรงตำแหน่งวาระละ ๒ ปี โดยแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ (๑) กลุ่ม A ประเทศสมาชิกที่มีผลประโยชน์มากที่สุดในการให้บริการด้านการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศ จำนวน ๑๐ ประเทศ (๒) กลุ่ม B ประเทศสมาชิกที่มีผลประโยชน์มากที่สุดในด้านการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ จำนวน ๑๐ ประเทศ และ (๓) กลุ่ม C ประเทศสมาชิกที่มีผลประโยชน์เป็นพิเศษในด้านการขนส่งทางทะเลหรือการเดินเรือ และเป็นตัวแทนจากภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก จำนวน ๒๐ ประเทศ
IMO เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๐๒ ปัจจุบันมีสมาชิก ๑๗๑ ประเทศ มีหน้าที่เป็นองค์กรกลางเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ในการกำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ คนประจำเรือ และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมทั้งการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก สำนักงานใหญ่ IMO ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักรและมีสำนักงานภูมิภาค จำนวน ๔ แห่งตั้งอยู่ที่ประเทศเคนยา กานา โกตดิวัวร์ และฟิลิปปินส์
--กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ--