- ในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติได้มีบทบาทสำคัญต่อตลาดทุนไทยเป็นอย่างมาก โดยแม้ว่านักลงทุนต่างชาติจะมีสัดส่วนการลงทุนที่น้อยเพียงร้อยละ 25.0 ของมูลค่ารวมในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด แต่การซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติสามารถอธิบายการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยได้กว่าครึ่ง
- จากการศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2554 พบว่า
1) นักลงทุนต่างชาติจะเข้าซื้อสุทธิในมูลค่าเฉลี่ยที่น้อยกว่าและจำนวนวันติดต่อกันที่สั้นกว่าการขายสุทธิ
2) นักลงทุนรายย่อยซื้อขายในทิศทางที่ตรงข้ามกับนักลงทุนต่างชาติอย่างมีนัยสาคัญ ทั้งในช่วงตลาดหุ้นขาขึ้น และในช่วงตลาดหุ้นขาลง
3) เมื่อนักลงทุนต่างชาติลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยก็จะลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทยในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นการสะท้อนว่านักลงทุนต่างชาติแบ่งกลุ่มสินทรัพย์ทั้ง 2 ตลาด ในประเภทสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงไว้ในระดับเดียวกัน
- นอกจากนั้น หากวิเคราะห์พฤติกรรมนักลงทุนในการลงทุนในตลาดโลกจะพบว่า หากนักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินโลก นักลงทุนต่างชาติจะถอนการลงทุนทั้งในตลาดหลักทรัพย์ภูมิภาคเอเชียและประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว และจะนาเงินลงทุนบางส่วนไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่าอย่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้นเพื่อรอดูสถานการณ์ อันจะส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกมีการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน
- ทั้งนี้ ในการคาดการณ์ทิศทางของตลาดหลักทรัพย์ไทย ควรจับตามองตลาดในภูมิภาคอาเซียนและดัชนี Dow Jones ของสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นตลาดที่เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหลักทรัพย์ของไทยในระดับสูง
นับตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เปิดดำเนินการในปี พ.ศ.2518 ตามแผนการจัดตั้งตลาดทุนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีบทบาทสาคัญในฐานะแหล่งระดมทุนของภาคเอกชน และเป็นช่องทางให้นักลงทุนสามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงได้
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติได้มีบทบาทสาคัญต่อตลาดทุนไทยเป็นอย่างมาก2 โดยแม้ว่า นักลงทุนต่างชาติจะมีสัดส่วนการลงทุนที่น้อยเพียงร้อยละ 25.0 ของมูลค่ารวมในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดแต่การซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติสามารถอธิบายการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยได้กว่าครึ่ง3 บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทย โดยศึกษาข้อมูลเฉพาะ ช่วงครึ่งแรก (มกราคม — มิถุนายน) ของปี 2554 เพื่ออธิบายและทาความเข้าใจความเชื่อเกี่ยวกับพฤติกรรม ของนักลงทุนต่างชาติ โดยมีรายละเอียดดังนี้
หากพิจารณาจากมูลค่าซื้อ-ขายสุทธิเฉลี่ยของนักลงทุนต่างชาติ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 แล้ว จะพบว่า สาหรับวันที่นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ มูลค่าซื้อสุทธิเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1,785.8 ล้านบาท ในขณะที่วันที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ มูลค่าขายสุทธิเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1,904.0 ล้านบาท (ภาพที่ 2) มูลค่าขายสุทธิที่มากกว่ามูลค่าซื้อสุทธินี้ สอดคล้องกับความเชื่อที่ 1 ที่ว่านักลงทุนต่างชาติทยอยเข้าซื้อหลักทรัพย์ แต่จะขายในปริมาณที่มากอย่างฉับพลัน
อย่างไรก็ตาม หากเราทดสอบด้วยวิธีทางสถิติ จะพบว่ามูลค่าซื้อ-ขายสุทธิเฉลี่ยนี้ ไม่มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญเชิงสถิติ จึงไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่านักลงทุนต่างชาติจะขายสุทธิด้วยมูลค่าที่สูงกว่ามูลค่าซื้อสุทธิ
นอกจากนี้ หากพิจารณาในแง่ของจำนวนวันเฉลี่ยที่นักลงทุนต่างชาติซื้อ-ขายสุทธิติดต่อกันในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 แล้ว จะพบว่านักลงทุนต่างชาติโดยเฉลี่ยจะซื้อสุทธิติดต่อกัน 2.71 วัน ในขณะที่จะขายสุทธิเฉลี่ยติดต่อกัน 3.1 วัน (ซึ่งจานวนวันที่นักลงทุนเข้าซื้อ-ขายสุทธินี้ ไม่สอดคล้องกับความเชื่อที่ว่านักลงทุนต่างชาติจะทยอยเข้าซื้อ แต่จะขายหลักทรัพย์ออกอย่างรวดเร็ว เนื่องจากโดยเฉลี่ยแล้ว นักลงทุนต่างชาติจะขายสุทธิติดต่อกันเป็นระยะเวลาที่นานกว่า
อย่างไรก็ตาม หากเราทดสอบด้วยวิธีทางสถิติ4 จะพบว่าจานวนวันเฉลี่ยที่นักลงทุนต่างชาติซื้อ-ขายสุทธินี้ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญเชิงสถิติ จึงไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่านักลงทุนต่างชาติขายสุทธิติดต่อกันเป็นระยะเวลาที่นานกว่า
ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า ความเชื่อที่ว่านักลงทุนต่างชาติทยอยเข้าซื้อหลักทรัพย์ แต่จะขายในปริมาณที่มากอย่างฉับพลันนั้น เป็นความเชื่อที่ไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยนักลงทุนต่างชาติจะเข้าซื้อสุทธิในมูลค่าเฉลี่ยที่น้อยกว่าและจานวนวันติดต่อกันที่สั้นกว่าการขายสุทธิ ซึ่งสอดคล้องกับมูลค่าซื้อขายสุทธิสะสมของนักลงทุนต่างชาติในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 ที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิถึง 14,677 ล้านบาท
เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติสามารถทาให้ตลาดเคลื่อนไหว โดยถึงแม้การซื้อขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติจะมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 25.0 ของมูลค่าการซื้อขายรวม แต่สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 ได้ถึงร้อยละ 54.9 จนอาจกล่าวได้ว่านักลงทุนต่างชาติเป็นผู้กาหนดทิศทางของตลาด (Market mover) จึงทาให้มีความเชื่อโดยทั่วไปว่านักลงทุนรายย่อยในประเทศมักทาการซื้อขายหลักทรัพย์ตามนักลงทุนต่างชาติ ทั้งการซื้อขายภายในวันเดียวกัน หรือบางครั้งใช้สัญญาณจากการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติในวันก่อนหน้าเป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจ และจะตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ตามสัญญาณดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากข้อมูลเชิงประจักษ์แล้ว จะพบว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 นักลงทุนรายย่อยในประเทศมักจะมีทิศทางการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ตรงกันข้ามกับนักลงทุนต่างชาติ โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนรายย่อยในประเทศกับมูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 อยู่ที่ -0.884 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กว่าร้อยละ 88.4 ของการซื้อขายของนักลงทุนรายย่อย เป็นไปในทิศทางตรงข้ามกับการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ และเมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติวันก่อนหน้ากับมูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนรายย่อยในประเทศจะพบว่ายังคงมีค่าเป็นลบที่ -0.4499
นอกจากนี้ หากแยกพิจารณาพฤติกรรมของนักลงทุนรายย่อยออกเป็นช่วงหุ้นขาขึ้นและขาลง จะพบว่าไม่ว่าเมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ใน ‘ขาขึ้น’ กล่าวคือ ดัชนีของวันนี้สูงกว่าดัชนีของวันก่อนหน้า หรือ ‘ขาลง’กล่าวคือดัชนีของวันนี้มีค่าต่ากว่าวันก่อนหน้า นักลงทุนรายย่อยยังคงซื้อขายในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับนักลงทุนต่างชาติ
ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า ความเชื่อที่ว่านักลงทุนรายย่อยในประเทศซื้อขายหลักทรัพย์ตามทิศทางของนักลงทุนต่างชาตินั้น เป็นความเชื่อที่ไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพฤติกรรมของนักลงทุนรายย่อยมักจะเป็นไปในทิศทางตรงข้ามกับนักลงทุนต่างชาติ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เมื่อนักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อสุทธิ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์มักปรับตัวสูงขึ้น ทาให้นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิเพื่อทากาไร และในทางกลับกัน เมื่อนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิและทาให้ดัชนีฯ ปรับตัวลดลง นักลงทุนรายย่อยจะเข้าซื้อเพื่อทากาไรในอนาคต จึงอาจกล่าวได้ว่า นักลงทุนรายย่อยเน้นการซื้อ-ขายหลักทรัพย์เพื่อทากาไรระยะสั้นมากกว่าจะซื้อ-ขายเพื่อรับเงินปันผล
อย่างไรก็ดี ผลการวิเคราะห์ข้างต้นอาจได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติของตลาดหลักทรัพย์ไทย เนื่องจากการซื้อขายหลักทรัพย์รวมสุทธิจะมีลักษณะเป็นแบบ Zero-sum กล่าวคือ เมื่อมีผู้ขายจะต้องมีผู้ซื้อเสมอ จึงจะเป็นการซื้อขายที่สมบูรณ์ ดังนั้น เมื่อนักลงทุนต่างชาติซึ่งเป็นนักลงทุนกลุ่มใหญ่ลาดับที่ 2 ขายหลักทรัพย์ นักลงทุนรายย่อยในประเทศซึ่งเป็นนักลงทุนกลุ่มใหญ่ที่สุดจึงมักเป็นผู้เข้าซื้อ หรือในทางกลับกัน เมื่อนักลงทุนรายย่อยขายหลักทรัพย์ นักลงทุนต่างชาติก็มักเป็นผู้เข้าซื้อสุทธิด้วยเช่นกัน
เนื่องจากพันธบัตรรัฐบาลเป็นสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ากว่าเมื่อเทียบกับหุ้นสามัญ จึงมีความเชื่อว่าในช่วงที่นักลงทุนต่างชาติมีความกังวลต่อปัจจัยเสี่ยงด้านต่างๆ โดยเฉพาะจากปัจจัยในประเทศ เช่น ด้านเศรษฐกิจและการเมือง นักลงทุนต่างชาติจะถอนเงินออกจากตลาดหลักทรัพย์และนาเงินลงทุนไปพักในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่าเพื่อรอดูสถานการณ์ ซึ่งหนึ่งในสินทรัพย์ดังกล่าวที่เป็นที่นิยมคือพันธบัตรรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากข้อมูลเชิงประจักษ์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 จะพบว่านักลงทุนต่างชาติมีพฤติกรรมการลงทุนในทางตรงกันข้ามกับความเชื่อ โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ กับมูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดตราสารหนี้ (ไม่รวมหุ้นกู้เอกชน) ในประเทศในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 อยู่ที่ 0.1943 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการลงทุนโดยนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์และในตลาดตราสารหนี้โดยรวมแล้วมีทิศทางเดียวกัน
อย่างไรก็ดี หากเราพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรไทยโดยแยกพิจารณาออกเป็น 2 กรณี คือ 1) ช่วงตลาดขาขึ้น และ 2) ช่วงตลาดขาลง จะพบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรไทยในช่วงที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นจากวันก่อนหน้า หรือเป็นตลาด ‘ขาขึ้น’ มีค่า 0.2944 และมีนัยสำคัญทางสถิติ บ่งชี้ว่าเมื่อตลาดปรับตัวสูงขึ้น การเข้าซื้อหลักทรัพย์และพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงจากวันก่อนหน้า หรือเป็นตลาด ‘ขาลง’ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรไทยจะมีค่า -0.0956 และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ เมื่อตลาดปรับตัวลง การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติจะไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
และหากเราพิจารณาความสัมพันธ์ในลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยพิจารณามูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 เฉพาะวันที่นักลงทุนเข้าซื้อหลักทรัพย์สุทธิ จะพบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่า 0.2880 และมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่าการเข้าซื้อหลักทรัพย์และพันธบัตรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ใขณะที่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของความสัมพันธ์ดังกล่าวในวันที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหลักทรัพย์มีค่า -0.1321 และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จึงไม่อาจสรุปได้ว่านักลงทุนต่างชาติถอนเงินลงทุนจากตลาดหลักทรัพย์แล้วนามาลงทุนในตลาดพันธบัตร
ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่าความเชื่อที่ว่าเมื่อนักลงทุนต่างชาติปรับพอร์ทการลงทุนจะถอนเงินออกจากตลาดหลักทรัพย์ไทยแล้วย้ายไปพักเงินลงทุนยังตลาดตราสารหนี้ไทยนั้น เป็นความเชื่อที่ไม่สอดคล้องกับหลักฐานเชิงประจักษ์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 แต่สอดคล้องกับกรณีที่นักลงทุนต่างชาติแบ่งกลุ่มหลักทรัพย์ไทยและพันธบัตรรัฐบาลในประเภทสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง (Asset Class) ไว้ในระดับเดียวกัน โดยเมื่อนักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อสภาพเศรษฐกิจ ก็จะลงทุนในหลักทรัพย์และพันธบัตรในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ทาให้เราไม่สามารถสรุปได้ว่าเมื่อมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ซึ่งสร้างความหวาดกลัวแก่นักลงทุนต่างชาติแล้ว นักลงทุนต่างชาติจะขายหลักทรัพย์เพื่อเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล
ในอดีตที่ผ่านมามีความเชื่อว่า เมื่อนักลงทุนต่างชาติมีความกังวลต่อปัจจัยเสี่ยงด้านภาพรวมเศรษฐกิจและการเงินโลก จะย้ายเงินลงทุนจากตลาดหลักทรัพย์ภูมิภาคเอเชียไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งนักลงทุนเชื่อว่ามีความปลอดภัยสูงกว่า ในขณะที่เมื่อภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินโลกเริ่มมีทิศทางดีขึ้นอีกครั้งก็จะทาให้นักลงทุนต่างชาติย้ายการลงทุนจากตลาดหลักทรัพย์ของประเทศพัฒนาแล้วกลับเข้ามายังลงทุนในตลาดภูมิภาคเอเชียอีกครั้ง เนื่องจากมีผลตอบแทนสูงกว่าควบคู่กับความเสี่ยงที่มากกว่า
ทั้งนี้ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคอาเซียนมีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันในระดับสูง โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย กับดัชนีหลักทรัพย์มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 อยู่ที่ 0.2961 0.8188 และ 0.7958 ตามลาดับ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและตลาดในภูมิภาคที่มีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน บ่งชี้ว่านักลงทุนต่างชาติจัดระดับของหลักทรัพย์ไทยไว้ในระดับเดียวกับหลักทรัพย์ในตลาดภูมิภาค
ในขณะที่หากเราพิจารณาการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียในช่วงครึ่งแรกของปี 54 จะพบว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในเอเชีย ส่วนใหญ่มีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน แต่ในระดับความสัมพันธ์ที่ต่ากว่าตลาดในอาเซียนโดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย กับดัชนีหลักทรัพย์ Hang Seng ฮ่องกง ดัชนีหลักทรัพย์ Kospi เกาหลีใต้ และ ดัชนีหลักทรัพย์ Strait Times สิงคโปร์ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 อยู่ที่ 0.2858, 0.7371 และ 0.2877 ตามลาดับ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและตลาดในภูมิภาคที่มีการเคลื่อนไหวบางส่วนไปในทิศทางเดียวกัน
นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว (Advanced Economies) จะพบว่าส่วนใหญ่มีการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันยกเว้นดัชนีหลักทรัพย์ Nikkei ของญี่ปุ่น ที่เคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามอย่างมีนัยสาคัญ ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ6 โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยกับดัชนีหลักทรัพย์ Dow Jones ของสหรัฐฯ และ FTSE ของอังกฤษ อยู่ที่ 0.5971 และ 0.1486 ตามลาดับ ในขณะที่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยกับดัชนีหลักทรัพย์ Nikkei ของญี่ปุ่นอยู่ที่ -0.5438
กล่าวโดยสรุป หากพิจารณาจากข้อมูลเชิงประจักษ์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 จะพบว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก ทั้งในภูมิภาคเอเชีย และประเทศพัฒนาแล้ว ต่างเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่สอดคล้องกันอย่างมีนัยสาคัญ โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคเอเชียและประเทศที่พัฒนาแล้วในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 เฉลี่ยแล้วมีค่าเป็นบวก โดยอยู่ที่ 0.2975 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคเอเชียและประเทศที่พัฒนาแล้วมีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน
ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่าความเชื่อที่ว่าเมื่อนักลงทุนต่างชาติปรับพอร์ทการลงทุน จะถอนเงินออกจากตลาดหลักทรัพย์ของประเทศพัฒนาแล้วมายังตลาดภูมิภาคเอเชียนั้น ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง กล่าวคือ อันที่จริงแล้ว เมื่อนักลงทุนต่างชาติถอนเงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศพัฒนาแล้วก็จะถอนเงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ภูมิภาคเอเชียด้วยเช่นกัน ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเป็นการสะท้อนว่านักลงทุนต่างชาติได้แบ่งกลุ่มหลักทรัพย์ของภูมิภาคเอเชียและประเทศพัฒนาแล้วในประเภทสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง (Asset Class) ไว้ในระดับเดียวกัน
เมื่อนักลงทุนต่างชาติมีความไม่มั่นใจต่อปัจจัยเสี่ยงด้านภาพรวมเศรษฐกิจและการเงินโลก จะขายหลักทรัพย์ของทั้ง 2 ตลาดในช่วงเวลาใกล้เคียงกันและนาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงกว่าอย่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้น โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างดัชนีตลาดหลักทรัพย์ Dow Jones และผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะเวลา 2 ปี ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 อยู่ที่ 0.1323 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมื่อนักลงทุนถอนเงินจากตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ จะเข้ามาลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะเวลา 2 ปี ส่งผลให้ราคาพันธบัตรดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือผลตอบแทนพันธบัตรดังกล่าวลดลง สอดคล้องกับค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่เป็นบวก
การเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและตลาดอื่นๆ ในระดับที่สูง ทั้งตลาดในภูมิภาคอาเซียน ตลาดเอเชีย ตลอดจนตลาดเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว อาจเป็นการบ่งชี้ว่านักลงทุนต่างชาติจัดกลุ่มหลักทรัพย์ในตลาดทุนโลกไว้ในประเภทสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกัน ตามทิศทางและสถานการณ์เศรษฐกิจโลก อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่าทิศทางของดัชนี Dow Jones ในวันก่อนหน้าเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงถึง 0.5971 จึงอาจกล่าวได้ว่า นักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติจะใช้สัญญาณจากดัชนี Dow Jones แล้วจึงตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ในภูมิภาค รวมถึงตลาดหลักทรัพย์ไทยด้วย
บทความนี้ได้วิเคราะห์ความเชื่อหลายประการในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยความเชื่อส่วนใหญ่เป็นความเชื่อที่ไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ จากการวิเคราะห์ข้อมูลในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 พบว่า ไม่มีสัญญาณเงินทุนเคลื่อนย้ายจากนักลงทุนต่างชาติที่น่ากังวล ไม่ว่าจะเป็นการเข้าซื้อหรือเทขายหลักทรัพย์ในปริมาณมากอย่างรวดเร็ว อีกทั้งนักลงทุนรายย่อยในประเทศมิได้ลงทุนตามนักลงทุนต่างชาติ แต่พฤติกรรมของนักลงทุนรายย่อยมักจะเป็นไปในทิศทางตรงข้ามกับนักลงทุนต่างชาติ และมักจะเป็นทิศทางที่ตรงข้ามกับตลาด กล่าวคือ นักลงทุนรายย่อยมักจะเข้าซื้อในจังหวะที่ตลาดปรับตัวลง แล้วจึงขายในจังหวะที่ตลาดปรับตัวสูงขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่านักลงทุนรายย่อยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้นเพื่อทากาไรจากส่วนต่างของราคา ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติจะเข้าซื้อตามความเชื่อมั่นในสภาพเศรษฐกิจและเสถียรภาพการเมืองของไทย
ดังนั้น หน่วยงานที่มีหน้าที่กากับควบคุมตลาดทุนไทยและคาดการณ์ทิศทางของตลาดหลักทรัพย์ไทย จึงควรจับตามองตลาดในภูมิภาคอาเซียนและดัชนี Dow Jones ของสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นตลาดที่เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหลักทรัพย์ของไทยในระดับสูง เพื่อให้ตลาดทุนไทยมีความเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพ พร้อมทาหน้าที่เป็นแหล่งระดมเงินทุนของภาคเอกชนไทยต่อไป
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th