- งานแสดงรถยนต์ รถจักรยานยนต์นานาชาติ “The 31st Bangkok International Motor Show” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 มีนาคม -6 เมษายน 2553 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ภายใต้คอนเซ็ปต์งาน “รักรถยนต์ รักษ์โลก ลดภาวะโลกร้อน” (Ecology Driving Save The Earth) โดยมุ่งหวังให้คนหันมาใส่ใจกับการรักษาธรรมชาติ และประหยัดพลังงาน เพื่อจะทำให้โลกน่าอยู่เนื่องจากรถยนต์เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดมลภาวะและสิ้นเปลืองพลังงาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราทุกคนต้องเรียนรู้และถือเป็นภาระต้องรับผิดชอบ โดยภายในงานมีการแนะนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายจากหลากหลายยี่ห้อ ส่งผลให้มียอดจองรถยนต์ทั้งสิ้น 27,878 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 64.63 (ที่มา : www.manager.co.th)
- เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายในต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ.... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งมีสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา ดังนี้ (ที่มา : www.thaigov.go.th)
1. กำหนดให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายในต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2526
3. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายในต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เลขที่ มอก. 370 — 2552 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4040 (พ.ศ. 2552) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่องยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
- สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 16 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 4,691.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ 30.04 ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 1,633 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 2 โครงการ คือ โครงการผลิตชิ้นส่วนโลหะและชิ้นส่วนประกอบของตัวถังสำหรับรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบริษัท สยามกลการและนิสสัน จำกัด เงินลงทุน 1,430 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 410 คน และโครงการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ ของบริษัท ไอเอชไอ เทอร์โบ(ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 1,000 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 99 คน(รวบรวมข้อมูลจาก www.boi.go.th)
อุตสาหกรรมรถยนต์โลก (รวบรวมข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 30 เมษายน 2553)
- อุตสาหกรรมรถยนต์โลกในปี 2552 มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 58,070,407 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 11.80 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 44,626,362 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 13,444,045 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 8.60 และ 21.10 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตรถยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ จีน และสหรัฐอเมริกา พบว่า จีนมีการผลิตรถยนต์ในปี 2552 จำนวน 13,762,708 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.70 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก และสหรัฐอเมริกามีการผลิตรถยนต์ในปี 2552 จำนวน 5,744,375 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.89 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก สำหรับการจำหน่ายรถยนต์โลกในปี 2552 มีการจำหน่ายรถยนต์ 60,493,512 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 3.20 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 14,856,306 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 13.90 แต่มีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 45,637,207 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 0.90 เมื่อพิจารณาประเทศที่สำคัญ พบว่า จีนมีการจำหน่ายรถยนต์ในปี 2552 จำนวน 13,621,543 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.52 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก และสหรัฐอเมริกามีการผลิตรถยนต์ในปี 2552 จำนวน 10,602,996 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.52 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก
- อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศจีน มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 4,556,263 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 78.00 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 3,462,804 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.40 และการผลิตรถยนต์เพื่อนการพาณิชย์ 1,093,459 เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.90 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2553 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 4,610,847 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 72.50 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 3,523,890 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.10 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 1,086,957 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.20
- อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 1,892,393 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 56.60 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 735,879 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.00 และการผลิตรถบรรทุก 1,156,514 เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.60 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2553 (ม.ค.-ก.พ.) มีจำนวน 1,504,696 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 9.60 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 760,902คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.00 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 743,794 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.80
อุตสาหกรรมรถยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 382,944 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 198,972 คัน ร้อยละ 92.46 ตามสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 113,504 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 264,114 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 5,326 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 104.95,88.51 และ 52.87 ตามลำดับ ทั้งนี้ในไตรมาสนี้ ผู้ประกอบการรถยนต์ได้เริ่มมีการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นรถยนต์นั่งประเภทใหม่ของประเทศไทย สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ ทั้งหมดแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก 216,006 คัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.57 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ซึ่งจากจำนวนรถยนต์ที่ผลิตเพื่อการส่งออก 216,006 คัน เป็นรถยนต์นั่ง 41,873 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.39 และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ PPV) 174,133 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 80.61 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2553 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.12 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.96, 10.72 และ 5.61 ตามลำดับ
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2553 (ม.ค.- มี.ค.) มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 166,802 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 107,774 คัน ร้อยละ 54.77 หากแยกตามประเภทรถยนต์ มีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 66,247 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 77,784 คัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 10,770 คัน และรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) 12,001 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.67, 56.80, 53.51 และ 67.08 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2553 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 8.55 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) ลดลงร้อยละ 14.22, 4.32, 3.95 และ 5.12 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 216,685 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 138,805 คัน ร้อยละ 56.11 ถ้าหากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 102,121.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 63,381.10 ล้านบาท ร้อยละ 61.12 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2553 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.15 และเมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.25
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 มีมูลค่า 52,920.30 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 73.99 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 22.51, 15.83 และ 9.81 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 108.78, 650.95 และ 180.77 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทย (รวบรวมข้อมูลจากมูลค่าการส่งออกรถแวน และรถปิกอัพที่มีน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 5 ตัน) ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 มีมูลค่า 36,103.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 67.17 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ออสเตรเลีย ชิลี และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 39.55, 4.72 และ 4.44 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปออสเตรเลีย ชิลี และอินโดนีเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 225.17, 1,203.07 และ 61.16 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 มีมูลค่า 9,597.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 28.87 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย ออสเตรเลีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 28.26, 15.91 และ 11.52 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปซาอุดิอาระเบีย ออสเตรเลีย และสหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 107.36, 7.55 และ 60.99 ตามลำดับ
การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถโดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 6,229.18 และ 3,792.08 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.04 และ 41.12 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2553 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.44 และการนำเข้ารถโดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 12.57 แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 28.90, 28.80 และ 12.71 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 786.56, 87.67 และ 160.26 ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 63.00, 14.41 และ 13.14 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์ โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 87.75, 222.98 และ 250.38 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2553 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของโลกที่เริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้เศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มฟื้นตัวเช่นกัน สำหรับตลาดรถยนต์ภายในประเทศมีการขยายตัวเช่นกัน ซึ่งได้รับผลดีจากเศรษฐกิจ ที่ทำให้ผู้บริโภคและนักลงทุนมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น อีกทั้งในไตรมาสนี้ มีผู้ประกอบการหลากหลายรายแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด ทั้งรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล รถยนต์นั่งขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นต้น ในขณะที่การจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ มีการขยายตัวซึ่งสอดคล้องกับผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรที่เป็นตลาดหลักของรถยนต์ประเภทนี้ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับทรงตัว สำหรับการส่งออกรถยนต์ทุกประเภท (รถยนต์นั่ง, รถปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์ PPV) มีการขยายตัวในตลาดเอเชีย, โอเชียเนีย, แอฟริกา, ยุโรป, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่สอง ปี 2553 ประมาณ 3.4 แสนคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 45 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 55
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 480,914 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 385,086 คัน ร้อยละ 24.88 แบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 449,551 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.37 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 31,363 คัน ลดลงร้อยละ 31.02 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2553 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.14 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.81 และ 7.13 ตามลำดับ
การจำหน่าย ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2553 มีจำนวน 466,415 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 356,292 คัน ร้อยละ 30.91 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 222,008 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.84 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 222,359 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.62 และการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 22,048 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.49 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี2553 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.31 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.10, 19.84 และ 26.12 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2553 จำนวน 168,434 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 25,712 คัน และ CKD จำนวน 142,722 ชุด) เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ 120,017 คัน ร้อยละ 40.34 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ 5,242.62 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 5,625.10 ล้านบาท ร้อยละ 6.80 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2553 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ลดลงร้อยละ 11.96 แต่คิดเป็นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.44
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์พบว่ามูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 มีมูลค่า 4,147.60 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 33.42 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำ คัญของรถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 24.83, 12.66 และ 11.47 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 76.42 และ 53.38 แต่การส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหราชอาณาจักรมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 88.36
การนำเข้า การนำเข้าจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ คิดเป็นมูลค่า 95.58 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 85.60 ล้านบาท ร้อยละ 11.66 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี2553 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.40 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 ได้แก่ เยอรมนี ญี่ปุ่น และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 25.65, 22.78 และ 10.96 ตามลำดับ โดยมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากเยอรมนี และเวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.30 และ 1,726.45 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 10.18
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2553 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว สำหรับการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ภายในประเทศมีการขยายตัวเช่นกัน ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้นส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับภาคการเกษตร ซึ่งเป็นตลาดหลักของรถจักรยานยนต์มีผลผลิต และราคาพืชผลทางการเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ทำให้รายได้ของเกษตรกรดีขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยสำหรับการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์มีอัตราที่คงที่ สำหรับตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์มีการขยายตัวเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่า จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์ CBU ในไตรมาสที่สอง ปี 2553 ประมาณ 4.2 แสนคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 94 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 6
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 31,355.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 67.00 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 4,186.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 130.19 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 3,245.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปที แล้ว ร้อยละ 9.82 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2553 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.63 และ 0.93 ตามลำดับ แต่การส่งออกเครื่องยนต์ลดลงร้อยละ 7.50
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 มีมูลค่า 39,056.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 61.86 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.93, 10.68 และ 9.72 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 117.11, 29.38 และ 60.70 ตามลำดับ
การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 3,616.00 ล้านบาท เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 32.65 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 133.00 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 27.88 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2553 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.85 และ 13.55 ตามลำดับ
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 มีมูลค่า 4,843.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 28.38 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 23.64, 18.43 และ 11.43 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซียเวียดนาม และกัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.05, 63.81 และ 81.89 ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 43,683.82 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 111.51 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2553 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.45 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 65.85, 6.96 และ 5.18 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 135.56, 146.08 และ 55.68 ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 3,468.02 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.32 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2553 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.77 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 35.12, 18.09 และ 9.20 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากจีน และเวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.23 และ 66.06 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 11.84
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--