กรุงเทพฯ--24 มิ.ย.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
คุณทราบหรือไม่ว่า...
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนกว่าหนึ่งในสาม (38%) ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก เป็นกลุ่มที่เล่น วิดีโอเกมออนไลน์
เครื่องเล่นดีวีดีเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีผู้ใช้เพิ่มจำนวนขึ้นเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์
ภายในปี พ.ศ. 2549 กล้องถ่ายรูปเกือบสองในสามของยอดจำหน่ายทั้งหมดจะเป็นกล้องดิจิตอล และคาดว่ารายได้ทั้งหมดจากการจำหน่ายจะสูงถึง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
ความต้องการใช้กล้องดิจิตอลราคาถูกของคนทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24 ของอัตราการขยายตัวรวมประจำปี โดยเพิ่มจาก 12.6 ล้านตัวในปี พ.ศ. 2543 เป็น 46.6 ล้านตัวในปี พ.ศ. 2549
จำนวนการจัดส่งเครื่องเล่นเพลงดิจิตอลแบบพกพาทั่วโลกที่มีจำนวน 6.8 ล้านเครื่องในปี พ.ศ. 2545 จะเพิ่มขึ้นสูงกว่า 36 ล้านเครื่องในปี พ.ศ. 2550
คาดว่าอัตราการขยายตัวของกล้องดิจิตอลวิดีโอทั่วโลกจะสูงขึ้นอีกร้อยละ 22 จาก 6.9 ล้านตัวในปี พ.ศ. 2546 เป็น 8.4 ล้านตัวในปี พ.ศ. 2548
ในปี พ.ศ. 2546 พบว่ามีการรับชมสื่อสตรีมมิ่งเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยวิดีโอสตรีมมิ่งมีคนรับชมเพิ่มขึ้นร้อยละ 104 เป็น 7.8 พันล้าน และมีการฟังเพลงจากวิทยุทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 53 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2545 โดยการชมวิดีโอสตรีมมิ่งร้อยละ 78 เป็นการชมผ่าน อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบบรอดแบนด์ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากรายงานที่ได้รับการตีพิมพ์ของงานวิจัย AccuStream iMedia
ในปี พ.ศ. 2547 ค่าใช้จ่ายด้านไอทีจำนวนหนึ่งในห้าของการใช้จ่ายไอทีทั่วโลก มาจาก ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งพิมพ์ที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิตอล
ดิจิตอลวิดีโอมีความละเอียดของภาพสูงกว่าวิดีโอในระบบอนาล็อกถึงสามเท่า และยังสามารถถ่ายรับส่งภาพจากกล้องดิจิตอลลงเครื่องคอมพิวเตอร์และแผ่นซีดีได้โดยที่ยังคงคุณภาพความคมชัดไว้ได้อย่างดีเช่นเดิม ในขณะที่วิดีโอระบบอนาล็อกจะสูญเสียความละเอียดและความชัดเจนของภาพทุกครั้งที่ถูกนำมาทำซ้ำ
ดิจิตอลโฮม
บริษัท Informa Media Group ได้ประมาณการณ์ไว้ว่าภายในปี พ.ศ. 2553 จะมีผู้ใช้โทรทัศน์ระบบดิจิตอลตามบ้านทั่วโลกจำนวน 393 ล้านราย โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเป็นตลาดใหญ่ที่สุด
จากงานวิจัยของ eMarketer พบว่าจำนวนชาวอเมริกันที่ใช้โทรทัศน์ระบบดิจิตอลตามบ้านจะสูงถึง 56.5 ล้านรายในปี พ.ศ. 2548 โดยเพิ่มจาก 38.9 ล้านรายในช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเท่ากับว่าจำนวนการใช้โทรทัศน์ระบบดิจิตอลตามบ้านจะขยายตัวมากขึ้นจากร้อยละ 35.9 ในปี พ.ศ. 2545 เป็นร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2548 และเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ภายในปี 2548 จะมีผู้ใช้โทรทัศน์ระบบดิจิตอลในบ้านมากกว่าการใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ เนื่องจากจะมีชาวอเมริกันเพียงร้อยละ 30 เท่านั้นที่ใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ในขณะที่ร้อยละ 50 จะใช้โทรทัศน์ระบบดิจิตอล
หลังจากที่เกาหลีมีการเปิดตัวระบบโทรทัศน์ดิจิตอลภาคพื้น (DTT) เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2544 นั้น ก็มีปริมาณการใช้สัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอลสูงถึงร้อยละ 48 และคาดว่าจะพุ่งขึ้นเป็นร้อยละ 70 ในช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2546 และครอบคลุมทั่วทั้งประเทศในปี พ.ศ. 2548
Informa Media Group ประมาณการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2545 จะมีผู้ใช้ตามบ้านจำนวน 94.4 ล้านรายที่ใช้บริการ on-demand (รวมถึง Pay-Per-View) และ วิดีโอ on-demand โดยในปัจจุบันมีผู้ใช้บริการร้อยละ 50 อยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ และร้อยละ 30 เป็นลูกค้าจากยุโรป และยังประมาณการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2550 จะมีผู้ใช้บริการประเภทรายการโทรทัศน์ on-demand ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกรวมทั้งสิ้น 93 ล้านราย ขณะที่ในอเมริกาเหนือจะมีประมาณ 98 ล้านราย
ภูมิภาคเอเชียมีความสำคัญต่อการขยายตัวของตลาดเครื่องแปลงสัญญาณดิจิตอล (set-top-box - STB) ในระยะยาว โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้เคเบิล 90 ล้านรายในจีน และมากกว่า 40 ล้านรายในอินเดีย ซึ่งมีโอกาสในการขยายตัวอย่างดียิ่ง
จีนต้องการแสดงความเป็นยักษ์ใหญ่ในตลาดเคเบิล ซึ่งมีสมาชิกเข้าใช้บริการเคเบิลสูงถึง 90 ล้านราย แต่ความแพร่หลายของการให้บริการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลแบบจ่ายค่าบริการกลับเพิ่งเริ่มต้น ในขณะที่รายการโทรทัศน์จากต่างประเทศก็ได้รับความนิยมในจีนมากขึ้น ด้วยเหตุที่ความต้องการในการใช้บริการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลมีมากขึ้นทุกขณะ ขณะที่การ ตอบรับกับโทรทัศน์ระบบดิจิตอลแบบจ่ายค่าบริการก็มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ความต้องการเครื่องแปลงสัญญาณดิจิตอล (STB) ที่ใช้กับบริการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลจึงสูงขึ้นตามไปด้วย
หลายๆ ประเทศได้เสนอโอกาสการขยายตัว เช่น เกาหลี ซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้ใช้บริการ อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์อย่างแพร่หลาย ได้เตรียมพร้อมดำเนินการด้านบริการโทรทัศน์ระบบดิจิตอล ในฐานะผู้ให้บริการโดยพยายามพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มรายได้
อินเดียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพทางด้านการให้บริการโทรทัศน์ระบบดิจิตอล โดยดูจากจำนวนผู้ใช้บริการระบบอนาล็อกมีอยู่จำนวนมากในปัจจุบัน ในขณะที่บริการเคเบิลดิจิตอลที่มีอยู่ในตลาดแห่งนี้มีผู้ใช้บริการจำนวน 40 ล้านราย โดยมี InCable Net เป็นผู้นำตลาดในการให้บริการเคเบิลของอินเดีย
จากการวิจัยโดย Multimedia Research Group (เมษายน พ.ศ. 2546) พบว่าดิจิตอลวิดีโอ ที่ใช้ตามบ้านเป็นหนึ่งในกลุ่มผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เติบโตเร็วที่สุด แม้ว่าจำนวนจะยังมีน้อยกว่าวิดีโอระบบอนาล็อกอยู่มากก็ตาม โดยมีอัตราการขยายตัวจากปี พ.ศ. 2546 ถึงปี พ.ศ. 2548 อยู่ที่ร้อยละ 67 โดยประมาณ
รัฐบาลของหลายๆ ประเทศต่างยอมรับถึงแนวโน้มของการใช้โทรทัศน์ดิจิตอล โดยในบางประเทศอย่างเช่น ออสเตรเลีย แคนาดา ไต้หวัน และอื่นๆ ได้มีการกำหนดระยะเวลาที่จะยุติการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ระบบอนาล็อกแล้ว
Strategy Analytics พบว่าจำนวนผู้ใช้บริการโทรทัศน์และวิดีโอผ่านทางอินเทอร์เน็ต (IPTV) ทั่วโลก จะเพิ่มขึ้นจาก 110,000 ราย ในปี พ.ศ. 2545 เป็น 20.44 ล้านราย ในปี พ.ศ. 2551 โดยกลุ่มผู้ทำวิจัยเชื่อว่าภูมิภาคยุโรปและเอเชียแปซิฟิกจะเป็นผู้นำของตลาดรวม
ซูซาน เควอร์เคียน นักวิเคราะห์อาวุโส ฝ่ายอุปกรณ์และเทคโนโลยีสำหรับผู้บริโภคของไอดีซี กล่าวว่า "ตลาดดีวีดีจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากราคาจะลดต่ำลง มีรูปแบบให้เลือกหลากหลายขึ้น และเครื่องบันทึกดีวีดีจะเป็นอุปกรณ์ที่ผู้บริโภคสามารถบันทึกได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของตลาดอาจเปลี่ยนแปลงจากที่คาดไว้ได้"
หากปี พ.ศ. 2546 เป็นปีของเครื่องเล่นดีวีดีราคาต่ำ ในปี พ.ศ. 2547 เราจะได้พบกับโฉมใหม่ของอุปกรณ์ดีวีดีอเนกประสงค์ ซึ่งมีความโดดเด่นอยู่ที่เครื่องบันทึกดีวีดี ที่สามารถบันทึก รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หรือแม้กระทั่งภาพถ่ายลงบนแผ่นดิสก์ แม้ว่าจะมีการขยายตัวที่สูงมากจากการจำหน่ายเครื่องบันทึกดีวีดี แต่ก็คาดว่าการจัดส่งเครื่องเล่นดีวีดีแบบเล่นได้อย่างเดียวจะยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เป็น 48.5 ล้านเครื่อง หรือคิดเป็นมูลค่า 3,800 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับพื้นที่ที่เป็นตลาดเครื่องแปลงสัญญาณดิจิตอล (STB) ซึ่งขณะนี้ยังเป็นตลาดค่อนข้างเล็ก อย่างเช่น จีนและอินเดีย มีศักยภาพในการผลักดันตลาด STB ให้เพิ่มสูงขึ้นได้ในช่วง
5 ปีข้างหน้า โดยมีการเริ่มใช้อุปกรณ์ดิจิตอลมากขึ้นเป็นแรงผลักดัน
การพัฒนาเครื่องแปลงสัญญาณดิจิตอล (STB) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในแต่ละประเทศ โดยรวมแล้ว ไอดีซีเห็นว่าภูมิภาคนี้ยังคงมีความสำคัญต่อการเพิ่มจำนวนการจัดส่งเครื่องแปลงสัญญาณดิจิตอลในระยะยาว เนื่องมาจากตลาดหลักอย่างจีนและอินเดีย
แนวคิดสำคัญของดิจิตอลโฮม คือ จำเป็นต้องมีเครือข่ายที่สามารถต่ออุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถใช้งานได้ จากการวิจัยของ Forward Concepts การจัดส่งอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย (WLAN) ทั่วโลก เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 53 ในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งมากกว่าปี พ.ศ. 2545 ถึง 3.9 ล้านเหรียญสหรัฐ อุปกรณ์เครือข่ายไร้สายจะมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ คิดเป็นร้อยละ 21 หรือ 8,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี พ.ศ. 2550 แม้ว่าราคาเฉลี่ยของอุปกรณ์จะลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงร้อยละ 18 ต่อปีก็ตาม
วิดีโอ
ตลาดเครื่องเล่นดีวีดีทั่วโลกกำลังลอยลำอยู่กับการขยายตัวอันแข็งแกร่ง โดยคาดว่าการจัดส่งทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 4 เท่า จาก 15 ล้านเครื่องในปี พ.ศ. 2545 ไปสู่กว่า 60 ล้านเครื่องในปี พ.ศ. 2547
ในปี พ.ศ. 2545 มีการจัดส่งเครื่องบันทึกวิดีโอ (PVR) จำนวนรวม 1.5 ล้านเครื่องทั่วโลก ซึ่งคาดว่าจำนวนจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 11 ล้านเครื่องในปี พ.ศ. 2548 โดยจะมียุโรป และเอเชียเป็นแหล่งใหญ่ที่จะกระจายไปสู่ผู้บริโภคทั่วไป
กลุ่มผู้ที่เข้าสนทนาออนไลน์ถือเป็นกลุ่มที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด โดยคิดเป็นสองเท่าของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป นักแช้ตถูกจัดให้เป็นผู้ที่มีการใช้ระบบต่างๆ ของอินเทอร์เน็ตมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้สัญญาณภาพและเสียง (54%) การเชื่อมต่อ (92%) และการใช้ instant messaging (59%)
จากการวิจัยของ Topology Research Institute ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัยตลาดเอกชน พบว่าการ จัดส่งเครื่องบันทึกดีวีดี จะเพิ่มจำนวนขึ้นเกือบสองเท่าหรือประมาณ 47.5 ล้านเครื่องในปีนี้ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 90 จาก 25 ล้านเครื่องในปีที่แล้ว การขยายตัวของการดาวน์โหลดสื่อมัลติมีเดียทางอินเทอร์เน็ตคือสาเหตุสำคัญของความต้องการดังกล่าว เพื่อเพิ่มกำลังการบันทึกข้อมูลจากซีดีไปเป็นดีวีดี ซึ่งดีวีดีจะสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าแผ่นซีดีประมาณ 6-7 เท่า
เครื่องเสียงระบบดิจิตอลพร้อมที่จะขับเคลื่อนอย่างแข็งขันอีกหนึ่งปี In-Stat/MDR คาดว่าเครื่องเล่น MP3 จำนวนกว่า 18.6 ล้านเครื่องจะมีวางจำหน่ายไปทั่วโลก โดยเพิ่มจากปี พ.ศ. 2546 ร้อยละ 48 และราคาเฉลี่ยของเครื่องเล่น MP3 ที่มีฮาร์ดไดรฟ์จะลดลงไปอยู่ที่ประมาณ 200 เหรียญสหรัฐ ในปี พ.ศ. 2547
คาดว่าการรับชมสัญญาณภาพ (สตรีมมิ่งวิดีโอ) ทางอินเทอร์เน็ตจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลของ In-Stat/MDR ตลาดโลกของผู้ที่ใช้บริการรับสัญญาณภาพทางอินเทอร์เน็ตจะเพิ่มจาก 991 ล้านเหรีญสหรัฐในช่วงปี พ.ศ. 2546 เป็นมูลค่ากว่า 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงปี พ.ศ. 2550 โดยจะมีเอเชียเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในปี พ.ศ. 2550
เพลง
การสมัครสมาชิกเพื่อรับชมสื่อดิจิตอลและการดาวน์โหลดสื่อดิจิตอลทั่วโลกจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 800 ล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2546 เป็น 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2550
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนกว่าครึ่งหนึ่ง (51%) ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 34 ปี ใน 30 ประเทศ ทั่วโลก ดาวน์โหลดเพลงทางอินเทอร์เน็ต โดยประเทศในเอเชียที่ติดอยู่ใน 10 อันดับแรก คือ ไต้หวัน (76%) ฮ่องกง (75%) เกาหลีใต้ (74%) และสิงคโปร์ (69%)
ประมาณร้อยละ 22 ของเครื่องเล่นซีดีแบบพกพาทั้งหมดจะเป็นเครื่องที่มีเทคโนโลยี MP3 ในปี พ.ศ. 2546
Jupiter Research ได้เปิดเผยถึงผลการสำรวจวัยรุ่นที่ออนไลน์ในสหรัฐอเมริกาพบว่า วัยรุ่นหญิงใช้เวลากับเพลงมากกว่าวัยรุ่นชายร้อยละ 15 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงดิจิตอล แต่ไม่รวมถึงการดาวน์โหลดและการเบิร์นซีดี นอกจากนี้ วัยรุ่นหญิงจำนวนเกือบครึ่งมีการใช้เงินมากกว่า 100 เหรียญสหรัฐไปในด้านเพลง
ภาพถ่าย
ในปี พ.ศ. 2545 อเมริกาเหนือและเอเชียแปซิฟิกเป็นเขตที่มียอดจำหน่ายกล้องดิจิตอล สูงที่สุดของโลก คิดเป็นร้อยละ 43.6 และร้อยละ 35.5 ตามลำดับ โดยในปี พ.ศ. 2007 ยอดจำหน่ายกล้องดิจิตอลในจีนแผ่นดินใหญ่จะมีสูงถึงร้อยละ 41.9 ของยอดจำหน่ายทั่วโลก และในอเมริกาเหนือคิดเป็นร้อยละ 37.7
ความต้องการกล้องดิจิตอลทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นในปี พ.ศ. 2545 โดยมียอดการจัดส่งถึง 24.55 ล้านตัว ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 66 ความแพร่หลายดังกล่าวกระจายมาจากญี่ปุ่นไปสู่สหรัฐอเมริกา ถึงยุโรปและเอเชียตะวันออกในปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ทำให้ยอดการจัดส่งกล้องดิจิตอลทั่วโลกในปี พ.ศ. 2545 เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 โดยมียอดจำหน่ายรวม 31.45 ล้านตัว
ในสหรัฐอเมริกา การส่งภาพทางอีเมลเป็นเหตุผลแรกของการใช้กล้องดิจิตอลในปี พ.ศ. 2544 โดยเป็นกลุ่มผู้ใช้ตามบ้านถึงร้อยละ 71 สำหรับเหตุผลอื่นๆ ได้แก่:
เพื่อบันทึกความทรงจำ (69%)
แชร์ให้คนอื่นๆ ได้ร่วมชื่นชมด้วย (69%)
เป็นความพึงพอใจส่วนตัว (63%)
เพื่อใช้ถ่ายภาพ (46%)
เป็นงานอดิเรกที่จะใช้ภาพในคอมพิวเตอร์ (39%)
ให้เป็นของขวัญ (18%)
ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ (18%)
เป็นธุรกิจที่ต้องใช้ภาพในคอมพิวเตอร์ (15%)
ใช้ภาพในเชิงธุรกิจ (15%)
เป็นอุปกรณ์ที่แสดงให้เห็นถึงศิลปะ (14%)
เป็นอุปกรณ์สร้างรายได้พิเศษ (2%)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในอาชีพประจำ (2%)
อื่นๆ (7%)
ในปี พ.ศ. 2544 เจ้าของกล้องดิจิตอลในสหรัฐอเมริกาอัดภาพมาใช้มากถึงร้อยละ 26 ของภาพทั้งหมดที่เก็บไว้ โดยผู้หญิงจะอัดภาพมากกว่าผู้ชาย ผู้ใช้กล้องดิจิตอลตามบ้านส่วนใหญ่ที่เป็นผู้หญิงจะอัดภาพร้อยละ 27 ของภาพที่มีทั้งหมด ในขณะที่ผู้ชายจะอัดภาพร้อยละ 23
การถ่ายภาพและการแชร์ภาพให้ผู้อื่นมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น เพราะมีการนำโทรศัพท์มือถือที่ถ่ายรูปได้มาใช้มากขึ้นทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก จากพฤติกรรมการบันทึกภาพที่เพิ่มขึ้นนี้เอง ไอดีซีได้คาดการณ์ว่าจะมีภาพเกิดขึ้นอีกกว่า 626,000 ล้านภาพในปี พ.ศ. 2550 แต่การอัดภาพจากโทรศัพท์มือถือที่ถ่ายรูปได้จะยังไม่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะผู้คน ยังนิยมอัดภาพจากกล้องดิจิตอลธรรมดา
จากปี พ.ศ. 2545 ถึง 2546 ปริมาณการอัดภาพสูงขึ้นร้อยละ 41 เนื่องจากกระดาษอิงค์เจ็ตที่ใช้อัดภาพและเครื่องพิมพ์ที่อัดรูปได้มีราคาลดลง โดยรวมแล้วปริมาณการอัดภาพจะเพิ่มขึ้นจาก 15,400 ล้านภาพเป็นเกือบ 66,000 ล้านภาพในปี พ.ศ. 2550
แม้ว่าโทรศัพท์ที่ถ่ายรูปได้จะไม่ใช่สาเหตุหลักของการเพิ่มจำนวนภาพพิมพ์ดิจิตอล แต่ภาพพิมพ์ดิจิตอลจะได้รับความนิยมกว่าภาพที่อัดจากฟิล์มถ่ายรูปทั่วโลกในปี พ.ศ. 2550 โทรศัพท์ที่ถ่ายรูปได้ที่มีความละเอียดระดับเมกะพิกเซลได้มีการนำมาใช้ในปี พ.ศ. 2547 ส่งผลให้ภาพจากฟิล์มถ่ายรูปลดจำนวนลงเฉลี่ยร้อยละ 8
จากข้อมูลของ Dataquest Inc. ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของ Gartner Inc. พบว่าการจัดส่งกล้องดิจิตอลในสหรัฐอเมริกาจะสูงถึง 8.9 ล้านเครื่องในปีนี้ และจะขยายเป็น 12.5 ล้านเครื่องในปี พ.ศ. 2548 Dataquest บอกว่ากระแสดังกล่าวจะทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป จากการสำรวจของ Gartner Dataquest พบว่า เจ้าของกล้องดิจิตอลยังชอบดูภาพถ่ายและแชร์รูปภาพส่งให้ผู้อื่นผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากกว่าการอัดภาพออกมา
Gartner Inc. ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ทำวิจัยและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยี ประมาณการณ์ไว้ว่าในปี พ.ศ. 2546 กล้องดิจิตอลมีจำหน่ายมากกว่า 12.9 ล้านเครื่อง หรือประมาณสองเท่าของจำนวนที่ขายในสองปีก่อนหน้านั้น และยอดจำหน่ายจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยบริษัทคาดว่ายอดขายกล้องดิจิตอลในปี พ.ศ. 2547 จะเพิ่มเป็น 17 ล้านเครื่อง และมากกว่า 20 ล้านเครื่องในปี พ.ศ. 2548
ในประเทศอินเดีย ตลาดกล้องดิจิตอลเติบโตขึ้นกว่า 100% ในแต่ละปี และไอดีซีคาดว่าจะมากถึง 1.60 lakh เครื่องในปี พ.ศ. 2547
ไอดีซีพบว่าในปี พ.ศ. 2546 มีการอัดภาพดิจิตอล 15.4 ล้านภาพ แต่คาดว่าจะเพิ่มเป็น 66,000 ล้านภาพในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งจะสูงกว่าภาพถ่ายจากกล้องถ่ายภาพธรรมดา Ron Glaz ผู้อำนวยการฝ่ายอุปกรณ์ถ่ายภาพดิจิตอลของไอดีซีกล่าวว่า สาเหตุของการอัดภาพถ่ายดิจิตอลที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดจากการอัดภาพที่สามารถทำได้เองที่บ้าน และราคาที่ลดลงของกระดาษและเครื่องพิมพ์ที่ให้ภาพคุณภาพสูง
ไอดีซีอินเดียได้บันทึกยอดจำหน่ายกล้องดิจิตอลในอินเดียที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 148 เป็น 75,600 เครื่อง รวมมูลค่า Rs122 crore ในปี พ.ศ. 2545-2546 โดยคาดว่าตลาดจะขยายตัวถึง 1,630,000 เครื่อง รวมมูลค่า Rs194 crore ในปี พ.ศ. 2546-2547 จากการลดลงร้อยละ 30-40 ของราคากล้องดิจิตอลนี้เองทำให้ยอดขายกล้องเพิ่มสูงขึ้น โดย SLR มียอดขายในตลาดกล้องดิจิตอลของอินเดียเพิ่มขึ้นร้อยละ 120 ในปี พ.ศ. 2545-2546
เกาหลีได้ประจักษ์ชัดถึงการขยายตัวที่รุนแรงของตลาดกล้องดิจิตอล ซึ่งเป็นการท้าทายความซบเซาของกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ผลิตกล้องดิจิตอลสามารถทำยอดจำหน่ายจาก 450,000 เครื่องในปี พ.ศ. 2545 ไปเป็น 900,000 เครื่องในปีนี้
จากการวิจัยของ Global Sources พบว่า ในปัจจุบันประเทศจีนผลิตกล้องดิจิตอลราคาถูกได้เป็นจำนวนกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนการผลิตกล้องดิจิตอลทั่วโลก โดยจีนมีกำลังการผลิตประมาณ 20 ล้านเครื่อง ผู้ผลิตกล้องดิจิตอลกว่าร้อยละ 90 ของจีนอยู่ในเขตสามเหลี่ยม เศรษฐกิจ (Pearl River Delta) โดยอยู่ในเมืองเสิ่นเจิ้น กวางเจา และ Dongguan บริษัท Global Sources ยังได้คาดการณ์อีกว่า กล้องดิจิตอลทุกประเภทที่จีนผลิตจะมีจำนวนมากกว่าไต้หวันและเกาหลีใต้ภายใน 2 ปี ส่วนญี่ปุ่นจะเป็นผู้นำของโลกในแง่ของคุณภาพของกล้องดิจิตอลทุกประเภท
จากผลการวิจัยของไอดีซีพบว่า กล้องดิจิตอลที่มีความละเอียด 2 เมกะพิกเซล หรือต่ำกว่าจะครองตลาดในจีนทั่วประเทศถึงร้อยละ 41.3 --จบ--
-นท-