Chaebol คือ กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่ทรงอิทธิพลทางการค้าและการลงทุนในประเทศเกาหลีใต้ ถือกำเนิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1920 และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษ 1960 ถึงทศวรรษ 1990 ตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา กลุ่ม Chaebol มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ และเป็นจักรกลสำคัญที่เกื้อหนุนให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ก้าวข้ามจากการเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่แห่งเอเชีย (Newly Industrialized Economies : NIEs) เป็นประเทศพัฒนาแล้ว (Advanced Economies) จากการจัดอันดับของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) เมื่อเดือนพฤษภาคม 1997 อย่างไรก็ตาม ในปี 1997 นี้เองวิกฤตการณ์ค่าเงินเอเชียที่เกิดขึ้น ส่งผลให้กลุ่ม Chaebol ในเกาหลีใต้จำนวนมากประสบปัญหาทางการเงิน กลุ่ม Chaebol จึงเริ่มลดบทบาทและความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ลง
พัฒนาการของกลุ่ม Chaebol ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พอสรุปได้ดังนี้
ทศวรรษ 1960 นาย Park Chung Hee ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ในขณะนั้น สนับสนุนให้มีการจัดตั้ง Chaebol เพิ่มขึ้น และรัฐบาลเป็นผู้กำหนดแผนการผลิตให้แก่กลุ่ม Chaebol ภายใต้การสนับสนุนด้านสินเชื่อจากธนาคารของรัฐ ทำให้กลุ่ม Chaebol เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลงานนี้ทำให้ประธานาธิบดี Park Chung Hee ได้รับการยกย่องเป็น "บิดาแห่งแชโบล (Father of the Chaebol)" ต้นทศวรรษ 1990 กลุ่ม Chaebol เติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแกร่งมากขึ้น โดยเฉพาะ Chaebol ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ Chaebol รายใหญ่ 5 อันดับแรกของเกาหลีใต้ หรือที่เรียกกันว่า "Superchaebols" ได้แก่ Samsung, Daewoo, Hyundai, Lucky Goldstar (LG) Group และ SK Group ตามลำดับ ในช่วงนี้ธนาคารท้องถิ่นในเกาหลีใต้และเจ้าหนี้ต่างชาติขยายการปล่อยสินเชื่อให้แก่กลุ่ม Chaebol เป็นจำนวนมาก ปี 1996 ตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกเริ่มชะลอตัว ทำให้ Chaebol บางแห่งประสบปัญหาการดำเนินงานจนถึงขั้นล้มละลาย สถาบันการเงินในเกาหลีใต้ประสบปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NPLs) จากการปล่อยกู้ให้แก่ Chaebol จำนวนมาก ขณะที่เจ้าหนี้ต่างชาติเริ่มถอนเงินทุนออกและไม่ต่ออายุหนี้ระยะสั้นให้แก่เกาหลีใต้
ปี 1997 วิกฤตการณ์ค่าเงินเอเชียส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการส่งออกของเกาหลีใต้อย่างหนัก และทำให้ Chaebol กลุ่มต่าง ๆ ในเกาหลีใต้ล้มละลายลงอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินวอนของเกาหลีใต้จึงตกเป็นเป้าหมายของการเก็งกำไร รัฐบาลเกาหลีใต้ต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 1997
ปี 1998 เศรษฐกิจเกาหลีใต้หดตัวลงอย่างหนักโดยติดลบถึง 5.8% รัฐบาลเกาหลีใต้ต้องเร่งปฏิรูปเศรษฐกิจโดยเฉพาะการปฏิรูปกลุ่ม Chaebol อย่างจริงจัง อาทิ ยกเลิกการค้ำประกันหนี้ระหว่างบริษัทในเครือของ Chaebol กลุ่มต่าง ๆ ปรับโครงสร้างทางการเงินและปรับปรุงระบบบัญชีของกลุ่ม Chaebol เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงานของ Chaebol
ปี 1999 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วโดยมีอัตราการขยายตัวสูงถึง 10% เนื่องจากความสำเร็จในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจอย่างจริงจัง รวมทั้งการปฏิรูปกลุ่ม Chaebol ปัจจุบัน Superchaebols ของเกาหลีใต้เริ่มมีฐานะทางการเงินที่มั่นคงขึ้น โดยมีสัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity Ratio) ลดลง ทั้ง Hyundai, Samsung, LG Group และ SK Group ยกเว้น Daewoo ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจากับกลุ่มเจ้าหนี้--จบ--
-อน-
พัฒนาการของกลุ่ม Chaebol ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พอสรุปได้ดังนี้
ทศวรรษ 1960 นาย Park Chung Hee ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ในขณะนั้น สนับสนุนให้มีการจัดตั้ง Chaebol เพิ่มขึ้น และรัฐบาลเป็นผู้กำหนดแผนการผลิตให้แก่กลุ่ม Chaebol ภายใต้การสนับสนุนด้านสินเชื่อจากธนาคารของรัฐ ทำให้กลุ่ม Chaebol เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลงานนี้ทำให้ประธานาธิบดี Park Chung Hee ได้รับการยกย่องเป็น "บิดาแห่งแชโบล (Father of the Chaebol)" ต้นทศวรรษ 1990 กลุ่ม Chaebol เติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแกร่งมากขึ้น โดยเฉพาะ Chaebol ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ Chaebol รายใหญ่ 5 อันดับแรกของเกาหลีใต้ หรือที่เรียกกันว่า "Superchaebols" ได้แก่ Samsung, Daewoo, Hyundai, Lucky Goldstar (LG) Group และ SK Group ตามลำดับ ในช่วงนี้ธนาคารท้องถิ่นในเกาหลีใต้และเจ้าหนี้ต่างชาติขยายการปล่อยสินเชื่อให้แก่กลุ่ม Chaebol เป็นจำนวนมาก ปี 1996 ตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกเริ่มชะลอตัว ทำให้ Chaebol บางแห่งประสบปัญหาการดำเนินงานจนถึงขั้นล้มละลาย สถาบันการเงินในเกาหลีใต้ประสบปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NPLs) จากการปล่อยกู้ให้แก่ Chaebol จำนวนมาก ขณะที่เจ้าหนี้ต่างชาติเริ่มถอนเงินทุนออกและไม่ต่ออายุหนี้ระยะสั้นให้แก่เกาหลีใต้
ปี 1997 วิกฤตการณ์ค่าเงินเอเชียส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการส่งออกของเกาหลีใต้อย่างหนัก และทำให้ Chaebol กลุ่มต่าง ๆ ในเกาหลีใต้ล้มละลายลงอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินวอนของเกาหลีใต้จึงตกเป็นเป้าหมายของการเก็งกำไร รัฐบาลเกาหลีใต้ต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 1997
ปี 1998 เศรษฐกิจเกาหลีใต้หดตัวลงอย่างหนักโดยติดลบถึง 5.8% รัฐบาลเกาหลีใต้ต้องเร่งปฏิรูปเศรษฐกิจโดยเฉพาะการปฏิรูปกลุ่ม Chaebol อย่างจริงจัง อาทิ ยกเลิกการค้ำประกันหนี้ระหว่างบริษัทในเครือของ Chaebol กลุ่มต่าง ๆ ปรับโครงสร้างทางการเงินและปรับปรุงระบบบัญชีของกลุ่ม Chaebol เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงานของ Chaebol
ปี 1999 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วโดยมีอัตราการขยายตัวสูงถึง 10% เนื่องจากความสำเร็จในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจอย่างจริงจัง รวมทั้งการปฏิรูปกลุ่ม Chaebol ปัจจุบัน Superchaebols ของเกาหลีใต้เริ่มมีฐานะทางการเงินที่มั่นคงขึ้น โดยมีสัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity Ratio) ลดลง ทั้ง Hyundai, Samsung, LG Group และ SK Group ยกเว้น Daewoo ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจากับกลุ่มเจ้าหนี้--จบ--
-อน-