1. เศรษฐกิจไทยในปี 2549 คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.7-5.7* ในขณะที่ปี 2548 GDP ไทยขยายตัวที่ร้อยละ 4.7
2. ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสำคัญอันดับที่ 24 ของโลก ในช่วง ม.ค.-ส.ค 2548 มีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 1.16 ของการส่งออกรวมในตลาดโลก
3. ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าสำคัญอันดับที่ 20 ของโลก ของช่วง ม.ค.-ส.ค. 2548 มีสัดส่วนการนำเข้าประมาณร้อยละ 1.25 ของการนำเข้าในตลาดโลก
4. การค้าของไทยในเดือน ม.ค. 2549 มีมูลค่า 18,334.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.33 แยกเป็นการส่งออกมูลค่า 8,946.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.58 หรือคิดเป็นร้อยละ 6.87 ของเป้าหมายการส่งออกที่ 130,288 ล้านเหรียญสหรัฐ การนำเข้ามีมูลค่า 9,388.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.98 ไทยเสียเปรียบดุลการค้า เป็นมูลค่า 442.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
5. สินค้าส่งออกสำคัญ 50 อันดับแรกซึ่งมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 84.72 ของมูลค่าการส่งออกเดือน ม.ค. 2549 ในจำนวนนี้มีสินค้าซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเปลี่ยนแปลงสูง ดังนี้
- ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน, ทองแดงและของทำด้วยทองแดง, ก๊าซปิโตรเลียมเหลว, แผงวงจรไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.54, 68.96, 63.55, 49.66 และ 47.79 ตามลำดับ
6. การส่งออกสินค้าไทยไปภูมิภาคต่างๆ มีสัดส่วนและภาวะการส่งออก ดังนี้
ภูมิภาคต่าง ๆ สัดส่วน มูลค่า %
ร้อยละ (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เปลี่ยนแปลง
1. อเมริกาเหนือ (สหรัฐฯ แคนาดา) 16.00 1,430 8.8
2. ยุโรป (สหภาพยุโรป & ยุโรปตะวันออก) 14.70 1,315 10.8
3. เอเชียตะวันออก(ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี) 17.50 1,567 7.5
4. อาเซียน (9) 21.61 1,933 9.5
5. จีนและฮ่องกง 14.90 1,332 35.1
6. อินเดีย 1.20 103 -15.7
7. อื่นๆ 13.40 1,202 -92.6
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปแต่ละภูมิภาค
6.1 การส่งออกไปภูมิภาคอเมริกาเหนือ (สหรัฐฯ แคนาดา) เดือนมกราคมมีมูลค่า 1,430 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 หรือคิดเป็นร้อยละ 6.86 ของเป้าหมายการส่งออกที่ 20,819 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2549 โดยการส่งออกไปสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ส่วนการส่งออกไปแคนาดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0
จากสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ 30 อันดับแรกพบว่าสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมากกว่าร้อยละ 60 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เม็ดพลาสติก เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล และปูนซีเมนต์ สินค้าที่มีมูลค่าลดลง ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า วงจรพิมพ์ ข้าว ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น
ตลาดแคนาดาเมื่อสังเกตจากสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดนี้ 30 อันดับพบว่ามีสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราสูงมากกว่าร้อยละ 100 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา เครื่องจักรและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือน รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า สินค้าที่มีมูลค่าลดลง ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ ข้าว เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์พลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้
6.2 ยุโรป การส่งออกสินค้าไทยไปยุโรปในเดือนมกราคม 2549 มีมูลค่า 1,315 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 หรือคิดเป็นร้อยละ 8.03 ของเป้าหมายการส่งออกที่มูลค่า 16,372 ล้านเหรียญสหรัฐ การส่งออกไปยุโรปแบ่งออกเป็น 2 ตลาดคือ
สหภาพยุโรป (15) สินค้าไทยส่งออกไปสหภาพยุโรปในเดือนมกราคม 2549 มีมูลค่า 1,180 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 จากสินค้าสำคัญ 30 อันดับแรกส่งออกไปตลาดนี้พบว่ามีสินค้าที่สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 100 มี 1 รายการคือ ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 30 ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ยางพารา ไก่แปรรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล สินค้าที่มีมูลค่าลดลง มากกว่าร้อยละ 10 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนและผลิตภัณฑ์ไม้
ยุโรปตะวันออก สินค้าไทยส่งออกไปยุโรปตะวันออกในเดือนมกราคม 2549 มีมูลค่า 135 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.20 สินค้าที่สามารถขยายการส่งออกไปตลาดนี้ได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 ได้แก่ วงจรพิมพ์ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า รองเท้าและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี และอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ สินค้าที่มีมูลค่าลดลง กว่าร้อยละ 10 ได้แก่ เม็ดพลาสติก ข้าว เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์
ตลาดในยุโรปตะวันออกที่สามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นสูง คือ ฮังการรี สาธารณรัฐเช็ก และโปแลนด์ โดยขยายตัวร้อยละ 448.6, 81.1 และ 111.8 ตามลำดับ
6.3 เอเชียตะวันออก (ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้) การส่งออกสินค้าไทยไปยังเอเซียตะวันออกมีมูลค่า 1,567 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ในเดือนมกราคม 2549 หรือคิดเป็นร้อยละ 6.5 ของเป้าหมายการส่งออกที่ 23,750 ล้านเหรียญสหรัฐ
ญี่ปุ่น การส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่นในเดือนมกราคม 2549 มีมูลค่า 1,175 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 จากสถิติสินค้าไทย 30 อันดับแรกส่งออกไปตลาดนี้มีสินค้าที่สามารถส่งออกได้เป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 100 มี 1 รายการคือ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ สินค้าอื่นที่มีมูลค่าสูงกว่าร้อยละ 30 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เซรามิก สินค้าที่มีมูลค่าลดลง มากกว่า 20 ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด เตาอบไมโครเวฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนและวงจรพิมพ์
ไต้หวัน การส่งออกสินค้าไทยไปไต้หวันในเดือนมกราคม 2549 มีมูลค่า 195 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากสถิติสินค้าไทย 30 อันดับแรกส่งออกไปตลาดนี้มีสินค้าที่สามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 มี 3 รายการ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ทองแดงและของทำด้วยทองแดง อัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 40 ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป สินค้าที่มีมูลค่าลดลงมากกว่าร้อยละ 30 ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด เครื่องทำกระแสไฟฟ้า เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด
เกาหลีใต้ การส่งออกสินค้าไทยไปเกาหลีใต้ในเดือนมกราคม 2549 มีมูลค่า 197 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 จากสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดนี้ 30 อันดับแรกมีสินค้าที่สามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 มี 4 รายการ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล และทองแดงและของที่ทำด้วยทองแดง สินค้าที่เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง ด้ายและเส้นใยประดิษฐ อัญมณีและเครื่องประดับ
สินค้าที่มีมูลค่าลดลง มากกว่าร้อยละ 30 ได้แก่ มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เม็ดพลาสติก เครื่องสำอางสบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว
6.4 อาเซียน(9) การส่งออกสินค้าไทยไปตลาดอาเซียนในเดือนมกราคม 2549 มีมูลค่า 1,933 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.56 จากสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดนี้ 30 รายการแรกมีสินค้าที่สามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 500 มี 1 รายการ คือ อัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 100 มี 2 รายการคือ เครื่องปรับอากาศและทองแดงและของที่ทำด้วยทองแดง สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน ก๊าซปิโตรเลียมเหลวและเครื่องดื่ม สินค้าที่มีมูลค่าลดลง มากกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องยนต์สันดาบภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ และน้ำตาลทราย
ตลาดในกลุ่มอาเซียนที่ไทยสามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นสูงคือ บรูไน ลาว และสิงคโปร์ โดยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 81.66,61.88 และ 23.38 ตามลำดับ ตลาดที่มีมูลค่าลดลงคือ อินโดนีเซียและเวียดนาม ลดลงร้อยละ 13.25 และ 8.76 ตามลำดับ
6.5 จีนและฮ่องกง มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปจีนและฮ่องกงในเดือนมกราคม 2549 มีมูลค่า 1,332 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35 หรือคิดเป็นร้อยละ 6.6 ของเป้าหมายการส่งออกที่มีมูลค่า 19,943 ล้านเหรียญสหรัฐ
จีน การส่งออกสินค้าไทยไปจีนในเดือนมกราคม 2549 มีมูลค่า 866 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.5 จากสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปจีน 30 อันดับแรกมีสินค้าที่สามารถขยายการส่งออกไปจีนได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 มี 13 รายการ ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง วงจรพิมพ์ แผงสวิทช์ และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เลนซ์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องพักกระแสไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ข้าว เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล สินค้าที่มีมูลค่าลดลง มากกว่าร้อยละ 30 มี 1 รายการคือ เส้นใยประดิษฐ์
ฮ่องกง การส่งออกสินค้าไทยไปฮ่องกงในเดือนมกราคม 2549 มีมูลค่า 466 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.59 จากสถิติการส่งออกสินค้าไทย 30 อันดับแรกมีสินค้าไทยที่สามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 100 มี 6 รายการ ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องส่งวิทยุโทรเลขโทรศัพท์ ยางพารา และทองแดงและของที่ทำด้วยทองแดง สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากว่าร้อยละ 50 มี เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์พลาสติก สินค้าที่มีมูลค่าลดลง มากว่าร้อยละ 30 ได้แก่ มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
6.6 อินเดีย การส่งออกสินค้าไทยอินเดียในเดือนมกราคม 2549 มีมูลค่า 103 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับ 122.58 ล้านเหรียญสหรัฐของปี 2548 ในช่วงเดียวกันลดลงร้อยละ 15.7 หรือคิดเป็นร้อยละ 4.2 ของเป้าหมายการส่งออกที่มูลค่า 2,451 ล้านเหรียญสหรัฐจากสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดนี้ 30 อันดับแรก มีสินค้าที่ขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นสูงมากกว่าร้อยละ 100 ได้แก่ ทองแดงและของทำด้วยทองแดง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผ้าผืน น้ำมันสำเร็จรูป เตาอบไมโครเวฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวเรือนและบ้านเรือน สินค้าที่เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง มากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่อัญมณีและเครื่องประดับ สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล สินค้าอื่นที่ลดลงมากกว่าร้อยละ 30 คือ เม็ดพลาสติก สิ่งทอ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบและยังมีสินค้าอื่นที่ลดลงมากว่าร้อยละ 10 เช่น เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ
7. การนำเข้า
7.1 สินค้านำเข้ามีสัดส่วนโครงสร้างดังนี้
- สินค้าเชื้อเพลิง สัดส่วนร้อยละ 18.28 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.33
- สินค้าทุน สัดส่วนร้อยละ 30.34 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.53
- สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สัดส่วนร้อยละ 40.42 ลดลงร้อยละ 8.02
- สินค้าบริโภค สัดส่วนร้อยละ 7.13 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.77
- สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง สัดส่วนร้อยละ 2.85 ลดลงร้อยละ 8.41
- สินค้าอื่นๆ สัดส่วนร้อยละ 0.97 ลดลงร้อยละ 17.13
7.2 แหล่งนำเข้าสำคัญ 10 อันดับแรก
มีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 67.48 ของมูลค่าการนำเข้าเดือน ม.ค. 2549 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลีใต้ ซาอุดีอาระเบีย และเยอรมนี สัดส่วนร้อยละ 20.12, 10.06, 7.21, 6.78, 5.04, 4.58, 4.28, 3.76, 2.89 และ 2.77 โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ -3.14, 14.17, -10.47, -13.31, 10.08, 26.61 -21.01, 12.08, 36.62 และ -3.60 ตามลำดับ
8. สรุปข้อคิดเห็น
1. การส่งออกสินค้าไทยไปทั้ง 6 ภูมิภาคโดยรวมไทยต้องแข่งขันกับประเทศผู้ผลิตอื่นในหลายกลุ่มสินค้าด้วยกัน เช่น
- สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปประสบภาวการณ์แข่งขันสูงในตลาดสหรัฐและยุโรปโดยต้องแข่งขันกับจีน เวียดนาม อินเดีย ปากีสถาน อินโดนีเซียและบังคลาเทศ เป็นต้น
-เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบและเครื่องปรับอากาศประสบภาวการณ์แข่งขันกับจีนในทุกตลาดเนื่องจากจีนมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า
- เครื่องประดับอัญมณีประสบภาวการณ์แข่งขันกับอินเดีย จีน และอิตาลีในตลาดส่งออกหลักทุกตลาด
- ข้าว แม้ไทยจะเป็นผู้ส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งในตลาดโลกแต่ปัจจุบันประเทศคู่แข่งโดยเฉพาะเวียดนามในปี 2549 เวียดนามได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวไปตลาดโลกกว่า 5 ล้านตัน ส่วนในปี 2548 เวียดนามประสบความสำเร็จในการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดข้าวในหลายตลาดเช่น ญี่ปุ่น อิหร่าน มาเลเซียและฟิลิปปินส์ เป็นต้น
2. สินค้าที่มีโอกาสขยายตลาดส่งออกได้เพิ่มขึ้นสูงมีหลายกลุ่มสินค้า เช่นรถยนต์และจักรยานยนต์โดยในเดือนมกราคม 2549 ว่าสามารถผลิตรถยนต์ได้ 86,197 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 มากกว่าปี 2548 ในช่วงเวลาเดียวกันถึง 9,425 คัน ในจำนวนนี้ผลิตเพื่อส่งออก 37,269 คัน มากกว่าปี 2548 ในช่วงเดียวกัน 11,116 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.5 โดยรถยนต์นั่งประกอบได้ 19,807 คันหรือเท่ากับร้อยละ 22.98 ของรถยนต์ที่ผลิตได้ทั้งหมด และผลิตน้อยลงกว่าปี 2548 จำนวน 2,035 คันหรือลดลงร้อยละ 27.04 สำหรับรถกระบะขนาด 1 ตันผลิตได้ 64,329 คันหรือร้อยละ 74.63 ของรถยนต์ที่ผลิตได้ทั้งหมดและผลิตมากขึ้นกว่าปี 2548 กว่า 11,186 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.05 ส่วนรถจักรยานยนต์ ส่งออกไป 134,206 คัน มากกว่าปี 2548 23,808 คันหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.57 โดยมีมูลค่า 2,259.58 ล้านบาท ส่วนชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์มีการส่งออกทั้งสิ้น 817.28 ล้านบาทลดลงจากปีก่อน(2548) 43.22 ล้านบาทหรือร้อยละ 5.02 (ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)
สินค้าชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ในปี 2548 ไทยสามารถส่งออกชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์มีมูลค่าทั้งสิ้น 163 ล้านเหรียญสหรัฐหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.4 สำหรับในปี 2549 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้คาดการณ์เอาไว้ว่าสินค้าชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ของไทยจะเติบโตต่อเนื่องในอัตราการขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 โดยจะได้รับปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักอย่าง สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีประกอบกับฝีมือของคนไทยที่ได้รับการยอมรับมากขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยให้ความเห็นว่าการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนการผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์อย่างจริงจังและรวดเร็วจะเป็นการกระตุ้นให้อุตสาหกรรมนี้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลกมากขึ้นและยังเป็นโอกาสให้ประเทศไทยสามารถก้าวขึ้นเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ที่สำคัญของโลกในอนาคต
กุ้งและผลิตภัณฑ์ เป็นสินค้าส่งออกดาวเด่นอีกครั้งในปี 2549 เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างเกื้อหนุนทั้งในด้านการผลิตและการส่งออกซึ่งคาดว่าในปี 2549 นี้ไทยจะผลิตกุ้งได้ ประมาณ 300,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับในปี 2548 และได้มีการคาดหมายการส่งออกกุ้งในปี 2549 ว่ามีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยภาคการผลิตจะมีการฟื้นตัวจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยสึนามิในขณะที่คาดว่าปริมาณการผลิตกุ้งในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากประเทศที่ผลิตกุ้งรายใหญ่ได้เผชิญกับปัญหาโรคระบาคและสารตกค้างทำให้ราคากุ้งตกต่ำและการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดของสหรัฐซึ่งสร้างปัญหาอย่างมากกับผู้ส่งออกโดยเฉพาะอินเดียที่อาจจะงดส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐ สำหรับการส่งออกกุ้งของไทยในปี 2549 ได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มเป็น 450,000 ตัน มูลค่า 2,400 ล้านดอลลลาร์สหรัฐ โดยจะเน้นการพัฒนาคุณภาพเรื่องการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งของไทย และจะเปลี่ยนสัดส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งจากเดิมกุ้งแช่แข็งคิดเป็นร้อยละ 65.0 และกุ้งแปรรูปร้อยละ 35.0 เป็นการส่งออกกุ้งแช่แข็งร้อยละ 35.0 และกุ้งแปรรูปร้อยละ 65 ซึ่งจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการส่งออกกุ้งของไทยอีกทั้งยังเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในต่างประเทศให้หันมาบริโภคกุ้งแปรรูปมากขึ้น ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่หนุนอีกประการคือ ตลาดในสหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่ขยายตัวอย่างชัดเจนและจากการที่ไทยได้คืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลการกรเป็นการทั่วไปหรือจีเอสพีจะทำให้สถานการณ์แข่งขันของไทยในตลาดนี้ดีขึ้น ส่วนตลาดในสหรัฐอเมริกาไทยยังคงเป็นอันดับหนึ่งแม้ว่าจะต้องเผชิญปัญหาต้องวางพันธบัตรค้ำประกันการส่งออกซึ่งเป็นภาระต้นทุนการส่งออกเพิ่มขึ้นและทำให้สภาพคล่องของผู้ส่งออกลดลง
ยางพารา เป็นสินค้าเกษตรดาวรุ่งที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยคาดว่าความต้องการยางธรรมชาติในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นเกินกว่า 10 ล้านตัน หรือขยายตัวกว่าร้อยละ 3.7 ในระยะ 3-4 ปีข้างหน้า เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องยังมีแนวโน้มเจริญเติบโต เช่น อุตสาหกรรมยางสำหรับยานพาหนะ และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เช่น ถุงมือ ถุงยางอนามัย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีประเทศคู่แข่งขันขยายพื้นที่ปลูกยางพาราเป็นจำนวนมาก เช่น จีน เวียดนาม รวมทั้งมีการเข้าไปลงทุนปลูกยางในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว เป็นจำนวนมากอีกด้วย ประเทศไทยในฐานะเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติอันดับหนึ่งจำเป็นต้องคำนึงถึงการแข่งขันในการส่งออกยางธรรมชาติซึ่งมีท่าทีจะรุนแรงในอีก 5 ปีข้างหน้า การส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างมูลค่าเพิ่มกับอุตสาหกรรมยางพารา
3. สภาวะเศรษฐกิจของไทยในปี 2549 คาดว่าจะยังได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน ไข้หวัดนก ภัยแล้ง สถานการณ์ภาคใต้ รวมทั้งสถานการณ์ด้านการเมืองซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ประกาศยุบสภาราษฎร์ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เช่น การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชนจะชะลอไปก่อนมีผลให้การขยายตัวด้านเศรษฐกิจ ปี 2549 ต่ำกว่าเป้าหมายโดยจะขยายตัวน้อยกว่าร้อยละ 5
ที่มา: http://www.depthai.go.th