Seminar Report - Expanding Economy of Thailand and the Neighboring Countries in the Mekong Region

Economy News Tuesday August 2, 2011 11:50 —Export Department

Date:           July 28 (Thu.), 2011
Venue:          Osaka Sangyo Sozokan
Organizer:      City of Osaka, Osaka International Business Promotion Center
Co-Organizer:   Royal Thai Consulate-General Osaka, Thai Trade Center Osaka,

Thailand Board of Investment (BOI) Osaka Office Cooperater: JETRO Osaka

Speaker:        1. Mr. Ei Kashiyama, Advisor (Trade and Investment), the Business Service Division,

JETRO Osaka

2. Ms. Siripan Likhitwiwat, Executive Director, Thai Trade Center Osaka

3. Ms. Sonklin Ploymee, Director, Board of Investment (BOI) Osaka Office

4. Mr. Yoshiyuki Honjo, President, Honjo Metal Co., Ltd. Visitors: 80 persons

(Organizations and Companies such as Financial Sector, SMEs, Import-Export)

สรุปเนื้อหาการบรรยาย

ตอนที่ 1 การบรรยายเรื่อง "Expanding Economy of Thailand, and the Neighboring Countries in the

Mekong Region" โดย Mr. Ei Kashiyama, JETRO Osaka

ในตอนนี้ มีการบรรยายถึงสภาพปัจจุบันของโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region: GMS) โดยอธิบายถึงระเบียงเศรษฐกิจเส้นต่างๆ อย่างคร่าวๆ นอกจากนี้ ยังอธิบายถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงด้วย

ในตอนท้ายของการบรรยายช่วงนี้ Mr. Kashiyama ยังได้พูดถึง EPA ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและอินเดียที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2011 โดยชี้ให้เห็นว่า สามารถทำธุรกิจกับอินเดียโดยใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง/ทางผ่านเพื่อรับสิทธิประโยชน์จาก EPA ให้ได้ผลสูงสุด

ตอนที่ 2 การบรรยายเรื่อง "Recent Trade between Thailand and the Neighboring Countries in the

Mekong Region" โดย น.ส.สิริพรรณ ลิขิตวิวัฒน์ ผู้อำนวยการระดับสูง สคร.โอซากา

ในตอนนี้ มีการบรรยายถึงการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา พม่าและลาว มีการกล่าวถึงข้อมูลเบื้องต้นของแต่ละประเทศ สินค้าส่งออก-นำเข้าที่สำคัญ จุดแข็งของประเทศไทยที่มีต่อการค้ากับประเทศทั้งสาม และปริมาณการค้าระหว่างกันซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับประเทศไทยได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นข้อได้เปรียบในการเป็น Hub ที่จะกระจายสินค้าไปยังประเทศอื่นๆ นอกจากนั้น กระทรวงพาณิชย์ในฐานะหน่วนงานรับผิดชอบด้านส่งเสริมการค้าของไทย ยังได้ประสานงานและร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง เช่น Asian Development Bank (ADB) สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าไทย เพื่อพัฒนาและสำรวจลู่ทางขยายการค้า การลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการพัฒนากฎระเบียบการค้าให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งภาคเอกชนก็จะได้รับประโยชน์จากการขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมากขึ้น

ตอนที่ 3 การบรรยายเรื่อง "Latest Information on Investing Environment in Thailand"

โดย น.ส. ซ่อนกลิ่น พลอยมี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ณ นครโอซากา

ในตอนนี้ ได้มีการอธิบายถึงข้อดีในการเข้าไปลงทุนในประเทศไทย สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ เช่น การยกเว้นภาษีนิติบุคคล โดยแบ่งการอธิบายแยกตามอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ เครื่องจักร ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์ เป็นต้น

ตอนที่ 4 การบรรยายเกี่ยวกับ การเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศไทย

โดย Mr. Yoshiyuki Honjo ประธานบริษัท Honjo Metal Co., Ltd.

ในตอนนี้ มีการบรรยายถึงที่มาและผลิตภัณฑ์ของบริษัทซึ่งเป็นโลหะผสมลิเธียม (Lithium Alloy) สำหรับถ่าน โรงงานในประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดระยอง นอกจากนี้ ยังได้อธิบายถึงเหตุผลที่เลือกไปลงทุนในประเทศไทย ซึ่งทางบริษัทได้พิจารณา 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศมาเลเซียและประเทศเวียดนาม โดยร่วมกับบริษัทให้คำปรึกษาจัดทำตารางให้คะแนนในหัวข้อต่างๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม นโยบายด้านการลงทุนจากต่างประเทศ การขนส่ง บุคลากร เป็นต้น และได้เดินทางไปสำรวจในแต่ละประเทศอย่างละเอียด

การสัมมนาในครั้งนี้ มีเนื้อหาที่เกื้อต่อการลงทุน/การค้าของประเทศไทย โดยได้มีการเน้นย้ำให้เห็นว่า ประเทศไทยมีความสามารถและความพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นตัวเลือกที่เหมาะที่จะเป็นฐานการค้าของบริษัทญี่ปุ่นนอกเหนือไปจากประเทศจีน ซึ่งในปัจจุบันมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นในหลายด้าน ซึ่งผู้เข้าร่วมรับฟังต่างให้ความสนใจเป็นกันเป็นอย่างมาก

Thai Trade Center, Osaka (Japan)

ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ