ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง สังคมไทยที่ประชาชนฝันอยาก
เห็นในปีใหม่ปีกุน 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 21 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,215 คน ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 3 —
13 มกราคม 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อลักษระสังคมไทยในฝันที่อยากเห็นในปีใหม่ 2550 นี้นั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.6
ระบุอยากเห็นสังคมไทยมีความสงบเรียบร้อยไม่วุ่นวาย รองลงมาคือ ร้อยละ 83.3 ระบุสังคมที่มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อต่อกัน ร้อยละ 81.2 คนไทย
ทุกคนรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย ร้อยละ 78.5 ระบุคนไทยปลอดจากความเครียดและไม่อึดอัด ร้อยละ 78.4 ระบุมีสถาบันครอบครัวเข้ม
แข็ง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในด้านคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่นั้น พบว่าร้อยละ 63.1 ระบุการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติดีขึ้น ร้อยละ
62.3 ระบุอยากให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์บ้านทั่วถึงมีคุณภาพ ในขณะที่ร้อยละ 46.2 ระบุอยากให้ทุกคนมีชีวิต
ความเป็นอยู่ดีขึ้น ร่ำรวยขึ้น เศรษฐกิจดีขึ้น ตามลำดับ
สำหรับความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อบรรยากาศในชุมชนที่พักอาศัยนั้น ดร.นพดล กล่าวว่า การช่วยกันแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นสิ่ง
ที่ถูกคาดหวังมากที่สุด (ร้อยละ 59.5 ) รองลงมาคือร้อยละ 57.9 ระบุคาดหวังต่อบทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนในการดูแลป้องกันและแก้ปัญหาของคน
ในหมู่บ้านชุมชน ร้อยละ 57.7 ระบุต้องการให้ช่วยกันสอดส่องดูแลคนในชุมชน ในขณะที่ร้อยละ 57.4 ระบุการช่วยกันทำความสะอาด ร้อย
ละ 56.9 ระบุการช่วยเหลือกันในชุมชน ร้อยละ 56.8 ระบุการช่วยกันรักษาทรัพย์สินส่วนรวม เช่น ไฟฟ้าส่องทางเดิน ตู้โทรศัพท์สาธารณะ และ
ร้อยละ 56.5 การช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
เมื่อพิจารณาความคาดหวังของประชาชนต่อสังคมไทยด้านสายสัมพันธ์ของคนในครอบครัวว่า ตัวอย่างร้อยละ 85.4 ระบุการอยู่ร่วมกันของ
คนในครอบครัว ร้อยละ 80.0 ระบุการเคารพซึ่งกันและกันของสมาชิก ร้อยละ 79.9 ระบุความเข้าใจ-เห็นอกเห็นใจ ร้อยละ 78.7 ระบุการ
ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน และร้อยละ 77.9 ระบุความเป็นอิสระเสรีของสมาชิก
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงความคาดหวังด้านคุณภาพเด็กและเยาวชนนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 75.3 ระบุคาดหวังคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็ก
และเยาวชน ร้อยละ 65.7 ระบุรัฐบาลปกป้องรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชน ร้อยละ 66.6 ระบุการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้เด็กและเยาวชน
และร้อยละ 61.7 ระบุเด็กและเยาวชนในชุมชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาความคาดหวังของตัวอย่างด้านวัฒนธรรม
ประเพณีของไทยนั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 ระบุ ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ รองลงมาคือร้อยละ 89.6 ระบุความปลื้ม
ปิติต่อโครงการพระราชดำริ ร้อยละ 87.7 ระบุความเคารพผู้อาวุโส ร้อยละ 85.6 ระบุระบุความมีไมตรีจิต และร้อยละ 85.3 ระบุยิ้มสยาม
รอยยิ้มที่ต้อนรับทุกคน
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ ประชาชนที่ใช้ชีวิตเคร่งครัดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงระบุค่อนข้างมีความสุขถึงมีความสุขมากถึงร้อยละ 88.3
ในขณะที่กลุ่มคนที่ไม่เคร่งครัดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงร้อยละ 53.5 ระบุไม่ค่อยมีความสุขถึงไม่มีความสุขเลย นอกจากนี้กลุ่มประชาชนที่เคร่งครัดตาม
หลักเศรษฐกิจพอเพียงมีจำนวนคนที่มีความสุขมากกว่ากลุ่มประชาชนที่ไม่เคร่งครัดตามหลักเศรษฐกิจประมาณสองเท่าคือร้อยละ 21.5 ต่อร้อยละ 11.6
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ยังเปิดโอกาสให้รัฐบาลชุดปัจจุบันแสดงผลงานอย่างเป็น
รูปธรรมแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เพราะส่วนใหญ่ยังมีความหวังและความฝันต่อสังคมไทย แสดงว่าโดยภาพรวมสังคมไทยยังอยู่ในสภาพที่
พอรับได้ แต่ก็น่าเป็นห่วงว่าเมื่อพิจารณาในด้านความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนต่อรัฐบาลจากผลสำรวจทางการเมืองก่อนหน้านี้นั้น กลับพบว่า
รัฐบาลอาจจะช้าเกินไปแล้วสำหรับการฟื้นฟูความเชื่อมั่น และสร้างความนิยมศรัทธาจากสาธารณชน ดังนั้นเพื่อไม่ให้ประชาชนรู้สึกหมดหวังต่อสังคม
ไทย รัฐบาลจึงน่าพิจารณาเร่งดำเนินการต่อไปนี้
ประการแรก รัฐบาลควรลงพื้นที่ที่เป็นหัวใจของฐานอำนาจเก่าทันที เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ รัฐบาลควรลงพื้นที่เหล่านี้ไปพบปะ
ประชาชนเพราะประชาชนเหล่านี้เป็นคนไทยที่กำลังต้องการความช่วยเหลือเอาใจใส่จากรัฐบาลไม่แตกต่างไปจากประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาค
ใต้ รัฐบาลควรแสดงถึงความห่วงใยโดยไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย รัฐบาลควรลงไปรับทราบปัญหาความเดือดร้อนและเมื่อมีงบประมาณจะได้แก้ปัญหาตรงความ
ต้องการของประชาชนทันเวลา จะส่งผลทำให้ลดแรงเสียดทานจากประชาชนรากฐานของสังคมได้ รัฐบาลจะหวังพึ่งการสนับสนุนจากหน่วยงานความมั่น
คงเพียงอย่างเดียวไม่พอแน่
ประการที่สอง รัฐบาลควรแสดงให้สาธารณชนเห็นและตระหนักว่าการทุจริตคอรัปชั่นกำลังทำลายสังคมไทยในฝันของพวกเขาอย่างชัดเจน
และเร่งสนับสนุนทรัพยากรให้กลไกต่างๆ ของรัฐโดยเฉพาะ ปปช. แสดงผลงานเอาผิดขบวนการทุจริตคอรัปชั่นโดยเร็วก่อนที่จะเกิดปรากฏ
การณ์ “เลียนแบบกลุ่มอำนาจเก่า” ในบรรดานักการเมืองท้องถิ่นอย่างกว้างขวางจนเกิดทัศนคติในหมู่ประชาชนว่า “โกงไม่เป็นไร ขอให้เรา
(ชาวบ้าน) ในชุมชนได้รับผลประโยชน์ด้วย เพราะโกงกินกันทุกรัฐบาลอยู่แล้ว” ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าการรับรู้ในหมู่ประชาชนว่ารัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ได้ยกเลิก
บริการสาธารณะ เช่น การยกเลิกโครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรค แต่ไม่เกิดการรับรู้ในหมู่ประชาชนว่ามีโครงการรักษาพยาบาลฟรีมาแทนให้แก่ผู้มี
รายได้น้อย รัฐบาลกำลังจะเข้าใกล้จุดวิกฤตแห่งความเสื่อมศรัทธาในหมู่ประชาชน เพราะเมื่อใดก็ตามที่รัฐยกเลิกการบริการสาธารณะต่างๆ ที่ประชา
ชนนิยมใช้ รัฐกำลังเข้าสู่ความล่มสลายของฐานสนับสนุนจากสาธารณชน โดยกลุ่มผู้มีรายได้น้อยมักจะมองข้ามปัญหาทุจริตคอรัปชั่นว่าเป็นเรื่องไกลตัว
ประการที่สาม รัฐบาลควรเร่งจัดระเบียบระบบการเมืองและสังคมโดยเร่งด่วน ทำให้เห็นว่าสังคมไทยในรัฐบาลชุดนี้และต่อๆ ไปจะ
เป็นสังคมที่น่าอยู่อย่างแท้จริง โดยเน้นตอบสนองกลุ่มเป้าหมายสองกลุ่มคือ กลุ่มคนชนชั้นนำ เช่น รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรเปิดช่องให้กฎหมายลูกสามารถ
จัดการเอาผิดกับการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างได้ และเพียงเชื่อได้ว่ามีพฤติการณ์ทุจริตคอรัปชั่นก็สามารถเอาผิดได้โดยไม่ต้องรอให้มีใบ
เสร็จ สำหรับกลุ่มคนรากฐานสังคมส่วนใหญ่ของประเทศควรจัดระเบียบสังคมสภาพแวดล้อม สร้าง “ทุนทางสังคม” ในหมู่ประชาชน เช่น การพัฒนา
กองทุนหมู่บ้านให้เจริญมั่นคงและโปร่งใสเป็นธรรมอย่างยั่งยืน การจัดระเบียบสถานบันเทิงและการจัดระเบียบจราจรลดอุบัติเหตุเป็นระบบทั่วประเทศ
เป็นต้น
ประการที่สี่ รัฐบาลจะไม่สามารถสร้างผลงานเป็นชิ้นเป็นอันได้เลย และ คมช. จะเสียหายอย่างใหญ่หลวง ถ้ารัฐบาลไม่สามารถจัดการ
กับบรรดาข้าราชการที่กำลังเข้า “เกียร์ว่าง” และบางหน่วยงานถึงกับเข้า “เกียร์ถอยหลัง” อีกด้วย ดังนั้นรัฐบาลต้องจัดการกับบรรดาข้าราชการ
เหล่านี้ก่อนเป็นอันดับแรก
ประการที่ห้า รัฐบาลควรคืนอำนาจให้ประชาชนโดยเร็วที่สุดก่อนจะสายเกินไป เพราะรัฐบาลทุกรัฐบาลยิ่งอยู่นานยิ่งมีโอกาสเสื่อมถอยลง
ไปเรื่อยๆ รัฐบาลควรตระหนักว่ารัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งไม่มีฐานการเมืองสนับสนุน ถ้ารัฐบาลทำงานล่าช้าไม่ทันใจชาวบ้านแบบนี้ การอยู่
นานมีแต่เสื่อมถอยในหมู่ประชาชน ในขณะที่ฝ่ายการเมืองมักจะมีเกมใหม่ๆ มาทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลได้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เพื่อให้สังคมใน
ฝันของประชาชนเป็นจริงตามผลวิจัยครั้งนี้ รัฐบาลน่าจะพิจารณาคืนอำนาจให้ประชาชนโดยเร็วที่สุด
ดร.นพดล กล่าวว่า ปีใหม่นี้กำลังถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นปีที่ประเทศไทยจะประสบปัญหาวิกฤตหลายด้าน ซึ่งการมองเช่นนี้อาจส่งผลทำให้
จิตใจของคนไทยจำนวนมากรู้สึกหดหู่ หมดกำลังใจ ท้อแท้และสิ้นหวัง อย่างไรก็ตาม การที่หลายฝ่ายมองว่าปีนี้เป็นปีที่ประเทศไทยจะเจอสิ่งที่เลว
ร้ายหลายด้าน น่าจะทำให้ประชาชนคนไทยหันมาสร้างภูมิคุ้มกันตัวเอง ด้วยการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสามารถประคับประคองตนเองให้
อยู่รอดผ่านพ้นจุดเปลี่ยนผ่านของประเทศไทยไปได้
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อลักษณะสังคมในฝันที่ประชาชนต้องการในปี พ.ศ. 2550
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง สังคมไทยที่ประชาชนฝันอยากเห็นในปีใหม่ปี
กุน 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 21 จังหวัดของประเทศ ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 3 — 13 มกราคม 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 21 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา
ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครพนม ชัยภูมิ กระบี่ ตรัง และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,215 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 49.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 50.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 23.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 19.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 24.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 2.4 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ/ว่างงาน
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.2 อยู่นอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ร้อยละ 25.8 พักอาศัยในเขตเทศบาลหรือเขตเมือง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ 10 อันดับแรกของลักษณะสังคมไทยในฝันที่ประชาชนอยากเห็น
ในปีใหม่ปีกุน 2550 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ลักษณะสังคมไทยในฝันที่ประชาชนอยากเห็นในปีใหม่ ค่าร้อยละ
1 ความสงบเรียบร้อย ไม่วุ่นวาย 84.6
2 คนไทยมีความช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อต่อกัน 83.3
3 คนไทยทุกคนรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย 81.2
4 ปลอดจากความเครียดและไม่อึดอัด 78.5
5 สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง 78.4
6 คนไทยมีการศึกษาดีขึ้น 68.1
7 การจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติดีขึ้น 63.1
8 สภาพแวดล้อมที่ดี ถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์บ้านทั่วถึงมีคุณภาพ 62.3
9 มีความเป็นธรรมในสังคมอย่างแท้จริง 58.5
10 ทุกคนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ร่ำรวยขึ้น เศรษฐกิจดีขึ้น 46.2
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังต่อสังคมไทยด้านบรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัย
ลำดับที่ บรรยากาศภายในชุมชนที่คาดหวัง ค่าร้อยละ
1 การช่วยกันแก้ปัญหายาเสพติด 59.5
2 บทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนในการดูแลป้องกันและแก้ปัญหาของคนในหมู่บ้านชุมชน 57.9
3 การช่วยกันสอดส่องดูแลคนในชุมชน 57.7
4 การช่วยกันทำความสะอาด 57.4
5 การช่วยเหลือกันในชุมชน 56.9
6 การช่วยกันรักษาทรัพย์สินส่วนรวม เช่น ไฟฟ้าส่องทางเดิน ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 56.8
7 การช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม 56.5
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังต่อสังคมไทยด้านบรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัย
จำแนกตามภูมิภาพ
บรรยากาศภายในชุมชน เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1. การช่วยเหลือกันในชุมชน 63.0 45.8 56.0 69.0 51.2
2. การช่วยกันแก้ปัญหายาเสพติด 67.4 47.7 58.1 68.1 58.2
3. การช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม 60.8 43.8 55.6 68.4 58.2
4. การช่วยกันรักษาทรัพย์สินส่วนรวม เช่น ไฟฟ้าส่อง ทางเดิน ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 62.0 44.2 55.2 70.4 56.1
5. การช่วยกันสอดส่องดูแลคนในชุมชน 65.8 43.6 55.6 71.3 56.1
6. การช่วยกันทำความสะอาด 63.4 45.8 55.6 68.4 57.8
7. บทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนในการดูแลป้องกันและแก้ปัญหาของคนในหมู่บ้านชุมชน 67.2 42.3 57.5 71.3 50.4
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังต่อสังคมไทยด้านสายสัมพันธ์ของคนในครอบครัว
ลำดับที่ สายสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ค่าร้อยละ
1 การอยู่ร่วมกันของคนในครอบครัว 85.4
2 การเคารพซึ่งกันและกันของสมาชิก 80.0
3 ความเข้าใจ-เห็นอกเห็นใจ 79.9
4 การร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน 78.7
5 ความเป็นอิสระเสรีของสมาชิก 77.9
6 การช่วยกันแก้ปัญหา 77.3
7 ความเป็นประชาธิปไตย 77.0
8 การรับฟังปัญหาของกันและกัน 75.2
9 การทำกิจกรรมร่วมกัน 74.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังต่อสังคมไทยด้านคุณภาพเด็กและเยาวชน
ลำดับที่ คุณภาพเด็กและเยาวชน ค่าร้อยละ
1 คุณภาพที่ดีของเด็กและเยาวชน 75.3
2 รัฐบาลปกป้องรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชน 65.7
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้เด็กและเยาวชน 66.6
4 เด็กและเยาวชนในชุมชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 61.7
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังต่อสังคมไทยด้านวัฒนธรรมประเพณี
ลำดับที่ วัฒนธรรมประเพณี ค่าร้อยละ
1 ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ 90.8
2 ความปลื้มปิติต่อโครงการพระราชดำริ 89.6
3 ความเคารพผู้อาวุโส 87.7
4 ความมีไมตรีจิต 85.6
5 ยิ้มสยาม รอยยิ้มที่ต้อนรับทุกคน 85.3
6 การไหว้และกล่าว สวัสดี ของคนไทย 82.9
7 ความซื่อสัตย์สุจริต 82.7
8 ความสุภาพอ่อนโยนของคนไทย 82.1
9 ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 81.3
10 ความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ 79.8
11 ความรับผิดชอบ 81.1
12 ความกรุณาปราณี 79.9
13 ความเป็นอิสระเสรี 79.9
14 การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม 79.3
15 เทศกาลรื่นเริงประเพณีไทย 79.2
16 งานบุญงานบวชต่างๆ 78.0
17 ความเสียสละ 77.9
18 การใช้ชีวิตตามทางสายกลาง 77.3
19 ความสันโดษ 66.0
ตารางที่ 7 เปรียบเทียบความสุขของตัวอย่างตามระดับความเข้มข้นของของการใช้ชีวิตตามหลัก
เศรษฐกิจพอเพียง
ความสุข ระดับความเข้มข้นของของการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ไม่เคร่งครัด ไม่ค่อยเคร่งครัด ค่อนข้างเคร่งครัด เคร่งครัด
1. ไม่มีความสุขเลย 18.6 15.7 4.0 1.8
2. ไม่ค่อยมีความสุข 34.9 46.5 22.8 9.9
3. ค่อนข้างมีความสุข 34.9 33.5 65.9 66.8
4. มีความสุขมาก 11.6 4.3 7.3 21.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เห็นในปีใหม่ปีกุน 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 21 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,215 คน ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 3 —
13 มกราคม 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อลักษระสังคมไทยในฝันที่อยากเห็นในปีใหม่ 2550 นี้นั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.6
ระบุอยากเห็นสังคมไทยมีความสงบเรียบร้อยไม่วุ่นวาย รองลงมาคือ ร้อยละ 83.3 ระบุสังคมที่มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อต่อกัน ร้อยละ 81.2 คนไทย
ทุกคนรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย ร้อยละ 78.5 ระบุคนไทยปลอดจากความเครียดและไม่อึดอัด ร้อยละ 78.4 ระบุมีสถาบันครอบครัวเข้ม
แข็ง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในด้านคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่นั้น พบว่าร้อยละ 63.1 ระบุการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติดีขึ้น ร้อยละ
62.3 ระบุอยากให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์บ้านทั่วถึงมีคุณภาพ ในขณะที่ร้อยละ 46.2 ระบุอยากให้ทุกคนมีชีวิต
ความเป็นอยู่ดีขึ้น ร่ำรวยขึ้น เศรษฐกิจดีขึ้น ตามลำดับ
สำหรับความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อบรรยากาศในชุมชนที่พักอาศัยนั้น ดร.นพดล กล่าวว่า การช่วยกันแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นสิ่ง
ที่ถูกคาดหวังมากที่สุด (ร้อยละ 59.5 ) รองลงมาคือร้อยละ 57.9 ระบุคาดหวังต่อบทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนในการดูแลป้องกันและแก้ปัญหาของคน
ในหมู่บ้านชุมชน ร้อยละ 57.7 ระบุต้องการให้ช่วยกันสอดส่องดูแลคนในชุมชน ในขณะที่ร้อยละ 57.4 ระบุการช่วยกันทำความสะอาด ร้อย
ละ 56.9 ระบุการช่วยเหลือกันในชุมชน ร้อยละ 56.8 ระบุการช่วยกันรักษาทรัพย์สินส่วนรวม เช่น ไฟฟ้าส่องทางเดิน ตู้โทรศัพท์สาธารณะ และ
ร้อยละ 56.5 การช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
เมื่อพิจารณาความคาดหวังของประชาชนต่อสังคมไทยด้านสายสัมพันธ์ของคนในครอบครัวว่า ตัวอย่างร้อยละ 85.4 ระบุการอยู่ร่วมกันของ
คนในครอบครัว ร้อยละ 80.0 ระบุการเคารพซึ่งกันและกันของสมาชิก ร้อยละ 79.9 ระบุความเข้าใจ-เห็นอกเห็นใจ ร้อยละ 78.7 ระบุการ
ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน และร้อยละ 77.9 ระบุความเป็นอิสระเสรีของสมาชิก
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงความคาดหวังด้านคุณภาพเด็กและเยาวชนนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 75.3 ระบุคาดหวังคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็ก
และเยาวชน ร้อยละ 65.7 ระบุรัฐบาลปกป้องรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชน ร้อยละ 66.6 ระบุการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้เด็กและเยาวชน
และร้อยละ 61.7 ระบุเด็กและเยาวชนในชุมชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาความคาดหวังของตัวอย่างด้านวัฒนธรรม
ประเพณีของไทยนั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 ระบุ ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ รองลงมาคือร้อยละ 89.6 ระบุความปลื้ม
ปิติต่อโครงการพระราชดำริ ร้อยละ 87.7 ระบุความเคารพผู้อาวุโส ร้อยละ 85.6 ระบุระบุความมีไมตรีจิต และร้อยละ 85.3 ระบุยิ้มสยาม
รอยยิ้มที่ต้อนรับทุกคน
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ ประชาชนที่ใช้ชีวิตเคร่งครัดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงระบุค่อนข้างมีความสุขถึงมีความสุขมากถึงร้อยละ 88.3
ในขณะที่กลุ่มคนที่ไม่เคร่งครัดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงร้อยละ 53.5 ระบุไม่ค่อยมีความสุขถึงไม่มีความสุขเลย นอกจากนี้กลุ่มประชาชนที่เคร่งครัดตาม
หลักเศรษฐกิจพอเพียงมีจำนวนคนที่มีความสุขมากกว่ากลุ่มประชาชนที่ไม่เคร่งครัดตามหลักเศรษฐกิจประมาณสองเท่าคือร้อยละ 21.5 ต่อร้อยละ 11.6
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ยังเปิดโอกาสให้รัฐบาลชุดปัจจุบันแสดงผลงานอย่างเป็น
รูปธรรมแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เพราะส่วนใหญ่ยังมีความหวังและความฝันต่อสังคมไทย แสดงว่าโดยภาพรวมสังคมไทยยังอยู่ในสภาพที่
พอรับได้ แต่ก็น่าเป็นห่วงว่าเมื่อพิจารณาในด้านความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนต่อรัฐบาลจากผลสำรวจทางการเมืองก่อนหน้านี้นั้น กลับพบว่า
รัฐบาลอาจจะช้าเกินไปแล้วสำหรับการฟื้นฟูความเชื่อมั่น และสร้างความนิยมศรัทธาจากสาธารณชน ดังนั้นเพื่อไม่ให้ประชาชนรู้สึกหมดหวังต่อสังคม
ไทย รัฐบาลจึงน่าพิจารณาเร่งดำเนินการต่อไปนี้
ประการแรก รัฐบาลควรลงพื้นที่ที่เป็นหัวใจของฐานอำนาจเก่าทันที เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ รัฐบาลควรลงพื้นที่เหล่านี้ไปพบปะ
ประชาชนเพราะประชาชนเหล่านี้เป็นคนไทยที่กำลังต้องการความช่วยเหลือเอาใจใส่จากรัฐบาลไม่แตกต่างไปจากประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาค
ใต้ รัฐบาลควรแสดงถึงความห่วงใยโดยไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย รัฐบาลควรลงไปรับทราบปัญหาความเดือดร้อนและเมื่อมีงบประมาณจะได้แก้ปัญหาตรงความ
ต้องการของประชาชนทันเวลา จะส่งผลทำให้ลดแรงเสียดทานจากประชาชนรากฐานของสังคมได้ รัฐบาลจะหวังพึ่งการสนับสนุนจากหน่วยงานความมั่น
คงเพียงอย่างเดียวไม่พอแน่
ประการที่สอง รัฐบาลควรแสดงให้สาธารณชนเห็นและตระหนักว่าการทุจริตคอรัปชั่นกำลังทำลายสังคมไทยในฝันของพวกเขาอย่างชัดเจน
และเร่งสนับสนุนทรัพยากรให้กลไกต่างๆ ของรัฐโดยเฉพาะ ปปช. แสดงผลงานเอาผิดขบวนการทุจริตคอรัปชั่นโดยเร็วก่อนที่จะเกิดปรากฏ
การณ์ “เลียนแบบกลุ่มอำนาจเก่า” ในบรรดานักการเมืองท้องถิ่นอย่างกว้างขวางจนเกิดทัศนคติในหมู่ประชาชนว่า “โกงไม่เป็นไร ขอให้เรา
(ชาวบ้าน) ในชุมชนได้รับผลประโยชน์ด้วย เพราะโกงกินกันทุกรัฐบาลอยู่แล้ว” ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าการรับรู้ในหมู่ประชาชนว่ารัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ได้ยกเลิก
บริการสาธารณะ เช่น การยกเลิกโครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรค แต่ไม่เกิดการรับรู้ในหมู่ประชาชนว่ามีโครงการรักษาพยาบาลฟรีมาแทนให้แก่ผู้มี
รายได้น้อย รัฐบาลกำลังจะเข้าใกล้จุดวิกฤตแห่งความเสื่อมศรัทธาในหมู่ประชาชน เพราะเมื่อใดก็ตามที่รัฐยกเลิกการบริการสาธารณะต่างๆ ที่ประชา
ชนนิยมใช้ รัฐกำลังเข้าสู่ความล่มสลายของฐานสนับสนุนจากสาธารณชน โดยกลุ่มผู้มีรายได้น้อยมักจะมองข้ามปัญหาทุจริตคอรัปชั่นว่าเป็นเรื่องไกลตัว
ประการที่สาม รัฐบาลควรเร่งจัดระเบียบระบบการเมืองและสังคมโดยเร่งด่วน ทำให้เห็นว่าสังคมไทยในรัฐบาลชุดนี้และต่อๆ ไปจะ
เป็นสังคมที่น่าอยู่อย่างแท้จริง โดยเน้นตอบสนองกลุ่มเป้าหมายสองกลุ่มคือ กลุ่มคนชนชั้นนำ เช่น รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรเปิดช่องให้กฎหมายลูกสามารถ
จัดการเอาผิดกับการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างได้ และเพียงเชื่อได้ว่ามีพฤติการณ์ทุจริตคอรัปชั่นก็สามารถเอาผิดได้โดยไม่ต้องรอให้มีใบ
เสร็จ สำหรับกลุ่มคนรากฐานสังคมส่วนใหญ่ของประเทศควรจัดระเบียบสังคมสภาพแวดล้อม สร้าง “ทุนทางสังคม” ในหมู่ประชาชน เช่น การพัฒนา
กองทุนหมู่บ้านให้เจริญมั่นคงและโปร่งใสเป็นธรรมอย่างยั่งยืน การจัดระเบียบสถานบันเทิงและการจัดระเบียบจราจรลดอุบัติเหตุเป็นระบบทั่วประเทศ
เป็นต้น
ประการที่สี่ รัฐบาลจะไม่สามารถสร้างผลงานเป็นชิ้นเป็นอันได้เลย และ คมช. จะเสียหายอย่างใหญ่หลวง ถ้ารัฐบาลไม่สามารถจัดการ
กับบรรดาข้าราชการที่กำลังเข้า “เกียร์ว่าง” และบางหน่วยงานถึงกับเข้า “เกียร์ถอยหลัง” อีกด้วย ดังนั้นรัฐบาลต้องจัดการกับบรรดาข้าราชการ
เหล่านี้ก่อนเป็นอันดับแรก
ประการที่ห้า รัฐบาลควรคืนอำนาจให้ประชาชนโดยเร็วที่สุดก่อนจะสายเกินไป เพราะรัฐบาลทุกรัฐบาลยิ่งอยู่นานยิ่งมีโอกาสเสื่อมถอยลง
ไปเรื่อยๆ รัฐบาลควรตระหนักว่ารัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งไม่มีฐานการเมืองสนับสนุน ถ้ารัฐบาลทำงานล่าช้าไม่ทันใจชาวบ้านแบบนี้ การอยู่
นานมีแต่เสื่อมถอยในหมู่ประชาชน ในขณะที่ฝ่ายการเมืองมักจะมีเกมใหม่ๆ มาทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลได้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เพื่อให้สังคมใน
ฝันของประชาชนเป็นจริงตามผลวิจัยครั้งนี้ รัฐบาลน่าจะพิจารณาคืนอำนาจให้ประชาชนโดยเร็วที่สุด
ดร.นพดล กล่าวว่า ปีใหม่นี้กำลังถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นปีที่ประเทศไทยจะประสบปัญหาวิกฤตหลายด้าน ซึ่งการมองเช่นนี้อาจส่งผลทำให้
จิตใจของคนไทยจำนวนมากรู้สึกหดหู่ หมดกำลังใจ ท้อแท้และสิ้นหวัง อย่างไรก็ตาม การที่หลายฝ่ายมองว่าปีนี้เป็นปีที่ประเทศไทยจะเจอสิ่งที่เลว
ร้ายหลายด้าน น่าจะทำให้ประชาชนคนไทยหันมาสร้างภูมิคุ้มกันตัวเอง ด้วยการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสามารถประคับประคองตนเองให้
อยู่รอดผ่านพ้นจุดเปลี่ยนผ่านของประเทศไทยไปได้
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อลักษณะสังคมในฝันที่ประชาชนต้องการในปี พ.ศ. 2550
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง สังคมไทยที่ประชาชนฝันอยากเห็นในปีใหม่ปี
กุน 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 21 จังหวัดของประเทศ ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 3 — 13 มกราคม 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 21 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา
ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครพนม ชัยภูมิ กระบี่ ตรัง และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,215 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 49.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 50.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 23.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 19.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 24.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 2.4 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ/ว่างงาน
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.2 อยู่นอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ร้อยละ 25.8 พักอาศัยในเขตเทศบาลหรือเขตเมือง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ 10 อันดับแรกของลักษณะสังคมไทยในฝันที่ประชาชนอยากเห็น
ในปีใหม่ปีกุน 2550 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ลักษณะสังคมไทยในฝันที่ประชาชนอยากเห็นในปีใหม่ ค่าร้อยละ
1 ความสงบเรียบร้อย ไม่วุ่นวาย 84.6
2 คนไทยมีความช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อต่อกัน 83.3
3 คนไทยทุกคนรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย 81.2
4 ปลอดจากความเครียดและไม่อึดอัด 78.5
5 สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง 78.4
6 คนไทยมีการศึกษาดีขึ้น 68.1
7 การจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติดีขึ้น 63.1
8 สภาพแวดล้อมที่ดี ถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์บ้านทั่วถึงมีคุณภาพ 62.3
9 มีความเป็นธรรมในสังคมอย่างแท้จริง 58.5
10 ทุกคนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ร่ำรวยขึ้น เศรษฐกิจดีขึ้น 46.2
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังต่อสังคมไทยด้านบรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัย
ลำดับที่ บรรยากาศภายในชุมชนที่คาดหวัง ค่าร้อยละ
1 การช่วยกันแก้ปัญหายาเสพติด 59.5
2 บทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนในการดูแลป้องกันและแก้ปัญหาของคนในหมู่บ้านชุมชน 57.9
3 การช่วยกันสอดส่องดูแลคนในชุมชน 57.7
4 การช่วยกันทำความสะอาด 57.4
5 การช่วยเหลือกันในชุมชน 56.9
6 การช่วยกันรักษาทรัพย์สินส่วนรวม เช่น ไฟฟ้าส่องทางเดิน ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 56.8
7 การช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม 56.5
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังต่อสังคมไทยด้านบรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัย
จำแนกตามภูมิภาพ
บรรยากาศภายในชุมชน เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1. การช่วยเหลือกันในชุมชน 63.0 45.8 56.0 69.0 51.2
2. การช่วยกันแก้ปัญหายาเสพติด 67.4 47.7 58.1 68.1 58.2
3. การช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม 60.8 43.8 55.6 68.4 58.2
4. การช่วยกันรักษาทรัพย์สินส่วนรวม เช่น ไฟฟ้าส่อง ทางเดิน ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 62.0 44.2 55.2 70.4 56.1
5. การช่วยกันสอดส่องดูแลคนในชุมชน 65.8 43.6 55.6 71.3 56.1
6. การช่วยกันทำความสะอาด 63.4 45.8 55.6 68.4 57.8
7. บทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนในการดูแลป้องกันและแก้ปัญหาของคนในหมู่บ้านชุมชน 67.2 42.3 57.5 71.3 50.4
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังต่อสังคมไทยด้านสายสัมพันธ์ของคนในครอบครัว
ลำดับที่ สายสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ค่าร้อยละ
1 การอยู่ร่วมกันของคนในครอบครัว 85.4
2 การเคารพซึ่งกันและกันของสมาชิก 80.0
3 ความเข้าใจ-เห็นอกเห็นใจ 79.9
4 การร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน 78.7
5 ความเป็นอิสระเสรีของสมาชิก 77.9
6 การช่วยกันแก้ปัญหา 77.3
7 ความเป็นประชาธิปไตย 77.0
8 การรับฟังปัญหาของกันและกัน 75.2
9 การทำกิจกรรมร่วมกัน 74.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังต่อสังคมไทยด้านคุณภาพเด็กและเยาวชน
ลำดับที่ คุณภาพเด็กและเยาวชน ค่าร้อยละ
1 คุณภาพที่ดีของเด็กและเยาวชน 75.3
2 รัฐบาลปกป้องรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชน 65.7
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้เด็กและเยาวชน 66.6
4 เด็กและเยาวชนในชุมชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 61.7
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังต่อสังคมไทยด้านวัฒนธรรมประเพณี
ลำดับที่ วัฒนธรรมประเพณี ค่าร้อยละ
1 ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ 90.8
2 ความปลื้มปิติต่อโครงการพระราชดำริ 89.6
3 ความเคารพผู้อาวุโส 87.7
4 ความมีไมตรีจิต 85.6
5 ยิ้มสยาม รอยยิ้มที่ต้อนรับทุกคน 85.3
6 การไหว้และกล่าว สวัสดี ของคนไทย 82.9
7 ความซื่อสัตย์สุจริต 82.7
8 ความสุภาพอ่อนโยนของคนไทย 82.1
9 ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 81.3
10 ความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ 79.8
11 ความรับผิดชอบ 81.1
12 ความกรุณาปราณี 79.9
13 ความเป็นอิสระเสรี 79.9
14 การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม 79.3
15 เทศกาลรื่นเริงประเพณีไทย 79.2
16 งานบุญงานบวชต่างๆ 78.0
17 ความเสียสละ 77.9
18 การใช้ชีวิตตามทางสายกลาง 77.3
19 ความสันโดษ 66.0
ตารางที่ 7 เปรียบเทียบความสุขของตัวอย่างตามระดับความเข้มข้นของของการใช้ชีวิตตามหลัก
เศรษฐกิจพอเพียง
ความสุข ระดับความเข้มข้นของของการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ไม่เคร่งครัด ไม่ค่อยเคร่งครัด ค่อนข้างเคร่งครัด เคร่งครัด
1. ไม่มีความสุขเลย 18.6 15.7 4.0 1.8
2. ไม่ค่อยมีความสุข 34.9 46.5 22.8 9.9
3. ค่อนข้างมีความสุข 34.9 33.5 65.9 66.8
4. มีความสุขมาก 11.6 4.3 7.3 21.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-