ดร.อุดม หงส์ชาติกุล ผู้อำนวยการโครงการ ABAC Consumer Index และนายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับ ดร.นพ ดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (ศูนย์วิจัยธุรกิจ) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และนักศึกษาด้านการ พัฒนาระหว่างประเทศ ประจำสถาบันคอร์เนล์ลเพื่อภารกิจของรัฐ มหาวิทยาลัยคอร์เนล์ล ในการสนับสนุนของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ดัชนีรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภค (Consumer Lifestyle Survey) กรณีศึกษาตัวอย่างผู้บริโภค ระดับครัวเรือน อายุ 15 ปีขึ้นไปใน 12 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ชลบุรี นครราชสีมาอุดรธานี กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,250 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการช่วงเดือนกันยายน—10 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ดร.อุดม กล่าวว่า จากการสุ่มตัวอย่างผู้บริโภคระดับครัวเรือนตามหลักสถิติทั่วประเทศ พบว่า ถ้าไม่นับรวมการใช้จ่ายด้านอาหารที่รับ ประทานในชีวิตประจำวันแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 90 ใช้จ่ายไปกับของใช้อุปโภค รองลงมาคือ ร้อยละ 34.5 เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยว กับแฟชั่น เครื่องแต่งกาย ร้อยละ 9.3 ใช้จ่ายกับบันเทิง ดูหนังที่โรงภาพยนตร์ คอนเสิร์ต ร้อยละ 9.1 ใช้จ่ายด้านความงามเช่น สปา นวด คลินิก รักษาผิวหนัง และเพียงร้อยละ 3.3 ที่ใช้จ่ายค่าบริการออกกำลังกาย ฟิตเนส
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อจำแนกกลุ่มผู้บริโภคตามระดับรายได้ พบว่า คนที่มีรายได้สูงกว่า 35,000 บาทต่อเดือน มีสัดส่วนการใช้จ่ายด้าน แฟชั่น เครื่องแต่งกาย และความงาม มากกว่า กลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน คือร้อยละ 46.5 ต่อร้อยละ30.2 และร้อย ละ 25.4 ต่อร้อยละ 6.2 ตามลำดับ เช่นเดียวกับการดูหนังที่โรงภาพยนตร์ คอนเสิร์ต และค่าบริการออกกำลังกาย ฟิตเนส ที่ผู้บริโภครายได้สูงก ว่า 35,000 บาทต่อเดือน มีสัดส่วนการใช้จ่ายค่าบริการเหล่านี้มากกว่า คนที่มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน คือร้อยละ 15.5 ต่อร้อยละ 8.0 และร้อยละ 7.0 ต่อร้อยละ 2.2 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณา แหล่งที่ซื้อสินค้าของผู้บริโภค พบว่า ตลาดสด ตลาดนัด ยังคงเป็นแหล่งใช้จ่ายของคนไทยทั้งนอกเขตเทศบาล ในเขต เทศบาล และกรุงเทพมหานคร คือร้อยละ 95.4 ร้อยละ 94.7 และร้อยละ 93.9 ตามลำดับ เช่นเดียวกับ ร้านสะดวกซื้อ ที่จะกลายเป็นแหล่งที่ซื้อ สินค้าของคนกรุงเทพไปเกือบร้อยละร้อย คือร้อยละ 96.8 ของคนกรุงเทพมหานครที่ถูกศึกษาครั้งนี้อาศัยร้านสะดวกซื้อเป็นแหล่งซื้อสินค้าของตนเอง นอกจากนี้ คนกรุงเทพมหานคร ยังอาศัย ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้อยละ 86.2 และห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 44.5 เป็นแหล่งซื้อสินค้าของคนกรุงเทพเช่น กัน
เมื่อสอบถามถึงความตั้งใจจะซื้อสินค้าคงทน พบว่า กลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ระหว่าง 20,001 ถึง 35,000 บาทสนใจเครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้า IT มากที่สุด คือร้อยละ 29.7 และร้อยละ 16.8 ในขณะที่กลุ่มรายได้อื่นจะมีสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 20 อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ มากกว่า 35,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป มีจำนวนคนที่ตั้งใจจะซื้อบ้านและรถยนต์สูงที่สุดคือร้อยละ 9.1 และร้อยละ 15.9 ตามลำดับ
ส่วนวิธีการชำระเงินที่ผู้บริโภคจะใช้ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า พบว่า อันดับแรกคือ ผ่อนชำระกับสินเชื่อเงินสด ร้อยละ 33.0 และผ่อนชำระกับ ร้านค้าโดยตรงร้อยละ 31.0 ในขณะที่ผ่อนชำระกับบัตรเครดิตมีอยู่ร้อยละ 29.2 ตามลำดับ
แต่ถ้าเป็นการซื้อสินค้า ด้าน ไอที เช่น คอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก โน้ตบุ๊ก พบว่า ผู้บริโภคจะเลือกวิธีผ่อนชำระกับร้านค้าโดยตรงร้อยละ 31.6 ผ่อนกับบัตรเครดิตร้อยละ 30.4 และผ่อนกับสินเชื่อเงินสดร้อยละ 25.3 ตามลำดับ
ถ้าเป็นการซื้อรถยนต์ ผู้บริโภคร้อยละ 37.1 จะผ่อนชำระกับสินเชื่อบริษัทรถยนต์โดยตรง ร้อยละ 24.1 จะผ่อนกับบริษัทไฟแนนซ์ ร้อย ละ 19.8 ผ่อนชำระกับธนาคาร และร้อยละ 19.0 จะผ่อนกับสินเชื่อเงินสด และกู้ยืมจากแหล่งต่าง ๆ ตามลำดับ
แต่ถ้าเป็นการซื้อบ้าน พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.9 จะผ่อนชำระกับธนาคาร
เมื่อสอบถามถึงความตั้งใจจะเดินทางท่องเที่ยวของกลุ่มผู้บริโภค ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จำแนกตามระดับรายได้ต่อเดือน พบว่าคนที่มี รายได้สูงกว่า 35,000 บาทต่อเดือนเตรียมตัวเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัดร้อยละ 29.6 และร้อยละ 15.5 จะเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ แต่ผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือนจะวางแผนจะไปเที่ยวต่างจังหวัดเพียงร้อยละ 12.6 และต่างประเทศร้อยละ 1.8เท่านั้น
ส่วนวิธีการชำระเงินที่ผู้บริโภคจะใช้ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า พบว่า อันดับแรกคือ ผ่อนชำระกับสินเชื่อเงินสด ร้อยละ 33.0 และผ่อนชำระกับ ร้านค้าโดยตรงร้อยละ 31.0 ในขณะที่ผ่อนชำระกับบัตรเครดิตมีอยู่ร้อยละ 29.2 ตามลำดับแต่ถ้าเป็นการซื้อสินค้า ด้าน ไอที เช่น คอมพิวเตอร์ เน็ต บุ๊ก โน้ตบุ๊ก พบว่า ผู้บริโภคจะเลือกวิธีผ่อนชำระกับร้านค้าโดยตรงร้อยละ 31.6 ผ่อนกับบัตรเครดิตร้อยละ 30.4 และผ่อนกับสินเชื่อเงินสดร้อยละ 25.3 ตามลำดับถ้าเป็นการซื้อรถยนต์ ผู้บริโภคร้อยละ 37.1 จะผ่อนชำระกับสินเชื่อบริษัทรถยนต์โดยตรง ร้อยละ 24.1 จะผ่อนกับบริษัทไฟแนนซ์ ร้อยละ 19.8 ผ่อนชำระกับธนาคาร และร้อยละ 19.0 จะผ่อนกับสินเชื่อเงินสด และกู้ยืมจากแหล่งต่าง ๆ ตามลำดับแต่ถ้าเป็นการซื้อบ้าน พบว่า ผู้ บริโภคส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.9 จะผ่อนชำระกับธนาคาร
เมื่อสอบถามถึงความตั้งใจจะเดินทางท่องเที่ยวของกลุ่มผู้บริโภค ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จำแนกตามระดับรายได้ต่อเดือน พบว่าคนที่มี รายได้สูงกว่า 35,000 บาทต่อเดือนเตรียมตัวเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัดร้อยละ 29.6 และร้อยละ 15.5 จะเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ แต่ผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือนจะวางแผนจะไปเที่ยวต่างจังหวัดเพียงร้อยละ 12.6 และต่างประเทศร้อยละ 1.8เท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวว่า จากผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงข้อมูลที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มคนอย่างน้อยสามฝ่ายคือ กลุ่มผู้ประกอบการกลุ่มผู้ บริโภค และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะสามารถนำข้อมูลดัชนีรูปแบบการดำเนินชีวิตไปใช้ประกอบการตัดสินใจ โดย “หลักการ” คือผู้ประกอบการสามารถได้ กำไรสูงสุด มีต้นทุนน้อยสุด ขณะที่ผู้บริโภคมี “เงิน” มีรายได้มากพอจะได้ซื้อสินค้าและบริการที่ตรงกับความคาดหวังและแผนการใช้ชีวิตตามรูปแบบที่ วางไว้ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถมีมาตรการสนับสนุนการประกอบธุรกิจที่เอื้อต่อการลงทุนของภาคผู้ผลิตและผู้บริโภคได้อรรถ ประโยชน์สูงสุดภายใต้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด
ผอ.ศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวต่อว่า แนวทางเสนอเปิดตลาดและแหล่งจับจ่ายใช้สอยที่เจ้าหน้าที่รัฐทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นเข้ามาสนับสนุน เพื่อ “ลดช่องว่าง” ของรายได้และแหล่งช็อปปิ้งให้กับผู้ที่อยากจะขายและผู้ที่อยากจะซื้อได้มาเจอกันบนพื้นฐานของตลาดการค้าเสรี และ “เพิ่ม” โอกาสให้คนรวยหรือแหล่งทุนได้พบกับกลุ่มผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตในพื้นที่จะนำมาซึ่งการไหลสะพัดของเม็ดเงินลงสู่ระดับท้องถิ่นและประชาชนระดับราก ฐานของสังคมไทยสามารถพัฒนาประเทศได้โดยรัฐบาลไม่จำเป็นต้องลงทุนใช้งบประมาณแผ่นดิน แต่ทำหน้าที่สนับสนุนทำให้เกิดตลาดการค้าเสรีที่เป็น ธรรมทุกฝ่าย โดยเจ้าหน้าที่รัฐต้องมีกลไก “เฝ้าระวัง” ไม่ให้เกิดการ เอารัดเอาเปรียบและอิทธิพลใดๆ ขึ้นในพื้นที่ที่กลุ่มนายทุนใหญ่พบกับผู้ประกอบ การขนาดกลางและขนาดย่อย และพบกับผู้บริโภคที่มีความคาดหวังต่อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพในระดับท้องถิ่นต่อไป
ดร.อุดม นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และผู้อำนวยการโครงการ ABAC Consumer Index กล่าวว่า โครงการนี้จัดทำ ขึ้นเพื่อเป็น Social Business Contribution ของทางมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่ ABAC ได้ก่อตั้งมาครบ 40 ปี เมื่อปีที่ผ่านมา และขณะนี้ก็เข้าสู่ทศวรรษที่ 5 มุ่งหน้าสู่ปีที่ 50 ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และมหาวิทยาลัยมีศิษย์เก่าที่เป็นนักบริหารและนักธุรกิจ ชั้นนำ ของประเทศมากมาย อยู่ในทุกอุตสาหกรรรมของประเทศ เนื่องด้วยสภาวะเศรษฐกิจ การแข่งขันในปัจจุบัน ภาคธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจ SMEs บริษัทฯ ห้างร้าน จำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการกำหนดกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ไม่ว่าจะ เป็นด้านการตลาด การผลิต การลงทุน และอื่น ๆ
นอกจากนี้ ABAC Consumer Index จะมีบทบาทสำคัญในการใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายสาธารณะ ของภาครัฐ ABAC Consumer Index นำเสนอแนวโน้ม พฤติกรรมผู้บริโภคด้านการจับจ่ายใช้สอยสินค้าและบริการ การออม การลงทุน ความนิยมใน สินค้าและบริการต่าง ๆ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติและความคาดหวังของผู้บริโภค เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการบริโภคสินค้าและบริการ อย่างเหมาะสมอีกด้วย
ทางสมาคมศิษย์เก่าฯ และศูนย์วิจัยเอแบคฯ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ร่วมกันจัดทำ ABAC Consumer Index โดยการสนับสนุนของ นักธุรกิจ นักบริหาร สมาชิกศิษย์เก่า และพันธมิตรต่าง ๆ โดยขณะนี้พันธมิตรที่ได้สนับสนุนโครงการอย่างเป็นทางการแล้วได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ ABAC Consumer Index จะนำเสนอข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคด้านการจับจ่ายใช้สอย ด้านการออม ด้านการลงทุน ความนิยมใน สินค้าต่าง ๆ และเรื่องอื่น ๆ โดยจะนำเสนอเป็นรายไตรมาส เพื่อนำเสนอข้อมูลอันจะเป็นประโยชน์ ต่อสังคม ประชาชน ผู้ประกอบการเอกชน ภาค รัฐ รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจของประเทศต่อไป
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 59.6 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 40.4 เป็นเพศชาย
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามช่วงอายุพบว่า ร้อยละ 15.6 ระบุอายุ 15-24 ปี
ร้อยละ 29.1 อายุ 25-35 ปี
ร้อยละ 24.4 อายุ 36-45 ปี
และร้อยละ 30.9 ระบุอายุ 46-60 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ36.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา/ต่ำกว่า
ร้อยละ 22.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/เทียบเท่า
ร้อยละ 18.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ป.ว.ช.
ร้อยละ 7.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปวส./อนุปริญญา หรือเทียบเท่า
และร้อยละ 14.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาอาชีพประจำที่ทำอยู่ในปัจจุบันพบว่า ร้อยละ 4.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 10.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 38.5 ระบุอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย
ร้อยละ 6.8 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา
ร้อยละ 29.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 7.5 ระบุเป็น แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ ร้อยละ 2.8 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ทั้งนี้เมื่อพิจารณารายได้ส่วนตัวต่อเดือนพบว่า ร้อยละ 82.3 ระบุรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน
ในขณะที่ ร้อยละ 17.7 ระบุรายได้มากกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ รายการสินค้าและบริการ ร้อยละ 1 ของใช้อุปโภค เช่น สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน 94.7 2 แฟชั่น เครื่องแต่งกาย 34.5 3 บันเทิง ดูหนังที่โรงภาพยนตร์ คอนเสิร์ต 9.3 4 ความงาม เช่น สปา นวด คลินิกรักษาผิวหนัง 9.1 5 ค่าบริการ ออกกำลังกาย ฟิตเนส 3.3 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายการบริการในชีวิตประจำวัน ช่วง 30 วันที่ผ่านมา จำแนกตามระดับรายได้ต่อเดือน ลำดับที่ บริการ ไม่เกิน 10,000บาท 10,001—20,000 บาท 20,001-35,000 บาท มากกว่า 35,000 บาท 1 แฟชั่น เครื่องแต่งกาย 30.2 42.0 44.7 46.5 2 ความงาม เช่น สปา นวด คลินิกรักษาผิวหนัง 6.2 12.2 17.6 25.4 3 บันเทิง ดูหนังที่โรงภาพยนตร์ คอนเสิร์ต 8.0 11.2 12.2 15.5 4 ค่าบริการ ฟิตเนส เล่นกีฬา 2.2 4.4 7.4 7.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แหล่งที่ซื้อสินค้า จำแนกตามพื้นที่ที่พักอาศัย ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ลำดับที่ รายการสินค้าและบริการ นอกเขตเทศบาล ในเขตเทศบาล กรุงเทพมหานคร ภาพรวม 1 ตลาดสด ตลาดนัด 95.4 94.7 93.9 95.0 2 ร้านสะดวกซื้อ 90.9 91.0 96.8 91.6 3 ซุปเปอร์มาร์เก็ต 49.8 66.8 86.2 60.5 4 ห้างสรรพสินค้า 16.7 31.2 44.5 25.5 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายการสินค้าคงทน ที่ตั้งใจจะซื้อในอีก 3 เดือนข้างหน้า ลำดับที่ รายการสินค้าคงทนไม่เกิน 10,000บาท 10,001—20,000 บาท 20,001-35,000 บาท มากกว่า 35,000 บาท 1 เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า 17.4 18.7 29.7 18.2 2 สินค้า IT เช่น คอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก โน้ตบุ๊ก 13.0 13.4 16.8 13.6 3 รถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 11.0 8.1 5.9 15.9 4 บ้าน 4.5 3.7 5.9 9.1 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ วิธีการชำระเงินเมื่อตั้งใจจะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ลำดับที่ ประเภทการชำระเงิน ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 1 ผ่อนชำระกับสินเชื่อเงินสด 33.0 2 ผ่อนชำระกับร้านค้าโดยตรง 31.0 3 ผ่อนชำระกับบัตรเครดิต 29.2 4 วิธีอื่น เช่น กู้ยืมสหกรณ์ กู้ยืมคนที่รู้จัก กู้ยืมจากแหล่งอื่น 6.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ วิธีการชำระเงินเมื่อตั้งใจจะซื้อ สินค้า IT เช่น คอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก โน้ตบุ๊ก เป็นต้น ลำดับที่ ประเภทการชำระเงิน ซื้อสินค้า IT ร้อยละ 1 ผ่อนชำระกับสินเชื่อเงินสด 25.3 2 ผ่อนชำระกับร้านค้าโดยตรง 31.6 3 ผ่อนชำระกับบัตรเครดิต 30.4 4 วิธีอื่น เช่น กู้ยืมสหกรณ์ กู้ยืมคนที่รู้จัก กู้ยืมจากแหล่งอื่น 12.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ วิธีการชำระเงินเมื่อตั้งใจจะซื้อรถยนต์ ลำดับที่ ประเภทการชำระเงิน ซื้อรถยนต์ ร้อยละ 1 ผ่อนชำระกับสินเชื่อของบริษัทรถยนต์ 37.1 2 ผ่อนชำระกับบริษัทไฟแนนซ์ 24.1 3 ผ่อนชำระกับธนาคาร 19.8 4 อื่นๆ เช่น ผ่อนสินเชื่อเงินสด กู้ยืม จากแหล่งต่างๆ เป็นต้น 19.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ วิธีการชำระเงินเมื่อตั้งใจจะซื้อบ้าน ลำดับที่ ประเภทการชำระเงิน ซื้อบ้าน ร้อยละ 1 ผ่อนชำระกับธนาคาร 83.9 2 ผ่อนชำระกับสินเชื่อเงินสด 7.2 3 กู้ยืมจากแหล่งอื่นๆ เช่น คนในครอบครัว คนรู้จัก เป็นต้น 8.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะเดินทางท่องเที่ยวในอีก 3 เดือนข้างหน้า จำแนกตามระดับรายได้ต่อเดือน ลำดับที่ แหล่งท่องเที่ยวที่ตั้งใจจะเดินทางไป ไม่เกิน10,000 บาท 10,001—20,000 บาท 20,001-35,000 บาท มากกว่า 35,000 บาท 1 เที่ยวต่างจังหวัด 12.6 17.7 25.0 29.6 2 เที่ยวต่างประเทศ 1.8 2.8 6.4 15.5 --เอแบคโพลล์-- -พห-