ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “ปฏิกิริยาความรู้สึกของประชาชนต่อข่าว
การเมืองและคดียุบพรรคใหญ่: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 2,979 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะ
เวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 26 เมษายน — 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ในเบื้องต้น เราพบว่าตัวอย่างเกือบ 3 ใน 4 หรือร้อยละ 71.9 ได้ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่ หรือคิด
เป็นร้อยละ 73.6 ระบุว่าเบื่อข่าวการเมือง เฉพาะกลุ่มนี้เมื่อกำลังดูทีวีอยู่และมีข่าวการเมืองมา จะมีพฤติกรรมดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 59.3 เบื่อแต่ก็
ยังดูต่อไป ร้อยละ 32.3 จะเปลี่ยนช่อง ร้อยละ 3.1 ปิดทีวีไปเลย และร้อยละ 5.3 อื่นๆ อาทิ หยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน เปิดทิ้งไว้แต่ไปทำอย่างอื่น
พูดคุยกัน สำหรับตัวอย่างที่เบื่อข่าวการเมืองและเปลี่ยนช่อง ระบุรายการอื่นที่เลือกดูแทนข่าวการเมืองไว้ดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 47.1 ดูละคร
รองลงมาร้อยละ 36.1 ดูรายการตลก ร้อยละ 33.0 ดูเกมโชว์ ร้อยละ 26.0 ดูสารคดี และร้อยละ 24.7 ดูภาพยนตร์ ตามลำดับ
ต่อกรณีที่มีการกล่าวถึงเหตุการณ์รุนแรงถึงขั้นนองเลือดที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 43.6 ระบุ
ไม่แน่ใจ ในขณะที่ร้อยละ 42.5 ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้น และร้อยละ 13.9 คิดว่าจะเกิดขึ้น ตามลำดับ สำหรับทางออกของความขัดแย้งทางการเมืองที่
ตัวอย่างอยากให้เกิดขึ้น ได้แก่ ตัวอย่างร้อยละ 79.6 อยากเห็นทุกฝ่ายหันหน้ามาเจราจากันด้วยสันติวิธี รองลงมาร้อยละ 38.4 เรียกร้องให้กลุ่มผู้
ชุมนุมควรเรียกร้องด้วยความบริสุทธิ์ใจและไม่ก่อความวุ่นวายเดือดร้อนต่อผู้อื่น ร้อยละ 27.8 เรียกร้องให้กลุ่มการเมืองควรหยุดเคลื่อนไหวชั่วคราว
และร้อยละ 23.1 อยากเห็นคมช. และรัฐบาลสามารถประณีประนอมกับกลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆ ได้ ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อการยุติความเคลื่อนไหวทางการเมืองของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พบว่าตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งหรือคิดเป็น
ร้อยละ 51.5 เห็นว่าควรยุติ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 14.7 เห็นว่าไม่ควรยุติ โดยให้เหตุผลว่า พ.ต.ท.ทักษิณมีความสามารถในการบริหาร
ประเทศ/เชื่อว่าไม่มีความผิด/อยากให้พิสูจน์ความจริงตามข้อกล่าวหา/มีสิทธิของความเป็นคนไทย/มีสิทธิตามสิทธิมนุษยชน/หากหยุดเคลื่อนไหวจะถูกฝ่าย
ตรงข้ามโจมตี/อยากให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย เป็นต้น และตัวอย่างร้อยละ 33.8 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามต่อไปว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ควรกลับประเทศในเวลานี้หรือควรรออีกสักระยะหนึ่ง ผลสำรวจพบว่าประชาชนประมาณ 1
ใน 4 หรือร้อยละ 24.2 ระบุว่าไม่ควรกลับมาอีกเลย เพราะบ้านเมืองยังไม่สงบ/กลัวสร้างความแตกแยกวุ่นวาย/ไม่ซื่อสัตย์ต่อชาติบ้านเมือง รองลง
มาร้อยละ 22.7 ระบุว่าควรรออีกสักระยะ อาทิรออีก 2 ปี ไว้ให้เลือกตั้งเสร็จสิ้นก่อน /รอให้บ้านเมืองมีความสงบกว่านี้ก่อน/รออีก 1 เดือน เพื่อ
กลับมาเตรียมเลือกตั้ง/รออีก 10 ปี เพราะมีความผิดฐานคอรัปชั่น ในทางตรงข้ามตัวอย่างร้อยละ 15.8 เห็นว่าควรกลับทันที เพราะต้องมาแก้ไข
ปัญหาบ้านเมือง/กลับมาพัฒนาเศรษฐกิจ/กลับมาช่วยคนยากจน ชาวไร่ชาวนา/ไม่มีความผิด และตัวอย่างร้อยละ 37.3 ไม่มีความเห็น
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ในช่วงความไม่แน่นอนทางการเมืองขณะนี้ ตัวอย่างประชาชนร้อยละ 37.8 ระบุว่าเป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม
สำหรับการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 21.8 ระบุว่าเหมาะสม และร้อยละ 40.4 ยังไม่แน่ใจ
ต่อกรณีความคิดเห็นต่อการยุบพรรคไทยรักไทย คณะผู้วิจัยได้จำแนกกลุ่มตัวอย่างตามการเป็นสมาชิกพรรค พบว่า ตัวอย่างสมาชิกพรรค
ไทยรักไทย โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.7 ระบุไม่ควร ตรงข้ามกับตัวอย่างสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 54.5 ระบุควร
ยุบ ส่วนสมาชิกพรรคอื่นๆ มีความเห็นต่อประเด็นนี้โดยไม่มีทิศทางที่ชัดเจน กล่าวคือตัวอย่างที่ระบุว่าควร และไม่ควร มีสัดส่วนเท่ากันที่ร้อยละ
26.7 และสำหรับตัวอย่างที่ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด พบว่าตัวอย่างร้อยละ 31.7 ระบุไม่ควรยุบ และเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 47.3 ไม่มี
ความเห็น
และเมื่อสอบถามว่าหากมีการยุบพรรคไทยรักไทย จะเลือกตั้งคนที่สืบทอดแนวนโยบาย และวิธีการทำงานของแกนนำพรรคไทยรักไทย อีก
หรือไม่ พบว่า ตัวอย่างสมาชิกพรรคไทยรักไทยมากกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 58.4 ระบุว่าคิดจะเลือก ตรงข้ามกับตัวอย่างสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์
ร้อยละ 50.0 ระบุว่าไม่คิดจะเลือก ส่วนสมาชิกพรรคอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 53.3 ระบุไม่คิดจะเลือกเช่นกัน และสำหรับตัวอย่างที่ไม่เป็น
สมาชิกพรรคการเมืองใด พบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 50.8 ไม่มีความเห็น
ต่อกรณีความคิดเห็นต่อการยุบพรรคประชาธิปัตย์ คณะผู้วิจัยได้จำแนกกลุ่มตัวอย่างตามการเป็นสมาชิกพรรค พบว่า ตัวอย่างสมาชิกพรรค
ไทยรักไทย ร้อยละ 38.6 ระบุควรยุบ (มีสัดส่วนเท่ากันกับที่ไม่มีความเห็น) ขณะที่ตัวอย่างสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 75.8
ระบุไม่ควร ส่วนสมาชิกพรรคอื่นๆ มีความเห็นต่อประเด็นนี้โดยไม่มีทิศทางที่ชัดเจน กล่าวคือตัวอย่างที่ระบุว่าควร และไม่ควร มีสัดส่วนเท่ากันที่ร้อย
ละ 26.7 และสำหรับตัวอย่างที่ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 54.2 ไม่มีความเห็น
และเมื่อสอบถามว่าหากมีการยุบพรรคประชาธิปัตย์ จะเลือกตั้งคนที่สืบทอดแนวนโยบาย และวิธีการทำงานของแกนนำพรรคประชาธิปัตย์
อีกหรือไม่ พบว่า ตัวอย่างสมาชิกพรรคไทยรักไทย โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 50.5 ระบุไม่มีความเห็น และร้อยละ 41.7 ระบุไม่คิดจะเลือก ตรงข้าม
กับตัวอย่างสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 54.5 ระบุว่าคิดจะเลือก และร้อยละ 30.3 ไม่มีความเห็น ส่วนสมาชิกพรรคอื่นๆ
มากกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 42.9 ไม่มีความเห็น และตัวอย่างที่ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด พบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 58.3 ไม่
มีความเห็นเช่นเดียวกัน
ต่อกรณีข้อวิตกต่อปัญหาขัดแย้งรุนแรงบานปลาย หากมีการยุบทั้งสองพรรคคือพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์ พบว่า ประมาณครึ่ง
หนึ่งของตัวอย่างจากทุกกลุ่มเห็นพ้องต้องกันว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย โดยเฉพาะตัวอย่างสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ (ร้อยละ 60.6)
รองลงมาคือ ตัวอย่างสมาชิกพรรคไทยรักไทย (ร้อยละ 50.5) ตัวอย่างที่ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด (ร้อยละ 41.4) และสมาชิกพรรคอื่นๆ
(ร้อยละ 40.0) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ประมาณ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 68.9 เห็นด้วยที่ทหาร ตำรวจ และหน่วยงานด้านความมั่นคง จะมีการเตรียมความพร้อม
รับมือความวุ่นวายในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ และเมื่อสอบถามถึงความต้องการของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ถึง
ร้อยละ 92.4 ระบุอยากเห็นสังคมไทยที่สงบสุข ความรักความสามัคคีของคนในชาติ รองลงมาเป็นเรื่องของการปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น ได้แก่
ตัวอย่างร้อยละ 75.6 อยากให้ลงโทษเอาผิดกลุ่มนักการเมืองที่ทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 69.6 อยากให้ลงโทษเอาผิดบรรดากลุ่มนายทุนที่เกี่ยวข้องกับ
การทุจริตคอรัปชั่นร่วมกับนักการเมือง ร้อยละ 69.4 อยากให้ลงโทษเอาผิดบรรดาข้าราชการที่ทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 53.5 ต้องการให้ปรับการทำ
งานของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน ร้อยละ 51.0 ต้องการให้ข้าราชการปรับปรุงวิธีการทำงานแก้ปัญหาประชาชนใหม่ ร้อยละ 29.7
ต้องการให้เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 21.8 ต้องการอดีตนายกรัฐมนตรีที่ชื่นชอบกลับคืนมา ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวโดยสรุปว่า แม้ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่จะเบื่อข่าวการเมืองแต่ก็ยังอดทนเฝ้าติดตาม โดยมีประชาชนประมาณ 1
ใน 3 ไม่สามารถทนดูได้ต้องเปลี่ยนไปดูละคร รายการตลก เกมส์โชว์และรายการอื่นๆ แทน ผลสำรวจครั้งนี้ยังพบด้วยว่า ถ้าพรรคไทยรักไทยถูกยุบ
กลุ่มตัวอย่างสมาชิกพรรคไทยรักไทยส่วนใหญ่จะยังคงเลือกคนที่จะสืบสานต่อแนวนโยบายหรือแกนนำพรรค สอดคล้องกับกลุ่มตัวอย่างสมาชิกพรรค
ประชาธิปัตย์
“อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 90 โดยไม่ว่าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ต่าง
ก็ต้องการสังคมไทยที่สงบสุขกลับคืนมา และถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณต้องการกลับเข้ามามีอำนาจทางการเมืองอีกครั้งในขณะนี้ ดูเหมือนว่า สังคมไทยอาจ
เกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่สนับสนุนให้กลับมา และหากเปรียบเทียบผลสำรวจก่อนหน้านี้ตั้งแต่รัฐบาลทักษิณถูกยึด
อำนาจใหม่ๆ พบว่าฐานสนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยังคงมีอยู่ในวงจำกัดคือประมาณร้อยละ 15 — 20 ซึ่งการจะกลับคืนสู่อำนาจทางการเมืองได้จำ
เป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ แต่สิ่งที่น่าคิดคือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณกำลังคิดจะใช้ฐานมวลชนที่มีอยู่ขณะนี้ทำอะไรกับเป้าหมายทางการ
เมืองและส่วนตัวของเขาเท่านั้น ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ใช้เพื่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย เขาจะสูญเสียฐานสนันสนุนลงไปอีก แต่ถ้าใช้เพื่อ
การสานต่อ “นโยบายและวิธีการทำงานของพรรค” เขาจะได้รับการสนับสนุนทั้งจากสมาชิกพรรคส่วนใหญ่และจากประชาชนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการ
เมืองด้วย ” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลวิจัยพบมาโดยตลอดว่าคนไทยส่วนใหญ่กำลังรอคอยการเมืองของประเทศที่มีเสถียรภาพมั่นคงสังคมสงบสุข แต่
ยังไม่เคยได้รับการตอบสนองจากฝ่ายผู้มีอำนาจการเมืองหรือกลุ่มคนชั้นนำยุคสมัยใดเลย สาเหตุสำคัญประการหนึ่งน่าจะเป็นเพราะการเมืองระดับ
ประเทศได้กลายเป็นศูนย์รวมของอำนาจและงบประมาณส่วนกลางมากเกินไป กลุ่มคนชนชั้นนำและฝ่ายการเมืองระดับชาติต่างก็ต้องการแย่งชิงกันเข้า
ไปครอบครองให้ได้โดยไม่คำนึงถึงเสถียรภาพความมั่นคงของประเทศ
ทางออกที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถลดอุณหภูมิทางการเมืองระดับประเทศที่แย่งชิงกันให้น้อยลงไปได้ คือ
ประการแรก รัฐธรรมนูญฉบับใหม่น่าจะทำให้อำนาจทางการเมืองระดับประเทศลดลง โดยนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และข้าราชการระดับ
สูงของกระทรวง ทบวง กรม ต้องกระจายอำนาจด้านการบริหารจัดการความเดือดร้อนของประชาชนให้พื้นที่ชุมชนต่างๆ ได้ทั้งอำนาจในทางกฎหมาย
และงบประมาณ
ประการที่สอง เพิ่มอำนาจทางการเมืองระดับประเทศขึ้นเฉพาะในเรื่องการดูแลความมั่นคง คลี่คลายสถานการณ์ยามที่ประเทศประสบภัย
พิบัติ และตรวจสอบสนับสนุนความเข้มแข็ง ความพอเพียง และความอยู่เย็นเป็นสุขของชุมชนท้องถิ่น
ประการที่สาม ควรมีกฎหมายและกลไกของรัฐในการลงโทษเอาผิดอย่างรุนแรงกับขบวนการทุจริตคอรัปชั่นในชุมชนท้องถิ่น และทำให้กลุ่ม
ประชาชนในทุกชุมชนเข้มแข็งตื่นตัวตรวจสอบแกนนำชุมชนของตนเอง
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรทำให้สังคมการเมืองไทย “ปลอดการวิ่งเต้นล็อบบี้ผลประโยชน์ของกลุ่มทุนและการเมือง” ควรมีบท
บัญญัติที่สามารถสกัดกั้นการวิ่งเต้นล็อบบี้ของขบวนการทุจริตคอรัปชั่น โดยเพียงแต่มีพฤติการณ์เหตุอันเชื่อได้ว่ากลุ่มบุคคลเหล่านั้นทุจริตคอรัปชั่นก็สามารถ
ลงโทษเอาผิดได้ ไม่จำเป็นต้องมีใบเสร็จ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “ปฏิกิริยาความรู้สึกของประชาชนต่อข่าวการเมืองและคดียุบพรรคการเมือง
ใหญ่: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ดำเนินโครงการระหว่าง 26 เมษายน — 5 พฤษภาคม พ.ศ.
2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,979 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อย
ละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ
แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 50.9 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ 49.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 43.2 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 27.6 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 19.7 ระบุจบปริญญาตรี
ร้อยละ 7.9 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
และร้อยละ 1.6 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 42.3 ระบุเป็นเจ้าของธุรกิจ/ผู้ประกอบการ
ร้อยละ 18.4 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.6 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 12.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 5.8 ระบุพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
และร้อยะ 5.4 อื่นๆ อาทิ เกษตรกรและว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 43.7
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 16.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 11.3
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 20.7
5 ไม่ได้ติดตาม 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกเบื่อต่อข่าวการเมืองในสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความรู้สึกเบื่อต่อข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 เบื่อ 73.6
2 ไม่เบื่อ 26.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมในขณะที่กำลังดูทีวีอยู่หากมีข่าวการเมืองมา
(เฉพาะผู้ที่รู้สึกเบื่อข่าวการเมือง)
ลำดับที่ พฤติกรรมในขณะที่กำลังดูทีวีและมีข่าวการเมืองมา ค่าร้อยละ
1 เบื่อ แต่ก็ยังดูต่อไป 59.3
2 เปลี่ยนช่อง 32.3
3 ปิดทีวีไปเลย 3.1
4 อื่นๆ อาทิ เอาหนังสือขึ้นมาอ่าน / เปิดไว้แต่ไปทำอย่างอื่น / พูดคุยกัน 5.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายการที่จะดูแทนข่าวการเมือง (เฉพาะผู้ที่รู้สึกเบื่อข่าวการเมืองและเปลี่ยนช่อง
ไปดูรายการอื่นและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รายการที่จะดูแทนข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 ละคร 47.1
2 รายการตลก 36.1
3 เกมโชว์ 33.0
4 สารคดี 26.0
5 ภาพยนตร์ 24.7
6 ข่าวดารา / บันเทิง 23.0
7 รายการกีฬา 21.8
8 เพลง/มิวสิควีดีโอ 21.5
9 ข่าวเศรษฐกิจ 19.8
10 วาไรตี้ /ทอล์คโชว์ 13.9
11 ข่าวเหตุการณ์ประจำวัน / ข่าวสังคม 9.1
12 การสนทนา / วิเคราะห์สถานการณ์ 7.8
13 การแสดงคอนเสิร์ต 7.3
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการเกิดเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองถึงขั้นนองเลือดในช่วง
เดือนพฤษภาคมนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะเกิดขึ้น 13.9
2 ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้น 42.5
3 ไม่แน่ใจ 43.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การอยากเห็นทางออกในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน
ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทางออกในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 ทุกฝ่ายควรหันหน้ามาเจราจากันด้วยสันติวิธี 79.6
2 กลุ่มผู้ชุมนุมควรเรืยกร้องด้วยความบริสุทธิ์ใจและไม่ก่อความวุ่นวายเดือดร้อนต่อผู้อื่น 38.4
3 กลุ่มการเมืองควรหยุดเคลื่อนไหวชั่วคราว 27.8
4 คมช. และรัฐบาลสามารถประณีประนอมกับกลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆได้ 23.1
5 สั่งห้ามการขุมนุมต่อต้าน คมช. และรัฐบาล โดยเด็ดขาด 10.1
6 คมช. และรัฐบาลยินยอมตามข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆทุกประการ 9.1
7 อื่น ๆ 4.4
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นว่าควรยุติ 51.5
2 เห็นว่าไม่ควรยุติ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณมีความสามารถในการบริหารประเทศ /
เชื่อว่าไม่มีความผิด / อยากให้พิสูจน์ความจริงตามข้อกล่าวหา / มีสิทธิของความเป็นคนไทย /
มีสิทธิตามสิทธิมนุษยชน / หากหยุดเคลื่อนไหวจะถูกฝ่ายตรงข้ามโจมตี / อยากให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย 14.7
3 ไม่มีความเห็น 33.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ควรกลับประเทศไทยในเวลานี้
หรือควรรออีกสักระยะหนึ่ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ไม่ควรกลับมาอีกเลย ...เพราะบ้านเมืองยังไม่สงบ / กลัวสร้างความแตกแยกวุ่นวาย / ไม่ซื่อสัตย์ต่อชาติ 24.2
2 ควรรออีกสักระยะ.... อาทิ รออีก 2 ปี ไว้ให้เลือกตั้งเสร็จสิ้นก่อน / รอให้บ้านเมืองมีความสงบกว่านี้ก่อน /
รออีก 1 เดือน เพื่อกลับมาเตรียมเลือกตั้ง / รออีก 10 ปี เพราะมีความผิดฐานคอรัปชั่น 22.7
3 ควรกลับทันที .... เพราะต้องมาแก้ไขปัญหาบ้านเมือง / กลับมาพัฒนาเศรษฐกิจ / กลับมาช่วยคนยากจน
ชาวไร่ชาวนา / ไม่มีความผิด 15.8
4 ไม่มีความเห็น 37.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของการตั้งพรรคการเมืองใหม่ๆ ในช่วงเวลานี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม 21.8
2 เป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม 37.8
3 ไม่แน่ใจ 40.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการยุบพรรคไทยรักไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็น เป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เป็นสมาชิกพรรคอื่นๆ ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด
1 ควรยุบ 10.1 54.5 26.7 21.0
2 ไม่ควร 71.7 21.2 26.7 31.7
3 ไม่มีความเห็น 18.2 24.3 46.6 47.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นจะเลือกตั้งคนที่สืบทอดแนวนโยบายและวิธีการทำงานของแกนนำพรรคไทยรักไทย
หากมีการยุบพรรคไทยรักไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็น เป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เป็นสมาชิกพรรคอื่นๆ ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด
1 คิดจะเลือก 58.4 15.6 20.0 26.2
2 ไม่คิดจะเลือก 17.8 50.0 53.3 23.0
3 ไม่มีความเห็น 23.8 34.4 26.7 50.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการยุบพรรคประชาธิปัตย์
ลำดับที่ ความคิดเห็น เป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เป็นสมาชิกพรรคอื่นๆ ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด
1 ควรยุบ 38.6 3.0 26.7 18.1
2 ไม่ควร 22.8 75.8 26.7 27.7
3 ไม่มีความเห็น 38.6 21.2 46.6 54.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นจะเลือกตั้งคนที่สืบทอดแนวนโยบายและวิธีการทำงานของแกนนำพรรคประชาธิปัตย์
หากมีการยุบพรรคประชาธิปัตย์
ลำดับที่ ความคิดเห็น เป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เป็นสมาชิกพรรคอื่นๆ ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด
1 คิดจะเลือก 7.8 54.5 35.7 20.3
2 ไม่คิดจะเลือก 41.7 15.2 21.4 21.4
3 ไม่มีความเห็น 50.5 30.3 42.9 58.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการจะเกิดปัญหาขัดแย้งรุนแรงบานปลายหากมีการยุบทั้งสองพรรคคือพรรคไทยรักไทย
และพรรคประชาธิปัตย์
ลำดับที่ ความคิดเห็น เป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เป็นสมาชิกพรรคอื่นๆ ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด
1 คิดว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย 50.5 60.6 40.0 41.4
2 ไม่คิดว่าจะเกิด 24.3 21.2 26.7 24.9
3 ไม่มีความเห็น 25.2 18.2 33.3 33.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเตรียมความพร้อมรับมือความวุ่นวายของทหาร ตำรวจ และหน่วยงานด้านความมั่นคง
ในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยว่าควรมีการเตรียมความพร้อม 68.9
(ยังมีต่อ)