ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และนักศึกษาด้านการพัฒนาระหว่าง ประเทศ ประจำสถาบันคอร์เนลล์เพื่อภารกิจของรัฐ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ( Cornell University) เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง วิเคราะห์ความ สุขมวลรวมคนไทย: ใครกำลังมีความสุข กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้ที่พักอาศัยอยู่ใน 28 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สระบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ชลบุรี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี เลย หนองคาย กาฬสินธุ์ พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ อุทัยธานี สุโขทัย เพชรบูรณ์ สมุทรสาคร ราชบุรี นครปฐม กระบี่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา ปัตตานีและสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 5,001 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการในช่วงเดือนกันยายน—ตุลาคม 2553 ผลการสำรวจพบว่า
เมื่อคะแนนความสุขมวลรวมเต็ม 10 คะแนน ผลสำรวจพบว่า ผู้หญิงคือกลุ่มที่มีความสุขมากกว่าผู้ชายกล่าวคือผู้หญิงมีคะแนนเฉลี่ยความสุข เท่ากับ 6.64 ในขณะที่ผู้ชายมีคะแนนเฉลี่ยความสุขเท่ากัย 6.50 และเมื่อวิเคราะห์ความสุขจำแนกตามช่วงอายุ พบสิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มคนที่มีค่าความสุขมวลรวมสูงที่สุด เช่นเดียวกับกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 20 ปีโดยมีค่าคะแนนความสุขอยู่ที่ 6.74 คะแนน แต่ที่ ดูเหมือนว่ากลุ่มที่จะมีความสุขน้อยที่สุดคือกลุ่มคนวัยเรียนมหาวิทยาลัยในช่วงใกล้จบและกลุ่มคนที่อยู่ในวัยเริ่มทำงานซึ่งมีคะแนนความสุขอยู่ที่ระดับ 6.37 คะแนน
นอกจากนี้เมื่อพิจารณาคะแนนความสุขจำแนกตามระดับการศึกษานั้นพบว่า ประชาชนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีค่าความสุขสูงสุดเท่า กับ 6.63 คะแนน ซึ่งสูงกว่ากลุ่มคนที่มีการศึกษาปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรีที่มีคะแนนความสุขอยู่ที่ 6.27 และ 6.30 คะแนนตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ คนที่มีรายได้ต่ำสุดกลับมีระดับความสุขมวลรวมสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ คือ คนรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือนมีความสุขอยู่ที่ 6.75 คะแนน ในขณะที่กลุ่มคนที่มีรายได้สูงกว่า 20,000 บาทขึ้นไปต่อเดือนมีระดับความสุขออยู่ที่ 6.43 คะแนน
และที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ กลุ่มคนที่มีรายได้น้อย (ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน) มีปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีความสุข มากที่สุดคือ ความจงรักภักดี ที่ทำให้มีความสุขสูงถึง 9.43 รองลงมาคือ ความสัมพันธ์ที่ดีของคนในครอบครัว อยู่ที่ 7.97 อันดับที่สามคือ สุขภาพใจ อยู่ที่ 7.71 อันดับที่สี่คือ สุขภาพกายอยู่ที่ 7.67 และวัฒนธรรมประเพณี อยู่ที่ 7.56 คะแนนตามลำดับ
นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่ากลุ่มแม่บ้านและเกษียณอายุกลับเป็นกลุ่มคนที่มีความสุขมากที่สุดคือ 6.88 ในขณะที่คน ว่างงาน และคนที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน คือกลุ่มคนที่มีความสุขต่ำสุดโดยมีคะแนนความสุขอยู่ที่ 6.35 เท่านั้น
ที่น่าเป็นห่วงคือ ความสุขของคนสามกลุ่มที่ยึดโยงกับเรื่องการเมืองมีระดับความสุขแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ คนที่สนับสนุน รัฐบาลมีความสุขมวลรวมอยู่ที่ 7.00 ในขณะที่ คนไม่สนับสนุนรัฐบาลมีความสุขอยู่ที่ 6.22 และกลุ่มพลังเงียบมีความสุขอยู่ที่ 6.42 คะแนน
ในการสำรวจครั้งนี้ ยังพบด้วยว่า กลุ่มสนับสนุนรัฐบาลมีอยู่ร้อยละ 31.2 กลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลมีอยู่ 15.1 และกลุ่มพลังเงียบยังคงเป็น กลุ่มคนส่วนใหญ่ของการสำรวจครั้งนี้คือร้อยละ 53.1
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชนฯ กล่าวว่า ผลวิจัยสำหรับประเทศไทยชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ความสุขของประชาชนคนไทยไม่ได้ขึ้นอยู่กับรายได้ หรือเงินทองเพียงอย่างเดียว แต่ยังคงมีปัจจัยสำคัญสูงสุดที่ทำให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่มีรายได้น้อย ที่ยังคงมีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ คือ ความจงรักภักดี และอันดับรองๆ ลงไปคือปัจจัยสำคัญที่น่าสนใจอย่างยิ่งเรียงลำดับดังนี้คือ ครอบครัว สุขภาพใจ (กำลังใจ) สุขภาพกาย (กำลัง กาย) และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทุกๆ ฝ่ายต้องช่วยกันประคับประคอง แสดงออกมาให้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ เพราะตัวชี้วัดชัดเจนว่า คน ไทยยังคงมีความสุขกับความเป็นคนไทยที่มีความจงรักภักดี ยึดโยงต่อชีวิตครอบครัวและวัฒนธรรมประเพณีที่สามารถแสดงออกได้ถึงความมีไมตรีจิตต่อ กัน การช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกัน มีน้ำใจให้แก่กันและกัน แต่งานวิจัยความสุขหลายครั้งที่ผ่านมาพบว่า ดัชนีที่ลดทอนความสุขของคนไทย ยังคงอยู่ที่การ ประพฤติตนของฝ่ายการเมือง
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.5 เป็นชาย
ร้อยละ 51.5 เป็นหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 8.6 อายุน้อยกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 19.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 73.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 24.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 34.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 31.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 10.8 ระบุเป็นพนักงานเอกชน
ร้อยละ 8.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.0 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 2.7 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
ค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวม ชาย หญิง 6.50 6.64 ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ยของค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชน จำแนกตาม ช่วงอายุ (ค่าเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) ค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวม ต่ำกว่า 20 ปี 20—29 ปี 30—39 ปี 40—49 ปี 50ปีขึ้นไป 6.74 6.37 6.45 6.60 6.84 ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยของค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชน จำแนกตาม ระดับการศึกษา (ค่าเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) ค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวม ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี 6.63 6.27 6.30 ตารางที่ 4 แสดงค่าเฉลี่ยของค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชน จำแนกตาม ระดับรายได้ (ค่าเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) ค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวม ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน 5,001—10,000 บาทต่อเดือน 10,001—15,000 บาทต่อเดือน 15,001—20,000 บาทต่อเดือน > 20,000 ขึ้นไปบาทต่อเดือน 6.75 6.48 6.49 6.51 6.43 ตารางที่ 5 แสดงค่าเฉลี่ย 5 อันดับแรกของดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนผู้มีรายได้น้อย (ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน) ลำดับที่ ดัชนีความสุขมวลรวม ค่าความสุข(จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) 1 ความจงรักภักดี 9.43 2 ความสัมพันธ์ที่ดีของคนในครอบครัว 7.97 3 สุขภาพใจ 7.71 4 สุขภาพกาย 7.67 5 วัฒนธรรมประเพณี
7.56
6.42 6.35 6.39 6.63 6.88 6.35 ตารางที่ 7 แสดงค่าเฉลี่ยของค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนจำแนกตาม จุดยืนทางการเมือง (ค่าเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) ค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวม สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล พลังเงียบ 7.00 6.22 6.42 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจุดยืนทางการเมือง ลำดับที่ จุดยืนทางการเมือง ร้อยละ 1 สนับสนุนรัฐบาล 31.2 2 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 15.1 3 ไม่มีความเห็น 53.7 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--