ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis, Graduate School of Business, Assumption University) เปิดเผยผล
สำรวจเรื่อง “รัฐธรรมนูญในทรรศนะของประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,736
ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 2 -13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้
มีดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ครึ่งหนึ่งของคนที่ถูกศึกษาหรือร้อยละ
50.6 ไม่ทราบความหมาย/ ไม่เข้าใจ/ ไม่รู้จัก “รัฐธรรมนูญ” ในขณะที่เพียงร้อยละ 15.2 ระบุรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครอง
ประเทศ ร้อยละ 7.3 ระบุเป็นกฎหมายปกครองประเทศ ร้อยละ 6.8 ระบุเป็นกฎหมายที่ทำให้บ้านเมืองสงบสุข ร้อยละ 4.4 ระบุเป็นกฎ ระเบียบ
ข้อบังคับ ร้อยละ 3.1 ระบุเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ปกครองโดยประชาชนเพื่อประชาชน และร้อยละ 12.6 ระบุอื่นๆ เช่น เป็นกฎหมายสำหรับอยู่
ร่วมกันของประชาชน/ เป็นระเบียบกำหนดการทำงานของรัฐบาล/ เป็นข้อบังคับของทุกคนในชาติ และเป็นกฎหมายคุ้มครองประชาชน เป็นต้น
เมื่อสอบถามว่าเคยอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 หรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.4 ไม่เคยอ่านเลย เพราะไม่
ทราบว่าหาอ่านได้จากที่ไหน ไม่มีให้อ่าน หาอ่านไม่ได้เลย ไม่สนใจอ่าน ไม่อยากอ่านและไม่มีเวลาอ่าน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 31.5 เคยอ่านบาง
ส่วน และเพียงร้อยละ 6.1 เคยอ่านทั้งฉบับ
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.8 ค่อนข้างเห็นด้วยถึงเห็นด้วยอย่างยิ่งว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรให้อ่านเข้าใจได้ง่าย
ไม่ต้องใช้คำยุ่งยากซับซ้อน ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.3 คิดว่าจำเป็นต้องให้ประชาชนมีเวลาอ่านร่างรัฐธรรมนูญก่อนลงประชามติ ในขณะที่ร้อย
ละ 8.5 เห็นว่าไม่จำเป็นและร้อยละ 21.2 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.9 เห็นว่านายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง ในขณะที่ ร้อยละ 18.9 เห็นว่าไม่
จำเป็น และร้อยละ 6.2 ไม่มีความเห็น เมื่อถามความเห็นต่อแนวคิดที่ว่า นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 8 ปี (ไม่เกิน 2 สมัย) ผลสำรวจพบ
ว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.7 เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 16.3 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 2.0 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจพบประเด็นที่น่าจะมีแรงเสียดทานหรือคัดค้านพอสมควร คือแนวคิดการลดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
หรือ ส.ส. ลง เพราะผลสำรวจพบว่าประชาชนร้อยละ 45.5 เห็นด้วย แต่ร้อยละ 30.5 หรือเกือบหนึ่งในสามไม่เห็นด้วย และร้อยละ 24.0 ไม่มี
ความ นอกจากนี้ยังพบว่า ประชาชนร้อยละ 39.7 เห็นด้วยที่จะไม่ต้องมี ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อหรือปาร์ตี้ลิสต์ ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อย
ละ 33.1 ไม่เห็นด้วยและร้อยละ 27.2 ไม่มีความเห็น ซึ่งผลสำรวจประเด็นเหล่านี้อาจเป็นเหตุทำให้ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงประชามติได้ จึงจำ
เป็นต้องเร่งชี้แจง ให้ประชาชนเห็นผลดีผลเสียโดยเร็ว
เมื่อสอบถามถึงแนวคิดจะให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้โดยง่ายมากขึ้น ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.4 เห็นด้วย
ร้อยละ 13.5 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 17.1 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 81.4 เห็นว่าจำเป็นต้องมีวุฒิสภาโดยจำแนก
เป็นร้อยละ 29.3 เห็นว่า ส.ว. ควรมาจากการแต่งตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 52.1 เห็นว่าควรมาจากการเลือกตั้ง ในขณะที่เพียงร้อยละ 4.6 เห็นว่าไม่
จำเป็นต้องมีและร้อยละ 14.0 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ61.4 เห็นด้วยที่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีควรจะลาออกทันทีเมื่อมีข้อครหาเกี่ยว
กับการทุจริตคอรัปชั่น ในขณะที่ร้อยละ 23.1 ไม่เห็นด้วยและร้อยละ 15.5 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า สสร. กำลังประสบปัญหาสำคัญที่จะเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เป็นที่ยอมรับของสาธารณ
ชนได้ เพราะประชาชนถึงครึ่งหนึ่งไม่รู้ไม่เข้าใจว่ารัฐธรรมนูญคืออะไร แล้วจะไปเขียนรัฐธรรมนูญให้เป็นของประชาชนทั้งประเทศได้อย่างไร ดังนั้นสิ่ง
ที่ สสร. น่าจะพิจารณาคือ
ประการแรก เผยแพร่สร้างเสริมความรู้ความเข้าใจให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนก่อนเป็นอันดับแรกว่า รัฐธรรมนูญคืออะไร มีความสำคัญ
อย่างไรต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
ประการที่สอง สสร. ควรสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนว่า รัฐธรรมนูญที่กำลังร่างกันขึ้นมาเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อวิถีชีวิต
ประจำวันของประชาชน ถ้าไม่มีรัฐธรรมนูญประชาชนจะเดือดร้อนอย่างไร และถ้ามีแล้วต่อไปนี้จะไม่ถูกฉีกทิ้งอีกอย่างแน่นอน เพราะประชาชนส่วนใหญ่
เบื่อหน่ายกับปัญหาการเมืองและวัฏจักรของความชั่วร้ายมานานหลายชั่วอายุคนแล้ว
ประการที่สาม สสร. ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงและมีส่วนร่วมร่างรัฐธรรมนูญทั้งจากส่วนกลางสู่ภูมิภาคและ
จากระดับชุมชนสู่ส่วนกลาง
ดร.นพดล กล่าวว่า สสร.ต้องเริ่มทำจากการสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจของสาธารณชนผ่านสื่อมวลชนก่อนเป็นอันดับแรก เพราะถ้า
เริ่มต้นลงไปที่พื้นที่ก่อนจะประสบความล้มเหลวอย่างแน่นอน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญมาก่อนและเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัว ดังนั้น
ต้องเริ่มเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนัก เปิดโอกาสมีส่วนร่วมและจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนเขียนรัฐธรรมนูญด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
อย่าใช้คำวิชาการมาก และทำให้ชาวบ้านเห็นว่ารัฐธรรมนูญมีประโยชน์สามารถป้องกันแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนแต่ละคน ปัญหาของชุมชน และ
ประเทศได้อย่างแท้จริง เพราะถ้าประชาชนทั้งประเทศเป็นเจ้าของก็จะไม่มีใครมากล้าฉีกรัฐธรรมนูญอีกได้ ยกเว้นแต่ว่า ภาพของการลงประชามติที่จะ
เกิดขึ้นเป็นเพียงแต่ภาพลวงตาเท่านั้น
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมการอ่านรัฐธรรมนูญ 2540
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นและความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรณีประเด็นสำคัญต่างๆ ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัม
ชัญ เรื่อง “รัฐธรรมนูญในทรรศนะของประชาชน: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 23 จังหวัดของประเทศ” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวม
ข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2 -13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 23 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี
เชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ พิษณุโลก นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น หนองคาย มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สกลนคร นครพนม
ชลบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และ สงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,736 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.4 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 45.6 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 24.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.0 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 19.6 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.5 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 47.2
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 26.1
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 16.4
4 ไม่ได้ติดตามเลย 10.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหมายของ รัฐธรรมนูญ ในทรรศนะของตน
ลำดับที่ ความหมายของ รัฐธรรมนูญ ในทรรศนะของตน ค่าร้อยละ
1 ไม่ทราบความหมาย/ไม่เข้าใจ/ไม่รู้จัก 50.6
2 กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ 15.2
3 กฏหมายปกครองประเทศ/ระเบียบการปกครองของประเทศ 7.3
4 กฏหมาย/กฏหมายที่ทำให้บ้านเมืองสงบสุข 6.8
5 กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ 4.4
6 ระบอบประชาธิปไตยที่ปกครองโดยประชาชน เพื่อประชาชน 3.1
7 อื่นๆ เข่น กฏหมายสำหรับการอยู่ร่วมกันของประชาชาชน/ระเบียบข้อบังคับที่ใช้กำหนดการทำงานของรัฐบาล/
ระเบียบข้อบังคับของทุกคนในชาติ/กฏหมายคุ้มครองประชาชน/บทบัญญัติเพื่อความสงบและความเป็นเอกภาพ
ของประเทศ/และการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 12.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ในการอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540
ลำดับที่ ประสบการณ์ในการอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ค่าร้อยละ
1 เคยอ่านทั้งฉบับ 6.1
2 เคยอ่านบางส่วน 31.5
3 ไม่เคยอ่านเลย 62.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่ระบุไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 เลย ได้ให้เหตุผลดังนี้
1. ไม่ทราบว่าจะหาอ่านได้จากที่ไหน /ไม่มีให้อ่าน /หาอ่านไม่ได้เลย
2. ไม่ได้สนใจ /ไม่อยากอ่าน /ไม่ได้เจาะลึกในเรื่องนี้
3. ไม่มีเวลาอ่าน
4. ไม่รู้จัก /ไม่ค่อยทราบ /ไม่รู้เรื่อง
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรให้อ่านเข้าใจได้ง่าย
ไม่ต้องใช้คำยุ่งยากซับซ้อน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยอย่างยิ่ง 42.7
2 เห็นด้วย 46.8
3 ค่อนข้างเห็นด้วย 7.3
4 ไม่ค่อยเห็นด้วย 1.0
5 ไม่เห็นด้วย 1.6
6 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 0.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีความจำเป็นที่ต้องให้ประชาชนมีเวลาอ่านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ก่อนการทำประชามติ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 จำเป็นต้องให้ประชาชนมีเวลาอ่านก่อนลงประชามติ 70.3
2 ไม่จำเป็น 8.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 21.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 จำเป็น 74.9
2 ไม่จำเป็น 18.9
3 ไม่มีความเห็น 6.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ แนวคิดที่ว่า นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 8 ปี
(ไม่เกิน 2 สมัย)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 81.7
2 ไม่เห็นด้วย 16.3
3 ไม่มีความเห็น 2.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดที่จะลดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ลง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยที่จะให้มีจำนวน ส.ส.น้อยลง 45.5
2 ไม่เห็นด้วย 30.5
3 ไม่มีความเห็น 24.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดที่ไม่ต้องมี ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิส)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยที่จะไม่ต้องมี ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ 39.7
2 ไม่เห็นด้วย 33.1
3 ไม่มีความเห็น 27.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดที่จะให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้
ง่ายมากชึ้น
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 69.4
2 ไม่เห็นด้วย 13.5
3 ไม่มีความเห็น 17.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมีวุฒิสภาต่อไป
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 จำเป็นต้องมีโดยควรมาจากการแต่งตั้ง 29.3
2 จำเป็นต้องมีโดยควรมาจากการเลือกตั้ง 52.1
3 ไม่จำเป็นต้องมี 4.6
4 ไม่มีความเห็น 14.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีควรจะลาออกทันที
เมื่อมีข้อครหาเกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่น
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 61.4
2 ไม่เห็นด้วย 23.1
4 ไม่มีความเห็น 15.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Innovation in Management and Business Analysis, Graduate School of Business, Assumption University) เปิดเผยผล
สำรวจเรื่อง “รัฐธรรมนูญในทรรศนะของประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,736
ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 2 -13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้
มีดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ครึ่งหนึ่งของคนที่ถูกศึกษาหรือร้อยละ
50.6 ไม่ทราบความหมาย/ ไม่เข้าใจ/ ไม่รู้จัก “รัฐธรรมนูญ” ในขณะที่เพียงร้อยละ 15.2 ระบุรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครอง
ประเทศ ร้อยละ 7.3 ระบุเป็นกฎหมายปกครองประเทศ ร้อยละ 6.8 ระบุเป็นกฎหมายที่ทำให้บ้านเมืองสงบสุข ร้อยละ 4.4 ระบุเป็นกฎ ระเบียบ
ข้อบังคับ ร้อยละ 3.1 ระบุเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ปกครองโดยประชาชนเพื่อประชาชน และร้อยละ 12.6 ระบุอื่นๆ เช่น เป็นกฎหมายสำหรับอยู่
ร่วมกันของประชาชน/ เป็นระเบียบกำหนดการทำงานของรัฐบาล/ เป็นข้อบังคับของทุกคนในชาติ และเป็นกฎหมายคุ้มครองประชาชน เป็นต้น
เมื่อสอบถามว่าเคยอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 หรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.4 ไม่เคยอ่านเลย เพราะไม่
ทราบว่าหาอ่านได้จากที่ไหน ไม่มีให้อ่าน หาอ่านไม่ได้เลย ไม่สนใจอ่าน ไม่อยากอ่านและไม่มีเวลาอ่าน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 31.5 เคยอ่านบาง
ส่วน และเพียงร้อยละ 6.1 เคยอ่านทั้งฉบับ
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.8 ค่อนข้างเห็นด้วยถึงเห็นด้วยอย่างยิ่งว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรให้อ่านเข้าใจได้ง่าย
ไม่ต้องใช้คำยุ่งยากซับซ้อน ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.3 คิดว่าจำเป็นต้องให้ประชาชนมีเวลาอ่านร่างรัฐธรรมนูญก่อนลงประชามติ ในขณะที่ร้อย
ละ 8.5 เห็นว่าไม่จำเป็นและร้อยละ 21.2 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.9 เห็นว่านายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง ในขณะที่ ร้อยละ 18.9 เห็นว่าไม่
จำเป็น และร้อยละ 6.2 ไม่มีความเห็น เมื่อถามความเห็นต่อแนวคิดที่ว่า นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 8 ปี (ไม่เกิน 2 สมัย) ผลสำรวจพบ
ว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.7 เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 16.3 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 2.0 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจพบประเด็นที่น่าจะมีแรงเสียดทานหรือคัดค้านพอสมควร คือแนวคิดการลดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
หรือ ส.ส. ลง เพราะผลสำรวจพบว่าประชาชนร้อยละ 45.5 เห็นด้วย แต่ร้อยละ 30.5 หรือเกือบหนึ่งในสามไม่เห็นด้วย และร้อยละ 24.0 ไม่มี
ความ นอกจากนี้ยังพบว่า ประชาชนร้อยละ 39.7 เห็นด้วยที่จะไม่ต้องมี ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อหรือปาร์ตี้ลิสต์ ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อย
ละ 33.1 ไม่เห็นด้วยและร้อยละ 27.2 ไม่มีความเห็น ซึ่งผลสำรวจประเด็นเหล่านี้อาจเป็นเหตุทำให้ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงประชามติได้ จึงจำ
เป็นต้องเร่งชี้แจง ให้ประชาชนเห็นผลดีผลเสียโดยเร็ว
เมื่อสอบถามถึงแนวคิดจะให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้โดยง่ายมากขึ้น ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.4 เห็นด้วย
ร้อยละ 13.5 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 17.1 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 81.4 เห็นว่าจำเป็นต้องมีวุฒิสภาโดยจำแนก
เป็นร้อยละ 29.3 เห็นว่า ส.ว. ควรมาจากการแต่งตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 52.1 เห็นว่าควรมาจากการเลือกตั้ง ในขณะที่เพียงร้อยละ 4.6 เห็นว่าไม่
จำเป็นต้องมีและร้อยละ 14.0 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ61.4 เห็นด้วยที่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีควรจะลาออกทันทีเมื่อมีข้อครหาเกี่ยว
กับการทุจริตคอรัปชั่น ในขณะที่ร้อยละ 23.1 ไม่เห็นด้วยและร้อยละ 15.5 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า สสร. กำลังประสบปัญหาสำคัญที่จะเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เป็นที่ยอมรับของสาธารณ
ชนได้ เพราะประชาชนถึงครึ่งหนึ่งไม่รู้ไม่เข้าใจว่ารัฐธรรมนูญคืออะไร แล้วจะไปเขียนรัฐธรรมนูญให้เป็นของประชาชนทั้งประเทศได้อย่างไร ดังนั้นสิ่ง
ที่ สสร. น่าจะพิจารณาคือ
ประการแรก เผยแพร่สร้างเสริมความรู้ความเข้าใจให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนก่อนเป็นอันดับแรกว่า รัฐธรรมนูญคืออะไร มีความสำคัญ
อย่างไรต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
ประการที่สอง สสร. ควรสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนว่า รัฐธรรมนูญที่กำลังร่างกันขึ้นมาเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อวิถีชีวิต
ประจำวันของประชาชน ถ้าไม่มีรัฐธรรมนูญประชาชนจะเดือดร้อนอย่างไร และถ้ามีแล้วต่อไปนี้จะไม่ถูกฉีกทิ้งอีกอย่างแน่นอน เพราะประชาชนส่วนใหญ่
เบื่อหน่ายกับปัญหาการเมืองและวัฏจักรของความชั่วร้ายมานานหลายชั่วอายุคนแล้ว
ประการที่สาม สสร. ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงและมีส่วนร่วมร่างรัฐธรรมนูญทั้งจากส่วนกลางสู่ภูมิภาคและ
จากระดับชุมชนสู่ส่วนกลาง
ดร.นพดล กล่าวว่า สสร.ต้องเริ่มทำจากการสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจของสาธารณชนผ่านสื่อมวลชนก่อนเป็นอันดับแรก เพราะถ้า
เริ่มต้นลงไปที่พื้นที่ก่อนจะประสบความล้มเหลวอย่างแน่นอน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญมาก่อนและเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัว ดังนั้น
ต้องเริ่มเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนัก เปิดโอกาสมีส่วนร่วมและจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนเขียนรัฐธรรมนูญด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
อย่าใช้คำวิชาการมาก และทำให้ชาวบ้านเห็นว่ารัฐธรรมนูญมีประโยชน์สามารถป้องกันแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนแต่ละคน ปัญหาของชุมชน และ
ประเทศได้อย่างแท้จริง เพราะถ้าประชาชนทั้งประเทศเป็นเจ้าของก็จะไม่มีใครมากล้าฉีกรัฐธรรมนูญอีกได้ ยกเว้นแต่ว่า ภาพของการลงประชามติที่จะ
เกิดขึ้นเป็นเพียงแต่ภาพลวงตาเท่านั้น
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมการอ่านรัฐธรรมนูญ 2540
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นและความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรณีประเด็นสำคัญต่างๆ ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัม
ชัญ เรื่อง “รัฐธรรมนูญในทรรศนะของประชาชน: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 23 จังหวัดของประเทศ” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวม
ข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2 -13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 23 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี
เชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ พิษณุโลก นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น หนองคาย มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สกลนคร นครพนม
ชลบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และ สงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,736 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.4 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 45.6 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 24.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.0 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 19.6 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.5 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 47.2
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 26.1
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 16.4
4 ไม่ได้ติดตามเลย 10.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหมายของ รัฐธรรมนูญ ในทรรศนะของตน
ลำดับที่ ความหมายของ รัฐธรรมนูญ ในทรรศนะของตน ค่าร้อยละ
1 ไม่ทราบความหมาย/ไม่เข้าใจ/ไม่รู้จัก 50.6
2 กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ 15.2
3 กฏหมายปกครองประเทศ/ระเบียบการปกครองของประเทศ 7.3
4 กฏหมาย/กฏหมายที่ทำให้บ้านเมืองสงบสุข 6.8
5 กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ 4.4
6 ระบอบประชาธิปไตยที่ปกครองโดยประชาชน เพื่อประชาชน 3.1
7 อื่นๆ เข่น กฏหมายสำหรับการอยู่ร่วมกันของประชาชาชน/ระเบียบข้อบังคับที่ใช้กำหนดการทำงานของรัฐบาล/
ระเบียบข้อบังคับของทุกคนในชาติ/กฏหมายคุ้มครองประชาชน/บทบัญญัติเพื่อความสงบและความเป็นเอกภาพ
ของประเทศ/และการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 12.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ในการอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540
ลำดับที่ ประสบการณ์ในการอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ค่าร้อยละ
1 เคยอ่านทั้งฉบับ 6.1
2 เคยอ่านบางส่วน 31.5
3 ไม่เคยอ่านเลย 62.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่ระบุไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 เลย ได้ให้เหตุผลดังนี้
1. ไม่ทราบว่าจะหาอ่านได้จากที่ไหน /ไม่มีให้อ่าน /หาอ่านไม่ได้เลย
2. ไม่ได้สนใจ /ไม่อยากอ่าน /ไม่ได้เจาะลึกในเรื่องนี้
3. ไม่มีเวลาอ่าน
4. ไม่รู้จัก /ไม่ค่อยทราบ /ไม่รู้เรื่อง
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรให้อ่านเข้าใจได้ง่าย
ไม่ต้องใช้คำยุ่งยากซับซ้อน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยอย่างยิ่ง 42.7
2 เห็นด้วย 46.8
3 ค่อนข้างเห็นด้วย 7.3
4 ไม่ค่อยเห็นด้วย 1.0
5 ไม่เห็นด้วย 1.6
6 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 0.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีความจำเป็นที่ต้องให้ประชาชนมีเวลาอ่านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ก่อนการทำประชามติ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 จำเป็นต้องให้ประชาชนมีเวลาอ่านก่อนลงประชามติ 70.3
2 ไม่จำเป็น 8.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 21.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 จำเป็น 74.9
2 ไม่จำเป็น 18.9
3 ไม่มีความเห็น 6.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ แนวคิดที่ว่า นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 8 ปี
(ไม่เกิน 2 สมัย)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 81.7
2 ไม่เห็นด้วย 16.3
3 ไม่มีความเห็น 2.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดที่จะลดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ลง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยที่จะให้มีจำนวน ส.ส.น้อยลง 45.5
2 ไม่เห็นด้วย 30.5
3 ไม่มีความเห็น 24.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดที่ไม่ต้องมี ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิส)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยที่จะไม่ต้องมี ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ 39.7
2 ไม่เห็นด้วย 33.1
3 ไม่มีความเห็น 27.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดที่จะให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้
ง่ายมากชึ้น
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 69.4
2 ไม่เห็นด้วย 13.5
3 ไม่มีความเห็น 17.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมีวุฒิสภาต่อไป
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 จำเป็นต้องมีโดยควรมาจากการแต่งตั้ง 29.3
2 จำเป็นต้องมีโดยควรมาจากการเลือกตั้ง 52.1
3 ไม่จำเป็นต้องมี 4.6
4 ไม่มีความเห็น 14.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีควรจะลาออกทันที
เมื่อมีข้อครหาเกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่น
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 61.4
2 ไม่เห็นด้วย 23.1
4 ไม่มีความเห็น 15.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-