ที่มาของโครงการ
จากผลการสำรวจของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์พบว่า โทรทัศน์ เป็นสื่อที่ประชาชนใช้ในการติดตามข่าวสาร
การเลือกตั้ง ส.ส.2548 มากที่สุด ดังนั้นโครงการการสังเกตุการณ์ข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งของพรรคการเมือง
ต่างๆ จึงได้เกิดขึ้น เพื่อที่จะติดตามวิธีการนำเสนอข่าวของสื่อโทรทัศน์ และเปรียบเทียบรูปแบบการนำเสนอข่าว
ของแต่ละพรรคการเมือง
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการนำเสนอข่าวของสื่อโทรทัศน์ เกี่ยวกับการเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆ
2. เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการนำเสนอข่าวของแต่ละพรรคการเมือง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำวิจัย
โครงการวิจัยครั้งนี้ ได้จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 26-30 มกราคม พ.ศ. 2548
ทั้งนี้โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสังเกตการณ์ (Observation Method)
และจดบันทึกข้อมูลการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งของพรรคการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์
ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และ ไอทีวี ตั้งแต่ข่าวภาคค่ำของวันที่ 26 ม.ค.
จนถึงข่าวภาคค่ำของวันที่ 30 ม.ค. 2548
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการวิจัย
ตารางที่ 1 แสดงความถี่และร้อยละของจำนวนนาทีในการเสนอข่าวเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆ
ผ่านสื่อโทรทัศน์ ในช่วงระยะเวลาทำการสำรวจ
พรรคการเมือง ความถี่ในการเสนอข่าว ระยะเวลารวมในการเส
(จำนวนครั้ง/ค่าร้อยละ) (นาที/ค่าร้อยละ)
1. พรรคไทยรักไทย 220 (36.8) 303.44 (29.9)
2. พรรคประชาธิปัตย์ 160 (26.8) 170.15 (16.8)
3. พรรคชาติไทย 102 (17.1) 133.05 (13.1)
4. พรรคมหาชน 96 (16.1) 175.49 (17.3)
5. พรรคอื่นๆ ระบุ พรรคกิจสังคม,
พรรคความหวังใหม่, พรรคประชากรไทย,
พรรคคนขอปลดหนี้ เป็นต้น 20 (3.3) 232.20 (22.9)
รวมทั้งสิ้น 598 (100.0) 1015.13 (100.0)
ตารางที่ 2 แสดงความถี่และจำนวนนาทีในการเสนอข่าวเลือกตั้งผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมือง
จำแนกตามประเภทข่าว
ประเภทข่าว พรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย พรรคมหาชน พรรคอื่นๆ
ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที
ข่าวการปราศรัย /แถลงนโยบาย 27 56.27 18 15.53 6 11.37 12 75.16 11 219.35
ข่าวการฟ้องร้อง /ร้องเรียนของแต่ละพรรค 25 19.22 12 10.05 13 10.55 13 13.03 2 0.54
ข่าวการตอบโต้/ชี้แจง 18 13.13 34 30.45 11 11.13 21 30.1 0 0
ข่าวความสัมพันธ์ระหว่างพรรค 6 6.09 0 0 0 0 0 0 0 0
ข่าวความขัดแย้งภายในพรรค 0 0 10 7.36 6 7.27 0 0 0 0
ข่าวความขัดแย้งระหว่างพรรค 0 0 0 0 8 8.3 3 1.28 0 0
ข่าวความเคลื่อนไหวในการหาเสียง 103 84.13 64 38.23 47 30.33 28 12.58 4 1.22
ข่าววิจารณ์พรรคการเมืองคู่แข่ง 1 2.3 1 2.5 0 0 0 0 0 0
ข่าวแสดงทัศนะ / วิสัยทัศน์ของผู้สมัคร 0 0 2 2.3 1 1.1 1 1 0 0
ข่าวอื่นๆ 40 121.5 19 62.13 10 51.4 18 41.54 3 10.29
ตารางที่ 3 แสดงความถี่ของรูปแบบการนำเสนอข่าวเลือกตั้งผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมือง
รูปแบบการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ พรรค พรรค พรรค พรรค พรรคอื่นๆ
ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทย มหาชน
ผู้ประกาศข่าว/พิธีกรอ่านข่าวเพียงอย่างเดียว 6 7 0 5 0
ผู้ประกาศข่าว+ภาพข่าว 80 66 48 42 11
ผู้ประกาศข่าว+สัมภาษณ์ 4 3 2 4 0
ผู้ประกาศข่าว+วิเคราะห์ข่าว 4 5 3 2 0
ผู้ประกาศข่าว+ภาพข่าว+สัมภาษณ์ 45 11 23 13 2
ผู้ประกาศข่าว+ภาพข่าว+วิเคราะห์ข่าว 6 8 0 5 0
ผู้ประกาศข่าว+ภาพข่าว+สัมภาษณ์+วิเคราะห์ข่าว 3 5 4 2 2
อื่นๆ เช่น แถลงนโยบายผ่านสื่อ 0 1 0 2 8
ตารางที่ 4 แสดงค่าความถี่และร้อยละของข่าวที่มีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งของพรรคการ
เมืองต่างๆ ผ่านสื่อโทรทัศน์มากที่สุด เมื่อพิจารณาจากความถี่ในการนำเสนอ
ลำดับที่ ข่าว ความถี่ (จำนวนครั้ง/ค่าร้อยละ)
1 ข่าวการหาเสียง โดยหัวหน้าพรรค/ผู้บริหารพรรค ช่วยหาเสียงให้กับลูกพรรคของพรรคไทยรักไทย 69 (11.2)
2 ข่าวการหาเสียง โดยหัวหน้าพรรค/ผู้บริหารพรรค ช่วยหาเสียงให้กับลูกพรรคของพรรคชาติไทย 33 (5.4)
3 ข่าวการแถลงนโยบาย / กล่าวปราศรัยของพรรคไทยรักไทย 32 (5.2)
4 ข่าวการลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัครพรรคไทยรักไทย 27 (4.4)
5 ข่าวการหาเสียง โดยหัวหน้าพรรค/ผู้บริหารพรรค ช่วยหาเสียงให้กับลูกพรรคของพรรคประชาธิปัตย์ 26 (4.2)
6 ข่าวการลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ 25 (4.1)
7 ข่าวการตอบโต้ กรณีสติ๊กเกอร์ ของพรรคประชาธิปัตย์ 22 (3.6)
8 ข่าวการมอบตัวของผู้สมัครพรรคมหาชน กรณีถูกกล่าวหาว่าจ้างวาน 19 (3.1)
ฆ่าหัวคะแนนของพรรคไทยรักไทย
9 ข่าวการแถลงนโยบาย / กล่าวปราศรัยหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ 18 (2.9)
10 ข่าวการหาเสียง โดยหัวหน้าพรรค/ผู้บริหารพรรค ช่วยหาเสียงให้กับลูกพรรคของพรรคมหาชน 15 (2.4)
ข่าวการแถลงนโยบาย / กล่าวปราศรัยของพรรคมหาชน 15 (2.4)
ข่าวการยื่นฟ้องของพรรคไทยรักไทยต่อ กกต.ในเรื่องการผลิตสติ๊กเกอร์ที่ไม่เหมาะสม 15 (2.4)
บทสรุปผลการวิจัย
จากการสังเกตุการณ์ของคณะผู้วิจัย พบว่า สื่อโทรทัศน์ได้นำเสนอข่าวเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทยมาก
ที่สุด คือ 220 ครั้ง รองลงมาคือ พรรคประชาธิปัตย์ (160 ครั้ง) พรรคชาติไทย (102 ครั้ง) พรรค
มหาชน (96 ครั้ง) และพรรคอื่นๆ (20 ครั้ง)
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาระยะเวลารวมในการเสนอข่าว พบว่า
- พรรคไทยรักไทย ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 303.44 นาที ทั้งนี้เป็นข่าวความ
เคลื่อนไหวในการหาเสียงมากที่สุด รองลงมาคือข่าวการปราศรัย/แถลงนโยบาย ข่าวการฟ้องร้อง/ร้องเรียน
และข่าวการตอบโต้/ชี้แจง
- พรรคประชาธิปัตย์ ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 170.15 นาที ทั้งนี้เป็นข่าวความ
เคลื่อนไหวในการหาเสียงมากที่สุด รองลงมาคือ ข่าวการตอบโต้/ชี้แจง ข่าวการปราศรัย/แถลงนโยบาย และ
ข่าวการฟ้องร้อง/ร้องเรียน
- พรรคชาติไทย ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 133.05 นาที ทั้งนี้เป็นข่าวความเคลื่อน
ไหวมากที่สุด รองลงมาคือ ข่าวการฟ้องร้อง/ร้องเรียน ข่าวการตอบโต้/ชี้แจง และข่าวความขัดแย้งระหว่าง
พรรค
- พรรคมหาชน ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 175.49 นาที ทั้งนี้เป็นข่าวความเคลื่อน
ไหวมากที่สุด รองลงมาคือ ข่าวการตอบโต้/ชี้แจง ข่าวการฟ้องร้อง/ร้องเรียน และข่าวการปราศรัย/แถลง
นโยบาย
สำหรับรูปแบบการนำเสนอข่าวเลือกตั้งผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมืองต่างๆ พบว่า ส่วนใหญ่มีรูป
แบบการนำเสนอในลักษณะผสมผสานระหว่างผู้ประกาศข่าวพร้อมกับภาพข่าว หรือผู้ประกาศข่าวพร้อมกับภาพข่าวและ
การให้สัมภาษณ์
เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆ ผ่านสื่อ
โทรทัศน์ พบว่า 5 อันดับข่าวที่มีการนำเสนอมากที่สุด ได้แก่
1. ข่าวการหาเสียง โดยหัวหน้าพรรค/ ผู้บริหารพรรคไทยรักไทย ในการช่วยหาเสียงให้กับลูกพรรค
2. ข่าวการหาเสียง โดยหัวหน้าพรรค/ผู้บริหารพรรคชาติไทย ในการช่วยหาเสียงให้กับลูกพรรค
3. ข่าวการแถลงนโยบาย/ข่าวปราศรัยของพรรคไทยรักไทย
4. ข่าวการลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัครพรรคไทยรักไทย
5. ข่าวการลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัครพรรคไทยรักไทย
--เอแบคโพลล์--
-พห-
จากผลการสำรวจของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์พบว่า โทรทัศน์ เป็นสื่อที่ประชาชนใช้ในการติดตามข่าวสาร
การเลือกตั้ง ส.ส.2548 มากที่สุด ดังนั้นโครงการการสังเกตุการณ์ข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งของพรรคการเมือง
ต่างๆ จึงได้เกิดขึ้น เพื่อที่จะติดตามวิธีการนำเสนอข่าวของสื่อโทรทัศน์ และเปรียบเทียบรูปแบบการนำเสนอข่าว
ของแต่ละพรรคการเมือง
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการนำเสนอข่าวของสื่อโทรทัศน์ เกี่ยวกับการเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆ
2. เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการนำเสนอข่าวของแต่ละพรรคการเมือง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำวิจัย
โครงการวิจัยครั้งนี้ ได้จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 26-30 มกราคม พ.ศ. 2548
ทั้งนี้โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสังเกตการณ์ (Observation Method)
และจดบันทึกข้อมูลการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งของพรรคการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์
ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และ ไอทีวี ตั้งแต่ข่าวภาคค่ำของวันที่ 26 ม.ค.
จนถึงข่าวภาคค่ำของวันที่ 30 ม.ค. 2548
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการวิจัย
ตารางที่ 1 แสดงความถี่และร้อยละของจำนวนนาทีในการเสนอข่าวเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆ
ผ่านสื่อโทรทัศน์ ในช่วงระยะเวลาทำการสำรวจ
พรรคการเมือง ความถี่ในการเสนอข่าว ระยะเวลารวมในการเส
(จำนวนครั้ง/ค่าร้อยละ) (นาที/ค่าร้อยละ)
1. พรรคไทยรักไทย 220 (36.8) 303.44 (29.9)
2. พรรคประชาธิปัตย์ 160 (26.8) 170.15 (16.8)
3. พรรคชาติไทย 102 (17.1) 133.05 (13.1)
4. พรรคมหาชน 96 (16.1) 175.49 (17.3)
5. พรรคอื่นๆ ระบุ พรรคกิจสังคม,
พรรคความหวังใหม่, พรรคประชากรไทย,
พรรคคนขอปลดหนี้ เป็นต้น 20 (3.3) 232.20 (22.9)
รวมทั้งสิ้น 598 (100.0) 1015.13 (100.0)
ตารางที่ 2 แสดงความถี่และจำนวนนาทีในการเสนอข่าวเลือกตั้งผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมือง
จำแนกตามประเภทข่าว
ประเภทข่าว พรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย พรรคมหาชน พรรคอื่นๆ
ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที
ข่าวการปราศรัย /แถลงนโยบาย 27 56.27 18 15.53 6 11.37 12 75.16 11 219.35
ข่าวการฟ้องร้อง /ร้องเรียนของแต่ละพรรค 25 19.22 12 10.05 13 10.55 13 13.03 2 0.54
ข่าวการตอบโต้/ชี้แจง 18 13.13 34 30.45 11 11.13 21 30.1 0 0
ข่าวความสัมพันธ์ระหว่างพรรค 6 6.09 0 0 0 0 0 0 0 0
ข่าวความขัดแย้งภายในพรรค 0 0 10 7.36 6 7.27 0 0 0 0
ข่าวความขัดแย้งระหว่างพรรค 0 0 0 0 8 8.3 3 1.28 0 0
ข่าวความเคลื่อนไหวในการหาเสียง 103 84.13 64 38.23 47 30.33 28 12.58 4 1.22
ข่าววิจารณ์พรรคการเมืองคู่แข่ง 1 2.3 1 2.5 0 0 0 0 0 0
ข่าวแสดงทัศนะ / วิสัยทัศน์ของผู้สมัคร 0 0 2 2.3 1 1.1 1 1 0 0
ข่าวอื่นๆ 40 121.5 19 62.13 10 51.4 18 41.54 3 10.29
ตารางที่ 3 แสดงความถี่ของรูปแบบการนำเสนอข่าวเลือกตั้งผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมือง
รูปแบบการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ พรรค พรรค พรรค พรรค พรรคอื่นๆ
ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทย มหาชน
ผู้ประกาศข่าว/พิธีกรอ่านข่าวเพียงอย่างเดียว 6 7 0 5 0
ผู้ประกาศข่าว+ภาพข่าว 80 66 48 42 11
ผู้ประกาศข่าว+สัมภาษณ์ 4 3 2 4 0
ผู้ประกาศข่าว+วิเคราะห์ข่าว 4 5 3 2 0
ผู้ประกาศข่าว+ภาพข่าว+สัมภาษณ์ 45 11 23 13 2
ผู้ประกาศข่าว+ภาพข่าว+วิเคราะห์ข่าว 6 8 0 5 0
ผู้ประกาศข่าว+ภาพข่าว+สัมภาษณ์+วิเคราะห์ข่าว 3 5 4 2 2
อื่นๆ เช่น แถลงนโยบายผ่านสื่อ 0 1 0 2 8
ตารางที่ 4 แสดงค่าความถี่และร้อยละของข่าวที่มีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งของพรรคการ
เมืองต่างๆ ผ่านสื่อโทรทัศน์มากที่สุด เมื่อพิจารณาจากความถี่ในการนำเสนอ
ลำดับที่ ข่าว ความถี่ (จำนวนครั้ง/ค่าร้อยละ)
1 ข่าวการหาเสียง โดยหัวหน้าพรรค/ผู้บริหารพรรค ช่วยหาเสียงให้กับลูกพรรคของพรรคไทยรักไทย 69 (11.2)
2 ข่าวการหาเสียง โดยหัวหน้าพรรค/ผู้บริหารพรรค ช่วยหาเสียงให้กับลูกพรรคของพรรคชาติไทย 33 (5.4)
3 ข่าวการแถลงนโยบาย / กล่าวปราศรัยของพรรคไทยรักไทย 32 (5.2)
4 ข่าวการลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัครพรรคไทยรักไทย 27 (4.4)
5 ข่าวการหาเสียง โดยหัวหน้าพรรค/ผู้บริหารพรรค ช่วยหาเสียงให้กับลูกพรรคของพรรคประชาธิปัตย์ 26 (4.2)
6 ข่าวการลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ 25 (4.1)
7 ข่าวการตอบโต้ กรณีสติ๊กเกอร์ ของพรรคประชาธิปัตย์ 22 (3.6)
8 ข่าวการมอบตัวของผู้สมัครพรรคมหาชน กรณีถูกกล่าวหาว่าจ้างวาน 19 (3.1)
ฆ่าหัวคะแนนของพรรคไทยรักไทย
9 ข่าวการแถลงนโยบาย / กล่าวปราศรัยหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ 18 (2.9)
10 ข่าวการหาเสียง โดยหัวหน้าพรรค/ผู้บริหารพรรค ช่วยหาเสียงให้กับลูกพรรคของพรรคมหาชน 15 (2.4)
ข่าวการแถลงนโยบาย / กล่าวปราศรัยของพรรคมหาชน 15 (2.4)
ข่าวการยื่นฟ้องของพรรคไทยรักไทยต่อ กกต.ในเรื่องการผลิตสติ๊กเกอร์ที่ไม่เหมาะสม 15 (2.4)
บทสรุปผลการวิจัย
จากการสังเกตุการณ์ของคณะผู้วิจัย พบว่า สื่อโทรทัศน์ได้นำเสนอข่าวเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทยมาก
ที่สุด คือ 220 ครั้ง รองลงมาคือ พรรคประชาธิปัตย์ (160 ครั้ง) พรรคชาติไทย (102 ครั้ง) พรรค
มหาชน (96 ครั้ง) และพรรคอื่นๆ (20 ครั้ง)
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาระยะเวลารวมในการเสนอข่าว พบว่า
- พรรคไทยรักไทย ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 303.44 นาที ทั้งนี้เป็นข่าวความ
เคลื่อนไหวในการหาเสียงมากที่สุด รองลงมาคือข่าวการปราศรัย/แถลงนโยบาย ข่าวการฟ้องร้อง/ร้องเรียน
และข่าวการตอบโต้/ชี้แจง
- พรรคประชาธิปัตย์ ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 170.15 นาที ทั้งนี้เป็นข่าวความ
เคลื่อนไหวในการหาเสียงมากที่สุด รองลงมาคือ ข่าวการตอบโต้/ชี้แจง ข่าวการปราศรัย/แถลงนโยบาย และ
ข่าวการฟ้องร้อง/ร้องเรียน
- พรรคชาติไทย ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 133.05 นาที ทั้งนี้เป็นข่าวความเคลื่อน
ไหวมากที่สุด รองลงมาคือ ข่าวการฟ้องร้อง/ร้องเรียน ข่าวการตอบโต้/ชี้แจง และข่าวความขัดแย้งระหว่าง
พรรค
- พรรคมหาชน ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 175.49 นาที ทั้งนี้เป็นข่าวความเคลื่อน
ไหวมากที่สุด รองลงมาคือ ข่าวการตอบโต้/ชี้แจง ข่าวการฟ้องร้อง/ร้องเรียน และข่าวการปราศรัย/แถลง
นโยบาย
สำหรับรูปแบบการนำเสนอข่าวเลือกตั้งผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมืองต่างๆ พบว่า ส่วนใหญ่มีรูป
แบบการนำเสนอในลักษณะผสมผสานระหว่างผู้ประกาศข่าวพร้อมกับภาพข่าว หรือผู้ประกาศข่าวพร้อมกับภาพข่าวและ
การให้สัมภาษณ์
เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆ ผ่านสื่อ
โทรทัศน์ พบว่า 5 อันดับข่าวที่มีการนำเสนอมากที่สุด ได้แก่
1. ข่าวการหาเสียง โดยหัวหน้าพรรค/ ผู้บริหารพรรคไทยรักไทย ในการช่วยหาเสียงให้กับลูกพรรค
2. ข่าวการหาเสียง โดยหัวหน้าพรรค/ผู้บริหารพรรคชาติไทย ในการช่วยหาเสียงให้กับลูกพรรค
3. ข่าวการแถลงนโยบาย/ข่าวปราศรัยของพรรคไทยรักไทย
4. ข่าวการลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัครพรรคไทยรักไทย
5. ข่าวการลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัครพรรคไทยรักไทย
--เอแบคโพลล์--
-พห-