ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และนักศึกษาด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ สถาบัน คอร์เนลล์เพื่อภารกิจของรัฐ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ต้นตอทุจริตคอรัปชั่น และทัศนคติของประชาชนต่อรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น เปรียบเทียบก่อนยึดอำนาจปี 2549 กับปัจจุบัน และความเชื่อมั่นต่อประชาธิปไตย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ เพชรบุรี สระบุรี นครปฐม ชลบุรี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สกลนคร เลย ขอนแก่น อุบลราชธานี นราธิวาช นครศรีธรรมราช พัทลุง จำนวน 1,349 ครัวเรือน ดำเนินโครงการในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา พบว่า
ที่น่าเป็นห่วงคือ สัดส่วนของคนที่เชื่อว่ามีการซื้อสิทธิขายเสียงเปรียบเทียบช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2548 กับผลสำรวจเดือนตุลาคม 2553 พบตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 66.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 75.1 นอกจากนี้ ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.2 ยังคงคิดว่า จะมีการซื้อสิทธิขายเสียงเกิดขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจพบด้วยว่า มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในหมู่ประชาชนจากร้อยละ 73.9 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 มาอยู่ที่ร้อยละ 77.6 ในเดือนตุลาคม 2553 ที่เชื่อว่ามีนักการเมืองระดับชาติและบรรดาที่ปรึกษาอยู่เบื้องหลังแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง จากการประมูล/สัมปทานโครงการขนาดใหญ่ และการแอบอ้างแสวงหาผลประโยชน์จากการทำธุรกิจของพวกพ้อง
ที่สำคัญคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.1 เชื่อว่ามีข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐยังคงทุจริตคอรัปชั่นอยู่ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพิ่มสูง ขึ้นจากร้อยละ 84.9 ที่เคยสำรวจในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ยิ่งไปกว่านั้น สัดส่วนของประชาชนที่ไม่เชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมในการเอาผิดเจ้า
หน้าที่รัฐที่ทุจริตคอรัปชั่นเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัวคือจากร้อยละ 12.1 ในปี 2548 มาอยู่ที่ร้อยละ 32.1 ในปัจจุบัน
และผลสำรวจยังพบด้วยว่า สัดส่วนของประชาชนที่มีทัศนคติยอมรับรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแต่ขอให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนอยู่ดีกินดี (โกงไม่เป็นไรขอให้ตัวเองได้ผลประโยชน์ด้วย) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 63.2 ในเดือนตุลาคม 2551 มาอยู่ที่ร้อยละ 76.1 ในปัจจุบัน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ทัศนคติการโกงกำลังแพร่ระบาดไปในทุกสาขาอาชีพ เพราะจากการสำรวจพบว่า ส่วน ใหญ่ทัศนคติของประชาชนในทุกสาขาอาชีพ ยอมรับได้กับรัฐบาลที่ทุจริตคอรัปชั่นแต่ขอให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนอยู่ดีกินดี ตนเองได้ประโยชน์ ด้วย แม้แต่ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ดูเหมือนเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.1 ยอมรับได้กับรัฐบาลที่ทุจริตขอให้ประเทศชาติ รุ่งเรือง ประชาชนกินดีอยู่ดี ตนเองได้ประโยชน์ด้วย และกลุ่มที่เป็นจับตามองอีกสามกลุ่มคือ กลุ่มพ่อค้า กลุ่มข้าราชการ และพนักงานบริษัทเอกชน เพราะมีอยู่ร้อยละ 79.3 ในกลุ่มค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 65.1 ในกลุ่มข้าราชการ และร้อยละ 70.4 ในกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน ที่ยอมรับ รัฐบาลทุจริตฯ แต่ขอให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนอยู่ดีกินดี ตนเองได้ประโยชน์ด้วย
อย่างไรก็ตาม กลุ่มอำนาจที่คิดจะใช้เหตุผลดังกล่าวในการปฏิวัติยึดอำนาจอีกคงไม่สามารถจะอ้างได้เพราะ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อย ละ 78.5 ยังคงเชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยมากกว่าการปกครองแบบอื่นว่าจะสามารถนำพาประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้
ผอ.เอแบคโพลล์และนักศึกษาด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ สถาบันคอร์เนลล์เพื่อภารกิจของรัฐ กล่าวสรุปว่าน่าเสียดายที่ประเทศไทย ยังคงวนอยู่ที่เดิมและกลับมีแนวโน้มแย่ลง โดยยังไม่มีใครหรือรัฐบาลใดทำให้ประเทศไทยพ้นจากสถานภาพ “ประเทศกำลังพัฒนา” ได้ ดังนั้น ถ้าปัญหา คอรัปชั่นเป็นตัวชี้วัดต้นตออุปสรรคการพัฒนาประเทศ ผลที่ตามมา คือยังไม่มีสัญญาณใดๆ จะบ่งชี้ได้ว่าประเทศไทยกำลังก้าวพ้นไปสู่สถานภาพของ ประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะมองในมิติการพัฒนาของโลกตะวันตกหรือโลกตะวันออก เพราะผู้ใหญ่ในสังคมที่อยู่ในสาขาอาชีพและหน่วยงานต่างๆ กลับมี ปัญหาสร้างความเคลือบแคลงสงสัยในหมู่ประชาชนเสียเอง จึงต้องเคลียร์ตัวเองให้กระจ่าง โดยคณะบุคคลและระบบที่พอจะเป็นหลักให้กับสังคมไทย ต้องออกมาประสานเสียงดำเนินการกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจังต่อเนื่องตามแนวทางประชาธิปไตยที่ต้องมุ่งเน้นไปที่การสร้างความเข้มแข็งให้ กับกลุ่มประชาชน
“อยากให้สื่อมวลชนลงพื้นที่สำรวจดูว่า ชาวบ้านที่เคยออกมาเปิดโปงชี้ปัญหาการทุจริตโครงการต่างๆ ของรัฐในระดับชุมชนตอนนี้อยู่ใน สภาพเช่นไร มีใครหรือหน่วยงานใดให้ความคุ้มครองดูแลหรือว่าปล่อยให้ชาวบ้านที่เปิดโปงเพื่อต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นเหล่านั้นอยู่ในสภาพที่หวาดกลัว และไม่เป็นสุข หากปล่อยไว้เช่นนี้ต่อไปสังคมไทยอาจถึงจุดที่ล่มสลายไปทั้งระบบได้และยากที่จะกอบกู้คืนกลับมาเหมือนเดิม ข้อเสนอคือ ให้ผู้ที่มีอำนาจ ในเวลานี้ลองตรวจสอบตนเองและคนข้างเคียง หากพบว่า ตนเองหรือคนใกล้ชิดมีปัญหาก็ต้องแสดงสปิริตโดยเร็วด้วยความเสียสละ น่าจะทำให้สังคม ไทยชลอการล่มสลายลงไปได้บ้าง เพราะดูจากผลสำรวจครั้งนี้เปรียบเทียบกับช่วง 5 — 6 ปีที่ผ่านมา ทัศนคติและการยอมรับการทุจริตคอรัปชั่นมันโต เร็วเหลือเกิน การกล่าวเช่นนี้คงไม่ทำให้ใครคิดนำมาเป็นเหตุผลยึดอำนาจอีกเพราะผลสำรวจครั้งนี้พบว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่เขาไม่เอาการยึดอำนาจ และยังคงเชื่อมั่นต่อระบอบประชาธิปไตยว่าจะเป็นหนทางแก้วิกฤตต่างๆ ได้” ดร.นพดล กล่าว
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.0 เป็นชาย
ร้อยละ 53.0 เป็นหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 10.0 อายุน้อยกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 18.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 27.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 63.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 32.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 30.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 27.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 16.1 ระบุเป็นพนักงานเอกชน
ร้อยละ 11.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.6 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.9 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 3.1 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน กุมภาพันธ์ 2548ค่าร้อยละ ตุลาคม 2553ค่าร้อยละ 1 เชื่อว่ามี 66.3 75.1 2 ไม่เชื่อว่ามี 21.4 12.8 3 ไม่มีความเห็น 12.3 12.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ถ้าเลือกตั้งใหม่ จะมีการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส. ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ถ้าเลือกตั้งใหม่ จะมีการซื้อสิทธิขายเสียง ค่าร้อยละ 1 เชื่อว่ามี 74.2 2 ไม่เชื่อว่ามี 13.1 3 ไม่มีความเห็น 12.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีนักการเมืองระดับชาติและบรรดาที่ปรึกษาอยู่เบื้องหลังแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้องจากการประมูล/สัมปทานโครงการขนาดใหญ่ และการแอบอ้างแสวงหาผลประโยชน์จากการทำธุรกิจของพวกพ้อง ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน กุมภาพันธ์ 2548ค่าร้อยละ ตุลาคม 2553ค่าร้อยละ 1 เชื่อว่ามี 73.9 77.6 2 ไม่เชื่อว่ามี 18.7 16.2 3 ไม่มีความเห็น 7.4 6.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐข้าราชการทุจริตคอรัปชั่นอยู่ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน กุมภาพันธ์ 2548ค่าร้อยละ ตุลาคม 2553ค่าร้อยละ 1 เชื่อว่ามี 84.9 90.1 2 ไม่เชื่อว่ามี 12.2 6.1 3 ไม่มีความเห็น 2.9 3.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมในการเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงที่ทุจริตคอรัปชั่น ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของประชาชน กุมภาพันธ์ 2548ค่าร้อยละ ตุลาคม 2553ค่าร้อยละ 1 เชื่อมั่น 8.2 5.2 2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 33.7 20.6 3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 39.9 36.3 4 ไม่เชื่อมั่น 12.1 32.1 5 ไม่มีความเห็น 6.1 5.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ทำให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนกินดีอยู่ดี ตนเองได้ประโยชน์ด้วย ลำดับที่ ทัศนคติ ตุลาคม 2551ค่าร้อยละ ตุลาคม 2553ค่าร้อยละ 1 ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ทำให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนอยู่ดีกินดี ตนเองได้ประโยชน์ด้วย 63.2 76.1 2 ไม่คิดเช่นนั้น 36.8 23.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แนวคิดที่ว่า รัฐบาลทุกรัฐบาลมีทุจริตคอรัปชั่นด้วยกันทั้งนั้น ถ้าทุจริตคอรัปชั่นแล้วทำให้ ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนกินดีอยู่ดี ตนเองได้ประโยชน์ด้วย เป็นเรื่องยอมรับได้ จำแนกตามอาชีพ ลำดับที่ ทัศนคติของประชาชน ข้าราชการ พนักงาน ค้าขาย นักเรียน แม่บ้าน เกษตรกร ว่างงาน
รัฐวิสาหกิจ เอกชน ส่วนตัว นักศึกษา เกษียณอายุ รับจ้าง ไม่มีอาชีพ 1 คิดว่า รัฐบาลทุกรัฐบาลมีทุจริตคอรัปชั่นด้วยกันทั้งนั้น- ถ้าทุจริตคอรัปชั่นแล้วทำให้ประเทศชาติรุ่งเรือง-
ประชาชนกินดีอยู่ดีก็ยอมรับได้ 65.1 70.4 79.3 67.1 62.3 68.8 82.4 2 ไม่คิดเช่นนั้น 34.9 29.6 20.7 32.9 37.7 31.2 17.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยจะสามารถนำพาประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้มากกว่าการปกครองแบบอื่น ลำดับที่ ทัศนคติ ค่าร้อยละ 1 เชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยมากกว่าการปกครองแบบอื่น 78.5 2 ไม่เชื่อมั่น 8.0 3 ไม่มีความเห็น 13.5 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--