ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลังการ
ตัดสินคดียุบพรรค : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,248 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 30-31 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจพบว่า ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 60.3 ติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยทุกวัน/เกือบทุกวันต่อ
สัปดาห์ เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองหลังจากการตัดสินคดียุบพรรค พบว่า ตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 98.0 ระบุว่าต่อจากนี้ไป
ขอให้ทุกฝ่ายอยู่ในความสงบเรียบร้อย ไม่ก่อความวุ่นวาย รองลงมาในสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือร้อยละ 97.5 ระบุว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของ
ประเทศ ร้อยละ 96.5 ระบุว่าต่อไปนี้พรรคการเมืองต่างๆ ต้องแก้ไขปรับปรุงตัวสร้างความเชื่อถือศรัทธาในกลุ่มประชาชนโดยด่วน และร้อยละ
94.6 ระบุว่าอยากเห็นสังคมไทยสงบสุขโดยเร็ว ตามลำดับ
กรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยตัดสินยุบพรรคไทยรักไทยนั้น พบว่า ตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 91.7 ไม่คิดจะต่อต้านคำตัดสิน โดยมี
เพียงตัวอย่างร้อยละ 8.3 ที่คิดจะต่อต้าน ด้วยวิธี ไม่ไปเลือกตั้ง / ไม่ลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ / ออกไปประท้วง เป็นต้น สำหรับการคาด
การณ์ต่อพฤติกรรมของนักการเมืองไทย ภายหลังการตัดสินคดียุบพรรค พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 36.3 คิดว่านักการเมืองไทยจะประพฤติตัวดีขึ้น ในขณะ
ที่ร้อยละ 18.6 คิดว่าแย่เหมือนเดิม ร้อยละ 15.7 คิดว่าดีเหมือนเดิม และร้อยละ 4.4 คิดว่าจะประพฤติตัวแย่ลง ตามลำดับ โดยมีตัวอย่างอีกร้อย
ละ 25.0 ที่ไม่มีความเห็น
ผลการสำรวจยังพบว่า ตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 48.0 คิดว่าภายหลังการตัดสินคดียุบพรรค สถานการณ์การเมืองไทย
จะสงบเรียบร้อยขึ้น แต่ตัวอย่างอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 28.4 คิดว่าจะขัดแย้งวุ่นวายมากขึ้น และร้อยละ 23.6 ไม่มีความเห็น เมื่อ
พิจารณาการถ่ายทอดสดคำวินิจฉัยการตัดสินคดียุบพรรค พบว่าตัวอย่างประมาณ 3 ใน 4 หรือร้อยละ 75.5 ระบุว่าการถ่ายทอดสดนี้ช่วยทำให้
ประชาชนเข้าใจการเมืองมากขึ้น โดยมีตัวอย่างร้อยละ 18.6 ที่คิดว่าไม่ได้ช่วยให้เข้าใจมากขึ้น และร้อยละ 5.9 ไม่มีความเห็น
ในประเด็นเรื่องความสงบเรียบร้อย พบว่าตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 84.7 เห็นว่าหลังการตัดสินคดียุบพรรคแล้ว ควรเข้มงวดในการดูแล
ความสงบเรียบร้อยต่อไปอีก โดยเฉลี่ยประมาณ 32 วัน ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 15.3 เห็นว่าไม่ต้องเข้มงวดอีกต่อไป และยังพบว่าตัวอย่างสูง
ถึงร้อยละ 82.1 มั่นใจ/ค่อนข้างมั่นใจต่อมาตรการรักษาความสงบเรียบร้อยในช่วงการตัดสินคดียุบพรรค โดยมีเพียงส่วนน้อย หรือตัวอย่างร้อยละ
17.9 ไม่มั่นใจ/ไม่ค่อยมั่นใจ และหากประเมินความพึงพอใจโดยรวมต่อการดูแลความสงบเรียบร้อยของฝ่ายความมั่นคง และรัฐบาล พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 85.7 พอใจ/ค่อนข้างพอใจ โดยมีเพียงส่วนน้อย หรือตัวอย่างร้อยละ 14.3 ไม่พอใจ/ไม่ค่อยพอใจ
เมื่อสอบถามถึงระยะเวลาที่อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้น พบว่าตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 48.2 อยากให้มีการเลือกตั้งภาย
ใน 3 — 6 เดือน รองลงมา ร้อยละ 35.5 ระบุไม่เกิน 3 เดือน และร้อยละ 16.3 ระบุเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลการสำรวจครั้งนี้ยังสะท้อนถึงความต้องการของประชาชนที่อยากเห็นความรัก และสามัคคีของคนในชาติ จาก
คำถามที่ถามว่า หากคนไทย “ไม่” รู้จักรัก และสามัคคีกัน คุณคิดว่าชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยจะแย่กว่าชาติใดในอาเซียน ซึ่งพบว่าตัวอย่างเกือบครึ่ง
หนึ่ง หรือร้อยละ 45.8 ระบุว่าจะแย่กว่าทุกๆ ชาติ รองลงมา ร้อยละ 30.7 ระบุว่าจะแย่กว่าพม่า และร้อยละ 27.1 ระบุเวียดนาม ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลังคดียุบพรรค
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลังการตัดสินคดียุบพรรค : กรณี
ศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” ในครั้งนี้ ดำเนินโครงการระหว่าง 30-31 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,248 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อย
ละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบ
ถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 57.6 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ42.4 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 13.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 24.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 30.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 19.7 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 24.6 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 7.4 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 40.9 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 7.4 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.1 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 19.6 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 16.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 14.6 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 11.1 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 3.4 อื่นๆ อาทิ เกษตรกร และว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 60.3
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 18.6
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 8.3
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 12.3
5 ไม่ได้ติดตาม 0.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองหลังจากการตัดสินคดียุบพรรค
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองหลังจากการตัดสินคดียุบพรรค ค่าร้อยละ
1 ต่อจากนี้ไป ขอให้ทุกฝ่ายอยู่ในความสงบเรียบร้อย ไม่ก่อความวุ่นวาย 98.0
2 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 97.5
3 ต่อไปนี้พรรคการเมืองต่างๆ ต้องแก้ไขปรับปรุงตัวสร้างความเชื่อถือศรัทธาในกลุ่มประชาชนโดยด่วน 96.5
4 อยากเห็นสังคมไทยสงบสุขโดยเร็ว 94.6
5 ถ้ากลุ่มการเมืองใดก่อความวุ่นวาย จะไม่สนับสนุนกลุ่มการเมืองนั้น 91.7
6 หลังการตัดสินคดียุบพรรคการเมืองจบแล้ว คนไทยทุกคนควรยอมรับคำตัดสินของศาล 91.6
7 เมื่อทราบผลการตัดสินคดียุบพรรคแล้ว จะไปลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 69.2
8 การตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ 68.5
9 หลังการตัดสินคดียุบพรรคการเมืองจบแล้ว เห็นความชัดเจนทางการเมืองมากขึ้น 59.4
10 หลังการตัดสินคดียุบพรรคการเมืองจบแล้ว ทำให้กองทัพมีความชอบธรรมมากขึ้นในการปฏิรูปการปกครอง 58.5
11 วิตกกังวล ว่าสังคมจะวุ่นวายทางการเมือง 57.6
12 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 21.7
13 ขัดแย้งกับเพื่อนในที่ทำงานเรื่องการเมือง 18.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คิดจะต่อต้านคำตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดจะต่อต้าน ด้วยวิธี ไม่ไปเลือกตั้ง / ไม่ลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ / ออกไปประท้วง 8.3
2 ไม่คิดจะต่อต้าน 91.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การคาดการณ์ต่อพฤติกรรมของนักการเมืองไทย ภายหลังการตัดสินคดียุบพรรค
ลำดับที่ การคาดการณ์ต่อพฤติกรรมของนักการเมืองไทย ค่าร้อยละ
1 ประพฤติตัวดีขึ้น 36.3
2 ดีเหมือนเดิม 15.7
3 แย่เหมือนเดิม 18.6
4 ประพฤติตัวแย่ลง 4.4
5 ไม่มีความเห็น 25.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองไทยว่าจะสงบเรียบร้อยขึ้น
หรือจะขัดแย้งวุ่นวายมากขึ้น ภายหลังการตัดสินคดียุบพรรค
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 จะสงบเรียบร้อยขึ้น 48.0
2 จะขัดแย้งวุ่นวายมากขึ้น 28.4
3 ไม่มีความเห็น 23.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดสดคำวินิจฉัยการตัดสินคดียุบพรรค
จะทำให้ประชาชนเข้าใจการเมืองมากขึ้น
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ช่วยให้ประชาชนเข้าใจการเมืองมากขึ้น 75.5
2 ไม่ได้ช่วยให้ประชาชนเข้าใจการเมืองมากขึ้น 18.6
3 ไม่มีความเห็น 5.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการควรเข้มงวดในการดูแลความสงบเรียบร้อยต่อไปอีก
หลังการตัดสินคดียุบพรรคแล้ว
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรเข้มงวดดูแลต่อไปอีก เฉลี่ยประมาณ 32 วัน 84.7
2 ไม่ต้องเข้มงวดอีกต่อไป 15.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจต่อมาตรการรักษาความสงบเรียบร้อยในช่วงการตัดสินคดียุบพรรค
ลำดับที่ ความมั่นใจ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 55.9
2 ค่อนข้างมั่นใจ 26.2
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 14.4
4 ไม่มั่นใจ 3.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพึงพอใจโดยรวมต่อการดูแลความสงบเรียบร้อยของฝ่ายความมั่นคงและรัฐบาล
ลำดับที่ ความพึงพอใจ ค่าร้อยละ
1 พอใจ 58.6
2 ค่อนข้างพอใจ 27.1
3 ไม่ค่อยพอใจ 11.3
4 ไม่พอใจ 3.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระยะเวลาที่อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้น
ลำดับที่ ระยะเวลา ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 3 เดือน 35.5
2 ภายใน 3 — 6 เดือน 48.2
3 เกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป 16.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศในอาเซียนที่จะมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าคนไทย หากคนไทย “ไม่” รู้จักรัก และสามัคคีกัน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศ ค่าร้อยละ
1 ไทยจะแย่กว่าทุกๆ ชาติ 45.8
2 พม่า 30.7
3 เวียดนาม 27.1
4 มาเลเซีย 26.0
5 สิงคโปร์ 24.0
6 ลาว 20.3
7 กัมพูชา 19.3
8 บรูไน 15.6
9 อินโดนีเซีย 13.0
10 ฟิลิปปินส์ 12.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลังการ
ตัดสินคดียุบพรรค : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,248 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 30-31 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจพบว่า ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 60.3 ติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยทุกวัน/เกือบทุกวันต่อ
สัปดาห์ เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองหลังจากการตัดสินคดียุบพรรค พบว่า ตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 98.0 ระบุว่าต่อจากนี้ไป
ขอให้ทุกฝ่ายอยู่ในความสงบเรียบร้อย ไม่ก่อความวุ่นวาย รองลงมาในสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือร้อยละ 97.5 ระบุว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของ
ประเทศ ร้อยละ 96.5 ระบุว่าต่อไปนี้พรรคการเมืองต่างๆ ต้องแก้ไขปรับปรุงตัวสร้างความเชื่อถือศรัทธาในกลุ่มประชาชนโดยด่วน และร้อยละ
94.6 ระบุว่าอยากเห็นสังคมไทยสงบสุขโดยเร็ว ตามลำดับ
กรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยตัดสินยุบพรรคไทยรักไทยนั้น พบว่า ตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 91.7 ไม่คิดจะต่อต้านคำตัดสิน โดยมี
เพียงตัวอย่างร้อยละ 8.3 ที่คิดจะต่อต้าน ด้วยวิธี ไม่ไปเลือกตั้ง / ไม่ลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ / ออกไปประท้วง เป็นต้น สำหรับการคาด
การณ์ต่อพฤติกรรมของนักการเมืองไทย ภายหลังการตัดสินคดียุบพรรค พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 36.3 คิดว่านักการเมืองไทยจะประพฤติตัวดีขึ้น ในขณะ
ที่ร้อยละ 18.6 คิดว่าแย่เหมือนเดิม ร้อยละ 15.7 คิดว่าดีเหมือนเดิม และร้อยละ 4.4 คิดว่าจะประพฤติตัวแย่ลง ตามลำดับ โดยมีตัวอย่างอีกร้อย
ละ 25.0 ที่ไม่มีความเห็น
ผลการสำรวจยังพบว่า ตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 48.0 คิดว่าภายหลังการตัดสินคดียุบพรรค สถานการณ์การเมืองไทย
จะสงบเรียบร้อยขึ้น แต่ตัวอย่างอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 28.4 คิดว่าจะขัดแย้งวุ่นวายมากขึ้น และร้อยละ 23.6 ไม่มีความเห็น เมื่อ
พิจารณาการถ่ายทอดสดคำวินิจฉัยการตัดสินคดียุบพรรค พบว่าตัวอย่างประมาณ 3 ใน 4 หรือร้อยละ 75.5 ระบุว่าการถ่ายทอดสดนี้ช่วยทำให้
ประชาชนเข้าใจการเมืองมากขึ้น โดยมีตัวอย่างร้อยละ 18.6 ที่คิดว่าไม่ได้ช่วยให้เข้าใจมากขึ้น และร้อยละ 5.9 ไม่มีความเห็น
ในประเด็นเรื่องความสงบเรียบร้อย พบว่าตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 84.7 เห็นว่าหลังการตัดสินคดียุบพรรคแล้ว ควรเข้มงวดในการดูแล
ความสงบเรียบร้อยต่อไปอีก โดยเฉลี่ยประมาณ 32 วัน ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 15.3 เห็นว่าไม่ต้องเข้มงวดอีกต่อไป และยังพบว่าตัวอย่างสูง
ถึงร้อยละ 82.1 มั่นใจ/ค่อนข้างมั่นใจต่อมาตรการรักษาความสงบเรียบร้อยในช่วงการตัดสินคดียุบพรรค โดยมีเพียงส่วนน้อย หรือตัวอย่างร้อยละ
17.9 ไม่มั่นใจ/ไม่ค่อยมั่นใจ และหากประเมินความพึงพอใจโดยรวมต่อการดูแลความสงบเรียบร้อยของฝ่ายความมั่นคง และรัฐบาล พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 85.7 พอใจ/ค่อนข้างพอใจ โดยมีเพียงส่วนน้อย หรือตัวอย่างร้อยละ 14.3 ไม่พอใจ/ไม่ค่อยพอใจ
เมื่อสอบถามถึงระยะเวลาที่อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้น พบว่าตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 48.2 อยากให้มีการเลือกตั้งภาย
ใน 3 — 6 เดือน รองลงมา ร้อยละ 35.5 ระบุไม่เกิน 3 เดือน และร้อยละ 16.3 ระบุเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลการสำรวจครั้งนี้ยังสะท้อนถึงความต้องการของประชาชนที่อยากเห็นความรัก และสามัคคีของคนในชาติ จาก
คำถามที่ถามว่า หากคนไทย “ไม่” รู้จักรัก และสามัคคีกัน คุณคิดว่าชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยจะแย่กว่าชาติใดในอาเซียน ซึ่งพบว่าตัวอย่างเกือบครึ่ง
หนึ่ง หรือร้อยละ 45.8 ระบุว่าจะแย่กว่าทุกๆ ชาติ รองลงมา ร้อยละ 30.7 ระบุว่าจะแย่กว่าพม่า และร้อยละ 27.1 ระบุเวียดนาม ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลังคดียุบพรรค
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลังการตัดสินคดียุบพรรค : กรณี
ศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” ในครั้งนี้ ดำเนินโครงการระหว่าง 30-31 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,248 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อย
ละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบ
ถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 57.6 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ42.4 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 13.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 24.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 30.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 19.7 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 24.6 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 7.4 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 40.9 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 7.4 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.1 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 19.6 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 16.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 14.6 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 11.1 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 3.4 อื่นๆ อาทิ เกษตรกร และว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 60.3
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 18.6
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 8.3
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 12.3
5 ไม่ได้ติดตาม 0.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองหลังจากการตัดสินคดียุบพรรค
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองหลังจากการตัดสินคดียุบพรรค ค่าร้อยละ
1 ต่อจากนี้ไป ขอให้ทุกฝ่ายอยู่ในความสงบเรียบร้อย ไม่ก่อความวุ่นวาย 98.0
2 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 97.5
3 ต่อไปนี้พรรคการเมืองต่างๆ ต้องแก้ไขปรับปรุงตัวสร้างความเชื่อถือศรัทธาในกลุ่มประชาชนโดยด่วน 96.5
4 อยากเห็นสังคมไทยสงบสุขโดยเร็ว 94.6
5 ถ้ากลุ่มการเมืองใดก่อความวุ่นวาย จะไม่สนับสนุนกลุ่มการเมืองนั้น 91.7
6 หลังการตัดสินคดียุบพรรคการเมืองจบแล้ว คนไทยทุกคนควรยอมรับคำตัดสินของศาล 91.6
7 เมื่อทราบผลการตัดสินคดียุบพรรคแล้ว จะไปลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 69.2
8 การตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ 68.5
9 หลังการตัดสินคดียุบพรรคการเมืองจบแล้ว เห็นความชัดเจนทางการเมืองมากขึ้น 59.4
10 หลังการตัดสินคดียุบพรรคการเมืองจบแล้ว ทำให้กองทัพมีความชอบธรรมมากขึ้นในการปฏิรูปการปกครอง 58.5
11 วิตกกังวล ว่าสังคมจะวุ่นวายทางการเมือง 57.6
12 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 21.7
13 ขัดแย้งกับเพื่อนในที่ทำงานเรื่องการเมือง 18.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คิดจะต่อต้านคำตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดจะต่อต้าน ด้วยวิธี ไม่ไปเลือกตั้ง / ไม่ลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ / ออกไปประท้วง 8.3
2 ไม่คิดจะต่อต้าน 91.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การคาดการณ์ต่อพฤติกรรมของนักการเมืองไทย ภายหลังการตัดสินคดียุบพรรค
ลำดับที่ การคาดการณ์ต่อพฤติกรรมของนักการเมืองไทย ค่าร้อยละ
1 ประพฤติตัวดีขึ้น 36.3
2 ดีเหมือนเดิม 15.7
3 แย่เหมือนเดิม 18.6
4 ประพฤติตัวแย่ลง 4.4
5 ไม่มีความเห็น 25.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองไทยว่าจะสงบเรียบร้อยขึ้น
หรือจะขัดแย้งวุ่นวายมากขึ้น ภายหลังการตัดสินคดียุบพรรค
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 จะสงบเรียบร้อยขึ้น 48.0
2 จะขัดแย้งวุ่นวายมากขึ้น 28.4
3 ไม่มีความเห็น 23.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดสดคำวินิจฉัยการตัดสินคดียุบพรรค
จะทำให้ประชาชนเข้าใจการเมืองมากขึ้น
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ช่วยให้ประชาชนเข้าใจการเมืองมากขึ้น 75.5
2 ไม่ได้ช่วยให้ประชาชนเข้าใจการเมืองมากขึ้น 18.6
3 ไม่มีความเห็น 5.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการควรเข้มงวดในการดูแลความสงบเรียบร้อยต่อไปอีก
หลังการตัดสินคดียุบพรรคแล้ว
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรเข้มงวดดูแลต่อไปอีก เฉลี่ยประมาณ 32 วัน 84.7
2 ไม่ต้องเข้มงวดอีกต่อไป 15.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจต่อมาตรการรักษาความสงบเรียบร้อยในช่วงการตัดสินคดียุบพรรค
ลำดับที่ ความมั่นใจ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 55.9
2 ค่อนข้างมั่นใจ 26.2
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 14.4
4 ไม่มั่นใจ 3.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพึงพอใจโดยรวมต่อการดูแลความสงบเรียบร้อยของฝ่ายความมั่นคงและรัฐบาล
ลำดับที่ ความพึงพอใจ ค่าร้อยละ
1 พอใจ 58.6
2 ค่อนข้างพอใจ 27.1
3 ไม่ค่อยพอใจ 11.3
4 ไม่พอใจ 3.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระยะเวลาที่อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้น
ลำดับที่ ระยะเวลา ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 3 เดือน 35.5
2 ภายใน 3 — 6 เดือน 48.2
3 เกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป 16.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศในอาเซียนที่จะมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าคนไทย หากคนไทย “ไม่” รู้จักรัก และสามัคคีกัน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศ ค่าร้อยละ
1 ไทยจะแย่กว่าทุกๆ ชาติ 45.8
2 พม่า 30.7
3 เวียดนาม 27.1
4 มาเลเซีย 26.0
5 สิงคโปร์ 24.0
6 ลาว 20.3
7 กัมพูชา 19.3
8 บรูไน 15.6
9 อินโดนีเซีย 13.0
10 ฟิลิปปินส์ 12.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50
--เอแบคโพลล์--
-พห-