ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อสถานการณ์
การเมืองขณะนี้ : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,226 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 22 — 24 มีนาคม พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา โดยในกลุ่มนี้ประมาณครึ่งหรือ
ร้อยละ 50.6 ได้ติดตามเป็นประจำทุกวันหรือเกือบทุกวัน
ดร.นพดล กล่าวว่า ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามจุดยืนหรือฐานความคิดทางการเมืองของประชาชนและเปรียบเทียบกับผลสำรวจก่อนหน้า
นี้ในช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบว่า เวลาผ่านไปเพียงไม่ถึงเดือน พบฐานสาธารณชนที่สนับสนุนรัฐบาลลดลงกว่าครึ่งจากร้อยละ 31.3 เหลือร้อย
ละ 12.5 ในทาง “สถิติการเมือง” ถือว่าอยู่ในขอบเขตวิกฤตต่อการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ไม่สนับสนุนรัฐบาลไม่ได้
เพิ่มขึ้นมากนักคือจากร้อยละ 4.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.4 ในขณะที่ประชาชนที่เป็นฝ่ายอิสระ/ พลังเงียบ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 64.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 82.1
โดยภาพรวมถือว่า รัฐบาลยังพอมีเวลาและโอกาสในการฟื้นความเชื่อมั่นและฐานสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลให้สำเร็จได้ เพราะ
ลักษณะของผู้เป็นพลังเงียบมักจะสนับสนุนอะไรก็ตามที่เป็นสิ่งที่ดีเป็นกลุ่มคนที่มีเหตุผลไม่ค่อยมีอคติมุ่งแต่โค่นล้มเพียงอย่างเดียว รัฐบาลจึงต้องเร่งทำงาน
ให้รวดเร็วฉับไวมากขึ้น
ผลสำรวจยังพบอีกว่า ประชาชนที่เป็นฝ่ายอิสระหรือพลังเงียบ เป็นกลุ่มคนที่มีความขัดแย้งและเครียดต่อเรื่องการเมือง “น้อยที่สุด” เมื่อ
เปรียบเทียบกับคนที่มีฐานความคิดเป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มคนที่ต่อต้านรัฐบาล โดยพบว่า กลุ่มคนที่เป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลร้อยละ 23.2 กลุ่มคนที่
ต่อต้านรัฐบาลร้อยละ 25.6 และกลุ่มคนที่เป็นพลังเงียบร้อยละ 14.0 มีความขัดแย้งกับเพื่อนในที่ทำงานเรื่องการเมือง ในขณะที่ คนที่เป็นฝ่ายสนับสนุน
รัฐบาลร้อยละ 44.0 กลุ่มคนที่ต่อต้านรัฐบาลร้อยละ 58.1 และกลุ่มคนที่เป็นพลังเงียบร้อยละ 38.5 มีความเครียดต่อเรื่องการเมือง อย่างไรก็ตาม
กลุ่มคนทั้งสามกลุ่มเกือบร้อยละร้อย คือ ร้อยละ 99.0 ของคนที่สนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 97.7 ของคนที่ต่อต้านรัฐบาล และร้อยละ 97.9 ของคนที่เป็น
พลังเงียบเป็นกลุ่มคนที่ต้องการและอยากเห็นสังคมไทยสงบสุขโดยเร็ว
สำหรับความคิดเห็นต่อการที่มีกลุ่มต่างๆ ออกมาชุมนุมต่อต้าน คมช. และรัฐบาล ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 43.5 ไม่เห็นด้วย เพราะ
อยากเห็นความสงบสุข ไม่วุ่นวาย / บ้านเมืองดีอยู่แล้ว / รัฐบาลแค่รักษาการณ์ชั่วคราว / ให้โอกาสคมช. และรัฐบาลทำงานก่อน / เป็นกลุ่มอำนาจ
เก่าหวังผลทางการเมือง เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 22.4 เห็นด้วย เพราะอยากให้มีการเลือกตั้ง / อยากให้บ้านเมืองดีขึ้น / ไม่พอใจการบริหารงาน
ของรัฐบาล / รัฐบาลทำงานช้า / ไม่ชอบเผด็จการ เป็นต้น และร้อยละ 34.1 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันน่าจะพิจารณาและเร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยด่วน เพราะผลสำรวจพบว่า มี
จำนวนประชาชนแบบเบาบางที่เห็นว่ารัฐบาลมีความฉับไวในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และส่วนใหญ่รับรู้ว่าปัญหาที่รัฐบาลได้แก้ไขเป็น
ปัญหาเฉพาะพื้นที่ ส่งผลให้การสนับสนุนจากภาคประชาชนต่อรัฐบาลเกิดขึ้นเป็นจุดๆ เท่านั้น รัฐบาลจึงไม่ได้รับการสนับสนุนของสาธารณชนที่มากพอ
เพราะผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 24.8 ที่เริ่มเห็นรัฐบาลมีความฉับไวในการแก้ปัญหาภัยธรรมชาติ ร้อยละ 23.9 เริ่มเห็นความฉับไวของรัฐบาลในการ
แก้ปัญหาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน ร้อยละ 18.9 เริ่มเห็นการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 14.8 เท่านั้นที่เริ่มเห็น
รัฐบาลมีความฉับไวแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 7.9 เริ่มเห็นรัฐบาลแก้ปัญหาการตรวจสอบทุจริต เพียงร้อยละ 7.2 ที่เริ่มเห็นรัฐบาลช่วยคนยากจน
คนที่เดือดร้อนและด้อยโอกาส และที่น่าเป็นห่วงสำหรับรัฐบาลที่อาจถูกมองว่าเป็นรัฐบาลสัญลักษณ์เชิงคุณธรรมและจริยธรรม แต่พบว่ามีเพียงร้อยละ
5.0 เท่านั้นที่เริ่มเห็นความฉับไวของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเชิงคุณธรรมและจริยธรรมของสังคมไทย
อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.4 ไม่เคยเข้าร่วมชุมนุมต่อต้าน คมช. และรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 3.6 ระบุเคย
สำหรับเหตุผลที่คิดว่าทำให้คนไปชุมนุมต่อต้านรัฐบาลและ คมช. ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 29.9 ระบุเป็นเพราะไม่ชอบรัฐบาลและ คมช. ไม่พอใจการ
บริหารงานของรัฐบาลและคมช. / เดือดร้อนจากการบริหารงานโดยรัฐบาลและคมช. / เบื่อหน่ายรัฐบาลและคมช. / ไม่ไว้วางใจรัฐบาลและคมช.
ร้อยละ 22.3 ระบุ ขัดแย้งทางการเมืองและหวังผลทางการเมือง ร้อยละ 22.3 ระบุถูกจ้างหรือถูกเกณฑ์มา ร้อยละ 14.8 ระบุ ปรารถนาดีต่อ
สังคม ร้อยละ 12.0 ระบุมีอุดมการณ์ประชาธิปไตย ร้อยละ 8.7 ระบุเป็นกลุ่มอำนาจเก่า และร้อยละ 6.1 ระบุถูกคนรู้จักชักชวนมา เป็นต้น
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.2 คิดว่าคนส่วนใหญ่ที่ไปชุมนุมต่อต้านรัฐบาลและ คมช.นั้นมีผล
ประโยชน์แอบแฝงมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 29.8 คิดว่ามีอุดมการณ์ประชาธิปไตยมากกว่า ซึ่งเมื่อจำแนกออกตามความเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
พบว่า แม้แต่ประชาชนที่ระบุเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยเกือบครึ่งหรือร้อยละ 47.1 ร้อยละ 66.7 ของประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคอื่นๆ และร้อยละ
71.0 ของประชาชนที่ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด ก็คิดว่าการที่ไปชุมนุมต่อต้าน คมช. และรัฐบาลนั้น เป็นเรื่องผลประโยชน์แอบแฝงมากกว่าการมี
อุดมการณ์ประชาธิปไตย
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนร้อยละ 43.0 คิดว่าเป็นไปได้ที่จะมีพรรคการเมืองให้การสนับสนุนการชุมนุมต่อต้าน คมช. และรัฐบาล ในขณะ
ร้อยละ 17.9 คิดว่าเป็นไปไม่ได้ และร้อยละ 39.1 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 41.4 คิดว่า คมช. ไม่ควรจะส่ง
คนเข้ามาสืบทอดอำนาจเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี เพราะนายกรัฐมนตรีควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชน / ทหารไม่ควรยุ่งการเมือง / ไม่
เป็นประชาธิปไตย เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 11.8 คิดว่าควร เพราะจะได้กั้นกลุ่มอำนาจเก่าไม่ให้กลับมาได้อีก และที่เหลือเกือบครึ่งหรือร้อยละ
46.8 ยังไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า โดยสรุปภาพรวมสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ประชาชนส่วนใหญ่มีทางออกของตนเองคือการผันตัวเองไปอยู่ฝ่ายอิสระ
หรือพลังเงียบที่จะตัดสินใจสนับสนุนรัฐบาลหรือไม่สนับสนุนรัฐบาลและคมช. เป็นเรื่องๆ ไป เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งและความเครียดต่อเรื่องการ
เมือง แต่ต้องการให้สังคมไทยเกิดความสงบสุขโดยเร็ว ดังนั้น รัฐบาลและ คมช. ต้องตกผลึกเป็นเนื้อเดียวกันให้ได้ก่อนและใส่เกียร์เดินหน้าแก้ปัญหา
ความเดือดร้อนของประชาชนด้วยความรวดเร็วฉับไว เพื่อรักษาฐานสนับสนุนของมวลชนที่ยังคงนิยมชอบรัฐบาลไว้ให้มั่นและขยายฐานการสนับสนุนไปยัง
กลุ่มพลังเงียบที่ขณะนี้เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ให้มาช่วยกันขับเคลื่อนนโยบายที่ดีของรัฐบาลให้สำเร็จลุล่วงไป เพราะสิ่งที่น่าเป็นห่วงไม่ใช่ความเสื่อมของ
สาธารณชนต่อความนิยมศรัทธาในตัวบุคคล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน แต่ความน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งต่อสังคมไทยถ้าคนไทย
ส่วนใหญ่จะคิดว่า ความดีและคุณธรรมเป็นสิ่งที่กินไม่ได้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชนในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมต่อต้าน คมช.และรัฐบาล
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “อารมณ์ความรู้สึก
ของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 22 — 24 มีนาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,226 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 44.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 70.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 25.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.6 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.3 เป็นนักศึกษา
ร้อยละ 10.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 9.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 2.9 ไม่ระบุ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองใน 1 สัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองใน 1 สัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 50.6
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 19.0
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 13.9
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 12.3
5 ไม่ได้ติดตามเลย 4.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จุดยืน (ฐานความคิด) ทางการเมืองของประชาชน
ลำดับที่ จุดยืน (ฐานความคิด) ทางการเมืองของประชาชน 3 — 4 มีนาคม 23-24 มีนาคม
1 ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล 31.3 12.5
2 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 4.2 5.4
3 เป็นฝ่ายอิสระ/ พลังเงียบ 64.5 82.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน สนุบสนุนรัฐบาล ไม่สนันสนุนรัฐบาล พลังเงียบ
1 อยากเห็นสังคมไทยสงบสุข 99.0 97.7 97.9
2 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตประจำวันของคุณ 74.0 76.7 65.5
3 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 73.7 79.1 69.5
4 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 59.6 69.0 77.9
5 เครียดต่อเรื่องการเมือง 44.0 58.1 38.5
6 ขัดแย้งกับเพื่อนในที่ทำงานเรื่องการเมือง 23.2 25.6 14.0
7 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 17.0 18.6 10.1
8 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 17.0 20.9 12.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการที่มีกลุ่มต่างๆ ออกมาชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการที่มีกลุ่มต่างๆออกมาชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะอยากให้มีการเลือกตั้ง / อยากให้บ้านเมืองดีขึ้น /
ไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาล / รัฐบาลทำงานช้า / ไม่ชอบเผด็จการ เป็นต้น 22.4
2 ไม่เห็นด้วย เพราะอยากเห็นความสงบสุข ไม่วุ่นวาย / บ้านเมืองดีอยู่แล้ว /
รัฐบาลแค่รักษาการณ์ชั่วคราว / ให้โอกาสคมช. และรัฐบาลทำงานก่อน /
เป็นกลุ่มอำนาจเก่าหวังผลทางการเมือง เป็นต้น 43.5
3 ไม่มีความเห็น 34.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดง 15 อันดับแรกค่าร้อยละที่ประชาชนเริ่มเห็นว่ารัฐบาลดำเนินการแก้ไขอย่างรวดเร็วฉับไว (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่เริ่มเห็นว่ารัฐบาลดำเนินการแก้ไขอย่างรวดเร็วฉับไว ค่าร้อยละ
1 ภัยธรรมชาติ 24.8
2 เศรษฐกิจ / ความเป็นอยู่ของประชาชน 23.9
3 ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 18.9
4 ยาเสพติด 14.8
5 การตรวจสอบทุจริต 7.9
6 ช่วยคนยากจน / คนที่เดือดร้อน / ด้อยโอกาส 7.2
7 คุณธรรม จริยธรรม 5.0
8 ปัญหาการเมือง 3.5
9 การศึกษา 3.5
10 ความสงบของบ้านเมือง 1.9
11 มลภาวะเป็นพิษ 1.9
12 ภัยผู้หญิง 1.6
13 กรณี ITV 1.6
14 ระบบงานตำรวจ 1.3
15 การก่อการร้าย / การวางระเบิดในกรุงเทพฯ 0.6
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล
ลำดับที่ การเคยเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 เคย 3.6
2 ไม่เคย 96.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อเหตุผลที่ทำให้คนไปชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุผลที่ทำให้คนไปชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ไม่ชอบรัฐบาลและคมช. / ไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาลและคมช. /
เดือดร้อนจากการบริหารงานโดยรัฐบาลและคมช. / เบื่อหน่ายรัฐบาลและคมช. /
ไม่ไว้วางใจรัฐบาลและคมช. 29.9
2 ขัดแย้งทางการเมือง / หวังผลทางการเมือง 22.3
3 ถูกจ้างมา / ถูกเกณฑ์มา 22.3
4 ปรารถนาดีต่อสังคม 14.8
5 มีอุดมการณ์ประชาธิปไตย / มีแนวคิด ความเชื่อที่แตกต่างจากรัฐบาล 12.0
6 เป็นกลุ่มอำนาจเก่า 8.7
7 คนรู้จักชักชวนมา 6.1
8 อาจมีผลประโยชน์อื่นแอบแฝง 4.9
9 ต้องการสร้างความขัดแย้ง / ลดทอนความเชื่อถือต่อรัฐบาล / สร้างสถานการณ์ 3.6
10 ว่างงาน ไม่มีอะไรจะทำ 2.8
11 มาหาข้อมูล / มารับฟังข่าวสาร 1.3
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเปรียบเทียบระหว่างการมีอุดมการณ์ประชาธิปไตยกับ
การมีผลประโยชน์แอบแฝงของคนส่วนใหญ่ที่ไปชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล
ลำดับที่ เปรียบเทียบระหว่างการมีอุดมการณ์ประชาธิปไตยกับการมีผลประโยชน์แอบแฝง ค่าร้อยละ
1 มีอุดมการณ์ประชาธิปไตยมากกว่า 29.8
2 มีผลประโยชน์แอบแฝงมากกว่า 70.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุความคิดเห็นเปรียบเทียบระหว่างการมีอุดมการณ์ประชาธิปไตยกับ
การมีผลประโยชน์แอบแฝงของคนส่วนใหญ่ที่ไปชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล (เปรียบเทียบตามการเป็นสมาชิก
พรรคการเมือง)
ลำดับที่ เปรียบเทียบระหว่างการมีอุดมการณ์ประชาธิปไตยกับการมีผลประโยชน์แอบแฝง เป็นสมาชิก เป็นสมาชิก ไม่เป็นสมาชิก
พรรคไทยรักไทย พรรคอื่นๆ พรรคการเมืองใด
1 มีอุดมการณ์ประชาธิปไตยมากกว่า 52.9 33.3 29.0
2 มีผลประโยชน์แอบแฝงมากกว่า 47.1 66.7 71.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ที่จะมีพรรคการเมืองให้การสนับสนุน
การชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล
ลำดับที่ ความเป็นไปได้ที่จะมีพรรคการเมืองให้การสนับสนุนการชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นไปได้ 43.0
2 คิดว่าเป็นไปไม่ได้ 17.9
3 ไม่มีความเห็น 39.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุว่าคมช. ควรจะส่งคนเข้ามาสืบทอดอำนาจเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี
ลำดับที่ คมช. ควรจะส่งคนเข้ามาสืบทอดอำนาจเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ควร เพราะ..... จะได้กั้นอำนาจเก่าไม่ให้กลับมามีอำนาจ 11.8
2 ไม่ควร เพราะ..... นายกรัฐมนตรีควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชน /
ทหารไม่ควรยุ่งการเมือง / ไม่เป็นประชาธิปไตย เป็นต้น 41.4
3 ไม่มีความเห็น 46.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1550
www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อสถานการณ์
การเมืองขณะนี้ : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,226 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 22 — 24 มีนาคม พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา โดยในกลุ่มนี้ประมาณครึ่งหรือ
ร้อยละ 50.6 ได้ติดตามเป็นประจำทุกวันหรือเกือบทุกวัน
ดร.นพดล กล่าวว่า ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามจุดยืนหรือฐานความคิดทางการเมืองของประชาชนและเปรียบเทียบกับผลสำรวจก่อนหน้า
นี้ในช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบว่า เวลาผ่านไปเพียงไม่ถึงเดือน พบฐานสาธารณชนที่สนับสนุนรัฐบาลลดลงกว่าครึ่งจากร้อยละ 31.3 เหลือร้อย
ละ 12.5 ในทาง “สถิติการเมือง” ถือว่าอยู่ในขอบเขตวิกฤตต่อการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ไม่สนับสนุนรัฐบาลไม่ได้
เพิ่มขึ้นมากนักคือจากร้อยละ 4.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.4 ในขณะที่ประชาชนที่เป็นฝ่ายอิสระ/ พลังเงียบ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 64.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 82.1
โดยภาพรวมถือว่า รัฐบาลยังพอมีเวลาและโอกาสในการฟื้นความเชื่อมั่นและฐานสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลให้สำเร็จได้ เพราะ
ลักษณะของผู้เป็นพลังเงียบมักจะสนับสนุนอะไรก็ตามที่เป็นสิ่งที่ดีเป็นกลุ่มคนที่มีเหตุผลไม่ค่อยมีอคติมุ่งแต่โค่นล้มเพียงอย่างเดียว รัฐบาลจึงต้องเร่งทำงาน
ให้รวดเร็วฉับไวมากขึ้น
ผลสำรวจยังพบอีกว่า ประชาชนที่เป็นฝ่ายอิสระหรือพลังเงียบ เป็นกลุ่มคนที่มีความขัดแย้งและเครียดต่อเรื่องการเมือง “น้อยที่สุด” เมื่อ
เปรียบเทียบกับคนที่มีฐานความคิดเป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มคนที่ต่อต้านรัฐบาล โดยพบว่า กลุ่มคนที่เป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลร้อยละ 23.2 กลุ่มคนที่
ต่อต้านรัฐบาลร้อยละ 25.6 และกลุ่มคนที่เป็นพลังเงียบร้อยละ 14.0 มีความขัดแย้งกับเพื่อนในที่ทำงานเรื่องการเมือง ในขณะที่ คนที่เป็นฝ่ายสนับสนุน
รัฐบาลร้อยละ 44.0 กลุ่มคนที่ต่อต้านรัฐบาลร้อยละ 58.1 และกลุ่มคนที่เป็นพลังเงียบร้อยละ 38.5 มีความเครียดต่อเรื่องการเมือง อย่างไรก็ตาม
กลุ่มคนทั้งสามกลุ่มเกือบร้อยละร้อย คือ ร้อยละ 99.0 ของคนที่สนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 97.7 ของคนที่ต่อต้านรัฐบาล และร้อยละ 97.9 ของคนที่เป็น
พลังเงียบเป็นกลุ่มคนที่ต้องการและอยากเห็นสังคมไทยสงบสุขโดยเร็ว
สำหรับความคิดเห็นต่อการที่มีกลุ่มต่างๆ ออกมาชุมนุมต่อต้าน คมช. และรัฐบาล ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 43.5 ไม่เห็นด้วย เพราะ
อยากเห็นความสงบสุข ไม่วุ่นวาย / บ้านเมืองดีอยู่แล้ว / รัฐบาลแค่รักษาการณ์ชั่วคราว / ให้โอกาสคมช. และรัฐบาลทำงานก่อน / เป็นกลุ่มอำนาจ
เก่าหวังผลทางการเมือง เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 22.4 เห็นด้วย เพราะอยากให้มีการเลือกตั้ง / อยากให้บ้านเมืองดีขึ้น / ไม่พอใจการบริหารงาน
ของรัฐบาล / รัฐบาลทำงานช้า / ไม่ชอบเผด็จการ เป็นต้น และร้อยละ 34.1 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันน่าจะพิจารณาและเร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยด่วน เพราะผลสำรวจพบว่า มี
จำนวนประชาชนแบบเบาบางที่เห็นว่ารัฐบาลมีความฉับไวในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และส่วนใหญ่รับรู้ว่าปัญหาที่รัฐบาลได้แก้ไขเป็น
ปัญหาเฉพาะพื้นที่ ส่งผลให้การสนับสนุนจากภาคประชาชนต่อรัฐบาลเกิดขึ้นเป็นจุดๆ เท่านั้น รัฐบาลจึงไม่ได้รับการสนับสนุนของสาธารณชนที่มากพอ
เพราะผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 24.8 ที่เริ่มเห็นรัฐบาลมีความฉับไวในการแก้ปัญหาภัยธรรมชาติ ร้อยละ 23.9 เริ่มเห็นความฉับไวของรัฐบาลในการ
แก้ปัญหาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน ร้อยละ 18.9 เริ่มเห็นการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 14.8 เท่านั้นที่เริ่มเห็น
รัฐบาลมีความฉับไวแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 7.9 เริ่มเห็นรัฐบาลแก้ปัญหาการตรวจสอบทุจริต เพียงร้อยละ 7.2 ที่เริ่มเห็นรัฐบาลช่วยคนยากจน
คนที่เดือดร้อนและด้อยโอกาส และที่น่าเป็นห่วงสำหรับรัฐบาลที่อาจถูกมองว่าเป็นรัฐบาลสัญลักษณ์เชิงคุณธรรมและจริยธรรม แต่พบว่ามีเพียงร้อยละ
5.0 เท่านั้นที่เริ่มเห็นความฉับไวของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเชิงคุณธรรมและจริยธรรมของสังคมไทย
อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.4 ไม่เคยเข้าร่วมชุมนุมต่อต้าน คมช. และรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 3.6 ระบุเคย
สำหรับเหตุผลที่คิดว่าทำให้คนไปชุมนุมต่อต้านรัฐบาลและ คมช. ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 29.9 ระบุเป็นเพราะไม่ชอบรัฐบาลและ คมช. ไม่พอใจการ
บริหารงานของรัฐบาลและคมช. / เดือดร้อนจากการบริหารงานโดยรัฐบาลและคมช. / เบื่อหน่ายรัฐบาลและคมช. / ไม่ไว้วางใจรัฐบาลและคมช.
ร้อยละ 22.3 ระบุ ขัดแย้งทางการเมืองและหวังผลทางการเมือง ร้อยละ 22.3 ระบุถูกจ้างหรือถูกเกณฑ์มา ร้อยละ 14.8 ระบุ ปรารถนาดีต่อ
สังคม ร้อยละ 12.0 ระบุมีอุดมการณ์ประชาธิปไตย ร้อยละ 8.7 ระบุเป็นกลุ่มอำนาจเก่า และร้อยละ 6.1 ระบุถูกคนรู้จักชักชวนมา เป็นต้น
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.2 คิดว่าคนส่วนใหญ่ที่ไปชุมนุมต่อต้านรัฐบาลและ คมช.นั้นมีผล
ประโยชน์แอบแฝงมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 29.8 คิดว่ามีอุดมการณ์ประชาธิปไตยมากกว่า ซึ่งเมื่อจำแนกออกตามความเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
พบว่า แม้แต่ประชาชนที่ระบุเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยเกือบครึ่งหรือร้อยละ 47.1 ร้อยละ 66.7 ของประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคอื่นๆ และร้อยละ
71.0 ของประชาชนที่ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด ก็คิดว่าการที่ไปชุมนุมต่อต้าน คมช. และรัฐบาลนั้น เป็นเรื่องผลประโยชน์แอบแฝงมากกว่าการมี
อุดมการณ์ประชาธิปไตย
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนร้อยละ 43.0 คิดว่าเป็นไปได้ที่จะมีพรรคการเมืองให้การสนับสนุนการชุมนุมต่อต้าน คมช. และรัฐบาล ในขณะ
ร้อยละ 17.9 คิดว่าเป็นไปไม่ได้ และร้อยละ 39.1 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 41.4 คิดว่า คมช. ไม่ควรจะส่ง
คนเข้ามาสืบทอดอำนาจเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี เพราะนายกรัฐมนตรีควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชน / ทหารไม่ควรยุ่งการเมือง / ไม่
เป็นประชาธิปไตย เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 11.8 คิดว่าควร เพราะจะได้กั้นกลุ่มอำนาจเก่าไม่ให้กลับมาได้อีก และที่เหลือเกือบครึ่งหรือร้อยละ
46.8 ยังไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า โดยสรุปภาพรวมสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ประชาชนส่วนใหญ่มีทางออกของตนเองคือการผันตัวเองไปอยู่ฝ่ายอิสระ
หรือพลังเงียบที่จะตัดสินใจสนับสนุนรัฐบาลหรือไม่สนับสนุนรัฐบาลและคมช. เป็นเรื่องๆ ไป เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งและความเครียดต่อเรื่องการ
เมือง แต่ต้องการให้สังคมไทยเกิดความสงบสุขโดยเร็ว ดังนั้น รัฐบาลและ คมช. ต้องตกผลึกเป็นเนื้อเดียวกันให้ได้ก่อนและใส่เกียร์เดินหน้าแก้ปัญหา
ความเดือดร้อนของประชาชนด้วยความรวดเร็วฉับไว เพื่อรักษาฐานสนับสนุนของมวลชนที่ยังคงนิยมชอบรัฐบาลไว้ให้มั่นและขยายฐานการสนับสนุนไปยัง
กลุ่มพลังเงียบที่ขณะนี้เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ให้มาช่วยกันขับเคลื่อนนโยบายที่ดีของรัฐบาลให้สำเร็จลุล่วงไป เพราะสิ่งที่น่าเป็นห่วงไม่ใช่ความเสื่อมของ
สาธารณชนต่อความนิยมศรัทธาในตัวบุคคล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน แต่ความน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งต่อสังคมไทยถ้าคนไทย
ส่วนใหญ่จะคิดว่า ความดีและคุณธรรมเป็นสิ่งที่กินไม่ได้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชนในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมต่อต้าน คมช.และรัฐบาล
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “อารมณ์ความรู้สึก
ของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 22 — 24 มีนาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,226 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 44.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 70.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 25.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.6 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.3 เป็นนักศึกษา
ร้อยละ 10.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 9.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 2.9 ไม่ระบุ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองใน 1 สัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองใน 1 สัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 50.6
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 19.0
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 13.9
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 12.3
5 ไม่ได้ติดตามเลย 4.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จุดยืน (ฐานความคิด) ทางการเมืองของประชาชน
ลำดับที่ จุดยืน (ฐานความคิด) ทางการเมืองของประชาชน 3 — 4 มีนาคม 23-24 มีนาคม
1 ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล 31.3 12.5
2 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 4.2 5.4
3 เป็นฝ่ายอิสระ/ พลังเงียบ 64.5 82.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน สนุบสนุนรัฐบาล ไม่สนันสนุนรัฐบาล พลังเงียบ
1 อยากเห็นสังคมไทยสงบสุข 99.0 97.7 97.9
2 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตประจำวันของคุณ 74.0 76.7 65.5
3 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 73.7 79.1 69.5
4 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 59.6 69.0 77.9
5 เครียดต่อเรื่องการเมือง 44.0 58.1 38.5
6 ขัดแย้งกับเพื่อนในที่ทำงานเรื่องการเมือง 23.2 25.6 14.0
7 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 17.0 18.6 10.1
8 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 17.0 20.9 12.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการที่มีกลุ่มต่างๆ ออกมาชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการที่มีกลุ่มต่างๆออกมาชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะอยากให้มีการเลือกตั้ง / อยากให้บ้านเมืองดีขึ้น /
ไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาล / รัฐบาลทำงานช้า / ไม่ชอบเผด็จการ เป็นต้น 22.4
2 ไม่เห็นด้วย เพราะอยากเห็นความสงบสุข ไม่วุ่นวาย / บ้านเมืองดีอยู่แล้ว /
รัฐบาลแค่รักษาการณ์ชั่วคราว / ให้โอกาสคมช. และรัฐบาลทำงานก่อน /
เป็นกลุ่มอำนาจเก่าหวังผลทางการเมือง เป็นต้น 43.5
3 ไม่มีความเห็น 34.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดง 15 อันดับแรกค่าร้อยละที่ประชาชนเริ่มเห็นว่ารัฐบาลดำเนินการแก้ไขอย่างรวดเร็วฉับไว (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่เริ่มเห็นว่ารัฐบาลดำเนินการแก้ไขอย่างรวดเร็วฉับไว ค่าร้อยละ
1 ภัยธรรมชาติ 24.8
2 เศรษฐกิจ / ความเป็นอยู่ของประชาชน 23.9
3 ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 18.9
4 ยาเสพติด 14.8
5 การตรวจสอบทุจริต 7.9
6 ช่วยคนยากจน / คนที่เดือดร้อน / ด้อยโอกาส 7.2
7 คุณธรรม จริยธรรม 5.0
8 ปัญหาการเมือง 3.5
9 การศึกษา 3.5
10 ความสงบของบ้านเมือง 1.9
11 มลภาวะเป็นพิษ 1.9
12 ภัยผู้หญิง 1.6
13 กรณี ITV 1.6
14 ระบบงานตำรวจ 1.3
15 การก่อการร้าย / การวางระเบิดในกรุงเทพฯ 0.6
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล
ลำดับที่ การเคยเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 เคย 3.6
2 ไม่เคย 96.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อเหตุผลที่ทำให้คนไปชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุผลที่ทำให้คนไปชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ไม่ชอบรัฐบาลและคมช. / ไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาลและคมช. /
เดือดร้อนจากการบริหารงานโดยรัฐบาลและคมช. / เบื่อหน่ายรัฐบาลและคมช. /
ไม่ไว้วางใจรัฐบาลและคมช. 29.9
2 ขัดแย้งทางการเมือง / หวังผลทางการเมือง 22.3
3 ถูกจ้างมา / ถูกเกณฑ์มา 22.3
4 ปรารถนาดีต่อสังคม 14.8
5 มีอุดมการณ์ประชาธิปไตย / มีแนวคิด ความเชื่อที่แตกต่างจากรัฐบาล 12.0
6 เป็นกลุ่มอำนาจเก่า 8.7
7 คนรู้จักชักชวนมา 6.1
8 อาจมีผลประโยชน์อื่นแอบแฝง 4.9
9 ต้องการสร้างความขัดแย้ง / ลดทอนความเชื่อถือต่อรัฐบาล / สร้างสถานการณ์ 3.6
10 ว่างงาน ไม่มีอะไรจะทำ 2.8
11 มาหาข้อมูล / มารับฟังข่าวสาร 1.3
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเปรียบเทียบระหว่างการมีอุดมการณ์ประชาธิปไตยกับ
การมีผลประโยชน์แอบแฝงของคนส่วนใหญ่ที่ไปชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล
ลำดับที่ เปรียบเทียบระหว่างการมีอุดมการณ์ประชาธิปไตยกับการมีผลประโยชน์แอบแฝง ค่าร้อยละ
1 มีอุดมการณ์ประชาธิปไตยมากกว่า 29.8
2 มีผลประโยชน์แอบแฝงมากกว่า 70.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุความคิดเห็นเปรียบเทียบระหว่างการมีอุดมการณ์ประชาธิปไตยกับ
การมีผลประโยชน์แอบแฝงของคนส่วนใหญ่ที่ไปชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล (เปรียบเทียบตามการเป็นสมาชิก
พรรคการเมือง)
ลำดับที่ เปรียบเทียบระหว่างการมีอุดมการณ์ประชาธิปไตยกับการมีผลประโยชน์แอบแฝง เป็นสมาชิก เป็นสมาชิก ไม่เป็นสมาชิก
พรรคไทยรักไทย พรรคอื่นๆ พรรคการเมืองใด
1 มีอุดมการณ์ประชาธิปไตยมากกว่า 52.9 33.3 29.0
2 มีผลประโยชน์แอบแฝงมากกว่า 47.1 66.7 71.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ที่จะมีพรรคการเมืองให้การสนับสนุน
การชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล
ลำดับที่ ความเป็นไปได้ที่จะมีพรรคการเมืองให้การสนับสนุนการชุมนุมต่อต้านคมช. และรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นไปได้ 43.0
2 คิดว่าเป็นไปไม่ได้ 17.9
3 ไม่มีความเห็น 39.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุว่าคมช. ควรจะส่งคนเข้ามาสืบทอดอำนาจเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี
ลำดับที่ คมช. ควรจะส่งคนเข้ามาสืบทอดอำนาจเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ควร เพราะ..... จะได้กั้นอำนาจเก่าไม่ให้กลับมามีอำนาจ 11.8
2 ไม่ควร เพราะ..... นายกรัฐมนตรีควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชน /
ทหารไม่ควรยุ่งการเมือง / ไม่เป็นประชาธิปไตย เป็นต้น 41.4
3 ไม่มีความเห็น 46.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1550
www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-