ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และนักศึกษาด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ ประจำสถาบันคอร์เนลล์เพื่อภารกิจของรัฐ (Cornell Institute for Public Affairs) มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง การทำแท้ง เจ้ากรรมนายเวร และกฎหมายในสายตาสาธารณชน กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เพชรบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ เลย หนองคาย กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด อุดรธานี ขอนแก่น ปัตตานี สุราษฎร์ธานี และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,315 ครัวเรือน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21 — 23 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา พบว่า
ส่วนใหญ่ของคนที่ถูกศึกษาหรือร้อยละ 94.1 ทราบข่าวการทำแท้งเด็กเสียชีวิตจำนวนมาก และเมื่อถามถึงสิ่งที่นึกถึงหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเห็นข่าว พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.7 สลดใจ สงสารเด็ก ร้อยละ 85.1 ระบุคนทำใจร้าย โหดเหี้ยม ความเลวร้ายของคน ร้อยละ 83.7 ระบุเป็นการฆ่าเด็กที่บริสุทธิ์ ร้อยละ 77.4 ระบุสังคมเสื่อมทราม ร้อยละ 76.0 ระบุต้องทำบุญ กรวดน้ำทั่วประเทศ ร้อยละ 73.9 ระบุหลักศาสนา ศีลธรรม คุมไม่อยู่ ร้อยละ 69.5 ระบุหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรีบทำอะไรบางอย่างในการแก้ปัญหา ร้อยละ 60.6 กังวลว่าเรื่องแบบนี้จะเงียบหายไป เด็กๆ จะตายฟรี และร้อยละ 25.1 ระบุอื่นๆ เช่น คนทำคือ ฆาตกร ต้องหาคนทำผิด ทำกันเป็นขบวนการ คนทำเห็นแก่เงิน และคนทำไม่ใช่คน เป็นต้น
เมื่อถามถึงประเด็นที่คิดว่าเด็กที่ถูกทำแท้งเป็นคนหรือไม่ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.8 คิดว่าเป็นคนแล้ว มีเพียงร้อยละ 0.6 ที่คิดว่ายังไม่เป็นคน และร้อยละ 3.6 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างว่าถ้าเป็นเด็กที่จะถูกทำแท้งและสามารถพูดได้จะร้องขอชีวิตหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.7 ระบุจะร้องขอชีวิต มีเพียงร้อยละ 0.6 คิดว่าไม่ และร้อยละ 4.7 ไม่มีความเห็น
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงความเชื่อต่อเจ้ากรรมนายเวร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.9 ยังเชื่อเรื่องเจ้ากรรมนายเวร และกฎแห่งกรรมอยู่ ในขณะที่ร้อยละ 8.9 ไม่เชื่อ และร้อยละ 10.2 ไม่มีความเห็น
เมื่อถามถึงกลุ่มคนที่คาดว่าจะมีการทำแท้ง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.8 ระบุเป็นเด็กวัยรุ่นใจแตก ร้อยละ 73.2 ระบุเป็นหญิงบริการทางเพศ ร้อยละ 70.6 ระบุเป็นผู้หญิงที่ถูกข่มขืน ร้อยละ 68.4 คิดว่าเป็นผู้หญิงที่มีปัญหาสุขภาพ
เมื่อถามว่า การมีกฎหมายที่จะช่วยลดปัญหาการทำแท้ง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.5 ระบุควรมีกฎหมายลงโทษเอาผิดคนทำแท้งที่เด็ดขาดมากยิ่งขึ้น ร้อยละ 66.3 ควรมีกฎหมายเพิ่มสวัสดิการ ช่วยเหลือด้านการเงิน และสถานเลี้ยงดูเด็ก และร้อยละ 15.4 เห็นควรมีกฎหมายทำแท้งแบบถูกกฎหมาย
เมื่อถามถึงความเห็นของตัวอย่างต่อการเสนอให้มีกฎหมายทำแท้ง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.6 ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาแท้จริง สงสารเด็ก สังคมจะเลวร้ายไปอีก จะมีเด็กตายอีกจำนวนมาก เป็นบาป ไม่ควรตัดสินฆ่าชีวิตคนได้ คนจะเห็นแก่ตัวมากขึ้น คนไทยจะเหี้ยมโหดต่อกันมากขึ้น และใช้สถานรับเลี้ยงเด็กแก้ปัญหาดีกว่า ในขณะที่ ร้อยละ 11.3 เห็นด้วยเพราะ เด็กเกิดมาผิดปกติ แม่มีปัญหาสุขภาพ ไม่มีความพร้อม หญิงถูกข่มขืน เป็นต้น
ที่น่าพิจารณาคือ คนนอกเขตเทศบาลส่วนใหญ่คัดค้านกฎหมายทำแท้งมากกว่าคนในเขตเทศบาลและกรุงเทพมหานคร คือร้อยละ 77.9 ต่อร้อยละ 65.2 ตามลำดับ
เมื่อถามถึงความต้องการให้ คุณหญิง แพทย์หญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ สืบสวนกรณีการทำแท้งเด็ก 2,000 ศพ หาคนฆ่าเด็กเหล่านี้ให้ได้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.2 ต้องการ ร้อยละ 12.8 ไม่ต้องการ
ผอ.เอแบคโพลล์ สรุปว่า ข่าวการทำแท้งที่เกิดขึ้นกับเด็กจำนวนเป็นพันศพนี้ ทำให้สังคมไทยถูกมองจากชาวต่างชาติได้ว่า ล้าหลัง ไม่พัฒนา มีปัญหาผิดปกติอะไรบางอย่างทั้งในจิตใจของคนไทยจำนวนมาก และปัญหาในเชิงโครงสร้างของสังคมไทยที่ปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมเชิงวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ปล่อยให้มีการฆ่าเด็กทารกนับพันศพใจกลางเมืองหลวงที่ใกล้ศูนย์รวมของอำนาจการบริหารประเทศเช่นนี้
“ทางออกระยะสั้น คือ น่าจะเร่งรัดให้เป็นคดีพิเศษ และระยะยาว คือ รัฐบาลควรใช้หน่วยงานด้านสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เข้ามาป้องกันและแก้ไขปัญหา การสร้างฐานข้อมูลคลีนิคเถื่อนและไม่เถื่อนทั่วประเทศ การบูรณาการหน่วยงานรัฐและเอกชนเฝ้าระวังปัญหาการทำแท้ง การปกปิดเคารพในสิทธิแม่และเด็กที่อยู่ในข่ายต้องทำแท้ง และการสนับสนุนสถานรับเลี้ยงเด็กอย่างจริงจังต่อเนื่องให้เด็กเหล่านั้นมีอนาคตที่ดีเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญต่อสังคมไทยในอนาคต มากกว่าการยอมให้มีการทำแท้งที่ถูกกฎหมาย แต่หากมีปัญหาสุขภาพต่อเด็กและแม่จริงก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และความรับผิดชอบตามหลักจรรยาบรรณด้านสุขภาพสากลที่มีอยู่แล้วในนานาประเทศทั่วโลก” ดร.นพดล กล่าว
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 51.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 3.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.5 อายุ 20—29 ปี
ร้อยละ 20.2 อายุ 30—39ปี
ร้อยละ 26.1 อายุ 40—49 ปี
และร้อยละ 24.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
โดยตัวอย่าง ร้อยละ 32.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 24.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 13.6 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 3.2 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
ร้อยละ 75.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 22.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ การทราบข่าวการทำแท้ง ค่าร้อยละ 1 ทราบข่าว 94.1 2 ไม่ทราบ 5.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่นึกถึงหรือรู้สึกเมื่อเห็นข่าวการทำแท้งเด็กจำนวนมาก (ตอบได้มากกว่า 1) ลำดับที่ สิ่งที่นึกถึงหรือรู้สึกเมื่อเห็นข่าว ค่าร้อยละ 1 สลดใจ สงสารเด็ก 92.7 2 คนทำใจร้าย โหดเหี้ยม ความเลวร้ายของคน 85.1 3 การฆ่าเด็กที่บริสุทธิ์ 83.7 4 สังคมเสื่อมทราม 77.4 5 ต้องทำบุญ กรวดน้ำทั่วประเทศ 76.0 6 หลักศาสนา ศีลธรรม คุมไม่อยู่ 73.9 7 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรีบทำอะไรบางอย่างในการแก้ปัญหา 69.5 8 กังวลว่า เรื่องแบบนี้จะเงียบหายไป เด็กๆ จะตายฟรี 60.6 9 อื่นๆ ระบุ คนทำคือฆาตกร ต้องหาคนผิด ทำกันเป็นขบวนการ คนทำเห็นแก่เงินคนทำไม่ใช่คน เป็นต้น 25.1 ตารางที่ 3 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นว่าเด็กที่ถูกทำแท้งเป็นคนหรือไม่ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เด็กที่ถูกทำแท้ง เป็นคนแล้ว 95.8 2 ไม่คิดว่าเป็น 0.6 3 ไม่มีความเห็น 3.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ถ้าคุณเป็นเด็กที่กำลังจะถูกทำแท้งและสามารถพูดได้จะร้องขอชีวิตหรือไม่ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 จะร้องขอชีวิต 94.7 2 คิดว่าไม่ 0.6 3 ไม่มีความเห็น 4.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อ เจ้ากรรมนายเวรและกฎแห่งกรรม ลำดับที่ ความเชื่อ ค่าร้อยละ 1 ยังเชื่อเรื่อง เจ้ากรรมนายเวร และกฎแห่งกรรมอยู่ 80.9 2 ไม่เชื่อ 8.9 3 ไม่มีความเห็น 10.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ กลุ่มคนที่คาดว่าจะมีการทำแท้ง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ กลุ่มคนที่คาดว่าจะมีการทำแท้ง ค่าร้อยละ 1 เด็กวัยรุ่นใจแตก 81.8 2 หญิงบริการทางเพศ 73.2 3 ผู้หญิงที่ถูกข่มขืน 70.6 4 ผู้หญิงที่มีปัญหาสุขภาพ 68.4 ตารางที่ 7 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการมีกฎหมายที่จะช่วยลดปัญหาการทำแท้ง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ควรมีกฎหมาย ลงโทษเอาผิดคนทำแท้งที่เด็ดขาดมากยิ่งขึ้น 69.5 2 ควรมีกฎหมายเพิ่มสวัสดิการ ช่วยเหลือด้านการเงิน และสถานเลี้ยงดูเด็ก 66.3 3 ควรมีกฎหมายทำแท้งแบบถูกกฎหมาย 15.4 ตารางที่ 8 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการเสนอให้มีกฎหมายทำแท้ง ลำดับที่ ความคิดเห็น นอกเขตเทศบาล ในเขตเทศบาล/ ภาพรวม
กรุงเทพมหานคร
1 ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุไม่ใช่ทางแก้ปัญหาแท้จริง
สงสารเด็กสังคมจะเลวร้ายไปอีก จะมีเด็กถูกฆ่าอีกจำนวนมาก เป็นบาป
ไม่ควรตัดสินฆ่าชีวิตคน คนจะเห็นแก่ตัวมากขึ้น คนไทยจะโหดเหี้ยมต่อกันมากขึ้น
ใช้สถานรับเลี้ยงเด็กเป็นทางแก้ปัญหาดีกว่า 77.9 65.2 73.6 2 เห็นด้วย เพราะ เด็กเกิดมาผิดปกติ แม่มีปัญหาด้านสุขภาพ ไม่มีความพร้อม หญิงที่ถูกข่มขืน เป็นต้น 10.1 12.2 11.3 3 ไม่มีความเห็น 12.0 22.6 15.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 9 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการให้ คุณหญิง พ.ญ.พรทิพย์ โรจนสุนันท์ สืบสวนกรณีการทำแท้งเด็ก 2,000 ศพ หาคนฆ่าเด็กเหล่านี้ให้ได้ ลำดับที่ ความต้องการให้ คุณหญิง พ.ญ.พรทิพย์ โรจนสุนันท์ สืบสวนกรณีการทำแท้งเด็ก 2,000 ศพ ค่าร้อยละ 1 ต้องการ 87.2 2 ไม่ต้องการ 12.8 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--