ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และเป็นนักศึกษาด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ ประจำสถาบันคอร์เนลล์เพื่อภารกิจของรัฐ (Cornell Institute for Public Affairs) มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง เสียงสะท้อนของนักเรียนต่อความไม่เป็นธรรมในห้องเรียน และการปฏิรูปการเมือง-ข้าราชการ-กลุ่มนายทุน และการศึกษา กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ในเขตกรุงเทพมหานคร ผ่านกระบวนการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น (Multi-Stage Stratified Sample Selection) จำนวนทั้งสิ้น 1,149 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 — 30 พฤศจิกายน 2553 พบว่า
เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 52.9 ระบุฉันรู้สึกว่า มีปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่ได้รับความใส่ใจอย่างเท่าเทียมจากคุณครู และเมื่อจำแนกตามความรู้สึกในฐานะของนักเรียน พบว่า นักเรียนที่คิดว่าตนเองเป็นคนยากจนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.0 รู้สึกว่ามีปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่ได้รับความสนใจอย่างเท่าเทียมจากคุณครู ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่า กลุ่มนักเรียนที่ไม่คิดว่าตนเองยากจน แต่รู้สึกว่ามีปัญหาเหลื่อมล้ำในห้องเรียน ไม่ได้รับความใส่ใจอย่างเท่าเทียมจากครูร้อยละ 51.5
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.1 มองว่าในห้องเรียนของฉัน มีความหลากหลายทางฐานะการเงิน ร้อยละ 58.2 ไม่รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างจากความรู้ของตนเอง ร้อยละ 61.9 มองว่า โรงเรียนมีปัญหาในเรื่องมาตรฐานคุณภาพการศึกษา และร้อยละ 60.5 มองว่า มีปัญหาในการนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.3 รู้สึกว่า นอกจากพ่อแม่แล้ว ไม่มีผู้ใหญ่ในสังคมดูแลเอาใจใส่คุณภาพของฉันอย่างแท้จริง
เมื่อถามถึงมุมมองทางการเมือง พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 54.1 มองว่าการพัฒนาการเมืองไทยยังคงอยู่กับที่ ยิ่งไปกว่านั้น ร้อยละ 34.2 มองว่าแย่ลง และเพียงร้อยละ 11.7 มองว่า ดีขึ้น เมื่อถามถึงความเห็นต่อการวิจารณ์คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.9 ระบุไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์ ควรยอมรับคำวินิจฉัย เพราะ ไม่อยากเห็นบ้านเมืองวุ่นวาย เบื่อหน่ายการเมือง เบื่อผู้ใหญ่ทะเลาะกัน กลัวเศรษฐกิจจะแย่ลงไปอีก และที่ระบุควรยอมรับเพราะบ้านเมืองต้องก้าวต่อไปข้างหน้า เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 21.4 ระบุสามารถวิจารณ์ได้ เพราะ เป็นสังคมประชาธิปไตย เป็นการให้ความรู้ต่อประชาชน เป็นการใช้สิทธิที่พึงมี เป็นต้น และร้อยละ 19.7 ไม่มีความเห็น
ที่น่าพิจารณาคือ นักเรียนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.6 ระบุจำเป็นต้องปฏิรูปคุณภาพนักการเมืองให้เป็นตัวอย่างที่ดี ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.8 ระบุจำเป็นต้องปฏิรูปคุณภาพข้าราชการ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.5 ระบุจำเป็นต้องปฏิรูปคุณภาพกลุ่มนายทุน ธุรกิจ ให้เป็นตัวอย่างที่ดี
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า จะเห็นได้ว่า นักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในสภาวะที่รู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมมีความเลื่อมล้ำทางสังคมตั้งแต่อยู่ในห้องเรียน และเมื่อมองออกมายังนอกห้องเรียน ก็พบว่า กลุ่มผู้ใหญ่ในสังคม ทั้งนักการเมือง ข้าราชการ และกลุ่มนายทุน ธุรกิจต่างๆ กำลังตกอยู่ในสภาวะที่จำเป็นต้องปฏิรูปตนเองพอๆ กัน และผลสำรวจสำคัญที่ค้นพบอันหนึ่งคือ นักเรียนส่วนใหญ่รู้สึกว่า ผู้ใหญ่ในสังคมไม่เอาใจใส่คุณภาพของพวกเขาอย่างแท้จริง ข้อเสนอแนะคือ รัฐบาล ข้าราชการและกลุ่มนายทุน ธุรกิจต่างๆ น่าจะมีนโยบายสนับสนุนความสมัครใจของผู้บริโภคแสดงเจตจำนงว่า เงินชำระสินค้าและบริการในทุกๆ ร้อยละ 1 หักให้กับสถาบันการศึกษาที่ผู้บริโภคต้องการจะให้กลุ่มนายทุน ผู้ประกอบการนั้นๆ ต้องยอมหักรายได้ของตนให้กับสถาบันการศึกษาเพื่อคุณภาพการศึกษาวิจัยที่ดีขึ้นของนักเรียนนักศึกษา โดยภาคประชาสังคมต้องช่วยกันตรวจสอบกลุ่มนายทุน ผู้ประกอบการและผู้บริหารของสถาบันการศึกษาอีกต่อหนึ่ง และหากสถาบันการศึกษามีศักยภาพมากเพียงพอก็น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ทรัพยากรมนุษย์ในกลุ่มนักเรียนและผู้ใหญ่ของประเทศดีขึ้นตามลำดับ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 55.3 เป็นหญิง
และร้อยละ 44.7 เป็นชาย
ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 12-13 ปี
ร้อยละ 34.5 อายุ 14-15 ปี
ร้อยละ 31.1 อายุ 16-17 ปี
ร้อยละ 8.9 อายุ 18-19 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 16.7 กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้น ม.1
ร้อยละ 20.0 กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้น ม.2
ร้อยละ 16.5 กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้น ม.3
ร้อยละ 16.1 กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้น ม.4
ร้อยละ 15.2 กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้น ม.5
และร้อยละ 15.5 กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้น ม.6
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ ความไม่เป็นธรรมและความเป็นจริงในห้องเรียนที่ประสบด้วยตนเอง ค่าร้อยละ 1 ฉันรู้สึกว่า มีปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่ได้รับความใส่ใจอย่างเท่าเทียมจากคุณครู 52.9 2 ในห้องเรียนของฉัน มีความหลากหลายทางฐานะการเงิน 60.1 3 ไม่รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างจากความรู้ของตนเอง 58.2 4 โรงเรียนมีปัญหาในเรื่องมาตรฐานคุณภาพการศึกษา 61.9 5 มีปัญหาในการนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน 60.5 6 รู้สึกว่า นอกจากพ่อแม่แล้ว ไม่มีผู้ใหญ่ในสังคมดูแลเอาใจใส่คุณภาพของฉันอย่างแท้จริง 68.3 ตารางที่ 2 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความไม่เป็นธรรมในห้องเรียนที่ประสบด้วยตนเอง จำแนกตามฐานะของเด็กนักเรียนน ลำดับที่ ความไม่เป็นธรรมในห้องเรียนที่ประสบด้วยตนเอง คิดว่าตนเองยากจน ไม่คิดว่าตนเองยากจน 1 ฉันรู้สึกว่า มีปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่ได้รับความใส่ใจอย่างเท่าเทียมจากครู 59.0 51.5 2 ไม่รู้สึก 41.0 48.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การพัฒนาการของการเมืองไทย ลำดับที่ การพัฒนาการของการเมืองไทย ร้อยละ 1 อยู่กับที่ 54.1 2 แย่ลง 34.2 3 ดีขึ้น 11.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการวิจารณ์คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการวิจารณ์คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 1 สามารถวิจารณ์ได้ เพราะ เป็นสังคมประชาธิปไตย เป็นการให้ความรู้ต่อประชาชน เป็นการใช้สิทธิที่พึงมี เป็นต้น 21.4 2 ไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์ ควรยอมรับคำวินิจฉัย เพราะ ไม่อยากเห็นบ้านเมืองวุ่นวาย เบื่อการเมืองเบื่อผู้ใหญ่ทะเลาะกัน- บ้านเมืองต้องก้าวต่อไปข้างหน้า กลัวเศรษฐกิจจะแย่ลงไปอีก เป็นต้น 58.9 3 ไม่มีความเห็น 19.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการปฏิรูปคุณภาพนักการเมืองให้เป็นตัวอย่างที่ดี ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ 1 จำเป็นต้องปฏิรูปคุณภาพนักการเมืองให้เป็นตัวอย่างที่ดี 92.6 2 ไม่จำเป็น 7.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการปฏิรูปคุณภาพ ข้าราชการ ให้เป็นตัวอย่างที่ดี ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ 1 จำเป็นต้องปฏิรูปคุณภาพข้าราชการ 91.8 2 ไม่จำเป็น 8.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการปฏิรูป คุณภาพ กลุ่มนายทุน ธุรกิจ ให้เป็นตัวอย่างที่ดี ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ 1 จำเป็นต้อง ปฏิรูปคุณภาพ กลุ่มนายทุน ธุรกิจ ให้เป็นตัวอย่างที่ดี 87.5 2 ไม่จำเป็น 12.5 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--