ศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (ศูนย์วิจัยธุรกิจ) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ดัชนีผู้บริโภคประจำไตรมาส 4/2553 (ABAC Consumer Index: ACI) กรณีศึกษาตัวอย่างผู้บริโภคระดับครัวเรือน อายุ 15 - 60 ปี ใน 12 จังหวัดของประเทศ
ดร. อุดม กล่าวต่อว่า เมื่อสอบถามถึงค่าใช้จ่ายในสินค้าหรือบริการที่ประชาชนได้จับจ่ายใช้สอย ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับของกิน อาหาร (รวมถึงร้านอาหาร) นั้น อยู่ที่ 4,037.42-4,322.96 บาทต่อเดือน ค่าใช้จ่าย แฟชั่น เครื่องแต่งกาย อยู่ที่ 1,168.17—1,382.85 บาท ต่อเดือน ค่าใช้จ่ายสุขภาพ/เกี่ยวกับความงาม เช่น สปา นวด คลินิกรักษาผิวหนัง อยู่ที่ 94.32—151.44 บาท ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบันเทิงและสันทนาการ เช่น ดูคอนเสิร์ต ดูภาพยนตร์ ค่าบริการสถานที่เล่นกีฬา อยู่ที่ 96.23 —158.53 บาท ค่าใช้จ่ายของใช้อุปโภค เช่น สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน อยู่ที่ 1,021.71—1,134.95 บาท และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อยู่ที่ 39.11— 95.95 บาทต่อเดือน ทั้งนี้เมื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อเดือน ประมาณ 5,696.09—6,086.74 บาทต่อเดือน
นอกจากนี้เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบ กับช่วงเดือน ตุลาคม - ธันวาคมของปี 52 พบว่า ตัวอย่างเกินครึ่ง หรือร้อยละ 58.8 คิดว่าแย่ลง ร้อยละ 30.0 คิดว่าทรงตัว ในขณะที่ร้อยละ 11.2 คิดว่าดีขึ้น และเมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ ของประเทศในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่าตัวอย่างร้อยละ 41.6 คิดว่าแย่ลงร้อยละ 38.0 คิดว่าทรงตัว ในขณะที่ร้อยละ 20.4 คิดว่าดีขึ้น
เมื่อถามถึงรายได้ในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคมของปี 52 พบว่า ตัวอย่างเกือบครึ่งหรือร้อยละ 49.8 คิดว่าแย่ลง ร้อยละ 41.9 คิดว่าทรงตัว ในขณะที่ร้อยละ 8.3 คิดว่า ดีขึ้น และเมื่อสอบถามถึงรายได้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่าตัวอย่างร้อยละ 48.6 คิดว่าทรงตัว ร้อยละ 18.8 คิดว่าดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 32.6 คิดว่าแย่ลง
สำหรับความเหมาะสมที่จะซื้อสินค้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ สินค้าคงทนอื่นๆ (ไม่รวมถึงบ้านและรถยนต์) ในปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่างเกินครึ่ง หรือร้อยละ 59.0 ระบุไม่เหมาะสม ร้อยละ 35.8 ระบุไม่ทราบ/ยังไม่แน่ใจ ในขณะที่ร้อยละ 5.2 ระบุเหมาะสม และเมื่อถามถึงการมีแผนที่จะซื้อสินค้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ สินค้าคงทนอื่นๆ (ไม่รวมถึงบ้านและรถยนต์) ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ตัวอย่างประมาณสองในสาม หรือร้อยละ 63.5 ระบุไม่มีแผน ร้อยละ 26.1 ระบุไม่ทราบ/ยังไม่แน่ใจ ในขณะที่ร้อยละ 10.4 ระบุมีแผนที่จะซื้อ
ที่น่าพิจารณาคือตัวอย่างร้อยละ 62.6 ไม่มีเงินเก็บออม และ ร้อยละ 37.4 มีเงินเก็บออม โดยมีรูปแบบการเก็บออม ใน 3 อันดับแรกคือ การออมเงินฝากกับธนาคาร รองลงมาคือ การทำประกัน และ ซื้อสลากออมสิน ตามลำดับ
ผลสำรวจยังพบว่า เมื่อถามถึงการวางแผนท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ในอีก 3 เดือนข้างหน้านั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 81.7 ไม่ได้วางแผนไปเที่ยวต่างจังหวัด และร้อยละ 97.5 ไม่ได้วาง แผนไปเที่ยวต่างประเทศและเมื่อเปรียบเทียบคะแนนความสุขของกลุ่มผู้บริโภคต่อการทำงานและการประกอบอาชีพ ในช่วงเดือนกรกฎาคมและเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มผู้บริโภคมีค่าคะแนนความสุขโดยเฉลี่ย จาก 6.82 คะแนน มาอยู่ที่ 7.39 จากคะแนนเต็ม 10
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 61.9 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 38.1 เป็นเพศชาย ตัวอย่างร้อยละ 14.9 ระบุอายุ 15-24 ปี ร้อยละ 28.6 อายุ 25-34 ปี ร้อยละ 26.5 อายุ 35-44 ปี ร้อยละ 30.0 ระบุอายุ 45-60 ปี ตัวอย่างร้อยละ 52.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยม ศึกษาตอนต้น/เทียบเท่า หรือต่ำกว่า ร้อยละ 24.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ป.ว.ช. ร้อยละ 7.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปวส./อนุปริญญา หรือเทียบเท่า และร้อยละ 15.2 ระบุสำเร็จการ ศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 4.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 42.1 ระบุอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ร้อยละ 4.5 ระบุเป็น นักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 25.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 7.8 ระบุเป็น แม่บ้าน/พ่อบ้าน/ เกษียณอายุ ในขณะที่ร้อยละ 3.8 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ ทั้งนี้เมื่อพิจารณารายได้ส่วนตัวต่อเดือน พบว่าร้อยละ 77.4 ระบุรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่ร้อยละ 22.6 ระบุรายได้มากกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวเศรษฐกิจของประเทศไทยในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวเศรษฐกิจของประเทศไทยในรอบ 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 31.1 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 26.9 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 20.5 4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 10.8 5 ไม่ติดตาม 10.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ สินค้าและบริการต่างๆที่ซื้อในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายต่อเดือน 1 ของกิน อาหาร (รวมถึงร้านอาหาร) 4,037.42 — 4,322.96 บาท 2 ของใช้อุปโภค เช่น สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน 1,021.71 — 1,134.95 บาท 3 แฟชั่น เครื่องแต่งกาย 1,168.17 — 1,382.85 บาท 4 บันเทิงและสันทนาการ เช่น ดูคอนเสิร์ต ดูภาพยนตร์ ค่าบริการสถานที่เล่นกีฬา 96.23 — 158.53 บาท 5 สุขภาพ/เกี่ยวกับความงาม เช่น สปา นวด คลินิกรักษาผิวหนัง 94.32 — 151.44 บาท 6 อื่นๆ 39.11 — 95.95 บาท รวมค่าใช้จ่ายต่อเดือน 5,696.09— 6,086.74 บาท ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนตุลาคม —ธันวาคม ของปี 2552 ลำดับที่ สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับ ช่วงเดือน ตุลาคม - ธันวาคมของปี 2552 ค่าร้อยละ 1 ดีขึ้น 11.2 2 ทรงตัว 30.0 3 แย่ลง 58.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศในอีก 3 เดือนข้างหน้า ลำดับที่ สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศในอีก 3 เดือนข้างหน้า ค่าร้อยละ 1 ดีขึ้น 20.4 2 ทรงตัว 38.0 3 แย่ลง 41.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรายได้ในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือน ตุลาคม - ธันวาคมของปี 2552 ลำดับที่ รายได้ในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือน ตุลาคม - ธันวาคมของปี 2552 ค่าร้อยละ 1 ดีขึ้น 8.3 2 ทรงตัว 41.9 3 แย่ลง 49.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรายได้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ลำดับที่ รายได้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ค่าร้อยละ 1 ดีขึ้น 18.8 2 ทรงตัว 48.6 3 แย่ลง 32.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเหมาะสมที่จะซื้อสินค้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ สินค้าคงทนอื่นๆ (ไม่รวมถึงบ้านและรถยนต์) ในปัจจุบัน ลำดับที่ ความเหมาะสมที่จะซื้อสินค้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ สินค้าคงทนอื่นๆ ค่าร้อยละ 1 เหมาะสม 5.2 2 ไม่ทราบ/ ยังไม่แน่ใจ 35.8 3 ไม่เหมาะสม 59.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีแผนที่จะซื้อสินค้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ สินค้าคงทนอื่นๆ (ไม่รวมถึงบ้านและรถยนต์) ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ลำดับที่ การมีแผนที่จะซื้อสินค้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ สินค้าคงทนอื่นๆ ค่าร้อยละ 1 มีแผน 10.4 2 ไม่ทราบ/ ยังไม่แน่ใจ 26.1 3 ไม่มีแผน 63.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการออมในแต่ละเดือน ลำดับที่ การออมเงินในแต่ละเดือน ค่าร้อยละ 1 เก็บออม 37.4 2 ไม่มีเงินเก็บออม 62.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการออมเงิน หรือลงทุนในรูปแบบต่างๆ (เฉพาะตัวอย่างที่มีเงินออม และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ รูปแบบการออมเงินหรือลงทุน ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1 ออมเงินฝากกับธนาคาร 82.8 80.3 2 แผนการเงินในรูปแบบการทำประกัน 18.6 17.5 3 ซื้อสลากออมสิน 12.7 12.9 4 ซื้อ สังหาริมทรัพย์ เช่น เพชร ทองคำ 9.5 10.7 5 ลงทุนผ่านกองทุนต่างๆ 6.0 5.5 6 ซื้อพันธบัตรรัฐบาล 4.1 3.9 7 ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม 3.1 3.5 8 ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ (ซื้อหุ้น) 1.8 2.7 9 อื่นๆ 8.3 5.0 ตารางที่ 11 แสดงจำนวนและค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการวางแผนที่จะไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ลำดับที่ การวางแผนที่จะไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ สถานที่ท่องเที่ยวต่างจังหวัด สถานที่ท่องเที่ยวต่างประเทศ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1 วางแผนจะไป 18.3 2.5 2 ไม่ได้วางแผนไว้ 81.7 97.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 12 แสดงค่าเฉลี่ยความสุขในการทำงาน/การประกอบอาชีพในปัจจุบันของกลุ่มผู้บริโภค ความสุขในการทำงาน/การประกอบอาชีพในปัจจุบัน เดือนกรกฎาคม 2553 เดือนพฤศจิกายน 2553 ค่ามัธยฐาน 6.97 คะแนน 8.00 คะแนน ค่าเฉลี่ย 6.82 คะแนน 7.39 คะแนน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.23 2.30 การแปลผล ค่อนข้างมาก ค่อนข้างมาก ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคมและการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1550 www.abacsimba.au.edu
--เอแบคโพลล์--