ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญใน
ร่างรัฐธรรมนูญ ปี 50: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 12 จังหวัดของประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น 3,146 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 5-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งพบว่า ตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 60 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุก
สัปดาห์อย่างน้อย1-2 วันต่อสัปดาห์
เมื่อสอบถามถึงความหมายของรัฐธรรมนูญ โดยเปรียบเทียบกับผลสำรวจก่อนหน้านี้ พบว่า ตัวอย่างประชาชนทราบความหมายของรัฐ
ธรรมนูญเพิ่มมากขึ้น จากร้อยละ 32.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 62.8 อย่างไรก็ตาม ในผลสำรวจล่าสุดยังพบว่ามีประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ
37.2 ยังไม่ทราบความหมาย ของรัฐธรรมนูญ
แต่เมื่อถามถึงความสำคัญของรัฐธรรมนูญต่อชีวิตของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.0 เลยทีเดียวที่เห็นความสำคัญของรัฐ
ธรรมนูญต่อชีวิตของประชาชน เพราะ เป็นกฎหมายสูงสุด เป็นกฎระเบียบควบคุมให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ให้ได้รับความยุติธรรม ในขณะที่ร้อยละ 12.0 ไม่เห็นความสำคัญ เพราะคิดว่าไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน/ มองว่าเป็นเรื่องไกลตัว/ มองว่ารัฐ
ธรรมนูญมีไว้เพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่มเท่านั้น เป็นต้น
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนส่วนใหญ่คือร้อยละ 60.7 ระบุทราบความหมายของการลงประชามติ อย่างไรก็ตามมี
ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 39.3 ยังไม่ทราบความหมายของการลงประชามติ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อประเด็นสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญปี 50 ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง พบว่า
อันดับแรก ประชาชนส่วนใหญ่เกือบร้อยละร้อย คือร้อยละ 95.5 เห็นด้วยกับประเด็นของรัฐธรรมนูญที่ว่า บุคคลที่ไร้ที่อยู่และไม่มีรายได้เพียงพอ มีสิทธิ
ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ อันดับสอง คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.2 เห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า ในการทำข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อ
ประชาชน รัฐต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน อันดับสาม คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.3 เห็นด้วยว่า ประชาชนมีสิทธิฟ้องศาลรัฐ
ธรรมนูญด้วยตนเองได้ อันดับสี่หรือร้อยละ 74.6 เห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า ให้สิทธิประชาชน 50,000 คนเข้าชื่อเพื่อเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ และ
อันดับห้า หรือร้อยละ 63.0 เห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คนสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ และ
ร้อยละ 55.9 เห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คนมีสิทธิเข้าชื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส.
และ ส.ว.ได้
นอกจากนี้ เมื่อถามความคิดเห็นต่อสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ที่ไม่เกี่ยวกับประชาชนโดยตรง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 89.1 เห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า กำหนดมาตรฐานจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งหากฝ่าฝืนร้ายแรงให้สามารถ
ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.0 เห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า ห้ามมิให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรับการสัมปทานจาก
รัฐหรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ ร้อยละ 80.7 เห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า ส.ส. มีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการตั้งกระทู้ถามการอภิปรายและการลงมติ
ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ร้อยละ 77.5 เห็นด้วยว่า ห้ามปิดกิจการสื่อมวลชนและห้ามแทรกแซงสื่อมวลชนในการเสนอข่าวสารทั้งทางตรงและทาง
อ้อม ร้อยละ 75.1 เห็นด้วยว่า นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
ร้อยละ 74.1 เห็นด้วยว่า ส.ส.มีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการเสนอร่างกฎหมาย ร้อยละ 73.7 เห็นด้วยว่าให้ปรับปรุงระบบสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเป็นระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนที่มีการแบ่งเป็นกลุ่มจังหวัด ร้อยละ 70.3 เห็นด้วยว่า นายกรัฐมนตรีอยู่ได้ไม่เกิน 2 สมัยหรือ
8 ปี ร้อยละ 67.9 เห็นด้วยว่า ห้ามควบรวมพรรคการเมืองที่มี ส.ส. ในสภา ในระหว่างอายุของสภา และร้อยละ 65.2 เห็นด้วยกับที่มาของสมาชิก
วุฒิสภาเป็นระบบสรรหาที่มาจากจังหวัดและกลุ่มวิชาชีพ ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.1 เห็นด้วยกับสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในภาพรวม ในขณะ
ที่ร้อยละ 22.9 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 20.0 ไม่มีความเห็น โดยกลุ่มพลังเงียบเกินครึ่งและแม้แต่กลุ่มผู้ไม่สนับสนุนรัฐบาลเกินกว่า 1 ใน 4 ก็ยังเห็น
ด้วยกับภาพรวมของสาระสำคัญในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.0 ยังไม่ทราบวันที่จะ
ลงประชามติเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับประเด็นสาระสำคัญหลายประเด็นของรัฐธรรมนูญ
ฉบับใหม่นี้ แต่กลุ่มที่จะเป็นกลุ่มประชาชนชี้ชะตาอนาคตของประเทศคือ “กลุ่มพลังเงียบ” ที่กำลังเป็นฐานมวลชนของการแย่งชิงระหว่างฝ่ายสนับสนุน
รัฐบาลและฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ซึ่งกลุ่มพลังเงียบอาจมีคำตอบอยู่ในใจแล้วว่า จะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะบางครั้งทัศนคติกับพฤติกรรม
อาจไม่สอดคล้องกัน คือ คนที่เห็นด้วยโดยภาพรวมแต่อาจไม่รับร่างรัฐธรรมนูญได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องบริหารจัดการการรับรู้ ความเข้าใจ ความ
ตระหนัก และการให้ประชาชนเอาเรื่องรัฐธรรมนูญมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต จึงจำเป็นต้องมี “กรณีศึกษา” เช่น กรณีปัญหาความไม่ชอบมาพากลของอดีต
นายกรัฐมนตรี กรณีก่อสร้างโรงไฟฟ้า กรณีผลกระทบของโรงงานอุตสาหกรรม และกรณีชุมชนได้รับผลกระทบจากนโยบายของภาครัฐ โดยทำให้ปรากฏ
เป็นข่าวสารที่ประชาชนรับรู้รับทราบโดยทั่วหน้ากัน เพื่อจะได้รู้สึกว่ารัฐธรรมนูญเป็นเรื่องใกล้ตัวประชาชน และประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญ
ผู้ใดจะมาฉีกรัฐธรรมนูญอีกไม่ได้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจการรับรู้ของประชาชนต่อรัฐธรรมนูญและการลงประชามติ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550:
กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 12 จังหวัดของประเทศ” ในครั้งนี้ ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ พิษณุโลก ลพบุรี ปทุมธานี ชลบุรี กาญจนบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี สงขลา และ สุราษฎร์ธานี
ด้วยเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมาย
จากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,146 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาด
เคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ
การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.3 ระบุเป็นชาย
และร้อยละ 48.7 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 33.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 27.8 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 12.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.8 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 29.8 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 9.7 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 26.3 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/ รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 24.8 ระบุค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ
ร้อยละ 15.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 13.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.3 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 3.8 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 1.5 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 40.2
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 17.7
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 11.3
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 23.1
5 ไม่ได้ติดตาม 7.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ การทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ 6 เม.ย. 50 15 ก.ค. 50 ส่วนต่างสองครั้ง
1 ทราบ โดยสามารถระบุได้ถูกต้อง เช่น กฎหมายแม่บท /
กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ / ข้อกำหนดในเรื่อง
สิทธิหน้าที่ของประชาชน 32.1 62.8 +30.7
2 ไม่ทราบ 67.9 37.2 -30.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุว่ารัฐธรรมนูญมีความสำคัญกับชีวิต
ลำดับที่ รัฐธรรมนูญมีความสำคัญกับชีวิต ค่าร้อยละ
1 สำคัญ ....เพราะ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ / เป็นกฎระเบียบที่ควบคุมให้สังคม
อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข / คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้ได้รับความยุติธรรม 88.0
2 ไม่สำคัญ...เพราะ ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน / เป็นเรื่องไกลตัว /ประชาชนทั่วไป
ยังไม่มีสิทธิเข้าไปกำหนดรัฐธรรมนูญ / รัฐธรรมนูญมีไว้เพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่ม 12.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ทราบความหมายของการลงประชามติ
ลำดับที่ การทราบความหมายของการลงประชามติ ค่าร้อยละ
1 ทราบ โดยสามารถระบุได้ถูกต้อง เช่น การลงคะแนนเสียงของประชาชน / การลงความเห็นเพื่อ
แสดงความต้องการของประชาชนในประเด็นต่างๆ 60.7
2 ไม่ทราบ 39.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญปี 50 ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง
ลำดับที่ สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เกี่ยวกับประชาชนโดยตรง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1 บุคคลที่ไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอ มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ 95.5 4.0 0.5 100.0
2 ในการทำสนธิสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อประชาชน
รัฐจะต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน 90.2 8.5 1.3 100.0
3 ประชาชนมีสิทธิฟ้องศาลรัฐธรรมนูญด้วยตนเองได้ 79.3 18.4 2.3 100.0
4 ให้สิทธิประชาชน 50,000 คน เข้าชื่อเพื่อเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ 74.6 23.9 1.5 100.0
5 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คนสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ 63.0 34.6 2.4 100.0
6 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อถอดถอน
นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาได้ 55.9 37.9 6.2 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ ปี 50 ที่ไม่เกี่ยวกับประชาชนโดยตรง
ลำดับที่ สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ไม่เกี่ยวกับประชาชนโดยตรง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1 กำหนดมาตรฐานจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ซึ่งหากฝ่าฝืนร้ายแรงให้สามารถถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ 89.1 9.4 1.5 100.0
2 ห้ามมิให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรับการสัมปทานจากรัฐ หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ 86.0 12.4 1.6 100.0
3 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย
และการลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 80.7 17.2 2.1 100.0
4 ห้ามปิดกิจการสื่อมวลชน และห้ามแทรกแซงสื่อมวลชนในการเสนอข่าวสารทั้งทางตรง
และทางอ้อม 77.5 20.7 1.8 100.0
5 นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องไม่เป็นหุ้นส่วน
หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท 75.1 23.7 1.2 100.0
6 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการเสนอร่างกฎหมาย 74.1 23.2 2.7 100.0
7 ปรับปรุงระบบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเป็นระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน
ที่มีการแบ่งเป็นกลุ่มจังหวัด 73.7 23.3 3.0 100.0
8 นายกรัฐมนตรีอยู่ได้ไม่เกิน 2 สมัย หรือ 8 ปี 70.3 25.4 4.3 100.0
9 ห้ามควบรวมพรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภา ในระหว่างอายุของสภา 67.9 27.8 4.3 100.0
10 ที่มาของสมาชิกวุฒิสภาเป็นระบบสรรหาที่มาจากจังหวัดและกลุ่มวิชาชีพ 65.2 32.2 2.6 100.0
11 ขยายเขตการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใหญ่ขึ้น 64.0 32.9 3.1 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในภาพรวมจำแนกตามการสนับสนุนรัฐบาล
ลำดับที่ ความคิดเห็น สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล ไม่อยู่ฝ่ายใด(พลังเงียบ) รวมทั้งสิ้น
1 เห็นด้วย 84.9 28.7 53.9 57.1
2 ไม่เห็นด้วย 8.4 56.3 22.8 22.9
3 ไม่มีความเห็น 6.7 15.0 23.3 20.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบวันที่ลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ลำดับที่ การทราบวันที่ลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ค่าร้อยละ
1 ทราบ 18.0
2 ไม่ทราบ 82.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญใน
ร่างรัฐธรรมนูญ ปี 50: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 12 จังหวัดของประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น 3,146 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 5-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งพบว่า ตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 60 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุก
สัปดาห์อย่างน้อย1-2 วันต่อสัปดาห์
เมื่อสอบถามถึงความหมายของรัฐธรรมนูญ โดยเปรียบเทียบกับผลสำรวจก่อนหน้านี้ พบว่า ตัวอย่างประชาชนทราบความหมายของรัฐ
ธรรมนูญเพิ่มมากขึ้น จากร้อยละ 32.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 62.8 อย่างไรก็ตาม ในผลสำรวจล่าสุดยังพบว่ามีประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ
37.2 ยังไม่ทราบความหมาย ของรัฐธรรมนูญ
แต่เมื่อถามถึงความสำคัญของรัฐธรรมนูญต่อชีวิตของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.0 เลยทีเดียวที่เห็นความสำคัญของรัฐ
ธรรมนูญต่อชีวิตของประชาชน เพราะ เป็นกฎหมายสูงสุด เป็นกฎระเบียบควบคุมให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ให้ได้รับความยุติธรรม ในขณะที่ร้อยละ 12.0 ไม่เห็นความสำคัญ เพราะคิดว่าไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน/ มองว่าเป็นเรื่องไกลตัว/ มองว่ารัฐ
ธรรมนูญมีไว้เพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่มเท่านั้น เป็นต้น
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนส่วนใหญ่คือร้อยละ 60.7 ระบุทราบความหมายของการลงประชามติ อย่างไรก็ตามมี
ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 39.3 ยังไม่ทราบความหมายของการลงประชามติ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อประเด็นสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญปี 50 ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง พบว่า
อันดับแรก ประชาชนส่วนใหญ่เกือบร้อยละร้อย คือร้อยละ 95.5 เห็นด้วยกับประเด็นของรัฐธรรมนูญที่ว่า บุคคลที่ไร้ที่อยู่และไม่มีรายได้เพียงพอ มีสิทธิ
ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ อันดับสอง คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.2 เห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า ในการทำข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อ
ประชาชน รัฐต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน อันดับสาม คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.3 เห็นด้วยว่า ประชาชนมีสิทธิฟ้องศาลรัฐ
ธรรมนูญด้วยตนเองได้ อันดับสี่หรือร้อยละ 74.6 เห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า ให้สิทธิประชาชน 50,000 คนเข้าชื่อเพื่อเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ และ
อันดับห้า หรือร้อยละ 63.0 เห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คนสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ และ
ร้อยละ 55.9 เห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คนมีสิทธิเข้าชื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส.
และ ส.ว.ได้
นอกจากนี้ เมื่อถามความคิดเห็นต่อสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ที่ไม่เกี่ยวกับประชาชนโดยตรง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 89.1 เห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า กำหนดมาตรฐานจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งหากฝ่าฝืนร้ายแรงให้สามารถ
ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.0 เห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า ห้ามมิให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรับการสัมปทานจาก
รัฐหรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ ร้อยละ 80.7 เห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า ส.ส. มีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการตั้งกระทู้ถามการอภิปรายและการลงมติ
ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ร้อยละ 77.5 เห็นด้วยว่า ห้ามปิดกิจการสื่อมวลชนและห้ามแทรกแซงสื่อมวลชนในการเสนอข่าวสารทั้งทางตรงและทาง
อ้อม ร้อยละ 75.1 เห็นด้วยว่า นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
ร้อยละ 74.1 เห็นด้วยว่า ส.ส.มีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการเสนอร่างกฎหมาย ร้อยละ 73.7 เห็นด้วยว่าให้ปรับปรุงระบบสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเป็นระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนที่มีการแบ่งเป็นกลุ่มจังหวัด ร้อยละ 70.3 เห็นด้วยว่า นายกรัฐมนตรีอยู่ได้ไม่เกิน 2 สมัยหรือ
8 ปี ร้อยละ 67.9 เห็นด้วยว่า ห้ามควบรวมพรรคการเมืองที่มี ส.ส. ในสภา ในระหว่างอายุของสภา และร้อยละ 65.2 เห็นด้วยกับที่มาของสมาชิก
วุฒิสภาเป็นระบบสรรหาที่มาจากจังหวัดและกลุ่มวิชาชีพ ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.1 เห็นด้วยกับสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในภาพรวม ในขณะ
ที่ร้อยละ 22.9 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 20.0 ไม่มีความเห็น โดยกลุ่มพลังเงียบเกินครึ่งและแม้แต่กลุ่มผู้ไม่สนับสนุนรัฐบาลเกินกว่า 1 ใน 4 ก็ยังเห็น
ด้วยกับภาพรวมของสาระสำคัญในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.0 ยังไม่ทราบวันที่จะ
ลงประชามติเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับประเด็นสาระสำคัญหลายประเด็นของรัฐธรรมนูญ
ฉบับใหม่นี้ แต่กลุ่มที่จะเป็นกลุ่มประชาชนชี้ชะตาอนาคตของประเทศคือ “กลุ่มพลังเงียบ” ที่กำลังเป็นฐานมวลชนของการแย่งชิงระหว่างฝ่ายสนับสนุน
รัฐบาลและฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ซึ่งกลุ่มพลังเงียบอาจมีคำตอบอยู่ในใจแล้วว่า จะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะบางครั้งทัศนคติกับพฤติกรรม
อาจไม่สอดคล้องกัน คือ คนที่เห็นด้วยโดยภาพรวมแต่อาจไม่รับร่างรัฐธรรมนูญได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องบริหารจัดการการรับรู้ ความเข้าใจ ความ
ตระหนัก และการให้ประชาชนเอาเรื่องรัฐธรรมนูญมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต จึงจำเป็นต้องมี “กรณีศึกษา” เช่น กรณีปัญหาความไม่ชอบมาพากลของอดีต
นายกรัฐมนตรี กรณีก่อสร้างโรงไฟฟ้า กรณีผลกระทบของโรงงานอุตสาหกรรม และกรณีชุมชนได้รับผลกระทบจากนโยบายของภาครัฐ โดยทำให้ปรากฏ
เป็นข่าวสารที่ประชาชนรับรู้รับทราบโดยทั่วหน้ากัน เพื่อจะได้รู้สึกว่ารัฐธรรมนูญเป็นเรื่องใกล้ตัวประชาชน และประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญ
ผู้ใดจะมาฉีกรัฐธรรมนูญอีกไม่ได้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจการรับรู้ของประชาชนต่อรัฐธรรมนูญและการลงประชามติ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550:
กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 12 จังหวัดของประเทศ” ในครั้งนี้ ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ พิษณุโลก ลพบุรี ปทุมธานี ชลบุรี กาญจนบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี สงขลา และ สุราษฎร์ธานี
ด้วยเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมาย
จากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,146 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาด
เคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ
การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.3 ระบุเป็นชาย
และร้อยละ 48.7 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 33.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 27.8 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 12.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.8 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 29.8 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 9.7 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 26.3 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/ รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 24.8 ระบุค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ
ร้อยละ 15.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 13.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.3 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 3.8 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 1.5 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 40.2
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 17.7
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 11.3
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 23.1
5 ไม่ได้ติดตาม 7.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ การทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ 6 เม.ย. 50 15 ก.ค. 50 ส่วนต่างสองครั้ง
1 ทราบ โดยสามารถระบุได้ถูกต้อง เช่น กฎหมายแม่บท /
กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ / ข้อกำหนดในเรื่อง
สิทธิหน้าที่ของประชาชน 32.1 62.8 +30.7
2 ไม่ทราบ 67.9 37.2 -30.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุว่ารัฐธรรมนูญมีความสำคัญกับชีวิต
ลำดับที่ รัฐธรรมนูญมีความสำคัญกับชีวิต ค่าร้อยละ
1 สำคัญ ....เพราะ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ / เป็นกฎระเบียบที่ควบคุมให้สังคม
อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข / คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้ได้รับความยุติธรรม 88.0
2 ไม่สำคัญ...เพราะ ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน / เป็นเรื่องไกลตัว /ประชาชนทั่วไป
ยังไม่มีสิทธิเข้าไปกำหนดรัฐธรรมนูญ / รัฐธรรมนูญมีไว้เพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่ม 12.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ทราบความหมายของการลงประชามติ
ลำดับที่ การทราบความหมายของการลงประชามติ ค่าร้อยละ
1 ทราบ โดยสามารถระบุได้ถูกต้อง เช่น การลงคะแนนเสียงของประชาชน / การลงความเห็นเพื่อ
แสดงความต้องการของประชาชนในประเด็นต่างๆ 60.7
2 ไม่ทราบ 39.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญปี 50 ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง
ลำดับที่ สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เกี่ยวกับประชาชนโดยตรง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1 บุคคลที่ไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอ มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ 95.5 4.0 0.5 100.0
2 ในการทำสนธิสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อประชาชน
รัฐจะต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน 90.2 8.5 1.3 100.0
3 ประชาชนมีสิทธิฟ้องศาลรัฐธรรมนูญด้วยตนเองได้ 79.3 18.4 2.3 100.0
4 ให้สิทธิประชาชน 50,000 คน เข้าชื่อเพื่อเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ 74.6 23.9 1.5 100.0
5 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คนสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ 63.0 34.6 2.4 100.0
6 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อถอดถอน
นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาได้ 55.9 37.9 6.2 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ ปี 50 ที่ไม่เกี่ยวกับประชาชนโดยตรง
ลำดับที่ สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ไม่เกี่ยวกับประชาชนโดยตรง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1 กำหนดมาตรฐานจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ซึ่งหากฝ่าฝืนร้ายแรงให้สามารถถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ 89.1 9.4 1.5 100.0
2 ห้ามมิให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรับการสัมปทานจากรัฐ หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ 86.0 12.4 1.6 100.0
3 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย
และการลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 80.7 17.2 2.1 100.0
4 ห้ามปิดกิจการสื่อมวลชน และห้ามแทรกแซงสื่อมวลชนในการเสนอข่าวสารทั้งทางตรง
และทางอ้อม 77.5 20.7 1.8 100.0
5 นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องไม่เป็นหุ้นส่วน
หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท 75.1 23.7 1.2 100.0
6 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการเสนอร่างกฎหมาย 74.1 23.2 2.7 100.0
7 ปรับปรุงระบบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเป็นระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน
ที่มีการแบ่งเป็นกลุ่มจังหวัด 73.7 23.3 3.0 100.0
8 นายกรัฐมนตรีอยู่ได้ไม่เกิน 2 สมัย หรือ 8 ปี 70.3 25.4 4.3 100.0
9 ห้ามควบรวมพรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภา ในระหว่างอายุของสภา 67.9 27.8 4.3 100.0
10 ที่มาของสมาชิกวุฒิสภาเป็นระบบสรรหาที่มาจากจังหวัดและกลุ่มวิชาชีพ 65.2 32.2 2.6 100.0
11 ขยายเขตการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใหญ่ขึ้น 64.0 32.9 3.1 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในภาพรวมจำแนกตามการสนับสนุนรัฐบาล
ลำดับที่ ความคิดเห็น สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล ไม่อยู่ฝ่ายใด(พลังเงียบ) รวมทั้งสิ้น
1 เห็นด้วย 84.9 28.7 53.9 57.1
2 ไม่เห็นด้วย 8.4 56.3 22.8 22.9
3 ไม่มีความเห็น 6.7 15.0 23.3 20.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบวันที่ลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ลำดับที่ การทราบวันที่ลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ค่าร้อยละ
1 ทราบ 18.0
2 ไม่ทราบ 82.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-