ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ นักศึกษาด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ และนาย วรภัทร ปราณีประชาชน นักศึกษาประจำสถาบันคอร์เนลล์เพื่อภารกิจของรัฐ (Cornell Institute for Public Affairs) มหาวิทยาลัย คอร์เนลล์ (Cornell University) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ใครแพ้ใครชนะ ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งครั้งใหญ่ทั่วประเทศ กรณีศึกษา ตัวอย่างประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จันทบุรี กาญจนบุรี ปทุมธานี ชลบุรี หนองคาย สกลนคร ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ขอนแก่น เชียงใหม่ พิจิตร พิษณุโลก ตรัง นครศรีธรรมราช และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,068 ตัวอย่าง ดำเนิน โครงการระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน — 11 ธันวาคม 2553 ผลการสำรวจพบว่า
ประชาชนที่ถูกศึกษาเกินครึ่งหรือร้อยละ 54.8 มีความหวังว่าบ้านเมืองจะสงบสุขหลังการเลือกตั้งในปีหน้า อย่างไรก็ตาม ประชาชน จำนวนมากหรือร้อยละ 45.2 ไม่มีความหวังว่า บ้านเมืองจะสงบลงได้ หลังการเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.9 มองว่า ทุกคนควรยอมรับผลการเลือกตั้งครั้งใหม่ ถึงแม้พรรคการเมืองที่ตนเองชอบ จะแพ้การเลือกตั้ง เพราะ บ้านเมืองจะได้เดินหน้าต่อได้ ช่วยกันทำให้บ้านเมืองสงบสุข กลับ้านเมืองวุ่นวาย กลัวการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เป็นต้น ในขณะที่เกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 37.1 คิดว่าจะไม่ยอมรับ เพราะอาจมีการโกงการเลือกตั้ง มีการใช้อิทธิพล ใช้อำนาจชนะการเลือก ตั้ง มีการซื้อเสียง และคิดว่าไม่ใช่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม เป็นต้น
และหลังคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ผ่านพ้นไป มีการสอบถามถึงความตั้งใจจะเลือกพรรคการเมือง ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง พบว่า ไม่มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติว่า “ใครจะชนะการเลือกตั้ง” ระหว่างพรรคการเมืองใหญ่สองพรรค โดยพรรคประชาธิปัตย์มีสัดส่วนสูงกว่าเล็ก น้อย คือร้อยละ 46.7 ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่ร้อยละ 44.0 ตั้งใจจะเลือกพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 9.3 ระบุพรรคการเมือง อื่นๆ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อจำแนกกลุ่มคนที่ตั้งใจจะเลือกพรรคการเมืองที่ชอบออกเป็นกลุ่มฐานนิยมทางการเมือง พบ การแบ่งขั้วชัดเจนระหว่างกลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาล คือ ร้อยละ 89.8 ของกลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลจะเลือกพรรคเพื่อไทย ใน ขณะที่ร้อยละ 89.4 ของกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ โดยกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือ กลุ่มพลังเงียบที่ดูเหมือนเป็นกลุ่มที่ชี้อนาคตทางการเมือง ของประเทศไทย ร้อยละ 46.5 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 41.0 จะเลือกพรรคเพื่อไทย กลุ่มตัวอย่างที่เหลือร้อยละ 12.5 จะเลือก พรรคการเมืองอื่นๆ
เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า ชายร้อยละ 47.0 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่ร้อยละ 43.1 จะเลือกพรรคเพื่อไทยและร้อยละ 9.9 จะเลือกพรรคการเมืองอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงร้อยละ 49.0 จะเลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 42.1 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 8.9 จะเลือกพรรคอื่นๆ จะเห็นว่า ในกลุ่มผู้ชายจะคนที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์มากกว่าพรรคเพื่อไทย ส่วนในกลุ่มผู้หญิงจะมีคนที่เลือกพรรคเพื่อไทย มากกว่าพรรคประชาธิปัตย์
เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบประเด็นที่น่าสนใจ คือ ยิ่งคนมีอายุมากมีสัดส่วนคนที่จะเลือกพรรคเพื่อไทยมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะที่พรรค ประชาธิปัตย์ตัวเลขไม่แตกต่างกันนักในกลุ่มช่วงอายุ ยกเว้นในกลุ่มคนอายุระหว่าง 25 — 35 ปีร้อยละ 49.2 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 41.2 จะเลือกพรรคเพื่อไทย เช่นเดียวกับกลุ่มเยาวชนร้อยละ 45.8 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 40.4 จะเลือกพรรคเพื่อไทย ที่เหลือเลือก พรรคการเมืองอื่น ๆ ในขณะที่กลุ่มอายุอื่นๆ สูสีกันระหว่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยคือ ร้อยละ 45.2 ต่อร้อยละ 46.6 ในกลุ่มอายุ 36 — 45 ปี และร้อยละ 45.9 ต่อร้อยละ 46.7 ในกลุ่มอายุ 46 ปีขึ้นไป
ที่น่าสนใจคือ หลังจากจำแนกกลุ่มอาชีพ พบว่า พรรคเพื่อไทยยังคงครองใจกลุ่มเกษตรกรและรับจ้างทั่วไปคือ ร้อยละ 47.1 จะเลือก พรรคเพื่อไทย อย่างไรก็ตาม จำนวนมากหรือร้อยละ 44.2 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ นอกจากนี้ในกลุ่มอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 51.7 กลุ่มค้าขายธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 53.6 และกลุ่มนักเรียนนักศึกษาร้อยละ 59.3 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ นอกจากนี้กลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐ วิสาหกิจ ร้อยละ 46.0 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ แต่จำนวนมากหรือร้อยละ 42.9 จะเลือกพรรคเพื่อไทย
เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีสัดส่วนของคนที่จะเลือกพรรคเพื่อไทยร้อยละ 47.2 ซึ่งมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ที่มีอยู่ร้อยละ 44.1 แต่ในกลุ่มคนที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปคือร้อยละ 52.7 ของคนที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 55.6 ของคนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ อย่างไรก็ตามจำนวนมากของคนที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีคือ ร้อยละ 42.7 และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 30.0 จะเลือกพรรคเพื่อไทย
เมื่อพิจารณาระดับรายได้ พบว่า สัดส่วนของคนที่จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์เพิ่มสูงขึ้นตามระดับรายได้ คือร้อยละ 41.9 ของคนที่มีราย ได้ไม่เกิน 5000 บาท ร้อยละ 44.5 ของคนที่มีรายได้ระหว่าง 5,001 - 10,000 ร้อยละ 57.9 ของคนมีรายได้มากกว่า 25,000 บาทต่อเดือน จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับกลุ่มคนที่จะเลือกพรรคเพื่อไทย มีสัดส่วนน้อยลงตามระดับรายได้ของตัวอย่างที่เพิ่มสูงคือ คือ ร้อย ละ 47.6 ของคนรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท และร้อยละ 33.1 ของคนที่มีรายได้มากกว่า 25,000 บาท จะเลือกพรรคเพื่อไทย
แต่เป็นที่ชัดเจนไม่แตกต่างไปจากผลสำรวจก่อนหน้านี้ว่า คนที่อยู่ในเขตเทศบาล ในเขตเมืองจะมีสัดส่วนของคนที่จะเลือกพรรคประชา ธิปัตย์มากกว่า พรรคเพื่อไทย คือร้อยละ 47.8 ต่อร้อยละ 42.2 ในการสำรวจครั้งนี้ แต่ในพื้นที่นอกเขตเทศบาลร้อยละ 46.2 จะเลือกพรรคเพื่อ ไทย และร้อยละ 44.9 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์
นายวรภัทร ปราณีประชาชน นักศึกษาผู้วิจัยร่วม มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ กล่าวว่า “ความรักความเกลียดของประชาชนต่อพรรคการ เมืองใหญ่ทั้งสองพรรคเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงสำหรับเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ ดังนั้น รัฐบาลและทุกๆ ฝ่ายต้องเพิ่มระดับความเข้มและ มาตรการต่างๆ ของแผนปรองดองในช่วงเวลาแห่งความสุขต้อนรับปีใหม่นี้เพื่อประคับประคองให้การพัฒนาประเทศไม่หยุดชะงัก และระบอบ ประชาธิปไตยของไทยไม่ถูกบิดเบือนไป”
ขณะที่ ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวสรุปว่า “โดยภาพรวม ในทางสถิติถือว่าสูสีกันมากระหว่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย ตัวแปร สำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลจึงอยู่ที่อำนาจการต่อรองทางเมืองและผลประโยชน์ของพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็ก แต่ถ้าทุกๆ ฝ่ายไม่ทำให้บ้าน เมืองถอยหลัง และไม่มีอำนาจพิเศษจากคนเฉพาะกลุ่มมากดดันฝ่ายการเมืองและการเคลื่อนไหวที่บริสุทธิ์ของประชาชน กลุ่มคนตัดสินชี้อนาคตอำนาจ ทางการเมืองของพรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองจึงน่าจะอยู่ที่ “กลุ่มพลังเงียบ” ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ กลุ่มพลังเงียบส่วนใหญ่ต้องการเห็นบ้าน เมืองสงบสุข ไม่วุ่นวาย แต่คนกลุ่มพลังเงียบก็ต้องการเห็นความเป็นธรรมในสังคมไม่เลือกปฏิบัติ หากทุกฝ่ายเลือกเดินทางนี้ บนการเมืองเชิงสร้าง สรรค์ และมีความรวดเร็วฉับไวตอบสนองเสียงสะท้อนของสาธารณชน (Responsiveness) โดยมีระบบรองรับการชุมนุมเคลื่อนไหวที่สร้างความไว้ วางใจ (Trust)ในหมู่ประชาชน ไม่ใช่เพียงส่งตัวแทนออกมารับหนังสือหรือข้อเรียกร้องแล้วเงียบหายไป หมายถึงทุกฝ่ายใส่ใจความรู้สึกของ ประชาชนอย่างแท้จริง การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายทางการเมืองสองขั้วหรือหลายขั้วก็จะไม่ทำร้ายสังคมไทยได้ ตรงกันข้ามจะสามารถนำไปสู่ความเป็นหนึ่ง เดียวบนความหลากหลายและเสถียรภาพที่แข็งแกร่งของระบอบประชาธิปไตย”
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 48.4 เป็นชาย
ร้อยละ 51.6 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 13.9 อายุ 18-24 ปี
ร้อยละ 24.4 อายุระหว่าง 25-35 ปี
ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 36-45 ปี
และร้อยละ 38.8 อายุระหว่าง 46 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 64.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 27.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 7.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 27.4 ค้าขายอิสระ/ ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.2 เกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป
ร้อยละ 20.7 พนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.6 ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.2 นักเรียนนักศึกษา
ร้อยละ 9.9 แม่บ้าน เกษียณอายุ และว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อการเลือกตั้งใหม่ ในปีหน้า ค่าร้อยละ 1 มีความหวัง ว่าบ้านเมืองจะสงบสุข 54.8 2 ไม่มีความหวัง ว่าบ้านเมืองจะสงบ 45.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ ผลการเลือกตั้งครั้งใหม่ ถ้าพรรคการเมืองที่ตนเองชอบ “แพ้” ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ทุกคนควรยอมรับ เพราะ บ้านเมืองจะได้เดินหน้าต่อได้ ช่วยกันทำให้บ้านเมืองสงบสุข กลัวบ้านเมืองวุ่นวาย กลัวการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เป็นต้น 62.9 2 ไม่ยอมรับ เพราะอาจมีการโกงการเลือกตั้ง มีการใช้อิทธิพล ใช้อำนาจชนะเลือกตั้ง มีการซื้อเสียง ไม่ใช่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม เป็นต้น 37.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง จะเลือกพรรคการเมืองใด ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ค่าร้อยละ 1 พรรคประชาธิปัตย์ 46.7 2 พรรคเพื่อไทย 44.0 3 พรรคการเมืองอื่นๆ 9.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง จะเลือกพรรคการเมืองใด จำแนกตามจุดยืนทางการเมือง ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ไม่สนับสนุนรัฐบาล สนับสนุนรัฐบาล กลุ่มพลังเงียบ 1 พรรคประชาธิปัตย์ 3.9 89.4 46.5 2 พรรคเพื่อไทย 89.8 5.3 41.0 3 พรรคการเมืองอื่นๆ 6.3 5.3 12.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง จะเลือกพรรคการเมืองใด จำแนกตาม เพศ ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ชาย หญิง 1 พรรคประชาธิปัตย์ 47.0 42.1 2 พรรคเพื่อไทย 43.1 49.0 3 พรรคการเมืองอื่นๆ 9.9 8.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง จะเลือกพรรคการเมืองใด จำแนกตาม ช่วงอายุ ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก 18—24 ปี 25—35 ปี 36—45 ปี 46 ปีขึ้นไป 1 พรรคประชาธิปัตย์ 45.8 49.2 45.2 45.9 2 พรรคเพื่อไทย 40.4 41.2 46.6 46.7 3 พรรคการเมืองอื่นๆ 13.8 9.6 8.2 7.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง จะเลือกพรรคการเมืองใด จำแนกตาม อาชีพ ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ข้าราชการ เกษตรกร พนักงาน ค้าขาย นักเรียน อื่นๆ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ รับจ้างทั่วไป บริษัทเอกชน ธุรกิจส่วนตัว นักศึกษา
1 พรรคประชาธิปัตย์ 46.0 44.2 51.7 53.6 59.3 43.1 2 พรรคเพื่อไทย 42.9 47.1 33.3 40.6 25.4 48.0 3 พรรคการเมืองอื่นๆ 11.1 8.7 15.0 5.8 15.3 8.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง จะเลือกพรรคการเมืองใด จำแนกตาม ระดับการศึกษา ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี 1 พรรคประชาธิปัตย์ 44.1 52.7 55.6 2 พรรคเพื่อไทย 47.2 42.7 30.0 3 พรรคการเมืองอื่นๆ 8.7 4.6 14.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง จะเลือกพรรคการเมืองใด จำแนกตาม รายได้ ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ไม่เกิน5,000 5,001—10,000 10,001—15,000 15,001—20,000 20,001—25,000 มากกว่า25,000 1 พรรคประชาธิปัตย์ 41.9 44.5 48.1 50.6 52.9 57.9 2 พรรคเพื่อไทย 47.6 44.8 46.8 41.5 36.8 33.1 3 พรรคการเมืองอื่นๆ 10.5 10.7 5.1 7.9 10.3 9.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง จะเลือกพรรคการเมืองใด จำแนกตาม พื้นที่ ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล 1 พรรคประชาธิปัตย์ 47.8 44.9 2 พรรคเพื่อไทย 42.2 46.2 3 พรรคการเมืองอื่นๆ 10.0 8.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
--เอแบคโพลล์--