สำนักวิจัยเอแบคโพลล์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง
ประสบการณ์และสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน:
กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และนักศึกษาด้าน การพัฒนาระหว่างประเทศ ประจำสถาบันคอร์เนลล์เพื่อภารกิจของรัฐ (Cornell Institute for Public Affairs) มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง ประสบการณ์และ สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพ มหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,349 ตัวอย่าง โดยดำเนินการวิจัยข้อมูลในช่วง 28 - 29 ธันวาคม 2553 พบว่า ส่วนใหญ่หรือ 94.8 ทราบข่าวอุบัติเหตุการเฉี่ยวชนรถตู้จนเกิดการสูญเสียชีวิตจำนวนมาก เมื่อสอบถามถึงประสบการณ์เคยพบเห็นอุบัติเหตุด้วยตนเองในระหว่างเดิน พบว่า เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 58.4 ระบุเคยพบเห็นอุบัติเหตุด้วยตนเองในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 41.6 ระบุไม่เคยพบเห็น นอกจากนี้เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อเหตุการณ์อุบัติเหตุรถตู้ที่เกิดขึ้น พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.7 ระบุ ว่าเมื่อเวลาผ่านไป ไม่มีอะไรดีขึ้น (เกรงว่าจะเป็นเหมือนไฟไหม้ฟาง) ในการป้องกันอุบัติเหตุบนถนน เพราะ เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่จริงจังต่อเนื่อง เป็นแค่กระแส ตำรวจไม่กล้าจับกุมผู้กระทำผิดที่มีอิทธิพล รัฐบาลไม่เอา จริง ร้อยละ 27.3 คิดว่าจะมีการแก้ไขป้องกันอุบัติเหตุได้ดีขึ้น
ส่วนสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน พบว่า ร้อยละ 97.6 เกิดจากการขับรถเกิดความ เร็วที่กำหนด ร้อยละ 95.5 เกิดจากเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เข้มงวด กวดขัน จับกุมผู้กระทำผิด ร้อยละ 94.1 เกิดจากเมาแล้วขับ ร้อยละ 74.8 เกิดจากไม่ทำตามป้ายสัญญาณ วิ่งย้อนศร กฎจราจร และรอง ๆ ลงไป คือ เกิดจากสภาพรถยนต์ไม่สมบูรณ์ ไม่มีป้ายสัญญาณเตือนในระยะที่ป้องกันอุบัติเหตุ สภาพถนนเป็นหลุม เป็นบ่อ สภาพอากาศ ฝนตกหนัก ถนนลื่น และสภาพร่างกายของผู้ขับขี่ ความไม่มีน้ำใจต่อกัน ไม่ยอมกัน และ วัสดุตกหล่นบนถนน ไฟส่องสว่างไม่เพียงพอ คนเดินข้ามถนน เป็นต้น
เมื่อสอบถามความต้องการของประชาชนที่อยากเห็นเมื่อต้องขับขี่ถึงทางแยก พบว่า ร้อยละ 86.8 อยากให้ สลับแบ่งกันไป /ความมีน้ำใจของผู้ขับขี่ ร้อยละ 86.0 อยากเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ประจำ และร้อยละ 53.5 อยากเห็นป้าย “หยุด” สัญญาณไฟควบคุมจราจร
เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อการมีกฎหมายให้อำนวยความสะดวกต่อรถฉุกเฉิน พบว่า ร้อยละ 71.9 เห็นด้วย ต่อการมีกฎหมายบังคับให้รถยนต์หลบทางให้รถฉุกเฉิน ร้อยละ 28.1 ไม่เห็นด้วย
ผอ. เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้วมีความแตกต่างในเรื่องการเอาจริงเอาจังป้องกัน แก้ปัญหาอุบัติเหตุบนถนนมากกว่าประเทศไทย ซึ่งมีความแตกต่างหลายด้าน เช่น กฎหมายที่จะต้องให้มีเข็มขัดนิรภัย ให้กับผู้โดยสารทุกที่นั่ง ความเข้มงวด กวดขัน จับกุมผู้กระทำผิด กฎหมายจับ ปรับผู้กระทำผิด ในชุมชน ท้องที่ ๆ เกิดเหตุ มีการเข้มงวดบริเวณทางแยก และมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาควบคุมพฤติกรรมการขับรถของประชาชน เป็นต้น ดังนั้นจึงเสนอให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงภาคประชาชน ผลักดันให้การแก้ไขปัญหาอุบัติ เหตุขึ้นเป็นวาระแห่งชาติเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 55.6 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ ร้อยละ 44.4 ระบุ เป็นชาย ตัวอย่าง ร้อยละ 5.8 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.3 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 24.1 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 20.0 ระบุอายุระหว่าง 40-49 ปี และร้อยละ 29.8 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 70.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 21.6 สำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 8.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 35.2 ระบุธุรกิจ ส่วนตัว/อาชีพค้าขาย ร้อยละ 25.9 ระบุรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป ร้อยละ 14.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 5.4 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 5.6 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 2.5 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตาราง
ลำดับที่ การทราบข่าวอุบัติหตุรถตู้ถูกเฉี่ยวชน ค่าร้อยละ 1 ทราบข่าว 94.8 2 ไม่ทราบข่าว 5.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ มีประสบการณ์เคยพบเห็นอุบัติเหตุด้วยตนเองในระหว่างการเดินทางช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ลำดับที่ ประสบการณ์เคยพบเห็นอุบัติเหตุด้วยตนเอง ร้อยละ 1 เคยพบเห็น 58.4 2 ไม่เคยพบเห็น 41.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อเหตุการณ์อุบัติเหตุรถตู้ที่เกิดขึ้น ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ 1 เมื่อเวลาผ่านไป ไม่มีอะไรดีขึ้น (เกรงว่าจะเป็นเหมือนไฟไหม้ฟาง) ในการป้องกันอุบัติเหตุบนถนน เพราะ เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่จริงจังต่อเนื่อง เป็นแค่กระแส ตำรวจไม่กล้าจับกุมผู้กระทำผิดที่มีอิทธิพล รัฐบาลไม่เอาจริง เป็นต้น 72.7 2 คิดว่าจะมีการแก้ไขป้องกันอุบัติเหตุได้ดีขึ้น 27.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ค่าร้อยละ 1 ขับรถเกินความเร็วที่กำหนด 97.6 2 เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เข้มงวด กวดขัน จับกุมผู้กระทำผิด 95.5 3 เมาแล้วขับ 94.1 4 ไม่ทำตามป้ายสัญญาณ วิ่งย้อนศร กฎจราจร 74.8 5 สภาพรถยนต์ไม่สมบูรณ์ 69.4 6 ไม่มีป้ายสัญญาณเตือนในระยะที่ป้องกันอุบัติเหตุ 68.6 7 สภาพถนนเป็นหลุม เป็นบ่อ 57.3 8 สภาพอากาศ ฝนตกหนัก ถนนลื่น 55.2 9 อื่นๆ สภาพร่างกายของผู้ขับขี่ ความไม่มีน้ำใจต่อกัน ไม่ยอมกัน วัสดุตกหล่นบนถนน ไฟส่องสว่างไม่เพียงพอ คนเดินข้ามถนน เป็นต้น 24.2 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการอยากเห็นของประชาชนถ้าต้องขับขี่ถึงทางแยก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ความต้องการอยากเห็น ค่าร้อยละ 1 อยากให้สลับแบ่งกันไป/ความมีน้ำใจของผู้ขับขี่ 86.8 2 อยากเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ประจำทางแยก 86.0 3 อยากเห็นป้าย “หยุด” สัญญาณไฟควบคุมจราจร 53.5 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการมีกฎหมายให้อำนวยความสะดวกต่อรถฉุกเฉิน ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วยต่อการมีกฎหมายบังคับให้รถยนต์หลบทางให้รถฉุกเฉิน 71.9 2 ไม่เห็นด้วย 28.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1550 www.abacpoll.au.edu
--เอแบคโพลล์--