ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และนักศึกษาด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ ประจำสถาบันคอร์เนลล์เพื่อภารกิจของรัฐ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อ 7 คนไทยถูกจับที่ประเทศกัมพูชา กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ จันทบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ชลบุรี หนองคาย สกลนคร สุรินทร์ อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา ชุมพร นราธิวาส และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,085 ตัวอย่าง โดยดำเนินการในช่วง 1 — 6 มกราคม 2554 ผลการสำรวจพบว่าส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารบ้านเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.9 ทราบข่าวการจับกุม 7 คนไทยที่ชายแดนไทย-กัมพูชา
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อกรณีการเดินทางไปที่ชายแดนไทย-กัมพูชาของคนไทยทั้ง 7 คนนั้น พบว่า ร้อยละ 23.7 ระบุคิดว่าเป็นภารกิจเพื่อประเทศชาติ ในขณะที่ร้อยละ 18.2 ระบุคิดว่าทำเพื่อตนเองและพรรคพวก อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.1 ระบุไม่ทราบเหตุผลแน่ชัดว่า 7 คนไทยไปทำอะไรในพื้นที่ชายแดน
และ เมื่อสอบถามความคิดเห็นตัวอย่างต่อไปถึงกรณีที่คนไทยทั้ง 7 คนถูกจับที่ชายแดนไทย-กัมพูชากับบทพิสูจน์ความเป็นผู้นำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศนั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 26.6 ระบุคิดว่าเป็นการพิสูจน์ความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.4 ไม่คิดเช่นนั้น
เมื่อถามถึงทางออกหรือแนวทางแก้ไขปัญหากรณีที่ 7 คนไทยถูกจับที่ชายแดนไทย-กัมพูชา พบว่า ร้อยละ 45.9 ระบุให้ผู้นำประเทศทั้งสองร่วมกันแก้ปัญหา ร้อยละ 27.0 ระบุรัฐบาลต้องช่วยเหลือคนไทยทั้ง 7 ให้เร็วที่สุด ร้อยละ 19.9 ระบุต้องเป็นไปตามกฎหมาย ไม่ควรเข้าแทรกแซง ร้อยละ 6.9 ระบุพิสูจน์ให้ได้ว่าพื้นที่ที่ถูกจับเป็นชายแดนไทยหรือของกัมพูชา รองๆ ลงไป คือ ให้ใช้การเจรจาทางการทูต ให้นายกรัฐมนตรีสนใจจริงจังมากกว่านี้ อยากให้ประเทศกัมพูชาปล่อยตัว และให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันแก้ปัญหา เป็นต้น
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่าตัวอย่างร้อยละ 48.0 เป็นชาย
ร้อยละ 52.0 เป็นหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 3.1 อายุน้อยกว่า 20 ปี
ร้อยละ 13.9 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 15.5 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 46.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 69.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 27.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และ
ร้อยละ 3.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.4 ค้าขายอิสระ/ ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.2 รับจ้างใช้แรงงาน เกษตรกร
ร้อยละ 8.1 พนักงานเอกชน
ร้อยละ 7.7 ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 4.4 นักเรียนนักศึกษา
ร้อยละ 22.5 แม่บ้าน เกษียณอายุ
และร้อยละ 1.7 ว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารบ้านเมืองผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 50.9 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 19.8 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 17.1 4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 6.4 5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับทราบข่าว 7 คนไทยถูกจับที่ประเทศกัมพูชา ลำดับที่ การรับทราบข่าว ค่าร้อยละ 1 ทราบข่าวคนไทย 7 คนถูกจับ 94.9 2 ไม่ทราบข่าว 5.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อภารกิจของคนไทยทั้ง 7 คนที่ชายแดนไทย — กัมพูชา ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เป็นภารกิจเพื่อประเทศชาติ 23.7 2 ทำเพื่อตนเองและพรรคพวก 18.2 3 ไม่ทราบเหตุผลแน่ชัดไปทำอะไรที่ชายแดน 58.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการพิสูจน์ความเป็นผู้นำของนายอภิสิทธิ์ในการแก้ปัญหาระหว่างประเทศ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เป็นการพิสูจน์ความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรี 26.6 2 ไม่คิดเช่นนั้น 73.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกหรือแนวทางแก้ไขปัญหากรณีที่ 7 คนไทยถูกจับที่ชายแดนไทย-กัมพูชา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ทางออกหรือแนวทางแก้ไขปัญหา ค่าร้อยละ 1 ให้ผู้นำประเทศทั้งสองร่วมกันแก้ปัญหา 45.9 2 รัฐบาลต้องช่วยเหลือคนไทยทั้ง 7 ให้เร็วที่สุด 27.0 3 ต้องเป็นไปตามกฎหมาย ไม่ควรเข้าแทรกแซง 19.9 4 พิสูจน์ให้ได้ว่าพื้นที่ที่ถูกจับเป็นชายแดนของไทย หรือกัมพูชา 6.9 5 ให้ใช้การเจรจาทางการทูต 6.1 6 ให้นายกรัฐมนตรีสนใจจริงจังมากกว่านี้ 4.4 7 อยากให้ประเทศกัมพูชาปล่อยตัว 2.5 8 อื่น ๆ อาทิ ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหา เป็นต้น 1.4
--เอแบคโพลล์--