เอแบคโพลล์: พฤติกรรมการรับเงินซื้อเสียง และจุดยืนทางการเมืองของสาธารณชน

ข่าวผลสำรวจ Monday January 17, 2011 07:19 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และนักศึกษาด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสถาบัน คอร์เนลล์เพื่อภารกิจของรัฐ (Cornell Institute for Public Affairs) มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) เปิดเผยผลวิจัย เชิงสำรวจ เรื่อง พฤติกรรมการรับเงินซื้อเสียง และจุดยืนทางการเมืองของสาธารณชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัด ของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา ลพบุรี สุพรรณบุรี ชลบุรี สมุทรปราการ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เชียงใหม่ นครพนม สกลนคร ศรีสะเกษ อุดรธานี สตูล ปัตตานี นครศรีธรรมราช และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,604 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 8 — 15 มกราคม 2554 ผลการสำรวจพบว่า

ประชาชนที่ถูกศึกษาเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.2 จะรับเงินซื้อเสียง โดยร้อยละ 6.6 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 40.2 ไม่รับ และเมื่อ จำแนกตามเพศ พบว่า ชายมีสัดส่วนของผู้ที่ตั้งใจจะรับเงินซื้อเสียงมากกว่า หญิง โดยพบว่า ร้อยละ 56.8 เป็นเพศชายที่ตั้งใจจะรับเงินซื้อเสียง และ ร้อยละ 49.9 เป็นเพศหญิง

ที่น่าพิจารณา คือ เมื่อจำแนกประเด็นพฤติกรรมการจะรับเงินซื้อเสียงตาม ระดับรายได้ส่วนตัวของประชาชน พบว่า ผู้มีรายได้น้อยมี จำนวนของผู้ที่ตั้งใจจะรับเงินซื้อเสียงมากกว่า ผู้มีรายได้สูง โดยพบว่า ร้อยละ 55.5 ผู้มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 55.0 ผู้มีรายได้ 15,001-20,000 บาท ร้อยละ 53.7 ผู้มีรายได้ 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 52.8 ผู้มีรายได้ 10,001-15,000 บาท และร้อยละ 40.5 ผู้มี รายได้มากกว่า 20,000 บาท

และเมื่อจำแนกกลุ่มตัวอย่างออกตามภูมิภาคต่างๆ พบว่า ร้อยละ 69.6 ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนของผู้ ที่ตั้งใจจะรับเงินซื้อเสียงมากที่สุด รองลง คือ ร้อยละ 56.6 กรุงเทพ ส่วนในภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 47.7 ในภาคเหนือ ร้อยละ 45.1 ในภาคใต้ และร้อยละ 42.9 ในภาคกลาง ตามลำดับ

แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.5 ระบุมีการซื้อเสียงในชุมชน หมู่บ้านที่ตนพักอาศัยอยู่ ในขณะที่ ร้อยละ 20.5 คิด ว่าไม่มี และเมื่อจำแนกประชาชนที่คาดการณ์ว่าจะมีการซื้อเสียงในชุมชน หมู่บ้านที่ตนเองพักอาศัยอยู่ ออกตามพื้นที่ พบว่า ประชาชนในเขตเทศบาล และ ไม่เว้นแม้แต่คนกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่คาดว่าจะมีการซื้อเสียงเกิดขึ้นในชุมชน หมู่บ้านของตนเอง โดยร้อยละ 81.8 ของคนในเขตเทศบาล และร้อยละ 80.9 ของคนที่อยู่ในกรุงเทพมหานครคาดว่าจะมีการซื้อเสียงเกิดขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 75.5 ของประชาชนที่อยู่นอกเขตเทศบาลคาดการ เช่นเดียวกันว่าจะมีการซื้อเสียงเกิดขึ้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่ามีสัดส่วนน้อยกว่าคนในเขตเทศบาลและคนกรุงเทพมหานครที่เชื่อว่าจะมีการซื้อเสียงเกิดขึ้น ในชุมชนหรือหมู่บ้านของตนเอง

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงจุดยืนทางการเมืองของสาธารณชนในปัจจุบันนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.1 ยังคงเป็นกลุ่มพลังเงียบ ขอ อยู่ตรงกลาง ไม่อยู่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ในขณะที่ร้อยละ 27.2 สนับสนุนรัฐบาล แต่ร้อยละ 11.7 ไม่สนับสนุนรัฐบาล

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 52.8 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 47.2 เป็นเพศชาย ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตาม ช่วงอายุพบว่า ร้อยละ 9.3 ระบุอายุไม่เกิน 20 ปี ร้อยละ 22.1 อายุ 20-29 ปี และร้อยละ 25.6 อายุ 30-39 ปี ร้อยละ 24.1 ระบุอายุ 40-49 ปี ร้อยละ 18.9 ระบุอายุ 50 ปีขึ้น ตัวอย่างร้อยละ 72.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และร้อยละ 25.7 ระบุสำเร็จการ ศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 2.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสู.กว่าป.ตรี ทั้งนี้เมื่อพิจารณาอาชีพประจำที่ทำอยู่ในปัจจุบันพบว่า ร้อยละ 35.0 ระบุ อาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 31.5 ระบุอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ร้อยละ 9.0 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 6.7 ระบุ อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 9.0 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 2.7 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ

โปรดพิจารณารายละเอียดดังตาราง

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การตัดสินใจ ถ้ามีการหาเสียง แล้วผู้สมัครรับเลือกตั้งแจกเงิน
ลำดับที่          การตัดสินใจของประชาชน ถ้ามีการหาเสียง แล้วผู้สมัครรับเลือกตั้งแจกเงิน          ค่าร้อยละ
1          รับเงินซื้อเสียง                                                            53.2
2          ไม่แน่ใจ                                                                  6.6
3          ไม่รับเงินซื้อเสียง                                                          40.2
          รวมทั้งสิ้น                                                                100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การตัดสินใจ ถ้ามีการหาเสียง แล้วผู้สมัครรับเลือกตั้งแจกเงิน จำแนกตามเพศ
ลำดับที่          การตัดสินใจของประชาชน         ชาย          หญิง
1          รับเงินซื้อเสียง                    56.8         49.9
2          ไม่แน่ใจ                          7.2          6.1
3          ไม่รับเงินซื้อเสียง                  36.0         44.0
          รวมทั้งสิ้น                        100.0        100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การตัดสินใจ ถ้ามีการหาเสียง แล้วผู้สมัครรับเลือกตั้งแจกเงิน จำแนกตามรายได้ส่วนตัว
ลำดับที่          การตัดสินใจของประชาชน  ไม่เกิน 5,000 บาท    5,001-10,000 บาท    10,001-15,000 บาท   15,001-20,000 บาท   มากกว่า 20,000 บาท
1          รับเงินซื้อเสียง                    55.5               53.7                  52.8              55.0                   40.5
2          ไม่แน่ใจ                          7.6                6.7                   5.2               3.0                    4.8
3          ไม่รับ                           36.9               39.6                  42.0              42.0                   54.7
          รวมทั้งสิ้น                        100.0              100.0                 100.0             100.0                  100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การตัดสินใจ ถ้ามีการหาเสียง แล้วผู้สมัครรับเลือกตั้งแจกเงิน จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่          การตัดสินใจของประชาชน    เหนือ          กลาง    ตะวันออกเฉียงเหนือ    ใต้         กรุงเทพฯ
1          รับเงินซื้อเสียง                47.4          42.9         69.6         45.1          56.6
2          ไม่แน่ใจ                      7.6           4.7          5.4         11.8           5.8
3          ไม่รับ                       45.0          52.4         25.0         43.1          37.6
          รวมทั้งสิ้น                    100.0         100.0        100.0        100.0         100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การคาดการณ์พฤติกรรมซื้อสิทธิขายเสียงในชุมชน หมู่บ้านที่พักอาศัย
ลำดับที่          การคาดการณ์ของตัวอย่าง                 ค่าร้อยละ
1          มีการซื้อเสียงในชุมชน หมู่บ้านที่พักอาศัยอยู่          79.5
2          คิดว่า ไม่มี                                 20.5
          รวมทั้งสิ้น                                  100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การคาดการณ์พฤติกรรมซื้อสิทธิขายเสียงในชุมชน หมู่บ้านที่พักอาศัย จำแนกตามพื้นที่
ลำดับที่          การคาดการณ์ของตัวอย่าง          ในเขตเทศบาล   นอกเขตเทศบาล   กรุงเทพมหานคร
1          มีการซื้อเสียงในชุมชน หมู่บ้านที่พักอาศัยอยู่      81.8          75.5          80.9
2          คิดว่า ไม่มี                             18.2          24.5          19.1
          รวมทั้งสิ้น                              100.0         100.0         100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างจำแนกตามจุดยืนทางการเมือง
ลำดับที่          จุดยืนทางการเมือง                              ค่าร้อยละ
1          สนับสนุนรัฐบาล                                        27.2
2          ไม่สนับสนุนรัฐบาล                                      11.7
3          เป็นกลุ่มพลังเงียบ ขออยู่ตรงกลาง ไม่อยู่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด          61.1
          รวมทั้งสิ้น                                           100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ