ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และนักศึกษาด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ ประจำสถาบัน คอร์เนลล์เพื่อภารกิจของรัฐ (Cornell Institute for Public Affairs) มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) เปิดตัว “เว็บ ฐานข้อมูลการเมือง” เพื่อปฏิรูปแนวทางปฏิบัติการทำโพลล์ในสังคมไทยที่ต้องพร้อมได้รับการตรวจสอบถึงฐานข้อมูลจากสาธารณชน เป็นการตอบโจทย์ให้ กับกลุ่มคอการเมืองและสถาบันการศึกษาเป็นการเฉพาะให้สามารถเข้าถึงทั้ง ผลสำรวจ แบบสอบถาม และฐานข้อมูลดิบ ต่อยอดงานวิจัยและงานการ เมืองเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
“ที่ผ่านมาสำนักโพลล์และสถาบันวิจัยทั้งรัฐและเอกชนได้แจกเอกสารผลสำรวจให้กับสื่อมวลชนเพียงอย่างเดียว และสื่อมวลชนนำเสนอ ข้อมูลตามที่ได้รับมา บางครั้งถูก “ตัดต่อ” บางครั้งนำเสนอข้อมูลไม่ครบถ้วน และบางครั้งพบด้วยว่า ข้อมูลที่ถูกนำเสนอออกมาคลาดเคลื่อนไปจากความ เป็นจริง การเปิดตัว เว็บฐานข้อมูลการเมืองครั้งนี้จะทำให้ กลุ่มคอการเมืองและสถาบันการศึกษาเข้าถึงข้อมูลได้ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ถือเป็นก้าวแรกของการปฏิรูปแนวทางการทำโพลล์ในสังคมไทยเปิดโอกาสให้มีการเข้าถึงข้อมูลดิบให้กับกลุ่มคนการ เมือง คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา ตั้งแต่ปริญญาตรี ถึงปริญญาเอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่จะขอฐานข้อมูลดิบไปวิเคราะห์ต่อยอด ทำงานทางการ เมืองตามระบอบประชาธิปไตย หรือทำสารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ โดยน่าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของนิสิต นักศึกษา และช่วยกลุ่มคอการเมืองที่ไม่ มีทุนทรัพย์ทำวิจัยด้วยตนเอง ผู้สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ที่ www.abacpolldata.au.edu
นอกจากนี้ ผอ. เอแบคโพลล์ ยังได้เปิดผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง หลังรัฐบาลประกาศนโยบายประชาวิวัฒน์ ประชาชนจะเลือกใครถ้าวันนี้ เป็นวันเลือกตั้ง กรณีศึกษา ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ 28 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เพชรบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ลพบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ชลบุรี น่าน สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เชียงราย เชียงใหม่ อำนาจเจริญ นครพนม สกลนคร ศรีสะเกษ อุดรธานี อุบลราชธานี สตูล ภูเก็ต ปัตตานี สุราษฎรธานี สงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 4,379 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 10 — 19 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา พบว่า
หลังจากการประกาศนโยบายประชาวิวัฒน์ของรัฐบาลที่ผ่านมา กลุ่มประชาชนที่ถูกศึกษาร้อยละ 27.7 ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ใน ขณะที่ร้อยละ 18.7 จะเลือกพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 12.3 จะเลือกพรรคอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 41.3 ไม่ระบุพรรคการเมืองที่จะเลือก
แต่เมื่อวิเคราะห์ผลสำรวจเฉพาะกลุ่มประชาชนที่ระบุพรรคการเมืองที่จะเลือก พบว่า เกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 47.2 ของกลุ่มที่ระบุ พรรคการเมือง จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่ร้อยละ 31.8 จะเลือกพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 21.0 จะเลือกพรรคอื่นๆ
เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้หญิงเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 52.4 ของกลุ่มที่ระบุชื่อพรรคการเมืองจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าผู้ชายที่มีอยู่ร้อยละ 41.7 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่ร้อยละ 35.4 ของผู้ชายจะเลือกพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 28.4 ของผู้หญิงจะเลือกพรรคเพื่อไทย ตามลำดับ
เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า ตัวอย่างที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.5 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งถือเป็นสัด ส่วนที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มช่วงอายุที่น้อยกว่า โดยเฉพาะกลุ่มอายุต่ำกว่า 20 ปี มีอยู่ร้อยละ 39.7 ในขณะที่พรรคเพื่อไทยจะได้ฐานสนับสนุนร้อย ละ 29.3 ในกลุ่มคนอายุ 50 ปีขึ้นไป และได้ร้อยละ 39.3 ในกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 20 ปี
เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา ไม่พบความแตกต่างในการสำรวจครั้งนี้ ที่แต่เดิมในอดีตพบว่า คนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีจะสนับสนุน พรรคประชาธิปัตย์มากกว่าคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี แต่ครั้งนี้กลับไม่พบความแตกต่าง คือ ร้อยละ 48.2 ของคนที่ต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 43.5 ของคนที่จบปริญญาตรี และร้อยละ 43.8 ของคนที่จบสูงกว่าปริญญาตรีจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่ร้อยละ 31.6 ของคนที่ต่ำกว่าปริญญา ตรี ร้อยละ 33.3 ของคนที่จบปริญญาตรี และ ร้อยละ 18.8 ของคนที่จบสูงกว่าปริญญาตรีจะเลือกพรรคเพื่อไทย ส่วนพรรคอื่นๆ จะได้สัดส่วนไป ประมาณเกือบร้อยละ 20 ในทุกกลุ่มการศึกษา
ดร.นพดล กล่าวว่า ที่น่าพิจารณาคือ ในกลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ยังไม่พบว่า พรรคประชาธิปัตย์จะทิ้งห่างพรรคเพื่อไทย มากนัก เนื่องจากพบตัวเลขร้อยละ 43.4 ต่อร้อยละ 40.6 ซึ่งถือว่า สูสีกัน แต่เห็นการทิ้งห่างในกลุ่มธุรกิจและค้าขาย ที่พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 53.6 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์แต่ร้อยละ 26.1 จะเลือกพรรคเพื่อไทย และที่น่าสนใจในกลุ่มเกษตรกรและรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป พบว่า ร้อยละ 42.9 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 33.2 จะเลือกพรรคเพื่อไทย เช่นเดียวกับ กลุ่มนักเรียนนักศึกษาร้อยละ 46.8 จะเลือกพรรคประชาธิ ปัตย์ ร้อยละ 35.6 จะเลือกพรรคเพื่อไทย และพนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 44.1 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 32.8 จะเลือกพรรคเพื่อ ไทย ที่เหลือประมาณร้อยละ 20 จะเลือกพรรคอื่นๆ ตามลำดับ
เมื่อจำแนกตามระดับรายได้ พบว่า นโยบายประชาวิวัฒน์ที่รัฐบาลประกาศไปดูเหมือนว่าจะได้รับการตอบรับในความตั้งใจจะเลือกตั้งเกิน ครึ่งในกลุ่มผู้มีรายได้ช่วง 5,001 — 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 53.1 ในกลุ่มรายได้ 10,001 — 15,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 50.2 และใน กลุ่มรายได้ 15,001 — 20,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 49.6 ในขณะที่กลุ่มรายได้มากกว่า 20,000 ขึ้นไปร้อยละ 40.5 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 44.7 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และเมื่อพิจารณาผู้ที่จะเลือกพรรคเพื่อไทยพบว่า กลุ่มผู้มีรายได้ ต่ำกว่า 5,000 บาทร้อยละ 33.0 กลุ่มผู้มีรายได้มากกว่า 20,000 ร้อยละ 37.2 และกลุ่มรายได้อื่นๆ เกินกว่า 1 ใน 4 จะเลือกพรรคเพื่อไทย
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อจำแนกตามภูมิภาคครั้งนี้ พบว่า คนภาคเหนือร้อยละ 45.4 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 31.4 จะเลือกพรรค เพื่อไทย คนภาคกลางร้อยละ 39.2 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 31.6 จะเลือกพรรคเพื่อไทย คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 37.2 จะ เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 44.5 จะเลือกพรรคเพื่อไทย คนภาคใต้ร้อยละ 82.2 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 3.0 จะเลือกพรรคเพื่อ ไทย และคนกรุงเทพมหานครร้อยละ 38.2 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 43.4 จะเลือกพรรคเพื่อไทย ที่เหลือจะเลือกพรรคอื่นๆ
เมื่อจำแนกตามพื่นที่ที่พักอาศัยของประชาชนที่ถูกศึกษา พบว่า คนในเขตเทศบาลประมาณเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.0 จะเลือกพรรค ประชาธิปัตย์ และคนนอกเขตเทศบาลเกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.2 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์เช่นกัน ในขณะที่ร้อยละ 26.4 ของคนในเขตเทศบาลจะ เลือกพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 33.7 ของคนนอกเขตเทศบาลจะเลือกพรรคเพื่อไทยเช่นกัน ที่เหลือจะเลือกพรรคการเมืองอื่นๆ
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้จะนำขึ้น “เว็บฐานข้อมูลการเมือง” เพื่อให้คนคอการเมือง และสถาบันการศึกษาต่างๆ เข้า ถึงผลสำรวจ แบบสอบถาม และฐานข้อมูลดิบนำไปวิเคราะห์ต่อยอดงานวิจัยและการทำงานการเมืองได้ที่ www.abacpolldata.au.edu ซึ่งข้อมูล สมมติฐานเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า หลังจากรัฐบาลประกาศนโยบายประชาวิวัฒน์ออกมาและภาพความขัดแย้งในพรรคเพื่อไทยที่กำลังปรากฏต่อสาธารณชนขณะ นี้ กำลังทำให้ประชาชนเทคะแนนนิยมความตั้งใจจะเลือกตั้งไปที่พรรคประชาธิปัตย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์กำลังโกยคะแนนนิยมจาก สาธารณชนอยู่ในเวลานี้ ส่วนจะเป็นจริงตามความตั้งใจของประชาชนหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญสองประการคือ ความขัดแย้งในพรรคเพื่อไทยลดลงหรือ ไม่ และนโยบายประชาวิวัฒน์จะเอาชนะ “เม็ดเงิน” ของผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งหรือ ส.ส. เขต ได้หรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้สำรวจพบว่า เกินครึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะรับเงินซื้อเสียงของผู้สมัครในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นนี้ อย่างไรก็ตาม หากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องสัดส่วนของ ส.ส. เป็นไปตามสูตรที่พรรคประชาธิปัตย์เสนอ พรรคประชาธิปัตย์ย่อมได้ประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญในห้วงเวลานี้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะจากกลุ่ม พลังเงียบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 52.4 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 47.6 เป็นเพศชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 25.9 อายุระหว่าง 30-39 ปี
และร้อยละ 24.5 ระบุอายุ 40-49 ปี
ร้อยละ 19.0 ระบุอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 21.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 15.2 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 26.5 ระบุพ่อค้า/นักธุรกิจ
ร้อยละ 7.5 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา
ร้อยละ 34.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 4.8 ระบุเป็น แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 2.8 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.3 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 35.3 ระบุมีรายได้ส่วนตัว 5,001-10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 7.7 มีรายได้ 10,001-15,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 4.6 มีรายได้ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 5.4 มีรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
ในขณะที่ร้อยละ 11.7 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
สำหรับระเบียบวิธีวิจัยการเลือกตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้เป็นการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ลงสู่ระดับครัวเรือนและ การเก็บข้อมูลเป็นการเก็บข้อมูลแบบ “เคาะประตูบ้าน” ของประชาชนในครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่าง
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตาราง
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ค่าร้อยละ 1 พรรคประชาธิปัตย์ 27.7 2 พรรคเพื่อไทย 18.7 3 พรรคอื่นๆ 12.3 4 ไม่ระบุพรรคที่จะเลือก 41.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง (เฉพาะตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่จะเลือก) ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ค่าร้อยละ 1 พรรคประชาธิปัตย์ 47.2 2 พรรคเพื่อไทย 31.8 3 พรรคอื่นๆ 21.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจำแนกตามเพศ ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง เพศชายค่าร้อยละ เพศหญิงค่าร้อยละ 1 พรรคประชาธิปัตย์ 41.7 52.4 2 พรรคเพื่อไทย 35.4 28.4 3 พรรคอื่นๆ 22.9 19.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 4 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจำแนกตามช่วงอายุ ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกส.ส.- ต่ำกว่า 20 ปี 20-29ปี 30-39ปี 40-49 ปี 50ปีขึ้นไป แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1 พรรคประชาธิปัตย์ 39.7 47.0 49.1 45.9 50.5 2 พรรคเพื่อไทย 39.3 31.3 30.8 32.2 29.3 3 พรรคอื่นๆ 21.0 21.7 20.1 21.9 20.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจำแนกตาม ระดับการศึกษาชั้นสูงสุดที่สำเร็จมา ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.- ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ ป.ตรีค่าร้อยละ สูงกว่าป.ตรีค่าร้อยละ
แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
1 พรรคประชาธิปัตย์ 48.2 43.5 43.8 2 พรรคเพื่อไทย 31.6 33.3 18.8 3 พรรคอื่นๆ 20.2 23.2 37.4 รวมทั้งสิ้น 99.9 100.0 100.0 ตารางที่ 6 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจำแนกตามอาชีพ ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.- ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัท ธุรกิจ/ค้าขาย นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร รับจ้าง
แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
1 พรรคประชาธิปัตย์ 43.4 44.1 53.6 46.8 42.9 2 พรรคเพื่อไทย 40.6 32.8 26.1 35.6 33.2 3 พรรคอื่นๆ 16.0 23.1 20.3 17.6 23.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 7 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.- ต่ำกว่า 5,000 5,001-10,000 10,001-15,000 15,001-20,000 มากกว่า20,000
แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
1 พรรคประชาธิปัตย์ 44.7 53.1 50.2 49.6 40.5 2 พรรคเพื่อไทย 33.0 29.0 28.3 26.5 37.2 3 พรรคอื่นๆ 22.3 17.9 21.5 23.9 22.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 8 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจำแนกตามภูมิภาค ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.- เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กทม.
แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
1 พรรคเพื่อไทย 31.4 31.6 44.5 3.0 43.4 2 พรรคประชาธิปัตย์ 45.4 39.2 37.2 82.2 38.2 3 พรรคอื่นๆ 23.2 29.2 18.3 14.8 18.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 9 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจำแนกพื้นที่พักอาศัย ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ในเขตเทศบาลค่าร้อยละ นอกเขตเทศบาลค่าร้อยละ 1 พรรคประชาธิปัตย์ 49.0 48.2 2 พรรคเพื่อไทย 26.4 33.7 3 พรรคอื่นๆ 24.7 18.1 รวมทั้งสิ้น 100.1 100.0
--เอแบคโพลล์--