เอแบคโพลล์: โรคร้ายและอาหารปนเปื้อนสารพิษในความหวาดกลัวของประชาชน

ข่าวผลสำรวจ Thursday January 27, 2011 08:53 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง โรคร้ายและอาหาร ปนเปื้อนสารพิษในความหวาดกลัวของประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เพชรบุรี ระยอง ราชบุรี ปทุมธานี ชลบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ อำนาจเจริญ มหาสารคาม สกลนคร ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น พัทลุง และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,024 ตัวอย่าง โดยดำเนินโครงการในช่วง 20 -26 มกราคม 2554 ผลการสำรวจพบว่า

เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงโรคประจำตัวที่รู้สึกหวาดกลัวมากที่สุด 5 อันดับแรก พบว่า อันดับที่หนึ่ง ร้อยละ 71.9 ระบุโรคมะเร็ง อันดับ ที่สอง ร้อยละ 53.2 ระบุโรคเบาหวาน อันดับที่สาม ร้อยละ 47.1 ระบุโรคความดันโลหิต อันดับที่สี่ร้อยละ 46.3 ระบุโรคหัวใจและหลอดเลือด อันดับที่ห้า ร้อยละ 41.4 ระบุโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด และรอง ๆ ลงมา คือ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคไต โรคไขข้ออักเสบ โรคภูมิแพ้ โรค ระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

สำหรับสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหารที่ต้องรับประทานเป็นประจำ พบว่า ร้อยละ 65.0 ระบุยาฆ่าแมลง ร้อยละ 58.1 ระบุผงชูรส ร้อยละ 57.1 ระบุสารกันบูด ร้อยละ 47.4 สีผสมอาหาร ร้อยละ 47.2 ระบุสารบอแร็กซ์ และรอง ๆ ลงมา คือ สารแต่งกลิ่นและรส ฟอร์มาลิน สารตะกั่ว สารปรอท ดินประสิว ตามลำดับ

เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหาร พบว่า ร้อยละ 85.4 คิดว่ามีสารพิษปนเปื้อนในอาหาร และประเภทอาหารที่ มีสารพิษปนเปื้อน พบว่า ร้อยละ 20.5 ระบุอาหารกระป๋อง ร้อยละ 20.3 ระบุอาหารประเภทปิ้ง ย่าง ร้อยละ 19.7 ระบุอาหารตามสั่ง ร้อยละ 13.8 ระบุอาหารสำเร็จรูป ร้อยละ 12.7 ระบุอาหารฟาสต์ฟู้ด และอาหารประเภททอด อาหารแช่แข็ง และอาหารประเภทจิ้มจุ่ม เป็นต้น

อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อกระทรวงสาธารณสุขว่าสามารถช่วยดูแลในเรื่องความปลอดภัยจากสารปนเปื้อนในอาหารนั้น พบว่า เกินกว่าครึ่งหรือ ร้อยละ 52.6 ไม่เชื่อมั่น ในขณะที่ ร้อยละ 47.4 เท่านั้นที่เชื่อมั่น

          จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่าง         ร้อยละ 51.3  เป็นหญิง

ร้อยละ 48.7 เป็นชาย

                                        ตัวอย่าง              ร้อยละ 4.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี

ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี

ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี

และร้อยละ 30.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป

                                        ตัวอย่าง              ร้อยละ 68.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 27.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 4.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่างร้อยละ 36.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 30.4 ระบุอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย

ร้อยละ 9.5 ระบุพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน

ร้อยละ 7.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 5.5 ระบุอาชีพแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 7.8 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา

ร้อยละ 2.8 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

โปรดพิจารณารายละเอียดดังตาราง

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุโรคประจำตัวที่รู้สึกหวาดกลัว (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          โรคประจำตัว                    ค่าร้อยละ
1          โรคมะเร็ง                            71.9
2          โรคเบาหวาน                          53.2
3          โรคความดันโลหิต                       47.1
4          โรคหัวใจและหลอดเลือด                  46.3
5          โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด                41.4
6          โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต                     39.3
7          โรคไต                               38.9
8          โรคไขข้ออักเสบ                        31.6
9          โรคภูมิแพ้                             30.4
10          โรคระบบทางเดินหายใจ                 29.6
11          โรคกรดไหลย้อน                       26.7
12          โรคอ้วน                             26.0
13          โรคต่อมไทรอยด์                       22.5
14          อัลไซเมอร์                            6.5

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่ต้องรับประทานเป็นประจำ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          สารพิษที่ปนเปื้อนในอาหาร           ค่าร้อยละ
1          ยาฆ่าแมลง                            65.0
2          ผงชูรส                               58.1
3          สารกันบูด                             57.1
4          สีผสมอาหาร                           47.4
5          สารบอแร็กซ์                           47.2
6          สารแต่งกลิ่นและรส                      41.2
7          ฟอร์มาลิน                             37.1
8          สารตะกั่ว                             34.5
9          สารปรอท                             29.9
10          ดินประสิว                            23.7
11          ขัณฑสกร (น้ำตาลเทียม)                 20.0
12          สารกันหืน                            19.9
13          สารหนู                              19.8

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่รับประทานประจำวัน
ลำดับที่          ความคิดเห็น                     ค่าร้อยละ
1          คิดว่ามีสารพิษปนเปื้อนในอาหาร             85.4
2          ไม่คิดว่ามี                             14.6
          รวมทั้งสิ้น                             100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทอาหารที่มีสารปนเปื้อนมากที่สุด
ลำดับที่          ประเภทอาหาร                   ค่าร้อยละ
1          ประเภทอาหารกระป๋อง                   20.5
2          อาหารประเภทปิ้ง ย่าง                   20.3
3          อาหารตามสั่ง                          19.7
4          อาหารสำเร็จรูป                        13.8
5          อาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด                   12.7
6          อาหารประเภททอด                       6.6
7          อาหารแช่แข็ง                           3.9
8          อาหารประเภทจิ้มจุ่ม                      2.5
          รวมทั้งสิ้น                             100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อกระทรวงสาธารณสุขว่าสามารถช่วยดูแลให้ปลอดภัยจากสารปนเปื้อนในอาหารได้
ลำดับที่          ความคิดเห็น                     ค่าร้อยละ
1          เชื่อมั่น                               47.4
2          ไม่เชื่อมั่น                             52.6
          รวมทั้งสิ้น                             100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ