แท็ก
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ดัชนีความสุข
นพดล กรรณิกา
โรงแรมคอนราด
เอแบคโพลล์
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social Innovation,
Assumption University) ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness Index, GDHI) ของ
ประชาชนภายในประเทศประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติใน 20 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น
4,229 คน ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ — 10 มีนาคม 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
ผลการวิจัยความสุขมวลรวมของคนไทยประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2550 พบว่าความสุขคนไทยลดลงเล็กน้อยจาก 5.68 ในเดือนมกราคม
เหลือ 5.66 ในการสำรวจล่าสุด แต่ถือว่าลดลงมากเมื่อเปรียบเทียบกับความสุขช่วงเดือนกันยายนที่เคยค้นพบในระดับ 6.30 ดร.นพดล กล่าวว่า
คะแนนความสุขของคนไทยที่ 5.66 หมายความว่า คนไทยมีความสุขมวลรวมค่อนข้างน้อยในช่วงเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และที่น่าเป็น
ห่วงคือ ความสุขของชาวต่างชาติที่มาอาศัยในเมืองไทยก็ลดลงเช่นกัน คือลดลงจาก 6.91 ในเดือนมกราคม มาอยู่ที่ 6.57 ในการสำรวจล่าสุด
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ความสุขมวลรวมของชาวต่างชาติมีความสุขลดลงมาจากสาเหตุเดียวกันกับคนไทยคือ ความไม่
ชัดเจนและความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมภายในประเทศ ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในขณะที่
สาเหตุสำคัญอื่นๆ ที่ทำให้คนไทยมีความสุขน้อยลงคือประสบปัญหาสภาพแวดล้อม ดินฟ้าอากาศและภัยแล้ง ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาความไม่สงบในสาม
จังหวัดชายแดนภาคใต้
“อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังคงทำให้คนไทยมีความสุขอยู่ได้ อันดับแรกคือ วัฒนธรรมประเพณี เช่น ประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของคน
ไทย เช่น ความจงรักภักดี ความมีไมตรีจิต เกื้อกูลมีน้ำใจต่อกัน งานบุญงานบวช ความเป็นอิสระ การรักความสันโดษ ความปลาบปลื้มต่อโครงการพระ
ราชดำริต่างๆ การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ครอบครัว และบรรยากาศภายในชุมชน” ดร.นพดล กล่าว
ผลสำรวจชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.8 ระบุปัญหาสำคัญที่ทำให้ความสุขคนไทยลดลงคือ ความขัดแย้งและ
ความไม่ชัดเจนทางการเมือง รองลงมาคือร้อยละ 74.6 ระบุปัญหาสภาพแวดล้อมดินฟ้าอากศและภัยแล้ง ร้อยละ 68.1 ระบุปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ
63.3 ระบุปัญหาการก่อการร้ายใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และร้อยละ 59.7 ระบุปัญหาความไม่ชัดเจนของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี โดยประชาชนจำนวน
มากเกรงว่าปัญหาไอทีวีจะกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวที่สร้างความวุ่นวายในสังคม
อย่างไรก็ตาม เมื่อพยากรณ์ความสุขมวลรวมของประชาชนต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ พบว่า ค่าคะแนนความสุขที่คนไทยมีสูงสุดถึง 9.16 เต็ม
10 คือ ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย เช่น ความจงรักภักดี ความมีไมตรีจิต เกื้อกูลมีน้ำใจต่อกัน งานบุญงานบวช ความเป็น
อิสระ และรักสันโดษ เป็นต้น รองลงมาคือ 8.73 เป็นความปลาบปลื้มต่อโครงการพระราชดำริต่างๆ 8.22 เป็นความสุขด้านการใช้ชีวิตตามหลัก
เศรษฐกิจพอเพียง 8.04 เป็นความสุขต่อครอบครัว และ 7.33 เป็นความสุขต่อบรรยากาศภายในชุมชน
นอกจากนี้ ยังวิจัยพบด้วยว่า ประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเดือนมกราคม
คือจากร้อยละ 32.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 39.0 ในการสำรวจล่าสุด และประชาชนที่ใช้ชีวิตแบบพอเพียงมีจำนวนคนที่มีความสุขระดับมากเพิ่มขึ้นเกือบ 4
เท่าของคนที่ใช้ชีวิตแบบไม่พอเพียงคือ ร้อยละ 54.4 ต่อร้อยละ 14.9
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนเป็นทุกข์เพราะคะแนนความสุขต่ำกว่า 5.00 ในหลายเรื่อง คือ ประชาชนเป็นทุกข์เรื่องสภาพแวดล้อม ดิน
น้ำอากาศและภัยแล้ง ได้คะแนนความสุขเพียง 3.25 ประชาชนเป็นทุกข์ต่อระบบการค้าเสรีเพราะประสบปัญหาเศรษฐกิจและภาวะการว่างงาน โดยได้
คะแนนความสุขเพียง 3.28 ประชาชนเป็นทุกข์ต่อหลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาลและองค์กรอิสระ เพราะ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นยังไม่คลี่คลาย มี
ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นระดับท้องถิ่น รัฐบาลส่วนกลางและท้องถิ่นยังไม่เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ โดยได้คะแนนเพียง 4.43 ประชาชนยังเป็นทุกข์ต่อ
สถานการณ์ปัจจุบันของบ้านเมืองที่มีแต่ความขัดแย้งและไม่ชัดเจน โดยได้คะแนนความสุขเพียง 4.50 ประชาชนยังเป็นทุกข์ต่อกระบวนการยุติธรรมและ
ความไม่เป็นธรรมในสังคม โดยได้คะแนนเพียง 4.59 เท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า รัฐบาลและคมช. กำลังจะเสียโอกาสสำคัญไปอย่างน่าเสียดาย เพราะเมื่อฟ้ากำลังเปิด แต่กลับยอมให้มีการวิ่ง
เต้นลอบบี้จากกลุ่มทุนต่างๆ มากมายจนสามารถเข้ามาแทรกซึมในฐานอำนาจบดบังเจตนารมณ์ที่สาธารณชนต่างให้ความหวังและไว้วางใจว่า รัฐบาลและ
คมช. ในเดือนกันยายนจนทำให้ความสุขคนไทยอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี แต่ความสุขคนไทยลดต่ำลงเรื่อยๆ เพราะรัฐบาลและ คมช. พลาดพลั้งตกเป็นเบี้ย
ล่างของฝ่ายการเมือง และกำลังประสบปัญหารุมเร้ามากมายถูกลดความน่าเชื่อถือไปจากการวิ่งเต้นล็อบบี้ของขบวนการแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง
และพวกพ้องจนไม่เป็นที่ไว้วางใจในหมู่ประชาชนจำนวนมาก รัฐบาลและ คมช. ควรตั้งจิตให้เที่ยงนึกถึงลูกหลานชนรุ่นหลังในอนาคตให้มากๆ ใช้เวลาที่
เหลืออยู่นี้เพิ่มความเข้มในการจัดระเบียบสังคมใหม่ ขจัดต้นตอปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ควรมีกฎหมายดีๆ และการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ตกภายใต้อิทธิพลของ
กลุ่มทุนและกลุ่มอิทธิพลใดๆ มอบเป็นผลงานให้ประชาชน และประกาศให้ชัดเจนว่าทิศทางการเมืองไทยจะเป็นอย่างไร จะคืนอำนาจให้ประชาชนเลือก
ตั้งจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยและคนต่างชาติภายในประเทศประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2550
2. เพื่อค้นหาศึกษาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่กระทบต่อความสุขของคนไทยและคนต่างชาติภายในประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “รายงานดัชนีความสุขมวลรวม
ของประชาชนภายในประเทศประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 20 จังหวัดของประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวัน
ที่ 23 กุมภาพันธ์ — 10 มีนาคม 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปจาก 20 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี
เชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ แพร่ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ หนองคาย ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี
อุดรธานี กาฬสินธุ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,229 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 47.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.0 ระบุอายุระหว่าง 21—30 ปี
ร้อยละ 22.4 อายุระหว่าง 31—40 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 41—50 ปี
และร้อยละ 24.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 81.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 16.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ด้านสถานภาพ ตัวอย่าง ร้อยละ 25.5 ระบุสถานภาพสมรส
ร้อยละ 67.1 ระบุสถานภาพโสด
และร้อยละ 7.4 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 27.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.0 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.6 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 8.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.2 ระบุว่างงาน
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 70.2 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 29.8 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2550
เปรียบเทียบกับ ช่วง 3 เดือนแรกของปี 2549 (มกราคม-มีนาคม) เมื่อคะแนนเต็ม 10
ม.ค.-มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย.-ธ.ค. ม.ค. ก.พ.
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม 5.47 6.08 6.59 9.21 7.29 6.34 6.3 4.86 5.74 5.68 5.66
ของคนไทยภายในประเทศ
(Gross Domestic Happiness)
ตารางที่ 2 แสดง 5 อันดับปัญหาของประเทศในสถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนกุมภาพันธ์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาของประเทศในสถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนกุมภาพันธ์ ค่าร้อยละ
1 ความขัดแย้งและความไม่ชัดเจนทางการเมือง 81.8
2 ปัญหาสภาพแวดล้อม ดินฟ้าอากาศและภัยแล้ง 74.6
3 ปัญหาเศรษฐกิจ 68.1
4 ปัญหาการก่อการร้ายใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 63.3
5 ความไม่ชัดเจนในปัญหาของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี 59.7
ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมที่มีต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ ของประชาชนประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2550
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าดะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย (เต็ม 10)
1 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย เช่น 9.16
ความจงรักภักดีความมีไมตรีจิต เกื้อกูลมีน้ำใจต่อกัน
งานบุญงานบวช ความเป็นอิสระ และรักสันโดษ เป็นต้น
2 ความปลาบปลื้มต่อโครงการพระราชดำริต่างๆ 8.73
3 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 8.22
4 ด้านครอบครัว 8.04
5 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 7.33
6 สุขภาพกาย 7.12
7 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 6.56
8 ด้านความพึงพอใจในงาน 6.00
9 รูปแบบการดำเนินชีวิต 5.63
11 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 5.55
12 ด้านการศึกษา 5.03
13 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 4.59
14 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนกุมภาพันธ์ 4.50
15 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 4.43
16 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีเพราะประสบปัญหาเศรษฐกิจและภาวะการว่างงาน 3.28
17 ด้านสภาพแวดล้อม ดินน้ำอากาศและภัยแล้ง 3.25
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือนกุมภาพันธ์ 5.66
ตารางที่ 4 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมประจำเดือนกุมภาพันธ์ ที่มีต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ ของประชาชนจำแนกตามพื้นที่
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ประจำเดือนมกราคม เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 ด้านสภาพแวดล้อม และที่พักอาศัย 3.45 3.43 3.06 3.31 2.62
2 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 7.36 7.28 7.40 7.35 7.14
3 ด้านครอบครัว เด็กและเยาวชน 8.19 7.90 7.99 8.21 7.91
4 สุขภาพกาย 7.29 6.99 7.12 7.25 6.81
5 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 6.68 6.57 6.52 6.79 6.08
6 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 4.63 4.33 4.13 4.82 3.18
7 ด้านความพึงพอใจในงาน 6.10 5.95 5.81 6.50 5.75
8 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 3.33 3.25 3.22 3.46 3.21
9 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 8.23 8.21 8.22 8.22 8.21
10 รูปแบบการดำเนินชีวิต 6.06 5.38 5.61 5.73 5.16
11 ด้านการศึกษา 4.58 5.19 5.05 4.08 5.16
12 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 5.78 5.29 5.52 5.89 5.23
13 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย 9.16 9.18 9.14 9.22 9.11
14 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 5.26 4.88 4.13 4.45 3.09
15 ความปลาบปลื้มต่อโครงการพระราชดำริต่างๆ 9.00 8.50 8.72 8.76 8.60
16 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนกุมภาพันธ์ 4.51 4.57 4.30 4.95 2.33
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชน- 5.25 5.82 5.71 5.30 4.26
ทั้งประเทศประจำเดือนกุมภาพันธ์
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน
ลำดับที่ การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน เดือนมกราคม เดือนกุมภาพันธ์
1 ไม่พอเพียง 12.1 6.1
2 ไม่ค่อยพอเพียง 9.6 10.6
3 ค่อนข้างพอเพียง 46.2 44.3
4 พอเพียงอย่างแท้จริง 32.1 39.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน
ลำดับที่ การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 ไม่พอเพียง 6.8 8.5 4.1 4.2 6.0
2 ไม่ค่อยพอเพียง 11.5 10.7 10.7 10.1 10.3
3 ค่อนข้างพอเพียง 40.4 43.2 42.8 48.0 46.6
4 พอเพียงอย่างแท้จริง 41.3 37.6 42.4 37.7 37.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 เปรียบเทียบกลุ่มประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับระดับความสุขมวลรวมของประชาชน
ลำดับที่ ระดับความสุขมวลรวมของประชาชน ไม่พอเพียง ไม่ค่อยพอเพียง ใช้ชีวิตค่อนข้างพอเพียง ใช้ชีวิตพอเพียงอย่างแท้จริง
1 ไม่มีความสุขเลย 5.9 3.1 0.1 0.6
2 ไม่ค่อยมีความสุข 14.6 5.2 3.2 4.4
3 ปานกลาง 30.1 21.1 19.7 16.0
4 ค่อนข้างมีความสุข 34.5 50.0 54.6 24.6
5 มีความสุขมาก 14.9 20.6 22.4 54.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างชาวต่างชาติที่ระบุ ปัจจัยที่ทำให้มีความสุขเมื่อพักอาศัยทำงานในประเทศไทย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยต่อความสุขชาวต่างชาติประจำเดือนกุมภาพันธ์ ร้อยละ
1 ลักษณะของคนไทย เช่น ใจดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ช่วยเหลือ และรักความสงบ 88.3
2 วัฒนธรรมประเพณีไทย ความจงรักภักดี และเอกลักษณ์ความเป็นไทย 84.7
3 อาหารไทย 75.8
4 แหล่งท่องเที่ยว 69.9
5 สภาพแวดล้อม 65.4
ตารางที่ 9 แสดง 5 อันดับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความสุขของคนต่างชาติในประเทศไทยในเดือนกุมภาพันธ์
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความสุขของคนต่างชาติในประเทศไทยในเดือนกุมภาพันธ์ ค่าร้อยละ
1 ความไม่ชัดเจนของสถานการณ์ทางการเมือง 78.4
2 ความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในประเทศในขณะนี้ 76.8
3 เสถียรภาพทางการเมือง 71.5
4 ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 70.9
5 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 68.1
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
(The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis, Assumption University)
โทร. 0-2719-1550 หรือ 0-2719-1955
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Assumption University) ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness Index, GDHI) ของ
ประชาชนภายในประเทศประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติใน 20 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น
4,229 คน ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ — 10 มีนาคม 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
ผลการวิจัยความสุขมวลรวมของคนไทยประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2550 พบว่าความสุขคนไทยลดลงเล็กน้อยจาก 5.68 ในเดือนมกราคม
เหลือ 5.66 ในการสำรวจล่าสุด แต่ถือว่าลดลงมากเมื่อเปรียบเทียบกับความสุขช่วงเดือนกันยายนที่เคยค้นพบในระดับ 6.30 ดร.นพดล กล่าวว่า
คะแนนความสุขของคนไทยที่ 5.66 หมายความว่า คนไทยมีความสุขมวลรวมค่อนข้างน้อยในช่วงเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และที่น่าเป็น
ห่วงคือ ความสุขของชาวต่างชาติที่มาอาศัยในเมืองไทยก็ลดลงเช่นกัน คือลดลงจาก 6.91 ในเดือนมกราคม มาอยู่ที่ 6.57 ในการสำรวจล่าสุด
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ความสุขมวลรวมของชาวต่างชาติมีความสุขลดลงมาจากสาเหตุเดียวกันกับคนไทยคือ ความไม่
ชัดเจนและความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมภายในประเทศ ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในขณะที่
สาเหตุสำคัญอื่นๆ ที่ทำให้คนไทยมีความสุขน้อยลงคือประสบปัญหาสภาพแวดล้อม ดินฟ้าอากาศและภัยแล้ง ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาความไม่สงบในสาม
จังหวัดชายแดนภาคใต้
“อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังคงทำให้คนไทยมีความสุขอยู่ได้ อันดับแรกคือ วัฒนธรรมประเพณี เช่น ประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของคน
ไทย เช่น ความจงรักภักดี ความมีไมตรีจิต เกื้อกูลมีน้ำใจต่อกัน งานบุญงานบวช ความเป็นอิสระ การรักความสันโดษ ความปลาบปลื้มต่อโครงการพระ
ราชดำริต่างๆ การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ครอบครัว และบรรยากาศภายในชุมชน” ดร.นพดล กล่าว
ผลสำรวจชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.8 ระบุปัญหาสำคัญที่ทำให้ความสุขคนไทยลดลงคือ ความขัดแย้งและ
ความไม่ชัดเจนทางการเมือง รองลงมาคือร้อยละ 74.6 ระบุปัญหาสภาพแวดล้อมดินฟ้าอากศและภัยแล้ง ร้อยละ 68.1 ระบุปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ
63.3 ระบุปัญหาการก่อการร้ายใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และร้อยละ 59.7 ระบุปัญหาความไม่ชัดเจนของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี โดยประชาชนจำนวน
มากเกรงว่าปัญหาไอทีวีจะกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวที่สร้างความวุ่นวายในสังคม
อย่างไรก็ตาม เมื่อพยากรณ์ความสุขมวลรวมของประชาชนต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ พบว่า ค่าคะแนนความสุขที่คนไทยมีสูงสุดถึง 9.16 เต็ม
10 คือ ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย เช่น ความจงรักภักดี ความมีไมตรีจิต เกื้อกูลมีน้ำใจต่อกัน งานบุญงานบวช ความเป็น
อิสระ และรักสันโดษ เป็นต้น รองลงมาคือ 8.73 เป็นความปลาบปลื้มต่อโครงการพระราชดำริต่างๆ 8.22 เป็นความสุขด้านการใช้ชีวิตตามหลัก
เศรษฐกิจพอเพียง 8.04 เป็นความสุขต่อครอบครัว และ 7.33 เป็นความสุขต่อบรรยากาศภายในชุมชน
นอกจากนี้ ยังวิจัยพบด้วยว่า ประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเดือนมกราคม
คือจากร้อยละ 32.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 39.0 ในการสำรวจล่าสุด และประชาชนที่ใช้ชีวิตแบบพอเพียงมีจำนวนคนที่มีความสุขระดับมากเพิ่มขึ้นเกือบ 4
เท่าของคนที่ใช้ชีวิตแบบไม่พอเพียงคือ ร้อยละ 54.4 ต่อร้อยละ 14.9
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนเป็นทุกข์เพราะคะแนนความสุขต่ำกว่า 5.00 ในหลายเรื่อง คือ ประชาชนเป็นทุกข์เรื่องสภาพแวดล้อม ดิน
น้ำอากาศและภัยแล้ง ได้คะแนนความสุขเพียง 3.25 ประชาชนเป็นทุกข์ต่อระบบการค้าเสรีเพราะประสบปัญหาเศรษฐกิจและภาวะการว่างงาน โดยได้
คะแนนความสุขเพียง 3.28 ประชาชนเป็นทุกข์ต่อหลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาลและองค์กรอิสระ เพราะ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นยังไม่คลี่คลาย มี
ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นระดับท้องถิ่น รัฐบาลส่วนกลางและท้องถิ่นยังไม่เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ โดยได้คะแนนเพียง 4.43 ประชาชนยังเป็นทุกข์ต่อ
สถานการณ์ปัจจุบันของบ้านเมืองที่มีแต่ความขัดแย้งและไม่ชัดเจน โดยได้คะแนนความสุขเพียง 4.50 ประชาชนยังเป็นทุกข์ต่อกระบวนการยุติธรรมและ
ความไม่เป็นธรรมในสังคม โดยได้คะแนนเพียง 4.59 เท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า รัฐบาลและคมช. กำลังจะเสียโอกาสสำคัญไปอย่างน่าเสียดาย เพราะเมื่อฟ้ากำลังเปิด แต่กลับยอมให้มีการวิ่ง
เต้นลอบบี้จากกลุ่มทุนต่างๆ มากมายจนสามารถเข้ามาแทรกซึมในฐานอำนาจบดบังเจตนารมณ์ที่สาธารณชนต่างให้ความหวังและไว้วางใจว่า รัฐบาลและ
คมช. ในเดือนกันยายนจนทำให้ความสุขคนไทยอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี แต่ความสุขคนไทยลดต่ำลงเรื่อยๆ เพราะรัฐบาลและ คมช. พลาดพลั้งตกเป็นเบี้ย
ล่างของฝ่ายการเมือง และกำลังประสบปัญหารุมเร้ามากมายถูกลดความน่าเชื่อถือไปจากการวิ่งเต้นล็อบบี้ของขบวนการแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง
และพวกพ้องจนไม่เป็นที่ไว้วางใจในหมู่ประชาชนจำนวนมาก รัฐบาลและ คมช. ควรตั้งจิตให้เที่ยงนึกถึงลูกหลานชนรุ่นหลังในอนาคตให้มากๆ ใช้เวลาที่
เหลืออยู่นี้เพิ่มความเข้มในการจัดระเบียบสังคมใหม่ ขจัดต้นตอปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ควรมีกฎหมายดีๆ และการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ตกภายใต้อิทธิพลของ
กลุ่มทุนและกลุ่มอิทธิพลใดๆ มอบเป็นผลงานให้ประชาชน และประกาศให้ชัดเจนว่าทิศทางการเมืองไทยจะเป็นอย่างไร จะคืนอำนาจให้ประชาชนเลือก
ตั้งจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยและคนต่างชาติภายในประเทศประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2550
2. เพื่อค้นหาศึกษาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่กระทบต่อความสุขของคนไทยและคนต่างชาติภายในประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “รายงานดัชนีความสุขมวลรวม
ของประชาชนภายในประเทศประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 20 จังหวัดของประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวัน
ที่ 23 กุมภาพันธ์ — 10 มีนาคม 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปจาก 20 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี
เชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ แพร่ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ หนองคาย ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี
อุดรธานี กาฬสินธุ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,229 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 47.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.0 ระบุอายุระหว่าง 21—30 ปี
ร้อยละ 22.4 อายุระหว่าง 31—40 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 41—50 ปี
และร้อยละ 24.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 81.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 16.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ด้านสถานภาพ ตัวอย่าง ร้อยละ 25.5 ระบุสถานภาพสมรส
ร้อยละ 67.1 ระบุสถานภาพโสด
และร้อยละ 7.4 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 27.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.0 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.6 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 8.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.2 ระบุว่างงาน
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 70.2 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 29.8 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2550
เปรียบเทียบกับ ช่วง 3 เดือนแรกของปี 2549 (มกราคม-มีนาคม) เมื่อคะแนนเต็ม 10
ม.ค.-มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย.-ธ.ค. ม.ค. ก.พ.
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม 5.47 6.08 6.59 9.21 7.29 6.34 6.3 4.86 5.74 5.68 5.66
ของคนไทยภายในประเทศ
(Gross Domestic Happiness)
ตารางที่ 2 แสดง 5 อันดับปัญหาของประเทศในสถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนกุมภาพันธ์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาของประเทศในสถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนกุมภาพันธ์ ค่าร้อยละ
1 ความขัดแย้งและความไม่ชัดเจนทางการเมือง 81.8
2 ปัญหาสภาพแวดล้อม ดินฟ้าอากาศและภัยแล้ง 74.6
3 ปัญหาเศรษฐกิจ 68.1
4 ปัญหาการก่อการร้ายใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 63.3
5 ความไม่ชัดเจนในปัญหาของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี 59.7
ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมที่มีต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ ของประชาชนประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2550
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าดะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย (เต็ม 10)
1 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย เช่น 9.16
ความจงรักภักดีความมีไมตรีจิต เกื้อกูลมีน้ำใจต่อกัน
งานบุญงานบวช ความเป็นอิสระ และรักสันโดษ เป็นต้น
2 ความปลาบปลื้มต่อโครงการพระราชดำริต่างๆ 8.73
3 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 8.22
4 ด้านครอบครัว 8.04
5 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 7.33
6 สุขภาพกาย 7.12
7 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 6.56
8 ด้านความพึงพอใจในงาน 6.00
9 รูปแบบการดำเนินชีวิต 5.63
11 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 5.55
12 ด้านการศึกษา 5.03
13 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 4.59
14 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนกุมภาพันธ์ 4.50
15 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 4.43
16 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีเพราะประสบปัญหาเศรษฐกิจและภาวะการว่างงาน 3.28
17 ด้านสภาพแวดล้อม ดินน้ำอากาศและภัยแล้ง 3.25
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือนกุมภาพันธ์ 5.66
ตารางที่ 4 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมประจำเดือนกุมภาพันธ์ ที่มีต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ ของประชาชนจำแนกตามพื้นที่
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ประจำเดือนมกราคม เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 ด้านสภาพแวดล้อม และที่พักอาศัย 3.45 3.43 3.06 3.31 2.62
2 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 7.36 7.28 7.40 7.35 7.14
3 ด้านครอบครัว เด็กและเยาวชน 8.19 7.90 7.99 8.21 7.91
4 สุขภาพกาย 7.29 6.99 7.12 7.25 6.81
5 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 6.68 6.57 6.52 6.79 6.08
6 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 4.63 4.33 4.13 4.82 3.18
7 ด้านความพึงพอใจในงาน 6.10 5.95 5.81 6.50 5.75
8 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 3.33 3.25 3.22 3.46 3.21
9 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 8.23 8.21 8.22 8.22 8.21
10 รูปแบบการดำเนินชีวิต 6.06 5.38 5.61 5.73 5.16
11 ด้านการศึกษา 4.58 5.19 5.05 4.08 5.16
12 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 5.78 5.29 5.52 5.89 5.23
13 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย 9.16 9.18 9.14 9.22 9.11
14 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 5.26 4.88 4.13 4.45 3.09
15 ความปลาบปลื้มต่อโครงการพระราชดำริต่างๆ 9.00 8.50 8.72 8.76 8.60
16 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนกุมภาพันธ์ 4.51 4.57 4.30 4.95 2.33
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชน- 5.25 5.82 5.71 5.30 4.26
ทั้งประเทศประจำเดือนกุมภาพันธ์
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน
ลำดับที่ การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน เดือนมกราคม เดือนกุมภาพันธ์
1 ไม่พอเพียง 12.1 6.1
2 ไม่ค่อยพอเพียง 9.6 10.6
3 ค่อนข้างพอเพียง 46.2 44.3
4 พอเพียงอย่างแท้จริง 32.1 39.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน
ลำดับที่ การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 ไม่พอเพียง 6.8 8.5 4.1 4.2 6.0
2 ไม่ค่อยพอเพียง 11.5 10.7 10.7 10.1 10.3
3 ค่อนข้างพอเพียง 40.4 43.2 42.8 48.0 46.6
4 พอเพียงอย่างแท้จริง 41.3 37.6 42.4 37.7 37.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 เปรียบเทียบกลุ่มประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับระดับความสุขมวลรวมของประชาชน
ลำดับที่ ระดับความสุขมวลรวมของประชาชน ไม่พอเพียง ไม่ค่อยพอเพียง ใช้ชีวิตค่อนข้างพอเพียง ใช้ชีวิตพอเพียงอย่างแท้จริง
1 ไม่มีความสุขเลย 5.9 3.1 0.1 0.6
2 ไม่ค่อยมีความสุข 14.6 5.2 3.2 4.4
3 ปานกลาง 30.1 21.1 19.7 16.0
4 ค่อนข้างมีความสุข 34.5 50.0 54.6 24.6
5 มีความสุขมาก 14.9 20.6 22.4 54.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างชาวต่างชาติที่ระบุ ปัจจัยที่ทำให้มีความสุขเมื่อพักอาศัยทำงานในประเทศไทย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยต่อความสุขชาวต่างชาติประจำเดือนกุมภาพันธ์ ร้อยละ
1 ลักษณะของคนไทย เช่น ใจดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ช่วยเหลือ และรักความสงบ 88.3
2 วัฒนธรรมประเพณีไทย ความจงรักภักดี และเอกลักษณ์ความเป็นไทย 84.7
3 อาหารไทย 75.8
4 แหล่งท่องเที่ยว 69.9
5 สภาพแวดล้อม 65.4
ตารางที่ 9 แสดง 5 อันดับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความสุขของคนต่างชาติในประเทศไทยในเดือนกุมภาพันธ์
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความสุขของคนต่างชาติในประเทศไทยในเดือนกุมภาพันธ์ ค่าร้อยละ
1 ความไม่ชัดเจนของสถานการณ์ทางการเมือง 78.4
2 ความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในประเทศในขณะนี้ 76.8
3 เสถียรภาพทางการเมือง 71.5
4 ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 70.9
5 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 68.1
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
(The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis, Assumption University)
โทร. 0-2719-1550 หรือ 0-2719-1955
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-