เอแบคโพลล์: กระแสข่าวการยึดอำนาจกับการชุมนุมประท้วงในสายตาประชาชน

ข่าวผลสำรวจ Monday January 31, 2011 07:24 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง กระแสข่าวการยึด อำนาจกับการชุมนุมประท้วงในสายตาประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,194 ตัวอย่าง โดยดำเนินโครงการในช่วง 28 -29 มกราคม 2554 ผลการสำรวจพบว่า

ประชาชนมีจำนวนก้ำกึ่งกันคือ ร้อยละ 50.6 เห็นว่าการชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่างๆ ในเวลานี้เป็นเรื่องของประชาธิปไตย อย่างไรก็ ตามร้อยละ 49.4 ไม่คิดว่าเป็นประชาธิปไตย ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.5 ไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถแก้ปัญหาการชุมนุม ประท้วงให้ผ่านพ้นไปได้อย่างสงบเรียบร้อย ในขณะที่ร้อยละ 40.5 ยังเชื่อมั่น

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อถามถึงการทำรัฐประหารหรือยึดอำนาจ ว่ามีจริงหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.4 ไม่เชื่อ แต่ร้อย ละ 22.6 เชื่อว่าจะมีจริง แต่ตัวเลขเกินกว่า 1 ใน 5 แบบนี้ในทางสถิติถือว่าเริ่มมีนัยสำคัญ ดังนั้น ถ้าหากไม่เป็นจริง หน่วยงานหรือคณะบุคคลต้อง รีบออกมาทำความกระจ่างยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม

ที่น่าพิจารณาคือ เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.4 คิดว่า สถานการณ์การเมืองขณะนี้จะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาลในระดับมากถึงมาก ที่สุด ร้อยละ 27.5 กระทบระดับปานกลาง และร้อยละ 19.1 คิดว่ากระทบรัฐบาลน้อยถึงไม่กระทบเลย

ดร.นพดล เป็นห่วงว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอาจไม่เป็นไปตามที่นักเศรษฐศาสตร์ต่างๆ พยากรณ์ไว้ เพราะขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.5 กำลังคิดหนักและลังเลในการซื้อสินค้าราคาสูง เช่น บ้าน รถยนต์ ทีวี ตู้เย็น เพราะไม่รู้ว่าประเทศชาติ จะไปในทิศทางใด เช่นเดียวกันแม้แต่ สินค้าใช้ในชีวิตประจำวัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.0 คิดหนักลังเล และประหยัดมากขึ้นในการใช้จ่าย สินค้าประจำวัน มีเพียงประมาณร้อยละ 30 เท่านั้นที่ไม่คิดหนัก ไม่ลังเล แต่ยังคงใช้จ่ายตามปกติ

และเมื่อสอบถามถึงแหล่งซื้อสินค้าบริการที่หลีกเลี่ยงในช่วงการชุมนุมทางการเมือง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.4 ระบุหลีกเลี่ยง แถว ราชประสงค์ รองลงมาคือ ร้อยละ 37.4 ระบุแถวสีลม ร้อยละ 27.0 ระบุแถวเยาวราช รองๆ ลงไปคือ ปทุมวัน วงเวียนใหญ่ บางลำภู พาหุรัด รังสิต ศรีนครินทร์ บางแค ท่าพระ และอื่นๆ เช่น จตุจักร ประตูน้ำ บ้านหม้อ เป็นต้น

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ในสถานการณ์ไม่ปกติเช่นนี้ย่อมมีผลกระทบทางจิตวิทยาต่อความเชื่อมั่นของประชาชนทั่วไป และอาการแก่วง ตัวของรัฐบาลย่อมส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ หากปล่อยไว้เช่นนี้ย่อมเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ผู้นำ การชุมนุมกำลังประสบความสำเร็จที่สามารถนำประชาชนจำนวนมากออกมาเรียกร้องในที่สาธารณะได้ และถ้าการชุมนุมเป็นไปตามวิถีประชาธิปไตย ความสำเร็จในการนำประชาชนออกมาได้น่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายและการทำให้กฎหมายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อคนไทยส่วน ใหญ่ของประเทศ แต่ถ้าการชุมนุมนำมาซึ่งการเปลี่ยนรัฐบาลและการต่อรองเฉพาะกลุ่มเพียงอย่างเดียวก็ไม่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในวิถีทาง ประชาธิปไตย ถ้ารัฐบาลประเมินว่า ไม่สามารถอยู่ต่อไปได้ ก็น่าจะตัดสินใจเร่งทำอะไรบางอย่างเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมอย่างยั่งยืน เพื่อหยุดทุกอย่างไม่ให้เลวร้ายลงไปกว่านี้

          จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า     ตัวอย่าง    ร้อยละ 53.1  เป็นหญิง

ร้อยละ 46.9 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 4.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี

ร้อยละ 26.8 อายุระหว่าง 30—39 ปี

ร้อยละ 26.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี

และร้อยละ 20.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 62.8 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือ ร้อยละ 31.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 5.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 28.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 28.6 ระบุอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย

ร้อยละ 16.4 ระบุพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน

ร้อยละ 7.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 7.0 ระบุอาชีพแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 7.8 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา

ร้อยละ 3.9 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่าง ๆ ในเวลานี้
ลำดับที่          ความคิดเห็น                    ค่าร้อยละ
1          คิดว่าเป็นเรื่องของประชาธิปไตย          50.6
2          ไม่คิดว่าเป็นประชาธิปไตย               49.4
          รวมทั้งสิ้น                           100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันว่าจะสามารถแก้ปัญหาการชุมนุมประท้วง
ให้ผ่านพ้นไปได้อย่างสงบเรียบร้อย
ลำดับที่          ความเชื่อมั่น                   ค่าร้อยละ
1          เชื่อมั่น                             40.5
2          ไม่เชื่อมั่น                           59.5
          รวมทั้งสิ้น                           100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำรัฐประหารหรือยึดอำนาจจริง
ลำดับที่          ความคิดเห็น                   ค่าร้อยละ
1          เชื่อว่าจะมีจริง                      22.6
2          ไม่เชื่อ                            77.4
          รวมทั้งสิ้น                          100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ จะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาล
ลำดับที่          ความคิดเห็น                   ค่าร้อยละ
1          น้อยถึงไม่กระทบเลย                  19.1
2          ปานกลาง                          27.5
3          กระทบมาก ถึงมากที่สุด                53.4
          รวมทั้งสิ้น                          100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เงินหรือการจับจ่ายใช้สอย ในสถานการณ์การเมืองขณะนี้
ลำดับที่          ประเภทสินค้า                     คิดหนักลังเลประหยัดมากขึ้น   ไม่คิดหนักไม่ลังเลใช้จ่ายตามปกติ   รวมทั้งสิ้น
                                                   ค่าร้อยละ                    ค่าร้อยละ
1          สินค้าราค่าสูง เช่น บ้าน รถยนต์ ทีวี ตู้เย็น          68.5                      31.5              100.0
2          สินค้าใช้ในชีวิตประจำวัน                        65.0                      35.0              100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งซื้อสินค้าที่หลีกเลี่ยงในช่วงการชุมนุมทางการเมือง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          แหล่งซื้อสินค้าที่จะหลีกเลี่ยง        ค่าร้อยละ
1          ราชประสงค์                        75.4
2          สีลม                              37.4
3          เยาวราช                          27.0
4          ปทุมวัน                            25.4
5          วงเวียนใหญ่                        22.6
6          บางลำภู                           19.6
7          พาหุรัด                            18.3
8          รังสิต                             17.1
9          ศรีนครินทร์                         14.6
10          บางแค                           13.8
11          ท่าพระ                           13.4
12          อื่น ๆ จตุจักร ประตูน้ำ บ้านหม้อ เป็นต้น   8.5

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ