ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social Innovation,
Assumption University) ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness Index, GDHI) ของ
ประชาชนภายในประเทศในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 20 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,962
คน ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน — 28 กรกฎาคม 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตาม
ข่าวสาร เป็นประจำ อย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.8 เห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ ร้อยละ 82.4 วิตก
กังวลต่อเหตุการณ์การเมืองขณะนี้ ร้อยละ 46.7 เครียดต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ 9.7 ขัดแย้งกับคนในครอบครัว เรื่องการเมือง ร้อยละ 12.8 ขัด
แย้งกับเพื่อนบ้านเรื่องการเมือง ร้อยละ 15.1 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.2 ต้องการเห็นบ้าน
เมืองสงบสุขโดยเร็ว
นอกจากนี้ ผลวิจัยพบว่า ความสุขมวลรวมของคนไทยลดต่ำลงมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา โดยในการ
สำรวจครั้งล่าสุดพบว่า ความสุขของคนไทยลดลงเหลือ 5.02 ซึ่งถือว่ามีความสุขอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ โดยคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ความสุขสูงที่สุดอยู่ที่ 5.13 รองลงมาคือ ภาคกลาง อยู่ที่ 5.08 ภาคเหนืออยู่ที่ 4.93 ภาคใต้ อยู่ที่ 4.33 ในขณะที่คนในกรุงเทพมหานครมีความ
สุขต่ำที่สุด โดยได้คะแนนเพียง 3.71 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ประชาชนยังคงมีความสุขอยู่ได้ ผลวิจัยพบว่า การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยมีความสุข
มากเป็นอันดับหนึ่ง มีค่าความสุขเฉลี่ยอยู่ที่ 7.41 รองลงมาคือโครงการพระราชดำริต่างๆ อยู่ที่ 7.21 อันดับที่ 3 คือสุขภาพกาย อยู่ที่ 6.94
คะแนน อันดับที่ 4 คือ บรรยากาศภายในชุมชนอยู่ที่ 6.56 คะแนน และอันดับที่ 5 ได้แก วัฒนธรรมประเพณี ความมีน้ำใจให้แก่กัน ความเป็น
เอกลักษณ์ของคนไทย
ที่น่าพิจารณาคือ สิ่งที่ทำให้คนไทยมีความสุขน้อยถึงไม่มีความสุขเลย (ค่าความสุขเฉลี่ยต่ำกว่า 5.00 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
เรียงตามลำดับ ได้แก่ สถานการณ์ปัจจุบัน มีค่าความสุขต่ำสุดอยู่ที่ 2.45 ในขณะที่ ด้านสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัย เช่น ถนนหนทาง ไฟฟ้า โทรศัพท์
น้ำประปา ได้เพียง 3.08 ระบบการค้าเสรีในกระแส โลกาภิวัฒน์ได้เพียง 3.60 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล และองค์กรอิสระ ได้เพียง
3.74 ด้านการศึกษาได้เพียง 4.72 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรมได้เพียง 4.79 กระบวนการยุติธรรมและความเป็น
ธรรมในสังคมได้เพียง 4.84
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลวิจัยครั้งนี้ยังชี้ให้เห็น “จุดอ่อนจุดแข็งของประเทศไทย” เป็นรายพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาและรักษาสิ่งที่ทำให้คน
ไทยมีความสุขไว้ได้คือ เรื่องการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง พบประชาชนภาคอีสานได้คะแนนสูงสุดคือ 7.65 รองลงมาคือภาคกลาง 7.11 ภาค
เหนือ 7.09 ใต้ 6.94 ส่วนคนกรุงเทพฯ ต่ำสุดได้ 2.89
เรื่องบรรยากาศภายในชุมชน เช่น การช่วยกันแก้ปัญหาชุมชน ช่วยกันรักษาทรัพย์สินชุมชน พบว่า ประชาชนภาคเหนือได้คะแนนสูงสุดคือ
7.49 อีสานได้ 7.22 กลางได้ 5.85 ใต้ได้ 3.97 และ กทม.ได้ 2.01
เรื่องวัฒนธรรมประเพณี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อแก่กัน และเอกลักษณ์ของคนไทย พบ ภาคอีสานได้ 6.55 เหนือได้ 6.28 กลางได้ 6.16 ใต้
ได้ 5.59 ส่วน กทม.ได้ต่ำสุด 3.67
ที่น่าสังเกตคือ คน กทม. ได้คะแนนสูงสุดในเรื่อง ระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัตน์แต่คะแนนก็ยังต่ำกว่าครึ่งของคะแนนเต็ม 10 คือ
ได้ 4.84 ขณะที่ภาคอื่นๆ ได้เพียง 3 คะแนนกว่าๆ เท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นสิ่งที่ทำให้คนไทยมีความสุขหรือความทุกข์สองกลุ่มปัจจัยคือ ปัจจัยเฉพาะหน้าได้แก่สถานการณ์
ปัจจุบัน เช่น การชุมนุมประท้วง และสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัด สภาวะเศรษฐกิจ และกลุ่มปัจจัยถาวรได้แก่ วัฒนธรรมประเพณี ระบบการ
ศึกษา กระบวนการยุติธรรม หลักธรรมาภิบาล และสภาพแวดล้อม เป็นต้น ซึ่ง ผลสำรวจครั้งนี้พบว่า ปัจจัยเฉพาะหน้าที่เปรียบเสมือนสถานการณ์ที่คน
กำลังจะจมน้ำนั้นจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือแก้ไขเร่งด่วนคือสภาพปัญหา 5 อย่างได้แก่ ร้อยละ 96.8 ระบุเป็นการชุมนุมประท้วง ของกลุ่มต่างๆ
และความแตกแยกในสังคม ร้อยละ 93.5 ระบุปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 85.0 ระบุเป็นสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของ
ประเทศ เรื่องปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพ ผลกระทบค่าเงินบาท ภาระหนี้สิน ร้อยละ 77.2 ระบุปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และร้อย
ละ 70.9 ระบุปัญหาสังคมอื่นๆ เช่น ยาเสพติด อาชญากรข้ามชาติ และปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน เป็นต้น
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม พ.ศ.2550
2. เพื่อค้นหาศึกษาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่กระทบต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “รายงานดัชนีความสุขมวลรวม
(Gross Domestic Happiness Index, GDHI) ของประชาชนภายในประเทศในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคน
ไทยใน 20 จังหวัดของประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน — 28 กรกฎาคม 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปจาก 20 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ลพบุรี
ฉะเชิงเทรา นครนายก นครราชสีมา สุรินทร์ มุกดาหาร ขอนแก่น หนองคาย อุดรธานี เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ พะเยา กำแพงเพชร
เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,962 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 11.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 26.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ
ร้อยละ 14.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 20.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 29.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 27.2 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 18.1 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.8 เป็นนักศึกษา/นักเรียน
และร้อยละ 2.0 ระบุว่างงานไม่มีงานทำว่างงาน
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.7 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 31.3 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 46.0
2 3-4 วัน 23.7
3 1-2 วัน 10.9
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 12.2
5 ไม่ได้ติดตามเลย 7.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ร้อยละ
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 95.8
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 82.4
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 46.7
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 9.7
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 12.8
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 15.1
7 ต้องการเห็นบ้านเมืองสงบสุขโดยเร็ว 93.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม
พ.ศ. 2550 เปรียบเทียบกับ ช่วง 3 เดือนแรกของปี 2549 (มกราคม-มีนาคม) เมื่อคะแนนเต็ม 10
ม.ค.-มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย.-ธ.ค. ม.ค. ก.พ. เม.ย. พ.ค.-ก.ค.
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม 5.47 6.08 6.59 9.21 7.29 6.34 6.30 4.86 5.74 5.68 5.66 5.11 5.02
ของคนไทยภายใน ประเทศ
(Gross Domestic Happiness)
ตารางที่ 4 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2550
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าคะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย (เต็ม 10)
5 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 7.41
1 ความปลาบปลื้มต่อโครงการพระราชดำริต่างๆ 7.21
2 สุขภาพกาย 6.94
9 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 6.56
3 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความมีน้ำใจให้แก่กัน ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย 6.34
4 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 5.97
6 ด้านครอบครัว เด็กและเยาวชน 5.63
7 ด้านความพึงพอใจในงาน 5.28
8 รูปแบบการดำเนินชีวิต 4.88
12 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 4.84
11 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 4.79
10 ด้านการศึกษา 4.72
14 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 3.74
13 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 3.60
15 ด้านสภาพแวดล้อม และที่พักอาศัย 3.08
16 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2550 2.45
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือนพฤษภาคม — กรกฎาคม 2550 5.02
ตารางที่ 5 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมประจำเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2550 ที่มีต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ ของประชาชน
จำแนกตามพื้นที่
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ประจำเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2550 เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 ด้านสภาพแวดล้อม และที่พักอาศัย 3.3 3.4 2.9 2.9 3.5
2 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 7.5 5.9 7.2 4 2
3 ด้านครอบครัว เด็กและเยาวชน 5.7 5.4 5.7 4.9 2.4
4 สุขภาพกาย 7.3 7.2 6.8 7.4 3
5 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 6.2 6.1 6.3 5.8 2.7
6 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 3.8 3.8 3.7 3.9 3.5
7 ด้านความพึงพอใจในงาน 5.3 5.7 5.1 5.1 4.8
8 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 3.7 3.8 3.3 3.1 4.8
9 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 7.1 7.1 7.7 6.9 2.9
10 รูปแบบการดำเนินชีวิต 4.9 5 4.3 4.7 7.5
11 ด้านการศึกษา 4.4 4.8 4.8 4 2
12 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 5.2 4.8 4.6 4.2 4
13 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความมีน้ำใจให้แก่กัน
ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย 6.3 6.2 6.6 5.6 3.7
14 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 5 5 4.5 3.8 5.9
15 โครงการพระราชดำริต่างๆ 7.3 7.6 7.2 6.6 6.1
16 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2550 2.4 2.7 2.6 2.3 1.8
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือน-
พฤษภาคม-กรกฎาคม 2550 4.9 5.1 5.1 4.3 3.7
ตารางที่ 6 แสดงปัจจัยสำคัญต้องเร่งแก้ไขปรับปรุงเพื่อเพิ่มความสุขมวลรวมของคนไทย
6.1 ด้านสถานการณ์ปัจจุบันและปัจจัยอื่นๆ ของประเทศ 5 อันดับแรก
ลำดับที่ สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนพฤษภาคม — กรกฎาคม ค่าร้อยละ
1 การชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่างๆ และความแตกแยกในสังคม 96.8
2 ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ 93.5
3 สภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ 85.0
4 ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 77.2
5 ปัญหาสังคมอื่นๆ อาทิ ปัญหายาเสพติด /ปัญหาอาชญกรข้ามชาติ และปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน 70.9
6.2 ด้านสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัย 5 อันดับแรก
ลำดับที่ ด้านสภาพแวดล้อม และที่พักอาศัย ค่าร้อยละ
1 การบริการด้านไฟฟ้า 50.4
2 น้ำประปา แหล่งน้ำกินน้ำใช้ 43.7
3 ถนนหนทาง 41.9
4 การใช้โทรศัพท์บ้านในครัวเรือน 39.8
5 สภาพสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ อากาศ ดิน 33.3
6.3 ด้านหลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 5 อันดับแรก
ลำดับที่ หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ ค่าร้อยละ
1 การทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น 54.9
2 ความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชนต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ 49.6
3 การไม่ประสานงานกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ 43.1
4 ความไม่เชื่อมั่นต่ององค์กรอิสระ 38.4
5 ประชาชนขาดโอกาสในการรับรู้สถานการณ์การเมืองที่แท้จริง 31.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Assumption University) ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness Index, GDHI) ของ
ประชาชนภายในประเทศในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 20 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,962
คน ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน — 28 กรกฎาคม 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตาม
ข่าวสาร เป็นประจำ อย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.8 เห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ ร้อยละ 82.4 วิตก
กังวลต่อเหตุการณ์การเมืองขณะนี้ ร้อยละ 46.7 เครียดต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ 9.7 ขัดแย้งกับคนในครอบครัว เรื่องการเมือง ร้อยละ 12.8 ขัด
แย้งกับเพื่อนบ้านเรื่องการเมือง ร้อยละ 15.1 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.2 ต้องการเห็นบ้าน
เมืองสงบสุขโดยเร็ว
นอกจากนี้ ผลวิจัยพบว่า ความสุขมวลรวมของคนไทยลดต่ำลงมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา โดยในการ
สำรวจครั้งล่าสุดพบว่า ความสุขของคนไทยลดลงเหลือ 5.02 ซึ่งถือว่ามีความสุขอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ โดยคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ความสุขสูงที่สุดอยู่ที่ 5.13 รองลงมาคือ ภาคกลาง อยู่ที่ 5.08 ภาคเหนืออยู่ที่ 4.93 ภาคใต้ อยู่ที่ 4.33 ในขณะที่คนในกรุงเทพมหานครมีความ
สุขต่ำที่สุด โดยได้คะแนนเพียง 3.71 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ประชาชนยังคงมีความสุขอยู่ได้ ผลวิจัยพบว่า การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยมีความสุข
มากเป็นอันดับหนึ่ง มีค่าความสุขเฉลี่ยอยู่ที่ 7.41 รองลงมาคือโครงการพระราชดำริต่างๆ อยู่ที่ 7.21 อันดับที่ 3 คือสุขภาพกาย อยู่ที่ 6.94
คะแนน อันดับที่ 4 คือ บรรยากาศภายในชุมชนอยู่ที่ 6.56 คะแนน และอันดับที่ 5 ได้แก วัฒนธรรมประเพณี ความมีน้ำใจให้แก่กัน ความเป็น
เอกลักษณ์ของคนไทย
ที่น่าพิจารณาคือ สิ่งที่ทำให้คนไทยมีความสุขน้อยถึงไม่มีความสุขเลย (ค่าความสุขเฉลี่ยต่ำกว่า 5.00 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
เรียงตามลำดับ ได้แก่ สถานการณ์ปัจจุบัน มีค่าความสุขต่ำสุดอยู่ที่ 2.45 ในขณะที่ ด้านสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัย เช่น ถนนหนทาง ไฟฟ้า โทรศัพท์
น้ำประปา ได้เพียง 3.08 ระบบการค้าเสรีในกระแส โลกาภิวัฒน์ได้เพียง 3.60 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล และองค์กรอิสระ ได้เพียง
3.74 ด้านการศึกษาได้เพียง 4.72 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรมได้เพียง 4.79 กระบวนการยุติธรรมและความเป็น
ธรรมในสังคมได้เพียง 4.84
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลวิจัยครั้งนี้ยังชี้ให้เห็น “จุดอ่อนจุดแข็งของประเทศไทย” เป็นรายพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาและรักษาสิ่งที่ทำให้คน
ไทยมีความสุขไว้ได้คือ เรื่องการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง พบประชาชนภาคอีสานได้คะแนนสูงสุดคือ 7.65 รองลงมาคือภาคกลาง 7.11 ภาค
เหนือ 7.09 ใต้ 6.94 ส่วนคนกรุงเทพฯ ต่ำสุดได้ 2.89
เรื่องบรรยากาศภายในชุมชน เช่น การช่วยกันแก้ปัญหาชุมชน ช่วยกันรักษาทรัพย์สินชุมชน พบว่า ประชาชนภาคเหนือได้คะแนนสูงสุดคือ
7.49 อีสานได้ 7.22 กลางได้ 5.85 ใต้ได้ 3.97 และ กทม.ได้ 2.01
เรื่องวัฒนธรรมประเพณี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อแก่กัน และเอกลักษณ์ของคนไทย พบ ภาคอีสานได้ 6.55 เหนือได้ 6.28 กลางได้ 6.16 ใต้
ได้ 5.59 ส่วน กทม.ได้ต่ำสุด 3.67
ที่น่าสังเกตคือ คน กทม. ได้คะแนนสูงสุดในเรื่อง ระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัตน์แต่คะแนนก็ยังต่ำกว่าครึ่งของคะแนนเต็ม 10 คือ
ได้ 4.84 ขณะที่ภาคอื่นๆ ได้เพียง 3 คะแนนกว่าๆ เท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นสิ่งที่ทำให้คนไทยมีความสุขหรือความทุกข์สองกลุ่มปัจจัยคือ ปัจจัยเฉพาะหน้าได้แก่สถานการณ์
ปัจจุบัน เช่น การชุมนุมประท้วง และสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัด สภาวะเศรษฐกิจ และกลุ่มปัจจัยถาวรได้แก่ วัฒนธรรมประเพณี ระบบการ
ศึกษา กระบวนการยุติธรรม หลักธรรมาภิบาล และสภาพแวดล้อม เป็นต้น ซึ่ง ผลสำรวจครั้งนี้พบว่า ปัจจัยเฉพาะหน้าที่เปรียบเสมือนสถานการณ์ที่คน
กำลังจะจมน้ำนั้นจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือแก้ไขเร่งด่วนคือสภาพปัญหา 5 อย่างได้แก่ ร้อยละ 96.8 ระบุเป็นการชุมนุมประท้วง ของกลุ่มต่างๆ
และความแตกแยกในสังคม ร้อยละ 93.5 ระบุปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 85.0 ระบุเป็นสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของ
ประเทศ เรื่องปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพ ผลกระทบค่าเงินบาท ภาระหนี้สิน ร้อยละ 77.2 ระบุปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และร้อย
ละ 70.9 ระบุปัญหาสังคมอื่นๆ เช่น ยาเสพติด อาชญากรข้ามชาติ และปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน เป็นต้น
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม พ.ศ.2550
2. เพื่อค้นหาศึกษาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่กระทบต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “รายงานดัชนีความสุขมวลรวม
(Gross Domestic Happiness Index, GDHI) ของประชาชนภายในประเทศในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคน
ไทยใน 20 จังหวัดของประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน — 28 กรกฎาคม 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปจาก 20 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ลพบุรี
ฉะเชิงเทรา นครนายก นครราชสีมา สุรินทร์ มุกดาหาร ขอนแก่น หนองคาย อุดรธานี เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ พะเยา กำแพงเพชร
เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,962 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 11.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 26.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ
ร้อยละ 14.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 20.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 29.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 27.2 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 18.1 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.8 เป็นนักศึกษา/นักเรียน
และร้อยละ 2.0 ระบุว่างงานไม่มีงานทำว่างงาน
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.7 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 31.3 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 46.0
2 3-4 วัน 23.7
3 1-2 วัน 10.9
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 12.2
5 ไม่ได้ติดตามเลย 7.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ร้อยละ
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 95.8
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 82.4
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 46.7
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 9.7
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 12.8
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 15.1
7 ต้องการเห็นบ้านเมืองสงบสุขโดยเร็ว 93.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม
พ.ศ. 2550 เปรียบเทียบกับ ช่วง 3 เดือนแรกของปี 2549 (มกราคม-มีนาคม) เมื่อคะแนนเต็ม 10
ม.ค.-มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย.-ธ.ค. ม.ค. ก.พ. เม.ย. พ.ค.-ก.ค.
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม 5.47 6.08 6.59 9.21 7.29 6.34 6.30 4.86 5.74 5.68 5.66 5.11 5.02
ของคนไทยภายใน ประเทศ
(Gross Domestic Happiness)
ตารางที่ 4 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2550
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าคะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย (เต็ม 10)
5 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 7.41
1 ความปลาบปลื้มต่อโครงการพระราชดำริต่างๆ 7.21
2 สุขภาพกาย 6.94
9 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 6.56
3 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความมีน้ำใจให้แก่กัน ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย 6.34
4 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 5.97
6 ด้านครอบครัว เด็กและเยาวชน 5.63
7 ด้านความพึงพอใจในงาน 5.28
8 รูปแบบการดำเนินชีวิต 4.88
12 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 4.84
11 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 4.79
10 ด้านการศึกษา 4.72
14 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 3.74
13 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 3.60
15 ด้านสภาพแวดล้อม และที่พักอาศัย 3.08
16 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2550 2.45
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือนพฤษภาคม — กรกฎาคม 2550 5.02
ตารางที่ 5 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมประจำเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2550 ที่มีต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ ของประชาชน
จำแนกตามพื้นที่
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ประจำเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2550 เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 ด้านสภาพแวดล้อม และที่พักอาศัย 3.3 3.4 2.9 2.9 3.5
2 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 7.5 5.9 7.2 4 2
3 ด้านครอบครัว เด็กและเยาวชน 5.7 5.4 5.7 4.9 2.4
4 สุขภาพกาย 7.3 7.2 6.8 7.4 3
5 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 6.2 6.1 6.3 5.8 2.7
6 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 3.8 3.8 3.7 3.9 3.5
7 ด้านความพึงพอใจในงาน 5.3 5.7 5.1 5.1 4.8
8 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 3.7 3.8 3.3 3.1 4.8
9 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 7.1 7.1 7.7 6.9 2.9
10 รูปแบบการดำเนินชีวิต 4.9 5 4.3 4.7 7.5
11 ด้านการศึกษา 4.4 4.8 4.8 4 2
12 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 5.2 4.8 4.6 4.2 4
13 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความมีน้ำใจให้แก่กัน
ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย 6.3 6.2 6.6 5.6 3.7
14 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 5 5 4.5 3.8 5.9
15 โครงการพระราชดำริต่างๆ 7.3 7.6 7.2 6.6 6.1
16 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2550 2.4 2.7 2.6 2.3 1.8
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือน-
พฤษภาคม-กรกฎาคม 2550 4.9 5.1 5.1 4.3 3.7
ตารางที่ 6 แสดงปัจจัยสำคัญต้องเร่งแก้ไขปรับปรุงเพื่อเพิ่มความสุขมวลรวมของคนไทย
6.1 ด้านสถานการณ์ปัจจุบันและปัจจัยอื่นๆ ของประเทศ 5 อันดับแรก
ลำดับที่ สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนพฤษภาคม — กรกฎาคม ค่าร้อยละ
1 การชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่างๆ และความแตกแยกในสังคม 96.8
2 ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ 93.5
3 สภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ 85.0
4 ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 77.2
5 ปัญหาสังคมอื่นๆ อาทิ ปัญหายาเสพติด /ปัญหาอาชญกรข้ามชาติ และปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน 70.9
6.2 ด้านสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัย 5 อันดับแรก
ลำดับที่ ด้านสภาพแวดล้อม และที่พักอาศัย ค่าร้อยละ
1 การบริการด้านไฟฟ้า 50.4
2 น้ำประปา แหล่งน้ำกินน้ำใช้ 43.7
3 ถนนหนทาง 41.9
4 การใช้โทรศัพท์บ้านในครัวเรือน 39.8
5 สภาพสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ อากาศ ดิน 33.3
6.3 ด้านหลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 5 อันดับแรก
ลำดับที่ หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ ค่าร้อยละ
1 การทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น 54.9
2 ความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชนต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ 49.6
3 การไม่ประสานงานกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ 43.1
4 ความไม่เชื่อมั่นต่ององค์กรอิสระ 38.4
5 ประชาชนขาดโอกาสในการรับรู้สถานการณ์การเมืองที่แท้จริง 31.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-