ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis - SIMBA) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า เนื่องในวันนักข่าว สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ดำเนินการสำรวจภาคสนาม เรื่อง “ความคาดหวังต่อ การนำเสนอข่าวสารทางหนังสือพิมพ์: กรณีศึกษาผู้อ่านหนังสือพิมพ์ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้อ่านหนังสือพิมพ์ (ที่อ่านหนังสือพิมพ์ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง) ที่มีอายุระหว่าง 18-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,269 ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
1. ผู้อ่านหนังสือพิมพ์ติดตามข่าวหลากหลายช่องทาง
ผลการสำรวจล่าสุด พบว่า ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 98.3 ระบุว่าติดตามดูข่าว / รายการสนทนาข่าว ในขณะที่ ตัวอย่างร้อยละ 1.7 ระบุว่าไม่ได้ติดตาม
สำหรับการติดตามฟังข่าว / รายการสนทนาข่าวผ่านทางสถานีวิทยุนั้น พบว่า ตัวอย่างไม่ถึงครึ่ง หรือร้อยละ 45.1 ระบุว่าติดตามฟังข่าว / รายการสนทนาข่าวผ่านทางสถานีวิทยุในรอบ 30 วันที่ผ่านมา ในขณะที่ตัวอย่างกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 54.9 ระบุว่าไม่ได้ติดตาม ฟังข่าว / รายการสนทนาข่าวผ่านทางสถานีวิทยุ
เป็นที่น่าสังเกตว่า การติดตามดูข่าวสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้นยังไม่เป็นที่นิยม สังเกตได้จาก ผลการศึกษาที่พบว่า มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 18.1 เท่านั้นที่ระบุว่าติดตามดูข่าวสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตในรอบ 30 วันที่ผ่านมา ในขณะที่ตัวอย่างมากกว่า 4 ใน 5 หรือร้อยละ 81.9 ระบุว่าไม่ได้ติดตาม
จะเห็นได้ว่าช่องทางที่ตัวอย่างเลือกรับฟังข่าวหรือรายการข่าวนั้น พบว่า โทรทัศน์ยังคงเป็นช่องทางที่สื่อให้ความนิยมติดตามมากที่สุด ร้อยละ 98.3 รองลงมา คือ วิทยุ และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 45.1 และ 18.1 ตามลำดับ
2. อ่านหนังสือพิมพ์ “แบบติดตามต่อเนื่อง”
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 40.8 ระบุว่าอ่านหนังสือพิมพ์ทุกวัน ในขณะที่ ตัวอย่างร้อยละ 17.1 ระบุว่า อ่าน 5-6 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 21.0 อ่าน 3-4 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 21.1 อ่าน 1-2 วันต่อสัปดาห์ โดยเฉลี่ยแล้ว ตัวอย่างอ่านหนังสือพิมพ์ประมาณ 5 วันต่อสัปดาห์
โดยตัวอย่างกว่า 2 ใน 3 หรือร้อยละ 68.7 ระบุว่าอ่านหนังสือพิมพ์ 1 ฉบับต่อวัน ร้อยละ 22.5 อ่าน 2 ฉบับต่อวัน ร้อยละ 8.8 เท่านั้นที่อ่านหนังสือพิมพ์มากกว่า 2 ฉบับต่อวัน โดยเฉลี่ยแล้ว ตัวอย่างอ่านหนังสือพิมพ์ประมาณ 2 ฉบับต่อวัน
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 80.1 ระบุว่า ในแต่ละครั้ง จะอ่านหนังสือพิมพ์ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ในขณะที่ตัวอย่างประมาณ 1 ใน 5 หรือร้อยละ 19.9 ระบุว่า อ่านหนังสือพิมพ์เกิน 1 ชั่วโมงในแต่ละครั้ง และโดยเฉลี่ยแล้ว ตัวอย่างอ่านหนังสือพิมพ์ประมาณ 55 นาทีในแต่ละครั้ง
ตัวอย่างเกือบครึ่ง หรือร้อยละ 47.8 ระบุว่า หาซื้อหนังสือพิมพ์จากแผงหรือร้านหนังสือ ร้อยละ 37.0 หาอ่านตามร้านค้า / ร้านอาหาร / ร้านกาแฟ ร้อยละ 20.2 เป็นสมาชิกรับประจำ ร้อยละ 18.8 หาอ่านในสำนักงาน / ที่ทำงาน ร้อยละ 14.3 ยืมอ่านจากคนที่รู้จัก ร้อยละ 6.9 หาอ่านตามบริษัท / ห้างร้าน / สถานที่ราชการ และ ร้อยละ 3.1 อื่นๆ เช่น ร้านเสริมสวย, ห้องสมุด, อินเทอร์เน็ต
3. สนใจข่าว “การเมือง-อาชญากรรม-บันเทิง”
สำหรับประเภทข่าวที่ตัวอย่างสนใจอ่านจากหนังสือพิมพ์มากที่สุด คือ ข่าวการเมือง ร้อยละ 63.4 รองลงมา ได้แก่ ข่าวอาชญากรรม ร้อยละ 56.4 ข่าวบันเทิง ร้อยละ 54.0 ข่าวกีฬา ร้อยละ 38.2 ข่าวเศรษฐกิจ / ธุรกิจ ร้อยละ 33.1 ข่าวสุขภาพ / คุณภาพชีวิต ร้อยละ 27.9 ข่าวสีสันแบบชาวบ้าน (เรื่องแปลกๆ สัพเพเหระ) ร้อยละ 27.7 ข่าวต่างประเทศ ร้อยละ 22.4 ข่าวภูมิภาค / ภูธร ร้อยละ 11.3 และอื่นๆ เช่น ดวงชะตาชีวิต, เทคโนโลยี, การศึกษา, การทำมาหากิน ร้อยละ 3.2
เมื่อผู้วิจัยสอบถามถึงความน่าสนใจของข่าวสารที่นำเสนอในหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ พบว่า ตัวอย่างประมาณ 4 ใน 5 หรือร้อยละ 79.9 ระบุว่า น่าสนใจ ในขณะที่ ร้อยละ 6.7 ระบุว่าไม่น่าสนใจ และร้อยละ 13.4 ไม่แน่ใจ
4. มั่นใจหนังสือพิมพ์มี “เสรีภาพในการนำเสนอข่าวสาร”
นอกจากนี้ ตัวอย่างกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 53.5 ระบุว่าการนำเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่มีเสรีภาพ ในขณะที่ ร้อยละ 13.2 ระบุว่าไม่มีเสรีภาพ และร้อยละ 33.3 ไม่แน่ใจ
ประเด็นสำคัญ คือ ตัวอย่างร้อยละ 33.4 ระบุว่าการนำเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่มีความเป็นกลาง ร้อยละ 28.0 ระบุว่าไม่เป็นกลาง ในขณะที่ ตัวอย่างมากกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 38.6 ระบุว่า ไม่แน่ใจ
สำหรับความครบถ้วนในการนำเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่นั้น ตัวอย่างร้อยละ 41.4 มีความเห็นว่าครบถ้วน ร้อยละ 31.8 ไม่ครบถ้วน และร้อยละ 26.8 ไม่แน่ใจ ในขณะที่
5. ไม่ค่อยแน่ใจเรื่อง “การเคารพสิทธิ-รักษาผลประโยชน์ประชาชน-ความกล้าท้าทายอิทธิพล”
ตัวอย่างร้อยละ 28.8 มีความเห็นว่า หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่เคารพสิทธิส่วนบุคคลของคนอื่น ร้อยละ 33.9 ไม่เคารพ และร้อยละ 37.3 ไม่แน่ใจ
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 39.8 ระบุว่าการนำเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่รักษาผลประโยชน์ของประชาชน ร้อยละ 18.5 ไม่รักษา และร้อยละ 41.7 ไม่แน่ใจ
ในขณะที่ ตัวอย่างร้อยละ 37.3 ระบุว่าหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่กล้าที่จะต่อสู้กับกลุ่มอำนาจอิทธิพล ร้อยละ 25.2 ไม่กล้า และร้อยละ 37.5 ไม่แน่ใจ
6. ไม่อยากให้เสนอ “ข่าวใบ้หวย-ภาพโป๊-เรื่องชู้สาวของดารา/นักร้อง”
สำหรับประเด็นความเหมาะสมในการนำเสนอข่าวสาร พบว่า ข่าวสารที่ประชาชนไม่ต้องการให้นำเสนอ อันดับแรกตัวอย่างร้อยละ 70.3 เห็นว่า ไม่ควรนำเสนอข่าวใบ้หวย (นอกนั้นคือคนที่เห็นว่าควรนำเสนอ และไม่แน่ใจ) รองลงมาร้อยละ 64.7 ไม่ควรนำเสนอภาพเซ็กซี่ / โชว์วับๆ แวมๆ ของนางแบบ และร้อยละ 62.2 ข่าวเชิงชู้สาวของดารา / นักร้อง ส่วนข่าวอื่น ๆ ที่ไม่ควรนำเสนอ ได้แก่ ข่าวที่ไม่เป็นความจริง ไร้สาระ หลอกหลวงประชาชน ข่าวพาดพิงที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ข่าวที่สร้างค่านิยมให้เยาวชนผิดๆ ที่อาจทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ และข่าวที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ, ข่าวยุแยง ยั่วยุให้ทะเลาะกัน ตามลำดับ
7. อยากให้เสนอข่าว “ความสามัคคี-การทำความดี-สาระวิชาการ/งานวิจัย”
ในขณะเดียวกัน ผู้วิจัยก็ได้สอบถามถึงประเภทข่าวสารที่ควรเน้นให้มีการนำเสนอ พบว่า ข่าวสารที่ตัวอย่างเห็นว่าควรเน้นให้มีการนำเสนอ 5 อันดับแรก คือ ข่าวความสามัคคี สงบสุขภายในประเทศ ร้อยละ 23.6 ข่าวการทำความดีของบุคคลต่างๆ เช่น พลเมืองดี เด็กกตัญญู ร้อยละ 19.3 ข่าวการศึกษา งานวิจัย ร้อยละ 10.7 ข่าวการถูกลงโทษของผู้กระทำผิด ร้อยละ 8.5 และข่าวประเพณี วัฒนธรรม ร้อยละ 6.3 ตามลำดับ
8. ชอบโฆษณา เพราะทำให้ทราบข้อมูลสินค้า
เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.7 ระบุว่าชอบโฆษณาที่มีอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์ เพราะทำให้ ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้ามากขึ้น ทำให้ทราบความเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ ได้ดู ความแปลกใหม่ในการนำเสนอความคิด
ในขณะที่ ตัวอย่างร้อยละ 17.1 ระบุว่าไม่ชอบโฆษณาที่มีอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์ เพราะมีปริมาณมากเกินไป โฆษณาเกินจริง โฆษณาไม่มีประโยชน์ ไร้สาระ และร้อยละ 37.2 ไม่มีความเห็น
9. เชื่อ “หนังสือพิมพ์เป็นกระจกส่องสังคม - เสรีภาพสื่อมวลชน คือเสรีภาพประชาชน”
เมื่อผู้วิจัยสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อคำพูดที่ว่า “หนังสือพิมพ์คือกระจกส่องสังคม สังคมเป็นอย่างไร หนังสือพิมพ์ก็เป็นอย่างนั้น” พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 41.8 เชื่อคำพูดดังกล่าว ร้อยละ 25.8 ไม่เชื่อ และ ร้อยละ 32.4 ไม่แน่ใจ
ในขณะที่ ร้อยละ 44.1 เชื่อคำพูดที่ว่า “สิทธิเสรีภาพของประชาชน คือ สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน” ร้อยละ 26.2 ไม่เชื่อ และร้อยละ 29.7 ไม่แน่ใจ
10. คุณภาพนักข่าว “ปานกลาง”
กว่าครึ่งหนึ่งของตัวอย่าง หรือร้อยละ 57.6 ระบุว่าคุณภาพของนักข่าวหนังสือพิมพ์ของไทยโดยส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 34.4 อยู่ในระดับดี และร้อยละ 8.0 อยู่ในระดับแย่
ส่วนในด้านทัศนคติต่อผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์ ตัวอย่างกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.9 ระบุว่าผู้ประกอบการธุรกิจหนังสือพิมพ์โดยส่วนใหญ่ มีความน่าศรัทธา ในขณะที่ ร้อยละ 21.2 ระบุว่าไม่น่าศรัทธา และร้อยละ 43.9 ไม่แน่ใจ
11. ข่าวสารเชื่อถือได้ 59 %
สำหรับความน่าเชื่อถือต่อการนำเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์ทั่วไป พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 41.5 ระบุว่าเชื่อถือ เพราะเชื่อว่าข่าวสารโดยส่วนใหญ่เป็นความจริง ข่าวสารโดยส่วนใหญ่มีแหล่งที่มา นักข่าวมีจรรยาบรรณในการนำเสนอข่าว ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 17.9 ระบุว่าไม่เชื่อถือ เพราะเห็นว่าข่าวสารที่นำเสนอไม่ตรงกับความเป็นจริง หนังสือพิมพ์แต่ละฉบับเขียนข่าวไม่ตรงกัน หนังสือพิมพ์ต้องการขายข่าว ส่วนร้อยละ 40.6 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ เมื่อให้ตัวอย่างระบุความเห็นว่าข่าวสารที่นำเสนอในหนังสือพิมพ์เชื่อถือได้กี่เปอ์เซ็นต์ ผลปรากฏว่าค่าเฉลี่ยที่ได้คือคือเชื่อได้ประมาณ 59% ของเนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอ
12. แน้วโน้มอีก 1 ปีข้างหน้าจะอ่านหนังสือพิมพ์ “มากขึ้น”
แนวโน้มการอ่านหนังสือพิมพ์ของตัวอย่าง ในอีก 1 ปีข้างหน้านั้น พบว่า ตัวอย่างเกือบครึ่ง หรือร้อยละ 48.9 ระบุจะอ่านหนังสือพิมพ์เท่าเดิม ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 32.2 ระบุว่าจะอ่านหนังสือพิมพ์มากขึ้น เพราะข่าวสารมีความแปลกใหม่ตลอดเวลา, โลกก้าวหน้าขึ้นทุกวัน ชอบอ่านหนังสือ, ชอบติดตามข่าว มีเวลาว่างมากขึ้น และตัวอย่างร้อยละ 18.9 ระบุว่าจะอ่านหนังสือพิมพ์น้อยลง เพราะมีช่องทางการติดตามข่าวสารจากสื่ออื่นเพิ่มเติม เช่น อินเทอร์เน็ต ข่าวสารที่นำเสนอไม่น่าเชื่อถือ ไม่เป็นกลาง และไม่มีเวลาอ่าน
เมื่อวิเคราะห์ตัวเลขกล่าวได้ว่า แนวโน้มในอีก 1 ปีขางหน้ากลุ่มตัวอย่าง ตั้งใจจะอ่านหนังสือพิมพ์ในระดับเท่าเดิมค่อนไปทาง “มากขึ้น”
13. อยากให้หนังสือพิมพ์ “รับผิดชอบสังคม-เจาะลึกข่าวสารมากขึ้น”
เมื่อผู้วิจัยสอบถามตัวอย่างถึงประเด็นการปรับปรุงหนังสือพิมพ์ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 89.6 ระบุว่าควรเพิ่มความรับผิดชอบต่อสังคมให้มากขึ้น ร้อยละ 88.9 ระบุว่าควรปรับปรุงการเสนอข่าวให้เจาะลึกมากขึ้นร้อยละ 88.0 ระบุว่าควรปรับปรุงเนื้อหาให้ถูกต้องเชื่อถือได้มากขึ้น ร้อยละ 81.6 ระบุว่าควรเพิ่มข่าวสารให้หลากหลายมากขึ้น และร้อยละ 43.8 ระบุว่าควรปรับปรุงรูปแบบสีสันให้น่าสนใจมากขึ้น ตามลำดับ
14. ผู้อ่านเกือบ 1 ใน 3 รู้จักสมาคมนักข่าว ฯ
ผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้อ่านพบว่า มีตัวอย่างร้อยละ 29.1 ที่รู้จักสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่ง ประเทศไทย ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 70.9 ระบุว่าไม่รู้จัก
เมื่อผู้วิจัยสอบถามตัวอย่างที่รู้จักสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยต่อ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.3 รับทราบการทำงานของสมาคม ฯ ในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา ในขณะที่ ตัวอย่างกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 52.7 ระบุว่าไม่เคยทราบ / จำไม่ได้
15. ประทับใจผลงานสมาคมนักข่าว ฯ
จาการสอบถามในกลุ่มผู้ที่รู้จัก และรับทราบการทำงานของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา พบว่าร้อยละ 45.9 ระบุว่าประทับใจการทำงานของสมาคมนักข่าว ฯ เพราะออกมาช่วยปกป้องนักข่าว, คอยดูแลนักข่าว, กล้าออกมาแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล (เช่น เรื่องคอรัปชั่น) , ตั้งใจทำงาน, ได้รับรู้ความเคลื่อนไหวของสังคม ในขณะที่ ตัวอย่างร้อยละ 13.0 ระบุว่าไม่ประทับใจ เพราะอยู่ใต้อำนาจของผู้มีอิทธิพล, ถูกครอบงำโดยคนบางกลุ่ม, ช่วยนักข่าวพวกเดียวกันเองมากเกินไป, เสนอข่าวไม่เป็นกลาง, บทบาทและผลงานไม่เด่นชัด และร้อยละ 41.1 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคมไทยจนกล่าวได้ว่า “สื่อมวลชนเป็นอย่างไรสังคมและประชาชนก็เป็นอย่างนั้น” เปรียบเสมือนว่าข่าวสารที่สื่อมวลชนนำเสนอเป็นอาหารที่ประชาชนบริโภคเข้าไปจนทำให้ชีวิตจิตใจของประชาชนเป็นไปตามคุณค่าของอาหารข้อมูลที่สื่อมวลชนผลิตออกมาให้บริโภค นอกจากนี้ สื่อมวลชนอาจถูกเรียกได้ว่าเป็นผู้นำในการปกครองประเทศที่แท้จริง มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ชี้นำชี้แนะประชาชนเหมือนเป็น “อาจารย์ใหญ่” ของประเทศ ถ้าบรรดาอาจารย์ใหญ่ของประเทศมีความขัดแย้งกันเอง ประชาชนจะพบกับความสงบสุขและสมานฉันท์ได้อย่างไร จนบางช่วงเวลาเราอาจตั้งคำถามได้ว่า “ใครคือผู้นำประเทศที่แท้จริงระหว่างรัฐบาลหรือว่าสื่อมวลชน” ดังนั้นสื่อมวลชนจึงน่าจะตระหนักในบทบาทเหล่านี้ได้อย่างดีกว่าใครๆ และขอให้สื่อมวลชนได้รักษาบทบาทสำคัญเหล่านี้ไว้ในเชิงสร้างสรรค์ และขอให้นำพาประชาชนและประเทศชาติผ่านพ้นวิกฤตการณ์ต่างๆ ในห้วงเวลานี้ไปให้ได้
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (ABACSIMBA) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
โทร. 0-2719—1549-50
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
1. ผู้อ่านหนังสือพิมพ์ติดตามข่าวหลากหลายช่องทาง
ผลการสำรวจล่าสุด พบว่า ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 98.3 ระบุว่าติดตามดูข่าว / รายการสนทนาข่าว ในขณะที่ ตัวอย่างร้อยละ 1.7 ระบุว่าไม่ได้ติดตาม
สำหรับการติดตามฟังข่าว / รายการสนทนาข่าวผ่านทางสถานีวิทยุนั้น พบว่า ตัวอย่างไม่ถึงครึ่ง หรือร้อยละ 45.1 ระบุว่าติดตามฟังข่าว / รายการสนทนาข่าวผ่านทางสถานีวิทยุในรอบ 30 วันที่ผ่านมา ในขณะที่ตัวอย่างกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 54.9 ระบุว่าไม่ได้ติดตาม ฟังข่าว / รายการสนทนาข่าวผ่านทางสถานีวิทยุ
เป็นที่น่าสังเกตว่า การติดตามดูข่าวสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้นยังไม่เป็นที่นิยม สังเกตได้จาก ผลการศึกษาที่พบว่า มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 18.1 เท่านั้นที่ระบุว่าติดตามดูข่าวสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตในรอบ 30 วันที่ผ่านมา ในขณะที่ตัวอย่างมากกว่า 4 ใน 5 หรือร้อยละ 81.9 ระบุว่าไม่ได้ติดตาม
จะเห็นได้ว่าช่องทางที่ตัวอย่างเลือกรับฟังข่าวหรือรายการข่าวนั้น พบว่า โทรทัศน์ยังคงเป็นช่องทางที่สื่อให้ความนิยมติดตามมากที่สุด ร้อยละ 98.3 รองลงมา คือ วิทยุ และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 45.1 และ 18.1 ตามลำดับ
2. อ่านหนังสือพิมพ์ “แบบติดตามต่อเนื่อง”
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 40.8 ระบุว่าอ่านหนังสือพิมพ์ทุกวัน ในขณะที่ ตัวอย่างร้อยละ 17.1 ระบุว่า อ่าน 5-6 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 21.0 อ่าน 3-4 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 21.1 อ่าน 1-2 วันต่อสัปดาห์ โดยเฉลี่ยแล้ว ตัวอย่างอ่านหนังสือพิมพ์ประมาณ 5 วันต่อสัปดาห์
โดยตัวอย่างกว่า 2 ใน 3 หรือร้อยละ 68.7 ระบุว่าอ่านหนังสือพิมพ์ 1 ฉบับต่อวัน ร้อยละ 22.5 อ่าน 2 ฉบับต่อวัน ร้อยละ 8.8 เท่านั้นที่อ่านหนังสือพิมพ์มากกว่า 2 ฉบับต่อวัน โดยเฉลี่ยแล้ว ตัวอย่างอ่านหนังสือพิมพ์ประมาณ 2 ฉบับต่อวัน
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 80.1 ระบุว่า ในแต่ละครั้ง จะอ่านหนังสือพิมพ์ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ในขณะที่ตัวอย่างประมาณ 1 ใน 5 หรือร้อยละ 19.9 ระบุว่า อ่านหนังสือพิมพ์เกิน 1 ชั่วโมงในแต่ละครั้ง และโดยเฉลี่ยแล้ว ตัวอย่างอ่านหนังสือพิมพ์ประมาณ 55 นาทีในแต่ละครั้ง
ตัวอย่างเกือบครึ่ง หรือร้อยละ 47.8 ระบุว่า หาซื้อหนังสือพิมพ์จากแผงหรือร้านหนังสือ ร้อยละ 37.0 หาอ่านตามร้านค้า / ร้านอาหาร / ร้านกาแฟ ร้อยละ 20.2 เป็นสมาชิกรับประจำ ร้อยละ 18.8 หาอ่านในสำนักงาน / ที่ทำงาน ร้อยละ 14.3 ยืมอ่านจากคนที่รู้จัก ร้อยละ 6.9 หาอ่านตามบริษัท / ห้างร้าน / สถานที่ราชการ และ ร้อยละ 3.1 อื่นๆ เช่น ร้านเสริมสวย, ห้องสมุด, อินเทอร์เน็ต
3. สนใจข่าว “การเมือง-อาชญากรรม-บันเทิง”
สำหรับประเภทข่าวที่ตัวอย่างสนใจอ่านจากหนังสือพิมพ์มากที่สุด คือ ข่าวการเมือง ร้อยละ 63.4 รองลงมา ได้แก่ ข่าวอาชญากรรม ร้อยละ 56.4 ข่าวบันเทิง ร้อยละ 54.0 ข่าวกีฬา ร้อยละ 38.2 ข่าวเศรษฐกิจ / ธุรกิจ ร้อยละ 33.1 ข่าวสุขภาพ / คุณภาพชีวิต ร้อยละ 27.9 ข่าวสีสันแบบชาวบ้าน (เรื่องแปลกๆ สัพเพเหระ) ร้อยละ 27.7 ข่าวต่างประเทศ ร้อยละ 22.4 ข่าวภูมิภาค / ภูธร ร้อยละ 11.3 และอื่นๆ เช่น ดวงชะตาชีวิต, เทคโนโลยี, การศึกษา, การทำมาหากิน ร้อยละ 3.2
เมื่อผู้วิจัยสอบถามถึงความน่าสนใจของข่าวสารที่นำเสนอในหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ พบว่า ตัวอย่างประมาณ 4 ใน 5 หรือร้อยละ 79.9 ระบุว่า น่าสนใจ ในขณะที่ ร้อยละ 6.7 ระบุว่าไม่น่าสนใจ และร้อยละ 13.4 ไม่แน่ใจ
4. มั่นใจหนังสือพิมพ์มี “เสรีภาพในการนำเสนอข่าวสาร”
นอกจากนี้ ตัวอย่างกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 53.5 ระบุว่าการนำเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่มีเสรีภาพ ในขณะที่ ร้อยละ 13.2 ระบุว่าไม่มีเสรีภาพ และร้อยละ 33.3 ไม่แน่ใจ
ประเด็นสำคัญ คือ ตัวอย่างร้อยละ 33.4 ระบุว่าการนำเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่มีความเป็นกลาง ร้อยละ 28.0 ระบุว่าไม่เป็นกลาง ในขณะที่ ตัวอย่างมากกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 38.6 ระบุว่า ไม่แน่ใจ
สำหรับความครบถ้วนในการนำเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่นั้น ตัวอย่างร้อยละ 41.4 มีความเห็นว่าครบถ้วน ร้อยละ 31.8 ไม่ครบถ้วน และร้อยละ 26.8 ไม่แน่ใจ ในขณะที่
5. ไม่ค่อยแน่ใจเรื่อง “การเคารพสิทธิ-รักษาผลประโยชน์ประชาชน-ความกล้าท้าทายอิทธิพล”
ตัวอย่างร้อยละ 28.8 มีความเห็นว่า หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่เคารพสิทธิส่วนบุคคลของคนอื่น ร้อยละ 33.9 ไม่เคารพ และร้อยละ 37.3 ไม่แน่ใจ
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 39.8 ระบุว่าการนำเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่รักษาผลประโยชน์ของประชาชน ร้อยละ 18.5 ไม่รักษา และร้อยละ 41.7 ไม่แน่ใจ
ในขณะที่ ตัวอย่างร้อยละ 37.3 ระบุว่าหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่กล้าที่จะต่อสู้กับกลุ่มอำนาจอิทธิพล ร้อยละ 25.2 ไม่กล้า และร้อยละ 37.5 ไม่แน่ใจ
6. ไม่อยากให้เสนอ “ข่าวใบ้หวย-ภาพโป๊-เรื่องชู้สาวของดารา/นักร้อง”
สำหรับประเด็นความเหมาะสมในการนำเสนอข่าวสาร พบว่า ข่าวสารที่ประชาชนไม่ต้องการให้นำเสนอ อันดับแรกตัวอย่างร้อยละ 70.3 เห็นว่า ไม่ควรนำเสนอข่าวใบ้หวย (นอกนั้นคือคนที่เห็นว่าควรนำเสนอ และไม่แน่ใจ) รองลงมาร้อยละ 64.7 ไม่ควรนำเสนอภาพเซ็กซี่ / โชว์วับๆ แวมๆ ของนางแบบ และร้อยละ 62.2 ข่าวเชิงชู้สาวของดารา / นักร้อง ส่วนข่าวอื่น ๆ ที่ไม่ควรนำเสนอ ได้แก่ ข่าวที่ไม่เป็นความจริง ไร้สาระ หลอกหลวงประชาชน ข่าวพาดพิงที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ข่าวที่สร้างค่านิยมให้เยาวชนผิดๆ ที่อาจทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ และข่าวที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ, ข่าวยุแยง ยั่วยุให้ทะเลาะกัน ตามลำดับ
7. อยากให้เสนอข่าว “ความสามัคคี-การทำความดี-สาระวิชาการ/งานวิจัย”
ในขณะเดียวกัน ผู้วิจัยก็ได้สอบถามถึงประเภทข่าวสารที่ควรเน้นให้มีการนำเสนอ พบว่า ข่าวสารที่ตัวอย่างเห็นว่าควรเน้นให้มีการนำเสนอ 5 อันดับแรก คือ ข่าวความสามัคคี สงบสุขภายในประเทศ ร้อยละ 23.6 ข่าวการทำความดีของบุคคลต่างๆ เช่น พลเมืองดี เด็กกตัญญู ร้อยละ 19.3 ข่าวการศึกษา งานวิจัย ร้อยละ 10.7 ข่าวการถูกลงโทษของผู้กระทำผิด ร้อยละ 8.5 และข่าวประเพณี วัฒนธรรม ร้อยละ 6.3 ตามลำดับ
8. ชอบโฆษณา เพราะทำให้ทราบข้อมูลสินค้า
เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.7 ระบุว่าชอบโฆษณาที่มีอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์ เพราะทำให้ ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้ามากขึ้น ทำให้ทราบความเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ ได้ดู ความแปลกใหม่ในการนำเสนอความคิด
ในขณะที่ ตัวอย่างร้อยละ 17.1 ระบุว่าไม่ชอบโฆษณาที่มีอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์ เพราะมีปริมาณมากเกินไป โฆษณาเกินจริง โฆษณาไม่มีประโยชน์ ไร้สาระ และร้อยละ 37.2 ไม่มีความเห็น
9. เชื่อ “หนังสือพิมพ์เป็นกระจกส่องสังคม - เสรีภาพสื่อมวลชน คือเสรีภาพประชาชน”
เมื่อผู้วิจัยสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อคำพูดที่ว่า “หนังสือพิมพ์คือกระจกส่องสังคม สังคมเป็นอย่างไร หนังสือพิมพ์ก็เป็นอย่างนั้น” พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 41.8 เชื่อคำพูดดังกล่าว ร้อยละ 25.8 ไม่เชื่อ และ ร้อยละ 32.4 ไม่แน่ใจ
ในขณะที่ ร้อยละ 44.1 เชื่อคำพูดที่ว่า “สิทธิเสรีภาพของประชาชน คือ สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน” ร้อยละ 26.2 ไม่เชื่อ และร้อยละ 29.7 ไม่แน่ใจ
10. คุณภาพนักข่าว “ปานกลาง”
กว่าครึ่งหนึ่งของตัวอย่าง หรือร้อยละ 57.6 ระบุว่าคุณภาพของนักข่าวหนังสือพิมพ์ของไทยโดยส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 34.4 อยู่ในระดับดี และร้อยละ 8.0 อยู่ในระดับแย่
ส่วนในด้านทัศนคติต่อผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์ ตัวอย่างกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.9 ระบุว่าผู้ประกอบการธุรกิจหนังสือพิมพ์โดยส่วนใหญ่ มีความน่าศรัทธา ในขณะที่ ร้อยละ 21.2 ระบุว่าไม่น่าศรัทธา และร้อยละ 43.9 ไม่แน่ใจ
11. ข่าวสารเชื่อถือได้ 59 %
สำหรับความน่าเชื่อถือต่อการนำเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์ทั่วไป พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 41.5 ระบุว่าเชื่อถือ เพราะเชื่อว่าข่าวสารโดยส่วนใหญ่เป็นความจริง ข่าวสารโดยส่วนใหญ่มีแหล่งที่มา นักข่าวมีจรรยาบรรณในการนำเสนอข่าว ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 17.9 ระบุว่าไม่เชื่อถือ เพราะเห็นว่าข่าวสารที่นำเสนอไม่ตรงกับความเป็นจริง หนังสือพิมพ์แต่ละฉบับเขียนข่าวไม่ตรงกัน หนังสือพิมพ์ต้องการขายข่าว ส่วนร้อยละ 40.6 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ เมื่อให้ตัวอย่างระบุความเห็นว่าข่าวสารที่นำเสนอในหนังสือพิมพ์เชื่อถือได้กี่เปอ์เซ็นต์ ผลปรากฏว่าค่าเฉลี่ยที่ได้คือคือเชื่อได้ประมาณ 59% ของเนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอ
12. แน้วโน้มอีก 1 ปีข้างหน้าจะอ่านหนังสือพิมพ์ “มากขึ้น”
แนวโน้มการอ่านหนังสือพิมพ์ของตัวอย่าง ในอีก 1 ปีข้างหน้านั้น พบว่า ตัวอย่างเกือบครึ่ง หรือร้อยละ 48.9 ระบุจะอ่านหนังสือพิมพ์เท่าเดิม ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 32.2 ระบุว่าจะอ่านหนังสือพิมพ์มากขึ้น เพราะข่าวสารมีความแปลกใหม่ตลอดเวลา, โลกก้าวหน้าขึ้นทุกวัน ชอบอ่านหนังสือ, ชอบติดตามข่าว มีเวลาว่างมากขึ้น และตัวอย่างร้อยละ 18.9 ระบุว่าจะอ่านหนังสือพิมพ์น้อยลง เพราะมีช่องทางการติดตามข่าวสารจากสื่ออื่นเพิ่มเติม เช่น อินเทอร์เน็ต ข่าวสารที่นำเสนอไม่น่าเชื่อถือ ไม่เป็นกลาง และไม่มีเวลาอ่าน
เมื่อวิเคราะห์ตัวเลขกล่าวได้ว่า แนวโน้มในอีก 1 ปีขางหน้ากลุ่มตัวอย่าง ตั้งใจจะอ่านหนังสือพิมพ์ในระดับเท่าเดิมค่อนไปทาง “มากขึ้น”
13. อยากให้หนังสือพิมพ์ “รับผิดชอบสังคม-เจาะลึกข่าวสารมากขึ้น”
เมื่อผู้วิจัยสอบถามตัวอย่างถึงประเด็นการปรับปรุงหนังสือพิมพ์ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 89.6 ระบุว่าควรเพิ่มความรับผิดชอบต่อสังคมให้มากขึ้น ร้อยละ 88.9 ระบุว่าควรปรับปรุงการเสนอข่าวให้เจาะลึกมากขึ้นร้อยละ 88.0 ระบุว่าควรปรับปรุงเนื้อหาให้ถูกต้องเชื่อถือได้มากขึ้น ร้อยละ 81.6 ระบุว่าควรเพิ่มข่าวสารให้หลากหลายมากขึ้น และร้อยละ 43.8 ระบุว่าควรปรับปรุงรูปแบบสีสันให้น่าสนใจมากขึ้น ตามลำดับ
14. ผู้อ่านเกือบ 1 ใน 3 รู้จักสมาคมนักข่าว ฯ
ผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้อ่านพบว่า มีตัวอย่างร้อยละ 29.1 ที่รู้จักสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่ง ประเทศไทย ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 70.9 ระบุว่าไม่รู้จัก
เมื่อผู้วิจัยสอบถามตัวอย่างที่รู้จักสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยต่อ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.3 รับทราบการทำงานของสมาคม ฯ ในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา ในขณะที่ ตัวอย่างกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 52.7 ระบุว่าไม่เคยทราบ / จำไม่ได้
15. ประทับใจผลงานสมาคมนักข่าว ฯ
จาการสอบถามในกลุ่มผู้ที่รู้จัก และรับทราบการทำงานของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา พบว่าร้อยละ 45.9 ระบุว่าประทับใจการทำงานของสมาคมนักข่าว ฯ เพราะออกมาช่วยปกป้องนักข่าว, คอยดูแลนักข่าว, กล้าออกมาแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล (เช่น เรื่องคอรัปชั่น) , ตั้งใจทำงาน, ได้รับรู้ความเคลื่อนไหวของสังคม ในขณะที่ ตัวอย่างร้อยละ 13.0 ระบุว่าไม่ประทับใจ เพราะอยู่ใต้อำนาจของผู้มีอิทธิพล, ถูกครอบงำโดยคนบางกลุ่ม, ช่วยนักข่าวพวกเดียวกันเองมากเกินไป, เสนอข่าวไม่เป็นกลาง, บทบาทและผลงานไม่เด่นชัด และร้อยละ 41.1 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคมไทยจนกล่าวได้ว่า “สื่อมวลชนเป็นอย่างไรสังคมและประชาชนก็เป็นอย่างนั้น” เปรียบเสมือนว่าข่าวสารที่สื่อมวลชนนำเสนอเป็นอาหารที่ประชาชนบริโภคเข้าไปจนทำให้ชีวิตจิตใจของประชาชนเป็นไปตามคุณค่าของอาหารข้อมูลที่สื่อมวลชนผลิตออกมาให้บริโภค นอกจากนี้ สื่อมวลชนอาจถูกเรียกได้ว่าเป็นผู้นำในการปกครองประเทศที่แท้จริง มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ชี้นำชี้แนะประชาชนเหมือนเป็น “อาจารย์ใหญ่” ของประเทศ ถ้าบรรดาอาจารย์ใหญ่ของประเทศมีความขัดแย้งกันเอง ประชาชนจะพบกับความสงบสุขและสมานฉันท์ได้อย่างไร จนบางช่วงเวลาเราอาจตั้งคำถามได้ว่า “ใครคือผู้นำประเทศที่แท้จริงระหว่างรัฐบาลหรือว่าสื่อมวลชน” ดังนั้นสื่อมวลชนจึงน่าจะตระหนักในบทบาทเหล่านี้ได้อย่างดีกว่าใครๆ และขอให้สื่อมวลชนได้รักษาบทบาทสำคัญเหล่านี้ไว้ในเชิงสร้างสรรค์ และขอให้นำพาประชาชนและประเทศชาติผ่านพ้นวิกฤตการณ์ต่างๆ ในห้วงเวลานี้ไปให้ได้
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (ABACSIMBA) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
โทร. 0-2719—1549-50
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-