ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สภาวะปัญหาความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำมันปาล์มของประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ราชบุรี นนทบุรี ชลบุรี น่าน พิษณุโลก เชียงใหม่ หนองคาย ชัยภูมิ สุรินทร์ อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา พัทลุง และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,366 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการในช่วง 14 - 20 กุมภาพันธ์ 2554 ผลการสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90 ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์
เมื่อสอบถามเกี่ยวกับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำมันปาล์มขาดแคลน พบว่า ตัวอย่างจำนวนมากหรือร้อยละ 47.3 ระบุได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำมันปาล์มขาดแคลน และร้อยละ 52.7 ระบุไม่ได้รับความเดือดร้อน
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนถึงสาเหตุที่น้ำมันปาล์มขาดแคลน เกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 72.1 ระบุคิดว่าเป็นปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในหน่วยงานของรัฐและผลประโยชน์ของบริษัทเอกชน และร้อยละ 27.9 ระบุไม่คิดว่าเป็นเช่นนั้น
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า ประชาชนร้อยละ 25.9 เท่านั้นที่เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุดต่อการแก้ปัญหาน้ำมันปาล์มขาดแคลนเพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อนของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในขณะที่ร้อยละ 40.8 เชื่อมั่นปานกลาง และร้อยละ 33.3 เชื่อมั่นน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย
ที่น่าพิจารณาคือความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังรุมเร้ารัฐบาลอยู่ในขณะนี้ พบว่า ร้อยละ 74.3 ระบุมาก-มากที่สุด ร้อยละ 20.4 ระบุปานกลาง ร้อยละ 5.3 ระบุน้อย-ไม่มีปัญหาเลย
นอกจากนี้เมื่อสอบถามถึงระยะเวลาที่รัฐบาลควรเร่งยุบสภาและเลือกตั้งใหม่โดยเร็ว พบว่า ร้อยละ 46.2 ระบุไม่เกิน 3 เดือน ร้อยละ 31.8 ระบุ 3-6 เดือน และร้อยละ 22.0 ระบุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 47.6 เป็นชาย
ร้อยละ 52.4 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.3 อายุน้อยกว่า 20 ปี
ร้อยละ 13.0 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 17.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 42.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 61.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 32.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.0 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 23.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 11.8 ระบุเป็นพนักงานเอกชน
ร้อยละ 12.2 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.5 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 8.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.3 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตาราง
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 55.0 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 20.7 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 13.3 4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 7.5 5 ไม่ได้ติดตามเลย 3.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำมันปาล์มขาดแคลน ลำดับที่ ความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำมันปาล์มขาดแคลน ค่าร้อยละ 1 เดือดร้อน 47.3 2 ไม่เดือดร้อน 52.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาน้ำมันปาล์มขาดแคลน ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่าเป็นเพราะการทุจริตคอรัปชั่นในหน่วยงานของรัฐและผลประโยชน์ของบริษัทเอกชน 72.1 2 ไม่คิดว่าเป็นเช่นนั้น 27.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาน้ำมันปาล์มขาดแคลนเพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อนของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ 1 เชื่อมั่นมาก-มากที่สุด 25.9 2 ปานกลาง 40.8 3 น้อย-ไม่เชื่อมั่นเลย 33.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับปัญหาที่รุมเร้ารัฐบาลในขณะนี้ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 มาก-มากที่สุด 74.3 2 ปานกลาง 20.4 3 น้อย-ไม่มีปัญหาเลย 5.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับระยะเวลาที่รัฐบาลควรเร่งยุบสภาและเลือกตั้งใหม่โดยเร็ว ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ไม่เกิน 3 เดือน 46.2 2 3 — 6 เดือน 31.8 3 มากกว่า 6 เดือนขึ้นไป 22.0 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--