ดร.อุดม หงส์ชาติกุล ผู้อำนวยการโครงการ ABAC Consumer Index บัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจ และนายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สำรวจความสุขของกลุ่มผู้บริโภคในสังคมสื่อออนไลน์ยุคใหม่ กรณีศึกษาตัวอย่างผู้บริโภคระดับครัวเรือน อายุ 15-60 ปีเฉพาะผู้ที่ใช้สื่อออนไลน์ ใน 12 จังหวัดของประเทศ จำนวน 582 ตัวอย่าง จาก 12 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ชลบุรี นครราชสีมา อุดรธานี กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต และสงขลา ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20—24 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 90 ติดตามข่าวเศรษฐกิจของประเทศไทยในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
กลุ่มผู้บริโภคในสังคมสื่อออนไลน์ยุคใหม่ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.0 ใช้งานอินเตอร์เน็ต เพื่อค้นหาข้อมูลข่าวสารออนไลน์ รองลงมาคือ ร้อยละ 46.9 ใช้รับส่งอีเมล์ ร้อยละ 43.1 ใช้ดาวน์โหลดข้อมูล เช่น เพลง หนัง ซอฟท์แวร์ ร้อยละ 38.1 ใช้แชท พูดคุย ร้อยละ 37.1 ใช้เล่นเกม ร้อยละ 20.8 อัพโหลดข้อมูล ร้อยละ 13.1 ใช้ซื้อขายสินค้า ร้อยละ 7.7 ใช้ตั้งกระทู้และร้อยละ 7.4 ใช้ทำธุรกรรมทางการเงิน
ในกลุ่มผู้บริโภคสังคมสื่อออนไลน์ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.2 เป็นสมาชิก “เฟสบุ๊ค (Facebook)” รองลงมาคือ ร้อยละ 46.2 เป็นสมาชิกไฮไฟว์ (Hi 5) ร้อยละ 12.4 เป็นสมาชิกทวิตเตอร์ และร้อยละ 5.5 เป็นสมาชิกมายสเปซ ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ กลุ่มผู้บริโภคสังคมสื่อออนไลน์ มีความสุขกับ “รถยนต์” มากกว่า ความสุขกับ “บ้าน” และ “เครื่องใช้ไฟฟ้า” โดย มีความสุขกับรถยนต์เฉลี่ย 8.06 เต็ม 10 คะแนน และมีความสุขกับบ้านหรือคอนโดมิเนียมเฉลี่ยอยู่ที่ 7.77 และความสุขกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 6.91 คะแนน
และเมื่อสอบถามความสุขมวลรวม ของผู้บริโภคคนสังคมสื่อออนไลน์ พบว่า อันดับแรก ผู้บริโภคสื่อออนไลน์มีความสุขมวลรวมเรื่องความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวมากที่สุดเฉลี่ยอยู่ที่ 8.08 คะแนน เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน รองลงมาคือความสุขกับความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เฉลี่ยอยู่ที่ 7.59 ความสุขต่อสุขภาพกาย อยู่ที่ 7.51 ต่อสุขภาพใจอยู่ที่ 7.49 ความสุขกับการทำงาน ประกอบอาชีพอยู่ที่ 7.07 แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ความสุขกับรายได้เกินครึ่งหนึ่งมาเพียงเล็กน้อยคืออยู่ที่ 5.49 ยิ่งไปกว่านั้น ความสุขของคนสื่อออนไลน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศมีไม่ถึงครึ่งคือ 4.37 และความสุขที่ต่ำที่สุดคือ ความสุขต่อสถานการณ์การเมืองที่มีอยู่เพียง 3.52 เท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจกับผู้บริโภคในสังคมสื่อออนไลน์ครั้งนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำสื่อประชาสัมพันธ์ที่โดนใจและมีผลต่อความสุขของผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้โดยมุ่งไปยังการพัฒนาสินค้าและบริการที่ส่งผลต่อความสุขในรูปแบบของความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ของคนรอบข้าง ด้านสุขภาพทั้งกายและใจ และสิ่งที่ลดทอนความสุขของผู้บริโภคกลุ่มนี้คือ สถานการณ์ทางการเมือง แต่ที่น่าคิดคือ คนสังคมสื่อออนไลน์ที่สำรวจพบในครั้งนี้สุขใจกับรถยนต์มากกว่าบ้าน สำหรับผลสำรวจครั้งนี้จะนำเผยแพร่ทั้งแบบสอบถามและฐานข้อมูลที่คลังข้อมูลผู้บริโภคสำหรับกลุ่มธุรกิจ SME และประชาชนทั่วไปได้ดาว์โหลดที่ www.abacpolldata.au.edu
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของ ตัวอย่างพบว่าร้อยละ 43.8 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 56.2 เป็นเพศชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.6 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 42.4 อายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 27.8 อายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 13.2 อายุ 40-49 ปี
และร้อยละ 7.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 61.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 34.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 17.8 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 38.9 ระบุอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย
ร้อยละ 13.9 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา
ร้อยละ 13.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 1.9 ระบุเป็น แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 4.5 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตาราง
ลำดับที่ การติดตามข่าวเศรษฐกิจของประเทศไทยในรอบ 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 33.6 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 29.1 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 21.8 4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 9.5 5 ไม่ติดตาม 6.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวออย่างที่ระบุวัตถุประสงค์ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ วัตถุประสงค์ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ค่าร้อยละ 1 ค้นหาข้อมูล ข่าวสารออนไลน์ 82.0 2 รับ-ส่งอีเมล 46.9 3 ดาวน์โหลดข้อมูล เช่น เพลง หนัง ซอฟท์แวร์ 43.1 4 แชท 38.1 5 เล่นเกม 37.1 6 อัพโหลดข้อมูล 20.8 7 ซื้อ-ขายสินค้า 13.1 8 ตั้งกระทู้ 7.7 9 ทำธุรกรรมทางการเงิน 7.4 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุว่าเป็นสมาชิกในสังคมออนไลน์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ สมาชิกในสังคมออนไลน์ ค่าร้อยละ 1 เฟสบุ๊ค (Facebook) 57.2 2 ไฮไฟว์ (Hi5) 46.2 3 ทวิสเตอร์ (Twitter) 12.4 4 มายสเปซ (Myspace) 5.5 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างผู้บริโภคที่ระบุความสุขกับคุณภาพสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่พักอาศัย และรถยนต์ ลำดับที่ ความสุขต่อประเด็นต่างๆ ค่าคะแนนความสุข (คะแนนเต็ม 10 คะแนน) 1 ความสุขกับรถยนต์คันที่แพงที่สุดที่ซื้อใช้อยู่นี้ (มือ 1) 8.06 2 ความสุขกับบ้าน/คอนโดมิเนียม (มือ 1) ที่ซื้อมา 7.77 3 ความสุขกับคุณภาพสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า (มือ 1) โดยรวมที่ซื้อมาเกินกว่า 1 ปี 6.91 ตารางที่ 5 แสดงค่าเฉลี่ยของตัวอย่างผู้บริโภคที่ระบุความสุขในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้ ลำดับที่ ความสุขต่อประเด็นต่างๆ ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุข (คะแนนเต็ม 10 คะแนน) 1 ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว 8.08 2 ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง 7.59 3 สุขภาพกาย 7.51 4 สภาพใจ 7.49 5 การทำงาน/การประกอบอาชีพ 7.07 6 รายได้ 5.49 7 เศรษฐกิจของประเทศ 4.37 8 สถานการณ์ทางการเมือง 3.52
--เอแบคโพลล์--