ที่มาของโครงการ
ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการเลือกตั้ง ส.ส. 2548 การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครและพรรค
การเมืองดูจะทวีความเข้มข้นขึ้นทุกขณะ บรรดาผู้สมัครต่างพยายามทำทุกวิถีทาง เพื่อที่จะให้ตนสามารถเอาชนะคู่
แข่งได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเลือกตั้งที่มีการแข่งขันกันสูง วิธีการเอาชนะคู่แข่งรูปแบบที่พบอยู่เสมอทุกครั้งที่
มีการเลือกตั้ง ก็หนีไม่พ้นการเอาชนะคู่แข่งด้วยวิธีการซื้อเสียง ทั้งนี้จากผลการสำรวจของเอแบคโพลล์เมื่อ
ประมาณ 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมาพบว่ามีวงเงินสะพัดในการใช้จ่ายเพื่อซื้อสิทธิขายเสียงถึงกว่าสี่พันห้าร้อยล้านบาท
ดังนั้นเพื่อเป็นการติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวดังกล่าว สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหา
วิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากแกนนำชุมชนและประชาชนผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งทั้ง 400 เขต ทั่วประเทศตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อประมาณการวงเงินที่
ใช้ในการซื้อเสียงในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ส.ส. 2548
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อประมาณการจำนวนเงินในการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไป ปี 2548
2. เพื่อสำรวจการติดตามข่าวการเลือกตั้ง ส.ส. 2548 ของแกนนำชุมชน
3. เพื่อสำรวจความมั่นใจของแกนนำชุมชนต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมของการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อปัญหาที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้
เรื่อง “โครงการวิจัยเพื่อประมาณการจำนวนเงินในการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไป ปี พ.ศ.
2548 รอบที่ 2 : กรณีศึกษา แกนนำชุมชนและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 400 เขตเลือกตั้งทั่วประเทศ”
ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 24 มกราคม — 2 กุมภาพันธ์ 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ แกนนำชุมชนและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 400 เขตทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเชิงระบบ (systematic sampling) ใน
การเข้าถึง ตัวอย่างแกนนำชุมชน และการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือก พื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างกำหนดลักษณะตามลักษณะประชากรในการเข้า
ถึงตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 13,836 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง
อยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างที่เป็นแกนนำชุมชน พบว่าตัวอย่างร้อยละ 80.9 เป็น
กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน ร้อยละ 6.7 เป็นนายก อบต. ร้อยละ 3.0 เป็นปลัด อบต. ร้อยละ 3.9 เป็น
กรรมการ และร้อยละ 5.5 เป็นประธานสภาอบต.
สำหรับตัวอย่างที่เป็นประชาชนทั่วไปนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 55.4 เป็นเพศหญิง ร้อยละ
44.6 เป็นเพศชาย ร้อยละ 68.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 27.3 ระบุสำเร็จการ
ศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 4.4 ระบุ สำเร็จการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี ตามลำดับ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเลือกตั้ง ส.ส. (6 กุมภาพันธ์ 2548)
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเลือกตั้ง ส.ส. ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่อง 74.3
2 ติดตามเป็นบางครั้ง 24.8
3 ไม่ได้ติดตาม (หรือติดตามน้อยมาก) 0.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในเขตเลือกตั้งของตน
ลำดับที่ การรับทราบชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในเขตเลือกตั้งของตน ค่าร้อยละ
1 ทราบ 97.4
2 ไม่ทราบ 2.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีจำนวนประชาชนที่ผู้สมัครต้องซื้อเสียง
เพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีจำนวนประชาชนที่ผู้สมัครต้องซื้อเสียงเพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 ต้องซื้อเสียงไม่เกิน 25,000 คน 38.8
2 ต้องซื้อเสียง 25,001-50,000 คน 39.3
3 ต้องซื้อเสียงมากกว่า 50,000 คน 21.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ค่าเฉลี่ย 44,025 คน
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของพื้นที่ที่มีระดับความรุนแรงในการซื้อเสียงโดยภาพรวมทั่วประเทศ
ลำดับที่ ระดับความรุนแรงในการซื้อเสียง การสำรวจครั้งที่ 1 การสำรวจครั้งที่ 2
(วันที่ 7-13 ม.ค.48) ค่าร้อยละ (วันที่ 24 ม.ค.-2 ก.พ.48)ค่าร้อยละ
1 ระดับเบาบาง / ไม่มีเลย 21.1 -
(วงเงินซื้อเสียงต่ำกว่า 10 ล้านบาท)
2 ระดับปานกลาง 31.6 23.7
(วงเงินซื้อเสียง 10-20 ล้านบาท)
3 ระดับรุนแรง 47.3 76.3
(วงเงินซื้อเสียงมากกว่า 20 ล้านบาท)
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงผลประมาณการวงเงินทั้งหมดที่ใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้ง ภาพรวมทั่วประเทศ
การใช้จ่ายเงิน การสำรวจครั้งที่ 1(วันที่ 7-13 ม.ค.48) การสำรวจครั้งที่ 2(วันที่ 24 ม.ค.- 2 ก.พ.48)
ผลประมาณการวงเงินทั้งหมด 16,591,207,913 บาท 23,226,640,520 บาท
ที่ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง (หนึ่งหมื่นหกพันห้าร้อยเก้าสิบเอ็ดล้าน- (สองหมื่นสามพันสองร้อยยี่สิบหกล้านหกแสนสี่หมื่นห้าร้อยยี่สิบบาท)
ภาพรวมทั่วประเทศ สองแสนเจ็ดพันเก้าร้อยสิบสามบาท)
ตารางที่ 6 แสดงค่าเฉลี่ยวงเงินในการซื้อเสียงต่อหัวภาพรวมทั่วประเทศ
การสำรวจครั้งที่ 1 การสำรวจครั้งที่ 2
ค่าเฉลี่ยวงเงิน (วันที่ 7-13 ม.ค.48) ค่าเฉลี่ย (วันที่ 24 ม.ค.-2 ก.พ.48)ค่าเฉลี่ย
ในการซื้อเสียงต่อหัว 344.37 บาท/หัว 512.90 บาท/หัว
หมายเหตุ อย่างไรก็ตามในบางเขตเลือกตั้งมีค่าเฉลี่ยในการซื้อเสียงต่อหัวอยู่ระหว่าง 800-2,000 บาท
ตารางที่ 7 แสดงผลประมาณการวงเงินที่ใช้ในการซื้อเสียงภาพรวมทั่วประเทศ
ผลประมาณการจำนวนเงินซื้อเสียง ผลประมาณการจำนวนเงินซื้อเสียง จากการ
ผลประมาณการวงเงินที่ใช้ จากการสำรวจครั้งที่ 1(วันที่ 7-13 ม.ค.48) สำรวจครั้งที่ 2(วันที่ 24 ม.ค.-2 ก.พ.48)
ในการซื้อเสียงภาพรวมทั่วประเทศ 4,594,287,802 บาท(สี่พันห้าร้อยเก้าสิบสี่ล้าน 9,755,189,018 บาท(เก้าพันเจ็ดร้อยห้าสิบห้าล้าน
สองแสนแปดหมื่น-เจ็ดพันแปดร้อยสองบาท) หนึ่งแสนแปดหมื่นเก้าพันสิบแปดบาท)
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการเลือกตั้งครั้งนี้
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการเลือกตั้งครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 65.7
2 ไม่มั่นใจ 30.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 3.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่น่าเป็นห่วงต่อการเลือกตั้งในครั้งนี้
ลำดับที่ ปัญหาที่น่าเป็นห่วงต่อการเลือกตั้งในครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 ปัญหาการซื้อสิทธิ-ขายเสียง / คืนหมาหอน 36.3
2 ปัญหาความไม่เข้าใจของประชาชนในวิธีการเลือกตั้งทั้งแบบบัญชีรายชื่อ
และแบบแบ่งเขต / ประชาชนขาดความรู้เกี่ยวกับวิธีการเลือกตั้ง 14.4
3 ปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้สมัครและหัวคะแนนของแต่ละฝ่าย / มีการโจมตีกัน
ระหว่างผู้สมัครด้วยกันเอง/การร้องเรียนผู้สมัครด้วยกันเอง 11.5
4 เกรงว่าประชาชนจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งน้อย / คนที่ทำงานต่างจังหวัด
อาจจะไม่มาใช้สิทธิ 8.1
5 อิทธิพลมืด / การข่มขู่จากหัวคะแนน 6.5
6 ความเป็นกลางของ กกต. / กกต. จะสามารถวางตัวเป็นกลางได้หรือไม่ 5.2
7 การโกงคะแนนในการเลือกตั้ง / ปัญหาความไม่โปร่งใสในการนับคะแนน /
การนับคะแนนใช้เวลานานเกินไป อาจมีการโกงคะแนน 4.7
8 การรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิยังไม่เพียงพอ/ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้ 4.4
9 หน่วยเลือกตั้งอยู่ไกล เดินทางไม่สะดวก/มีความลำบากในการเดินทางไปลงคะแนน 2.5
10 เกรงว่าคนที่เลือกเข้าไปจะไม่ทำตามนโยบายพรรคที่ประกาศไว้ 1.6
11 อื่นๆ อาทิ เกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่ / ข้าราชการ
ในพื้นที่ไม่มีความเป็นกลาง / การใช้อำนาจในการหาเสียงของผู้สมัครบางคน /
ประชาชนไม่ได้รับข่าวสารที่เป็นจริง/รายชื่อผู้มีสิทธิตกหล่น ฯลฯ 4.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ โครงการที่ 1
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผล
สำรวจภาคสนาม เรื่อง “โครงการวิจัยเพื่อประมาณการจำนวนเงินในการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง ส.
ส.ทั่วไป ปี พ.ศ. 2548 รอบที่ 2” ในครั้งนี้ เป็นโครงการวิจัยต่อเนื่องเพื่อประมาณการวงเงินที่ใช้ในการซื้อ
สิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส 2548 ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ แกนนำชุมชนและประชาชนผู้มี
สิทธิเลือกตั้งจาก 400 เขตทั่วประเทศ ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 24 มกราคม — 2 กุมภาพันธ์
2548 โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 13,836 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ผลการสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเลือกตั้ง ส.ส. 2548 พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 74.3
ระบุติดตามข่าวมาอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ร้อยละ 24.8 ระบุติดตามบ้างเป็นบางครั้ง และร้อยละ 0.9 ระบุไม่
ได้ติดตาม(หรือติดตามน้อยมาก) ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการรับทราบชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งใน
เขตเลือกตั้งของตนนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 97.4 ระบุทราบชื่อผู้สมัครแล้ว มีเพียงร้อยละ 2.6 เท่านั้นที่ระบุยัง
ไม่ทราบชื่อผู้สมัคร
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ ได้แก่ความคิดเห็นของตัวอย่าง กรณีจำนวนประชาชนที่ผู้
สมัครต้องซื้อเสียงเพื่อให้ตนเองชนะการเลือกตั้ง ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 39.3 ระบุต้องซื้อเสียงประมาณ
25,001 —50,000 คน จึงจะชนะการเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 38.8 ระบุซื้อเสียงไม่เกิน 25,000 ก็สามารถ
ชนะการเลือกตั้งได้แล้ว และร้อยละ 21.9 ระบุต้องซื้อเสียงมากกว่า 50,000 คน
นอกจากนี้ ผลการสำรวจครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงของการซื้อเสียง
โดยภาพรวมทั่วประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไปจากการสำรวจในรอบที่ 1 อย่างเห็นได้ชัด โดยผลการ
สำรวจในครั้งนี้ พบว่า ร้อยละ 23.7 อยู่ในระดับปานกลาง (วงเงินซื้อเสียง 10-20 ล้านบาท) ในขณะที่ร้อย
ละ 76.3 อยู่ในระดับรุนแรง (วงเงินในการซื้อเสียงมากกว่า 20 ล้านบาท)
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งก็คือ เมื่อคณะผู้วิจัยได้ทำการประมาณการวงเงินทั้งหมดที่ใช้จ่ายใน
การหาเสียงเลือกตั้งพบว่า ผลการสำรวจในรอบที่ 2 มีผลประมาณการวงเงินเท่ากับ 23,226,640,520 บาท
(สองหมื่นสามพันสองร้อยยี่สิบหกล้านหกแสนสี่หมื่นห้าร้อยยี่สิบบาท) เพิ่มขึ้นจากการสำรวจในรอบที่ 1 กว่า 6 พัน
ล้านบาท นอกจากนี้ยังพบว่าค่าเฉลี่ยวงเงินในการซื้อเสียงต่อหัวอยู่ที่ 512.90 บาท เพิ่มขึ้นจากการสำรวจรอบ
ที่ 1 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยต่อหัวเท่ากับ 344.37 บาท อย่างไรก็ตามผลการสำรวจพบว่า ในบางเขตเลือกตั้งมีค่าเฉลี่ย
ในการซื้อเสียงต่อหัวอยู่ระหว่าง 800-2,000 บาท
ยิ่งไปกว่านั้น ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ยังพบว่า ผลประมาณการวงเงินซื้อเสียงในการ
สำรวจรอบที่ 2 นี้ เพิ่มขึ้นจากการสำรวจในรอบแรกกว่าเท่าตัว โดยในการสำรวจรอบแรกพบว่า ผลประมาณ
การวงเงินในการซื้อเสียงอยู่ที่ 4,594,287,802 บาท(สี่พันห้าร้อยเก้าสิบสี่ล้านสองแสนแปดหมื่นเจ็ดพันแปดร้อย
สองบาท) ในขณะที่ผลการสำรวจในรอบที่ 2 นี้พบว่าผลประมาณการวงเงินซื้อเสียงเพิ่มขึ้นเป็น
9,755,189,018 บาท (เก้าพันเจ็ดร้อยห้าสิบห้าล้านหนึ่งแสนแปดหมื่นเก้าพันสิบแปดบาท)
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้คือ ความเชื่อมั่นของตัวอย่างต่อความบริสุทธิ์
ยุติธรรมในการเลือกตั้ง ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 65.7 ระบุมั่นใจ ในขณะที่ร้อยละ 30.4 ระบุ
ไม่มั่นใจ และร้อยละ 3.9 ไม่ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 36.3 ระบุปัญหาที่ยังคงน่าเป็นห่วงใน
การเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้ได้แก่ ปัญหาในการซื้อสิทธิขายเสียง รองลงมาคือร้อยละ 14.4 ระบุ ปัญหาความไม่
เข้าใจของประชาชนในวิธีการเลือกตั้ง และร้อยละ 11.5 ระบุปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้สมัครและหัวคะแนน
ของแต่ละฝ่าย ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการเลือกตั้ง ส.ส. 2548 การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครและพรรค
การเมืองดูจะทวีความเข้มข้นขึ้นทุกขณะ บรรดาผู้สมัครต่างพยายามทำทุกวิถีทาง เพื่อที่จะให้ตนสามารถเอาชนะคู่
แข่งได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเลือกตั้งที่มีการแข่งขันกันสูง วิธีการเอาชนะคู่แข่งรูปแบบที่พบอยู่เสมอทุกครั้งที่
มีการเลือกตั้ง ก็หนีไม่พ้นการเอาชนะคู่แข่งด้วยวิธีการซื้อเสียง ทั้งนี้จากผลการสำรวจของเอแบคโพลล์เมื่อ
ประมาณ 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมาพบว่ามีวงเงินสะพัดในการใช้จ่ายเพื่อซื้อสิทธิขายเสียงถึงกว่าสี่พันห้าร้อยล้านบาท
ดังนั้นเพื่อเป็นการติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวดังกล่าว สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหา
วิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากแกนนำชุมชนและประชาชนผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งทั้ง 400 เขต ทั่วประเทศตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อประมาณการวงเงินที่
ใช้ในการซื้อเสียงในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ส.ส. 2548
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อประมาณการจำนวนเงินในการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไป ปี 2548
2. เพื่อสำรวจการติดตามข่าวการเลือกตั้ง ส.ส. 2548 ของแกนนำชุมชน
3. เพื่อสำรวจความมั่นใจของแกนนำชุมชนต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมของการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อปัญหาที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้
เรื่อง “โครงการวิจัยเพื่อประมาณการจำนวนเงินในการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไป ปี พ.ศ.
2548 รอบที่ 2 : กรณีศึกษา แกนนำชุมชนและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 400 เขตเลือกตั้งทั่วประเทศ”
ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 24 มกราคม — 2 กุมภาพันธ์ 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ แกนนำชุมชนและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 400 เขตทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเชิงระบบ (systematic sampling) ใน
การเข้าถึง ตัวอย่างแกนนำชุมชน และการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือก พื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างกำหนดลักษณะตามลักษณะประชากรในการเข้า
ถึงตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 13,836 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง
อยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างที่เป็นแกนนำชุมชน พบว่าตัวอย่างร้อยละ 80.9 เป็น
กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน ร้อยละ 6.7 เป็นนายก อบต. ร้อยละ 3.0 เป็นปลัด อบต. ร้อยละ 3.9 เป็น
กรรมการ และร้อยละ 5.5 เป็นประธานสภาอบต.
สำหรับตัวอย่างที่เป็นประชาชนทั่วไปนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 55.4 เป็นเพศหญิง ร้อยละ
44.6 เป็นเพศชาย ร้อยละ 68.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 27.3 ระบุสำเร็จการ
ศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 4.4 ระบุ สำเร็จการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี ตามลำดับ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเลือกตั้ง ส.ส. (6 กุมภาพันธ์ 2548)
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเลือกตั้ง ส.ส. ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่อง 74.3
2 ติดตามเป็นบางครั้ง 24.8
3 ไม่ได้ติดตาม (หรือติดตามน้อยมาก) 0.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในเขตเลือกตั้งของตน
ลำดับที่ การรับทราบชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในเขตเลือกตั้งของตน ค่าร้อยละ
1 ทราบ 97.4
2 ไม่ทราบ 2.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีจำนวนประชาชนที่ผู้สมัครต้องซื้อเสียง
เพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีจำนวนประชาชนที่ผู้สมัครต้องซื้อเสียงเพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 ต้องซื้อเสียงไม่เกิน 25,000 คน 38.8
2 ต้องซื้อเสียง 25,001-50,000 คน 39.3
3 ต้องซื้อเสียงมากกว่า 50,000 คน 21.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ค่าเฉลี่ย 44,025 คน
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของพื้นที่ที่มีระดับความรุนแรงในการซื้อเสียงโดยภาพรวมทั่วประเทศ
ลำดับที่ ระดับความรุนแรงในการซื้อเสียง การสำรวจครั้งที่ 1 การสำรวจครั้งที่ 2
(วันที่ 7-13 ม.ค.48) ค่าร้อยละ (วันที่ 24 ม.ค.-2 ก.พ.48)ค่าร้อยละ
1 ระดับเบาบาง / ไม่มีเลย 21.1 -
(วงเงินซื้อเสียงต่ำกว่า 10 ล้านบาท)
2 ระดับปานกลาง 31.6 23.7
(วงเงินซื้อเสียง 10-20 ล้านบาท)
3 ระดับรุนแรง 47.3 76.3
(วงเงินซื้อเสียงมากกว่า 20 ล้านบาท)
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงผลประมาณการวงเงินทั้งหมดที่ใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้ง ภาพรวมทั่วประเทศ
การใช้จ่ายเงิน การสำรวจครั้งที่ 1(วันที่ 7-13 ม.ค.48) การสำรวจครั้งที่ 2(วันที่ 24 ม.ค.- 2 ก.พ.48)
ผลประมาณการวงเงินทั้งหมด 16,591,207,913 บาท 23,226,640,520 บาท
ที่ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง (หนึ่งหมื่นหกพันห้าร้อยเก้าสิบเอ็ดล้าน- (สองหมื่นสามพันสองร้อยยี่สิบหกล้านหกแสนสี่หมื่นห้าร้อยยี่สิบบาท)
ภาพรวมทั่วประเทศ สองแสนเจ็ดพันเก้าร้อยสิบสามบาท)
ตารางที่ 6 แสดงค่าเฉลี่ยวงเงินในการซื้อเสียงต่อหัวภาพรวมทั่วประเทศ
การสำรวจครั้งที่ 1 การสำรวจครั้งที่ 2
ค่าเฉลี่ยวงเงิน (วันที่ 7-13 ม.ค.48) ค่าเฉลี่ย (วันที่ 24 ม.ค.-2 ก.พ.48)ค่าเฉลี่ย
ในการซื้อเสียงต่อหัว 344.37 บาท/หัว 512.90 บาท/หัว
หมายเหตุ อย่างไรก็ตามในบางเขตเลือกตั้งมีค่าเฉลี่ยในการซื้อเสียงต่อหัวอยู่ระหว่าง 800-2,000 บาท
ตารางที่ 7 แสดงผลประมาณการวงเงินที่ใช้ในการซื้อเสียงภาพรวมทั่วประเทศ
ผลประมาณการจำนวนเงินซื้อเสียง ผลประมาณการจำนวนเงินซื้อเสียง จากการ
ผลประมาณการวงเงินที่ใช้ จากการสำรวจครั้งที่ 1(วันที่ 7-13 ม.ค.48) สำรวจครั้งที่ 2(วันที่ 24 ม.ค.-2 ก.พ.48)
ในการซื้อเสียงภาพรวมทั่วประเทศ 4,594,287,802 บาท(สี่พันห้าร้อยเก้าสิบสี่ล้าน 9,755,189,018 บาท(เก้าพันเจ็ดร้อยห้าสิบห้าล้าน
สองแสนแปดหมื่น-เจ็ดพันแปดร้อยสองบาท) หนึ่งแสนแปดหมื่นเก้าพันสิบแปดบาท)
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการเลือกตั้งครั้งนี้
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการเลือกตั้งครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 65.7
2 ไม่มั่นใจ 30.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 3.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่น่าเป็นห่วงต่อการเลือกตั้งในครั้งนี้
ลำดับที่ ปัญหาที่น่าเป็นห่วงต่อการเลือกตั้งในครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 ปัญหาการซื้อสิทธิ-ขายเสียง / คืนหมาหอน 36.3
2 ปัญหาความไม่เข้าใจของประชาชนในวิธีการเลือกตั้งทั้งแบบบัญชีรายชื่อ
และแบบแบ่งเขต / ประชาชนขาดความรู้เกี่ยวกับวิธีการเลือกตั้ง 14.4
3 ปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้สมัครและหัวคะแนนของแต่ละฝ่าย / มีการโจมตีกัน
ระหว่างผู้สมัครด้วยกันเอง/การร้องเรียนผู้สมัครด้วยกันเอง 11.5
4 เกรงว่าประชาชนจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งน้อย / คนที่ทำงานต่างจังหวัด
อาจจะไม่มาใช้สิทธิ 8.1
5 อิทธิพลมืด / การข่มขู่จากหัวคะแนน 6.5
6 ความเป็นกลางของ กกต. / กกต. จะสามารถวางตัวเป็นกลางได้หรือไม่ 5.2
7 การโกงคะแนนในการเลือกตั้ง / ปัญหาความไม่โปร่งใสในการนับคะแนน /
การนับคะแนนใช้เวลานานเกินไป อาจมีการโกงคะแนน 4.7
8 การรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิยังไม่เพียงพอ/ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้ 4.4
9 หน่วยเลือกตั้งอยู่ไกล เดินทางไม่สะดวก/มีความลำบากในการเดินทางไปลงคะแนน 2.5
10 เกรงว่าคนที่เลือกเข้าไปจะไม่ทำตามนโยบายพรรคที่ประกาศไว้ 1.6
11 อื่นๆ อาทิ เกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่ / ข้าราชการ
ในพื้นที่ไม่มีความเป็นกลาง / การใช้อำนาจในการหาเสียงของผู้สมัครบางคน /
ประชาชนไม่ได้รับข่าวสารที่เป็นจริง/รายชื่อผู้มีสิทธิตกหล่น ฯลฯ 4.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ โครงการที่ 1
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผล
สำรวจภาคสนาม เรื่อง “โครงการวิจัยเพื่อประมาณการจำนวนเงินในการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง ส.
ส.ทั่วไป ปี พ.ศ. 2548 รอบที่ 2” ในครั้งนี้ เป็นโครงการวิจัยต่อเนื่องเพื่อประมาณการวงเงินที่ใช้ในการซื้อ
สิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส 2548 ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ แกนนำชุมชนและประชาชนผู้มี
สิทธิเลือกตั้งจาก 400 เขตทั่วประเทศ ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 24 มกราคม — 2 กุมภาพันธ์
2548 โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 13,836 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ผลการสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเลือกตั้ง ส.ส. 2548 พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 74.3
ระบุติดตามข่าวมาอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ร้อยละ 24.8 ระบุติดตามบ้างเป็นบางครั้ง และร้อยละ 0.9 ระบุไม่
ได้ติดตาม(หรือติดตามน้อยมาก) ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการรับทราบชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งใน
เขตเลือกตั้งของตนนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 97.4 ระบุทราบชื่อผู้สมัครแล้ว มีเพียงร้อยละ 2.6 เท่านั้นที่ระบุยัง
ไม่ทราบชื่อผู้สมัคร
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ ได้แก่ความคิดเห็นของตัวอย่าง กรณีจำนวนประชาชนที่ผู้
สมัครต้องซื้อเสียงเพื่อให้ตนเองชนะการเลือกตั้ง ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 39.3 ระบุต้องซื้อเสียงประมาณ
25,001 —50,000 คน จึงจะชนะการเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 38.8 ระบุซื้อเสียงไม่เกิน 25,000 ก็สามารถ
ชนะการเลือกตั้งได้แล้ว และร้อยละ 21.9 ระบุต้องซื้อเสียงมากกว่า 50,000 คน
นอกจากนี้ ผลการสำรวจครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงของการซื้อเสียง
โดยภาพรวมทั่วประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไปจากการสำรวจในรอบที่ 1 อย่างเห็นได้ชัด โดยผลการ
สำรวจในครั้งนี้ พบว่า ร้อยละ 23.7 อยู่ในระดับปานกลาง (วงเงินซื้อเสียง 10-20 ล้านบาท) ในขณะที่ร้อย
ละ 76.3 อยู่ในระดับรุนแรง (วงเงินในการซื้อเสียงมากกว่า 20 ล้านบาท)
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งก็คือ เมื่อคณะผู้วิจัยได้ทำการประมาณการวงเงินทั้งหมดที่ใช้จ่ายใน
การหาเสียงเลือกตั้งพบว่า ผลการสำรวจในรอบที่ 2 มีผลประมาณการวงเงินเท่ากับ 23,226,640,520 บาท
(สองหมื่นสามพันสองร้อยยี่สิบหกล้านหกแสนสี่หมื่นห้าร้อยยี่สิบบาท) เพิ่มขึ้นจากการสำรวจในรอบที่ 1 กว่า 6 พัน
ล้านบาท นอกจากนี้ยังพบว่าค่าเฉลี่ยวงเงินในการซื้อเสียงต่อหัวอยู่ที่ 512.90 บาท เพิ่มขึ้นจากการสำรวจรอบ
ที่ 1 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยต่อหัวเท่ากับ 344.37 บาท อย่างไรก็ตามผลการสำรวจพบว่า ในบางเขตเลือกตั้งมีค่าเฉลี่ย
ในการซื้อเสียงต่อหัวอยู่ระหว่าง 800-2,000 บาท
ยิ่งไปกว่านั้น ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ยังพบว่า ผลประมาณการวงเงินซื้อเสียงในการ
สำรวจรอบที่ 2 นี้ เพิ่มขึ้นจากการสำรวจในรอบแรกกว่าเท่าตัว โดยในการสำรวจรอบแรกพบว่า ผลประมาณ
การวงเงินในการซื้อเสียงอยู่ที่ 4,594,287,802 บาท(สี่พันห้าร้อยเก้าสิบสี่ล้านสองแสนแปดหมื่นเจ็ดพันแปดร้อย
สองบาท) ในขณะที่ผลการสำรวจในรอบที่ 2 นี้พบว่าผลประมาณการวงเงินซื้อเสียงเพิ่มขึ้นเป็น
9,755,189,018 บาท (เก้าพันเจ็ดร้อยห้าสิบห้าล้านหนึ่งแสนแปดหมื่นเก้าพันสิบแปดบาท)
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้คือ ความเชื่อมั่นของตัวอย่างต่อความบริสุทธิ์
ยุติธรรมในการเลือกตั้ง ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 65.7 ระบุมั่นใจ ในขณะที่ร้อยละ 30.4 ระบุ
ไม่มั่นใจ และร้อยละ 3.9 ไม่ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 36.3 ระบุปัญหาที่ยังคงน่าเป็นห่วงใน
การเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้ได้แก่ ปัญหาในการซื้อสิทธิขายเสียง รองลงมาคือร้อยละ 14.4 ระบุ ปัญหาความไม่
เข้าใจของประชาชนในวิธีการเลือกตั้ง และร้อยละ 11.5 ระบุปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้สมัครและหัวคะแนน
ของแต่ละฝ่าย ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-พห-