ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัส
สัมชัญ (The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis, Graduate School of Business,
Assumption University) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความวิตกกังวลของประชาชนต่อข่าวลือการลอบวางระเบิดและแนวทางป้องกันแก้ไข: กรณี
ศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,364 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
ระหว่าง วันที่ 25 -27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการทราบข่าวลือเกี่ยวกับการลอบวางระเบิดในเขตกรุงเทพมหานครนั้น ผลการสำรวจพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 76.3 ระบุทราบข่าวลือดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 23.7 ระบุไม่ทราบ ทั้งนี้เมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความวิตกกังวลเกี่ยวกับการ
ลอบวางระเบิดนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.4 ระบุรู้สึกวิตกกังวล ในขณะที่ร้อยละ 37.5 ระบุไม่วิตกกังวล และร้อยละ 24.1 ไม่ระบุความคิด
เห็น ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบความวิตกกังวลของเพศชายกับเพศหญิงนั้น พบว่า เพศหญิงมีความวิตกกังวลมากกว่าเพศชายเกือบเท่าตัว โดยร้อย
ละ 45.7 ของเพศหญิง ระบุรู้สึกวิตกกังวลในขณะที่ในกลุ่มเพศชายนั้น มีร้อยละ 26.7 ที่ระบุวิตกกังวล
และเมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึง ความมั่นใจในความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตประจำวันภายหลังมีข่าวลือเกี่ยวกับการลอบวางระเบิดใน
เขตกรุงเทพมหานครนั้น พบว่า ตัวอย่างมากกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 67.8 ระบุไม่มั่นใจในความปลอดภัย ร้อยละ 29.5 ระบุมั่นใจ และร้อยละ
2.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อวิธีการในการป้องกันการวางระเบิดตามที่ต่างๆ พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะ
ต้องมีการป้องกันการวางระเบิดตามที่ต่างๆ โดยร้อยละ 94.8 ระบุควรมีศูนย์เชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลผู้ต้องสงสัย/ผู้ก่อการ ร้อยละ 94.7 ระบุเข้ม
งวดและออกกฎหมายผู้ครอบครองวัตถุระเบิด ร้อยละ 94.7 เช่นเดียวกันที่ระบุว่าควรเพิ่มโทษเอาผิดผู้ก่อการ ร้อยละ 93.8 ระบุเจ้าหน้าที่เข้าถึง
สถานที่ที่ประชาชนแจ้งด้วยความฉับไว ร้อยละ 92.4 ระบุใช้สุนัขทหาร ตำรวจ ดมกลิ่นวัตถุต้องสงสัย สำหรับการติดกล้องวงจรปิดนั้น พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 91.3 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 90.6 ระบุประชาชนควรมีโทรศัพท์ประจำบ้านใช้โทรติดต่อแจ้งเบาะแส ร้อยละ 90.1 ระบุ
ควรมีการตั้งด่านตรวจค้น และร้อยละ 88.9 ระบุผู้ประกอบการเจ้าของสถานที่ มีอุปกรณ์ตรวจค้น
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า เมื่อถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีความพร้อมในการร่วมมือกับภาครัฐในการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการ
ก่อวินาศกรรมต่างๆ ซึ่งพบว่าตัวอย่างร้อยละ 80.9 ระบุพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการแจ้งเบาะแส ในขณะที่ร้อยละ 19.1 ระบุไม่พร้อม
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีผลกระทบของเหตุการณ์ลอบวางระเบิดที่มีต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนนั้น พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 21.9 ระบุส่งผลกระทบมาก-มากที่สุด ร้อยละ 22.8 ระบุส่งผลกระทบค่อนข้างมาก ร้อยละ 15.9 ระบุส่งผลกระทบค่อนข้าง
น้อย ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 22.3 ระบุส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อย และร้อยละ 17.1 ระบุว่าไม่ส่งผลกระทบอะไรเลย ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจำแนก
ตามลักษณะอาชีพของตัวอย่างแล้วพบว่า ตัวอย่างประกอบอาชีพค้าขายได้รับผลกระทบมากกว่าตัวอย่างที่ประกอบอาชีพอื่นๆ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า ประชาชนไม่มีความมั่นใจต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเองภายหลังจากมีข่าวลือ
เรื่องการลอบวางระเบิด ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลในหมู่ประชาชนเพิ่มขึ้น จึงเรียกร้องให้รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรภาคเอกชนมีวิธี
ป้องกันปัญหาการก่อการร้ายที่จะเกิดขึ้นซ้ำซาก อย่างไรก็ตามที่น่าเป็นห่วงคือ ปัจจัยการเมืองที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนกำลังทำให้เกิดความแตกแยกใน
สังคมและส่งผลให้คนไทยต่างคนต่างอยู่ ดังนั้น สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลคือ ปัจจัยการเมืองที่จะกลายเป็นปัจจัยนำที่
สำคัญในการท้าทายและลดความน่าเชื่อถือของอำนาจรัฐทำให้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีสถานการณ์ความรุนแรงและไม่สงบคล้ายคลึงกับสถานการณ์
ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แนวทางแก้ไขที่น่าพิจารณาคือ
ประการแรก รัฐบาล คมช. และหน่วยงานของรัฐ ควร “เร่งทำ” สามอย่างที่สำคัญเพื่อลดความร้อนแรงทางการเมืองและความแตกแยก
ในสังคมคือ 1) ทำให้สังคมเห็นด้วยหลักฐานสำคัญว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นจริงในรัฐบาลทักษิณโดยต้องเร่งทำก่อนที่ความศรัทธาและการสนับสนุน
ของสาธารณชนต่อรัฐบาลจะตกลงไปจนยากจะบริหารประเทศได้ 2) เร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนในเรื่องที่ใกล้ตัวประชาชน เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ
ปัญหาหนี้สิน ปัญหายาเสพติด ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และ 3) ควรแจ้งให้ประชาชนเห็นความชัดเจนของทิศทางการเมืองไทยว่าจะมีการ
เลือกตั้งเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในช่วงเวลาอันสั้นนี้
ประการที่สอง รัฐบาลต้องเร่งปฏิรูประบบเทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศ ระบบงานตำรวจ ทหารและฝ่ายปกครองทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ประชาชนและเทคโนโลยีสารสนเทศเชื่อมต่อเป็นเนื้อเดียวกันให้ได้ ด้วยการหนุนเสริมทุนทางสังคมสร้างระบบ “โครงข่ายชุมชนเตือนภัยร่วมกัน” โดย
คนในชุมชนจะเป็นหูเป็นตาร่วมกันในการสอดส่องดูแลบุคคล พฤติการณ์ ยานพาหนะและวัตถุต้องสงสัย แจ้งข่าวให้คนในชุมชน เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่าย
ความมั่นคงทราบร่วมกัน โครงข่ายนี้ประชาชนจะมี “โทรศัพท์บ้าน” ในทุกครัวเรือนและเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องพร้อมเข้าตรวจสอบด้วยความฉับไวภายใน
5-10 นาทีหลังรับแจ้งเหตุ พร้อมจดบันทึกทำฐานข้อมูลทุกอย่างที่ประชาชนแจ้งส่งต่อข้อมูลเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลส่วนกลางใช้เฝ้าระวังติดตาม
สถานการณ์ภาพรวมของพื้นที่
ประการที่สาม รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐน่าจะนำ “กฎหมายคุ้มครองพยาน” มาใช้ให้เป็นที่พึ่งของประชาชนคนที่พร้อมให้ความร่วมมือคลี่
คลายคดีสำคัญ ด้วยการทำให้สาธารณชนรับรู้ว่า ประชาชนที่เข้ามาร่วมเป็นพยานช่วยคลี่คลายคดีต่างๆ จะมีชีวิตที่ดีขึ้นทั้งตัวพยานและครอบครัว มีการ
เปลี่ยนชื่อ นามสกุล ที่พักอาศัย อาชีพ การศึกษา สิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในชีวิต
ประการที่สี่ รัฐและประชาชนต้องช่วยกันสร้าง “ระบบเฝ้าระวังและตอบสนอง” ต่อการก่อการร้ายที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการทำลายกำแพง
ของหน่วยงานรัฐและเอกชนเพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลและสามารถจับกุมผู้ร้ายให้ได้ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนก่อการ (พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส น่า
จะทำให้ได้เหมือนการเตรียมการซื้อเสียงที่เคยจับกุมได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้นมีหลักฐานสำคัญจับกุมผู้กระทำความผิดได้ไม่
เกินสองสัปดาห์ จึงน่าจะเป็นกรอบเวลาทำงานที่สามารถดึงความรู้สึกเชื่อมั่นศรัทธาของสาธารณชนต่อระบบรักษาความมั่นคงของประเทศและกลับมาใช้
ชีวิตอย่างปกติสุขได้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวลือเรื่องการลอบวางระเบิดในเขตกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อสำรวจความวิตกกังวลของประชาชนต่อเหตุการณ์ลอบวางระเบิด
3. เพื่อสำรวจผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนจากเหตุการณ์ลอบวางระเบิดที่ผ่านมา
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัต นกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัม
ชัญ เรื่อง “ความวิตกกังวลของประชาชนต่อข่าวลือการลอบวางระเบิดและแนวทางป้องกันแก้ไข: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้พักอาศัยอยู่ใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 -27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,364 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.4 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 19.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 33.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.2 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 18.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.2 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 2.6 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวลือเกี่ยวกับการลอบวางระเบิดในเขตกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ การทราบข่าวลือเกี่ยวกับการลอบวางระเบิด ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 76.3
2 ไม่ทราบข่าว 23.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลเกี่ยวกับการลอบวางระเบิด
ลำดับที่ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการลอบวางระเบิด 4 มกราคม 50ค่าร้อยละ 27 กุมภาพันธ์ 50ค่าร้อยละ
1 วิตกกังวล 28.2 38.4
2 ไม่วิตกกังวล 36.5 37.5
3 ไม่มีความเห็น 35.3 24.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลเกี่ยวกับการลอบวางระเบิดจำแนกตามเพศ
ลำดับที่ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการลอบวางระเบิด เพศชายค่าร้อยละ เพศหญิงค่าร้อยละ
1 วิตกกังวล 26.7 45.7
2 ไม่วิตกกังวล 44.1 34.0
3 ไม่มีความเห็น 29.2 20.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจในความปลอดภัยของการดำเนินชีวิตประจำวันภายหลังข่าวลือ
เกี่ยวกับการลอบวางระเบิดในเขตกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ ความมั่นใจ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 29.5
2 ไม่มั่นใจ 67.8
3 ไม่มีความเห็น 2.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการป้องกันปัญหาการวางระเบิดตามที่ต่างๆ
วิธีป้องกันและแก้ไขการก่อการร้าย เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. มีศูนย์เชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลผู้ต้องสงสัย/ผู้ก่อการ 94.8 2.1 3.1 100.0
2. เข้มงวดและออกกฎหมายผู้ครอบครองวัตถุระเบิด 94.7 2.3 3.0 100.0
3. เพิ่มโทษเอาผิดผู้ก่อการ 94.7 2.2 3.1 100.0
4. เจ้าหน้าที่เข้าถึงสถานที่ที่ประชาชนแจ้งด้วยความฉับไว 93.8 3.0 3.2 100.0
5. ใช้สุนัขทหาร ตำรวจ ดมกลิ่นวัตถุต้องสงสัย 92.4 4.3 3.3 100.0
6. ติดกล้องวงจรปิด 91.3 5.3 3.4 100.0
7. ประชาชนมีโทรศัพท์ประจำบ้านใช้โทรติดต่อแจ้งเบาะแส 90.6 4.8 4.6 100.0
8. การตั้งด่านตรวจค้น 90.1 6.6 3.3 100.0
9. ผู้ประกอบการเจ้าของสถานที่ มีอุปกรณ์ตรวจค้น 88.9 7.3 3.8 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการก่อวินาศกรรมต่างๆ
ลำดับที่ ความพร้อมของตัวอย่าง 4 มกราคม 50ค่าร้อยละ 27 กุมภาพันธ์ 50ค่าร้อยละ
1 พร้อม 96.2 80.9
2 ไม่พร้อม 3.8 19.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันโดยภาพรวมที่เกิดจาก
เหตุการณ์ลอบวางระเบิด
ลำดับที่ ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันโดยภาพรวม ค่าร้อยละ
1 ส่งผลกระทบมาก-มากที่สุด 21.9
2 ค่อนข้างมาก 22.8
3 ค่อนข้างน้อย 15.9
4 ส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อย 22.3
5 ไม่ส่งผลกระทบอะไรเลย 17.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันโดยภาพรวมหลังจาก
เหตุการณ์ลอบวางระเบิดเปรียบเทียบในกลุ่มผู้ที่มีอาชีพค้าขายกับผู้ที่มีอาชีพอื่นๆ
ลำดับที่ ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันโดยภาพรวมหลังจากเหตุการณ์ลอบวางระเบิด อาชีพค้าขายค่าร้อยละ อาชีพอื่นๆค่าร้อยละ
1 ส่งผลกระทบมาก-มากที่สุด 26.2 18.3
2 ค่อนข้างมาก 24.9 20.7
3 ค่อนข้างน้อย 14.2 18.2
4 ส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อย 22.7 23.1
5 ไม่ส่งผลกระทบอะไรเลย 12.0 19.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
โทร.0-2719-1550, 0-2719-1955
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สัมชัญ (The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis, Graduate School of Business,
Assumption University) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความวิตกกังวลของประชาชนต่อข่าวลือการลอบวางระเบิดและแนวทางป้องกันแก้ไข: กรณี
ศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,364 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
ระหว่าง วันที่ 25 -27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการทราบข่าวลือเกี่ยวกับการลอบวางระเบิดในเขตกรุงเทพมหานครนั้น ผลการสำรวจพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 76.3 ระบุทราบข่าวลือดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 23.7 ระบุไม่ทราบ ทั้งนี้เมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความวิตกกังวลเกี่ยวกับการ
ลอบวางระเบิดนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.4 ระบุรู้สึกวิตกกังวล ในขณะที่ร้อยละ 37.5 ระบุไม่วิตกกังวล และร้อยละ 24.1 ไม่ระบุความคิด
เห็น ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบความวิตกกังวลของเพศชายกับเพศหญิงนั้น พบว่า เพศหญิงมีความวิตกกังวลมากกว่าเพศชายเกือบเท่าตัว โดยร้อย
ละ 45.7 ของเพศหญิง ระบุรู้สึกวิตกกังวลในขณะที่ในกลุ่มเพศชายนั้น มีร้อยละ 26.7 ที่ระบุวิตกกังวล
และเมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึง ความมั่นใจในความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตประจำวันภายหลังมีข่าวลือเกี่ยวกับการลอบวางระเบิดใน
เขตกรุงเทพมหานครนั้น พบว่า ตัวอย่างมากกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 67.8 ระบุไม่มั่นใจในความปลอดภัย ร้อยละ 29.5 ระบุมั่นใจ และร้อยละ
2.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อวิธีการในการป้องกันการวางระเบิดตามที่ต่างๆ พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะ
ต้องมีการป้องกันการวางระเบิดตามที่ต่างๆ โดยร้อยละ 94.8 ระบุควรมีศูนย์เชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลผู้ต้องสงสัย/ผู้ก่อการ ร้อยละ 94.7 ระบุเข้ม
งวดและออกกฎหมายผู้ครอบครองวัตถุระเบิด ร้อยละ 94.7 เช่นเดียวกันที่ระบุว่าควรเพิ่มโทษเอาผิดผู้ก่อการ ร้อยละ 93.8 ระบุเจ้าหน้าที่เข้าถึง
สถานที่ที่ประชาชนแจ้งด้วยความฉับไว ร้อยละ 92.4 ระบุใช้สุนัขทหาร ตำรวจ ดมกลิ่นวัตถุต้องสงสัย สำหรับการติดกล้องวงจรปิดนั้น พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 91.3 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 90.6 ระบุประชาชนควรมีโทรศัพท์ประจำบ้านใช้โทรติดต่อแจ้งเบาะแส ร้อยละ 90.1 ระบุ
ควรมีการตั้งด่านตรวจค้น และร้อยละ 88.9 ระบุผู้ประกอบการเจ้าของสถานที่ มีอุปกรณ์ตรวจค้น
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า เมื่อถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีความพร้อมในการร่วมมือกับภาครัฐในการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการ
ก่อวินาศกรรมต่างๆ ซึ่งพบว่าตัวอย่างร้อยละ 80.9 ระบุพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการแจ้งเบาะแส ในขณะที่ร้อยละ 19.1 ระบุไม่พร้อม
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีผลกระทบของเหตุการณ์ลอบวางระเบิดที่มีต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนนั้น พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 21.9 ระบุส่งผลกระทบมาก-มากที่สุด ร้อยละ 22.8 ระบุส่งผลกระทบค่อนข้างมาก ร้อยละ 15.9 ระบุส่งผลกระทบค่อนข้าง
น้อย ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 22.3 ระบุส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อย และร้อยละ 17.1 ระบุว่าไม่ส่งผลกระทบอะไรเลย ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจำแนก
ตามลักษณะอาชีพของตัวอย่างแล้วพบว่า ตัวอย่างประกอบอาชีพค้าขายได้รับผลกระทบมากกว่าตัวอย่างที่ประกอบอาชีพอื่นๆ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า ประชาชนไม่มีความมั่นใจต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเองภายหลังจากมีข่าวลือ
เรื่องการลอบวางระเบิด ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลในหมู่ประชาชนเพิ่มขึ้น จึงเรียกร้องให้รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรภาคเอกชนมีวิธี
ป้องกันปัญหาการก่อการร้ายที่จะเกิดขึ้นซ้ำซาก อย่างไรก็ตามที่น่าเป็นห่วงคือ ปัจจัยการเมืองที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนกำลังทำให้เกิดความแตกแยกใน
สังคมและส่งผลให้คนไทยต่างคนต่างอยู่ ดังนั้น สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลคือ ปัจจัยการเมืองที่จะกลายเป็นปัจจัยนำที่
สำคัญในการท้าทายและลดความน่าเชื่อถือของอำนาจรัฐทำให้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีสถานการณ์ความรุนแรงและไม่สงบคล้ายคลึงกับสถานการณ์
ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แนวทางแก้ไขที่น่าพิจารณาคือ
ประการแรก รัฐบาล คมช. และหน่วยงานของรัฐ ควร “เร่งทำ” สามอย่างที่สำคัญเพื่อลดความร้อนแรงทางการเมืองและความแตกแยก
ในสังคมคือ 1) ทำให้สังคมเห็นด้วยหลักฐานสำคัญว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นจริงในรัฐบาลทักษิณโดยต้องเร่งทำก่อนที่ความศรัทธาและการสนับสนุน
ของสาธารณชนต่อรัฐบาลจะตกลงไปจนยากจะบริหารประเทศได้ 2) เร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนในเรื่องที่ใกล้ตัวประชาชน เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ
ปัญหาหนี้สิน ปัญหายาเสพติด ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และ 3) ควรแจ้งให้ประชาชนเห็นความชัดเจนของทิศทางการเมืองไทยว่าจะมีการ
เลือกตั้งเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในช่วงเวลาอันสั้นนี้
ประการที่สอง รัฐบาลต้องเร่งปฏิรูประบบเทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศ ระบบงานตำรวจ ทหารและฝ่ายปกครองทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ประชาชนและเทคโนโลยีสารสนเทศเชื่อมต่อเป็นเนื้อเดียวกันให้ได้ ด้วยการหนุนเสริมทุนทางสังคมสร้างระบบ “โครงข่ายชุมชนเตือนภัยร่วมกัน” โดย
คนในชุมชนจะเป็นหูเป็นตาร่วมกันในการสอดส่องดูแลบุคคล พฤติการณ์ ยานพาหนะและวัตถุต้องสงสัย แจ้งข่าวให้คนในชุมชน เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่าย
ความมั่นคงทราบร่วมกัน โครงข่ายนี้ประชาชนจะมี “โทรศัพท์บ้าน” ในทุกครัวเรือนและเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องพร้อมเข้าตรวจสอบด้วยความฉับไวภายใน
5-10 นาทีหลังรับแจ้งเหตุ พร้อมจดบันทึกทำฐานข้อมูลทุกอย่างที่ประชาชนแจ้งส่งต่อข้อมูลเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลส่วนกลางใช้เฝ้าระวังติดตาม
สถานการณ์ภาพรวมของพื้นที่
ประการที่สาม รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐน่าจะนำ “กฎหมายคุ้มครองพยาน” มาใช้ให้เป็นที่พึ่งของประชาชนคนที่พร้อมให้ความร่วมมือคลี่
คลายคดีสำคัญ ด้วยการทำให้สาธารณชนรับรู้ว่า ประชาชนที่เข้ามาร่วมเป็นพยานช่วยคลี่คลายคดีต่างๆ จะมีชีวิตที่ดีขึ้นทั้งตัวพยานและครอบครัว มีการ
เปลี่ยนชื่อ นามสกุล ที่พักอาศัย อาชีพ การศึกษา สิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในชีวิต
ประการที่สี่ รัฐและประชาชนต้องช่วยกันสร้าง “ระบบเฝ้าระวังและตอบสนอง” ต่อการก่อการร้ายที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการทำลายกำแพง
ของหน่วยงานรัฐและเอกชนเพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลและสามารถจับกุมผู้ร้ายให้ได้ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนก่อการ (พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส น่า
จะทำให้ได้เหมือนการเตรียมการซื้อเสียงที่เคยจับกุมได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้นมีหลักฐานสำคัญจับกุมผู้กระทำความผิดได้ไม่
เกินสองสัปดาห์ จึงน่าจะเป็นกรอบเวลาทำงานที่สามารถดึงความรู้สึกเชื่อมั่นศรัทธาของสาธารณชนต่อระบบรักษาความมั่นคงของประเทศและกลับมาใช้
ชีวิตอย่างปกติสุขได้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวลือเรื่องการลอบวางระเบิดในเขตกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อสำรวจความวิตกกังวลของประชาชนต่อเหตุการณ์ลอบวางระเบิด
3. เพื่อสำรวจผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนจากเหตุการณ์ลอบวางระเบิดที่ผ่านมา
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัต นกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัม
ชัญ เรื่อง “ความวิตกกังวลของประชาชนต่อข่าวลือการลอบวางระเบิดและแนวทางป้องกันแก้ไข: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้พักอาศัยอยู่ใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 -27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,364 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.4 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 19.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 33.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.2 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 18.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.2 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 2.6 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวลือเกี่ยวกับการลอบวางระเบิดในเขตกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ การทราบข่าวลือเกี่ยวกับการลอบวางระเบิด ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 76.3
2 ไม่ทราบข่าว 23.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลเกี่ยวกับการลอบวางระเบิด
ลำดับที่ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการลอบวางระเบิด 4 มกราคม 50ค่าร้อยละ 27 กุมภาพันธ์ 50ค่าร้อยละ
1 วิตกกังวล 28.2 38.4
2 ไม่วิตกกังวล 36.5 37.5
3 ไม่มีความเห็น 35.3 24.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลเกี่ยวกับการลอบวางระเบิดจำแนกตามเพศ
ลำดับที่ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการลอบวางระเบิด เพศชายค่าร้อยละ เพศหญิงค่าร้อยละ
1 วิตกกังวล 26.7 45.7
2 ไม่วิตกกังวล 44.1 34.0
3 ไม่มีความเห็น 29.2 20.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจในความปลอดภัยของการดำเนินชีวิตประจำวันภายหลังข่าวลือ
เกี่ยวกับการลอบวางระเบิดในเขตกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ ความมั่นใจ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 29.5
2 ไม่มั่นใจ 67.8
3 ไม่มีความเห็น 2.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการป้องกันปัญหาการวางระเบิดตามที่ต่างๆ
วิธีป้องกันและแก้ไขการก่อการร้าย เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. มีศูนย์เชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลผู้ต้องสงสัย/ผู้ก่อการ 94.8 2.1 3.1 100.0
2. เข้มงวดและออกกฎหมายผู้ครอบครองวัตถุระเบิด 94.7 2.3 3.0 100.0
3. เพิ่มโทษเอาผิดผู้ก่อการ 94.7 2.2 3.1 100.0
4. เจ้าหน้าที่เข้าถึงสถานที่ที่ประชาชนแจ้งด้วยความฉับไว 93.8 3.0 3.2 100.0
5. ใช้สุนัขทหาร ตำรวจ ดมกลิ่นวัตถุต้องสงสัย 92.4 4.3 3.3 100.0
6. ติดกล้องวงจรปิด 91.3 5.3 3.4 100.0
7. ประชาชนมีโทรศัพท์ประจำบ้านใช้โทรติดต่อแจ้งเบาะแส 90.6 4.8 4.6 100.0
8. การตั้งด่านตรวจค้น 90.1 6.6 3.3 100.0
9. ผู้ประกอบการเจ้าของสถานที่ มีอุปกรณ์ตรวจค้น 88.9 7.3 3.8 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการก่อวินาศกรรมต่างๆ
ลำดับที่ ความพร้อมของตัวอย่าง 4 มกราคม 50ค่าร้อยละ 27 กุมภาพันธ์ 50ค่าร้อยละ
1 พร้อม 96.2 80.9
2 ไม่พร้อม 3.8 19.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันโดยภาพรวมที่เกิดจาก
เหตุการณ์ลอบวางระเบิด
ลำดับที่ ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันโดยภาพรวม ค่าร้อยละ
1 ส่งผลกระทบมาก-มากที่สุด 21.9
2 ค่อนข้างมาก 22.8
3 ค่อนข้างน้อย 15.9
4 ส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อย 22.3
5 ไม่ส่งผลกระทบอะไรเลย 17.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันโดยภาพรวมหลังจาก
เหตุการณ์ลอบวางระเบิดเปรียบเทียบในกลุ่มผู้ที่มีอาชีพค้าขายกับผู้ที่มีอาชีพอื่นๆ
ลำดับที่ ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันโดยภาพรวมหลังจากเหตุการณ์ลอบวางระเบิด อาชีพค้าขายค่าร้อยละ อาชีพอื่นๆค่าร้อยละ
1 ส่งผลกระทบมาก-มากที่สุด 26.2 18.3
2 ค่อนข้างมาก 24.9 20.7
3 ค่อนข้างน้อย 14.2 18.2
4 ส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อย 22.7 23.1
5 ไม่ส่งผลกระทบอะไรเลย 12.0 19.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
โทร.0-2719-1550, 0-2719-1955
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-