ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ประชาธิปไตย และการชุมนุมประท้วงทางการเมือง กับการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,167 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการในระหว่างวันที่ 4-5 มีนาคม 2554 ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองผ่านสื่อมวลชน ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
เมื่อถามถึง สาเหตุของการชุมนุมประท้วงของกลุ่มการเมืองต่างๆ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.1 ระบุเป็นเพราะความผิดพลาดในการ ทำงานของรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 27.9 ระบุไม่ใช่ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.7 เช่นกัน ระบุว่า สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ เกิดการชุมนุมประท้วงของกลุ่มการเมืองต่างๆ คือ เรื่องผลประโยชน์ การแย่งชิงอำนาจ ต่อรองแลกเปลี่ยนต่างๆ
ที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติของแกนนำผู้ชุมนุมประท้วง ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.2 คาดหวังให้กลุ่มผู้ชุมนุมทำไปตามระบอบประชาธิปไตย มีแค่เพียงร้อยละ 21.8 เท่านั้นที่เห็นจริงว่า กลุ่มผู้ชุมนุมได้ ทำตามระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า ทุกตัวชี้วัดเรื่องการชุมนุมประท้วงของกลุ่มการเมือง กับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ ประชาชนคาดหวังต่อการชุมนุมในเชิงสร้างสรรค์ สูง แต่พบเห็นการปฏิบัติจริงต่ำกว่าความคาดหวัง ได้แก่ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.0 คาดหวังว่า กลุ่ม ผู้ชุมนุมมีอุดมการณ์ทำเพื่อประเทศชาติ แต่เพียง ร้อยละ 19.4 เท่านั้นที่เห็นว่าเป็นไปตามความคาดหวังจริงๆ
เช่นเดียวกันประเด็นสำคัญอื่นๆ เช่น กลุ่มผู้ชุมนุมไม่สร้างความเสียหายต่อประเทศ (คาดหวัง 61.1 เห็นจริง 20.6) แกนนำผู้ชุมนุมมี ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น (คาดหวัง 57.9 เห็นจริง 17.9) กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ใช้ความรุนแรง (คาดหวัง 62.4 เห็นจริง 23.2) ควบคุมให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย (คาดหวัง 58.9 เห็นจริง 20.5) และการชุมนุมเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อ สังคมประชาธิปไตย (คาดหวัง 56.1 เห็นจริง 18.8) ซึ่งพบว่า เป็นความคาดหวังของคนไทยส่วนใหญ่ที่ถูกศึกษาครั้งนี้ แต่ผลสำรวจกลับพบว่า ประชาชนส่วนน้อยที่พบเห็นจริงเป็นไปตามความคาดหวัง (ดูรายละเอียดในตารางประกอบ)
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความคาดหวังต่อการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลกลุ่มผู้ชุมนุม ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ผล สำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.7 คาดหวังว่า ตำรวจทำหน้าที่อำนวยความสะดวกได้ดีให้แก่กลุ่มประชาชนอื่นที่ไม่ได้ชุมนุมประท้วงด้วยให้ใช้ชีวิต ได้อย่างปกติสุข แต่เพียงร้อยละ 30.4 ที่พบเห็นจริง นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.1 คาดหวัง ตำรวจมีจำนวนเพียงพอในการออกตรวจตรา ความปลอดภัยในแหล่งชุมนุมต่างๆ ของประชาชนที่ไม่ได้ร่วมชุมนุม แต่เพียงร้อยละ 25.9 พบเห็นจริงตามความคาดหวัง
ที่น่าเป็นห่วงคือ ความคาดหวังและพบเห็นจริงในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในช่วงการชุมนุมประท้วงของกลุ่มการเมืองต่างๆ พบ ประเด็นสำคัญอื่นๆ คือ ความรับผิดชอบของตำรวจ เมื่อเกิดความสูญเสียต่อชีวิตและความปลอดภัยของกลุ่มผู้ชุมนุม (คาดหวัง 63.6 เห็นจริง 26.5) หน่วยงานภาครัฐต่างๆ มีการเชื่อมประสานงานกันอย่างดีในการดูแลความปลอดภัยของประชาชนที่ไม่เกี่ยวกับ การชุมนุม (คาดหวัง 64.8 เห็น จริง 28.2) ตำรวจมีเครื่องมืออุปกรณ์ทันสมัยเหมาะสมกับการควบคุมดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ (คาดหวัง 65.5 เห็นจริง 32.8)
เมื่อถามถึงความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในการดูแลสถานการณ์การชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่างๆ พบว่า ร้อยละ 51.3 พอใจ มากถึงมากที่สุด ร้อยละ 28.5 พอใจระดับปานกลาง และร้อยละ 20.2 พอใจน้อยถึงไม่พอใจเลย ส่วนความรู้สึกเห็นใจตำรวจ พบว่า ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 65.5 รู้สึกเห็นใจมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 21.0 ระบุปานกลาง และร้อยละ 13.5 ที่เห็นใจน้อยถึงไม่มีเลย
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.5 เห็นด้วยกับการมีกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมประท้วงขึ้นมาเป็นการเฉพาะ และส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 85.8 เห็นด้วยที่รัฐบาลและกลไกของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐต้องเร่งปฏิรูปเปลี่ยนแปลงเพื่อสามารถรองรับปัญหาต่างๆ เพื่อป้องกันการชุมนุม ประท้วงในอนาคต และส่วนใหญ่เช่นกัน หรือร้อยละ 78.5 เห็นด้วยกับความจำเป็นที่ต้องมีหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการแก้ปัญหาการชุมนุม ประท้วงโดยตรง ไม่ต้องใช้กำลังเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานดูแลความปลอดภัยของประชาชนในชีวิตประจำวัน
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า เป็นความสำเร็จของแกนนำผู้ชุมนุมกลุ่มการเมืองต่างๆ ที่สามารถนำประชาชนจำนวนมากออกมาแสดงพลังได้ ในที่สาธารณะตามระบอบประชาธิปไตย ส่งผลทำให้แกนนำผู้ชุมนุมกลายเป็นกลุ่มผู้มีอำนาจขึ้นมาได้ในการเจรจาต่อรองต่างๆ กับรัฐบาล และถ้ากลุ่ม แกนนำผู้ชุมนุมทำให้การเรียกร้องต่างๆ ไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้เช่น ลดปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ลดความไม่เป็นธรรมใน สังคม และทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเข้มแข็งในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐตามหลักธรรมาภิบาล ผลที่ตามมาคือ การปกครองแบบประชาธิปไตยก็จะมั่นคงเข้มแข็งตามไปด้วย
“แต่ถ้าการชุมนุมประท้วงนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ก็จะกลายเป็นเพียงการหมุนเวียนเปลี่ยนสลับกันขึ้นมามีอำนาจที่ นำไปสู่ “วังวน” ของปัญหาเหมือนเดิม ๆ กลุ่มประชาชนผู้มาร่วมชุมนุมก็จะตกเป็นเพียงเครื่องมือของเกมแย่งชิงอำนาจมาจากรัฐบาลชุดปัจจุบัน เจ้า หน้าที่ตำรวจที่มาควบคุมฝูงชนก็จะถูกดึงมาจากการดูแลความปลอดภัยในชีวิตประจำวันของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ สถานการณ์วังวนของปัญหานี้ จึงถูกเรียกว่าวังวนของ “อคติแห่งนครา” เพราะรัฐบาลใดๆ ที่ขึ้นมามีอำนาจก็จะต้องตกอยู่ภายใต้แรงกดดันของกลุ่มคนเฉพาะกลุ่มในกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองใหญ่ของประเทศที่สามารถครอบงำและแทรกแซงการตัดสินใจของรัฐบาล จนทำให้รัฐบาลอยู่ต่อไปไม่ได้ ส่งผลทำให้การชุมนุมประท้วงของ กลุ่มการเมืองต่างๆ จะเกิดขึ้นอีกอย่างไม่มีวันจบสิ้น ทางออกคือ ต้องขจัดอคติแห่งนคราออกไป เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริงและยั่งยืน ประชาชนส่วน ใหญ่เข้มแข็ง ผลประโยชน์และทรัพยากรของประเทศต้องถูกกระจายไปสู่การครอบครองของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศอย่างเป็น ธรรม” ดร.นพดล กล่าว
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.4 เป็นชาย
ร้อยละ 53.6 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.1 อายุน้อยกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 22.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 31.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 71.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 25.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 19.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 35.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.3 ระบุเป็นพนักงานเอกชน
ร้อยละ 7.7 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.4 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 11.6 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 3.5 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตาราง
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 44.4 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 23.1 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 20.9 4 น้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง 7.3 5 ไม่ติดตามเลย 4.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการชุมนุมประท้วงของกลุ่มการเมืองต่าง ๆ เป็นเพราะรัฐบาล มีความผิดพลาดในการทำงาน ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เป็นเพราะความผิดพลาดในการทำงานของรัฐบาล 72.1 2 ไม่ใช่ 27.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลประโยชน์การแย่งชิงอำนาจ ต่อรองแลกเปลี่ยนต่าง ๆ เป็นเหตุผลสำคัญของการชุมนุมประท้วงของกลุ่มการเมือง ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ใช่ 85.7 2 ไม่ใช่ 14.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติของแกนนำผู้ชุมนุมประท้วง ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (แสดงค่าร้อยละในระดับมาก-มากที่สุด) ลำดับที่ การปฏิบัติของแกนนำผู้ชุมนุมประท้วง ความคาดหวังค่าร้อยละ รับรู้/เห็นจริงค่าร้อยละ ส่วนต่างค่าร้อยละ 1 กลุ่มผู้ชุมนุมทำไปตามระบอบประชาธิปไตย 63.2 21.8 -41.5 2 กลุ่มผู้ชุมนุมมีอุดมการณ์ทำเพื่อประเทศชาติ 60.0 19.4 -40.6 3 กลุ่มผู้ชุมนุมไม่สร้างความเสียหายต่อประเทศ 61.1 20.6 -40.5 4 แกนนำผู้ชุมนุมมีความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น 57.9 17.9 -40.0 5 กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ใช้ความรุนแรง 62.4 23.2 -39.1 6 ควบคุมให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย 58.9 20.5 -38.4 7 การชุมนุมเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อสังคมประชาธิปไตย 56.1 18.8 -37.4 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลกลุ่มผู้ชุมนุม ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (แสดงค่าร้อยละในระดับมาก-มากที่สุด) ลำดับที่ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลกลุ่มผู้ชุมนุม ความคาดหวังค่าร้อยละ รับรู้/เห็นจริงค่าร้อยละ ส่วนต่างค่าร้อยละ 1 ตำรวจ ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกได้ดีให้แก่กลุ่มประชาชนอื่น ที่ไม่ได้ชุมนุมประท้วงด้วย ให้ใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข 67.7 30.4 -37.3 2 ตำรวจ มีจำนวนมากเพียงพอในการออกตรวจตราความปลอดภัย ในแหล่งชุมนุมพื้นที่ต่าง ๆ ของประชาชนที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมด้วย 63.1 25.9 -37.2 3 ความรับผิดชอบของตำรวจ เมื่อเกิดความสูญเสียต่อชีวิตและ ความปลอดภัยของกลุ่มผู้ชุมนุม 63.6 26.5 -37.1 4 หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ มีการเชื่อมประสานงานกันอย่างดีในการดูแล ความปลอดภัยของประชาชนที่ไม่เกี่ยวกับการชุมนุม 64.8 28.2 -36.5 5 ตำรวจ มีเครื่องมืออุปกรณ์ทันสมัยเหมาะสมกับการควบคุมดูแลกลุ่มผู้ชุมนุม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 65.5 32.8 -32.7 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในการดูแลสถานการณ์การชุมนุมประท้วง ของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ โดยภาพรวม ลำดับที่ ระดับความพึงพอใจ ค่าร้อยละ 1 น้อย-ไม่พึงพอใจเลย 20.2 2 ปานกลาง 28.5 3 พึงพอใจมาก-มากที่สุด 51.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกเห็นใจตำรวจในการดูแลสถานการณ์การชุมนุมประท้วง ของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ โดยภาพรวม ลำดับที่ ความรู้สึกเห็นใจ ค่าร้อยละ 1 น้อย-ไม่เห็นใจเลย 13.5 2 ปานกลาง 21.0 3 เห็นใจมาก-มากที่สุด 65.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมประท้วงขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย 80.5 2 ไม่เห็นด้วย 19.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลและกลไกของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ ต้องเร่งปฏิรูปเปลี่ยนแปลงเพื่อสามารถรองรับปัญหาต่าง ๆ เพื่อป้องกันการชุมนุมประท้วงในอนาคต ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย 85.8 2 ไม่เห็นด้วย 14.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นที่ต้องมีหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการแก้ปัญหา
การชุมนุมประท้วงโดยตรง ไม่ต้องใช้กำลังเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานดูแลความปลอดภัยของประชาชนในชีวิตประจำวัน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย 78.5 2 ไม่เห็นด้วย 21.5 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--