ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “รัฐธรรมนูญกับทางออกของวิกฤตการณ์เมืองไทย
ในสายตาประชาชน: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น 4,114 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม—9 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ตัวอย่างประมาณ 2 ใน 3 คือร้อยละ 66.9 ระบุติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำอย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 24.7
ไม่ได้ติดตามเป็นประจำ และร้อยละ 8.4 ไม่ได้ติดตามเลยในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความหมายของรัฐธรรมนูญนั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.4 ระบุทราบความหมาย ในขณะที่ร้อย
ละ 41.6 ระบุไม่ทราบว่ารัฐธรรมนูญหมายถึงอะไร นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงการลงประชามตินั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 56.0 ระบุ
ทราบความหมายของการลงประชามติ ในขณะที่ร้อยละ 44.0 ระบุว่าไม่ทราบความหมาย
ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อวิกฤตการณ์ทางการเมืองในขณะนี้นั้น ผลการสำรวจพบว่าตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ
54.3 ระบุวิกฤตการณ์ทางการเมืองในขณะนี้มีมาก-มากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 21.5 ระบุปานกลาง ร้อยละ 9.4 ระบุเบาบาง อย่างไรก็ตาม พบ
ว่าตัวอย่างร้อยละ 3.5 ระบุยังไม่วิกฤต และร้อยละ 11.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาลและคมช. กับทางออกของปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมืองในขณะนี้
นั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 75.6 ระบุไม่คิดว่าการชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่รัฐบาลและ คมช.จะเป็นทางของปัญหาดังกล่าว
เพราะทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย / ทำให้เศรษฐกิจแย่ลงไปอีก /ทำให้ประชาชนเดือดร้อน / เป็นการซ้ำเติมสถานการณ์บ้านเมืองมากกว่า อย่างไรก็
ตามตัวอย่างร้อยละ 12.8 ระบุคิดว่าเป็นทางออก และร้อยละ 11.6 ไม่ระบุความคิดเห็นต่อประเด็นดังกล่าว ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายภาค
นั้น พบว่าโดยส่วนใหญ่ประชาชนในทุกภูมิภาคมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันคือไม่คิดว่าการชุมนุมประท้วงจะเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาดัง
กล่าว อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจพบว่าตัวอย่างประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 25.8 ระบุคิดว่าการชุมนุมประท้วงเป็นทางออกของ
ปัญหา ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าในภูมิภาคอื่นๆ
และเมื่อสอบถามตัวอย่างกรณีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กับทางออกของวิกฤตการณ์ทางการเมืองในขณะนี้นั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่าง
ประมาณ 2 ใน 3 คือร้อยละ 64.8 คิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นทางออกของปัญหาดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 21.9 ระบุไม่คิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่
จะเป็นทางออก เพราะรัฐธรรมนูญฉบับเก่าดีอยู่แล้ว / รัฐธรรมนูญไม่ใช่สาเหตุของวิกฤตการณ์การเมือง / ต้องแก้ไขที่พฤติกรรมนักการเมือง / วิกฤต
การเมืองขณะนี้เป็นเรื่องผลประโยชน์มากกว่า และร้อยละ 13.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
สอดคล้องกับประเด็นเกี่ยวรัฐธรรมนูญ ที่ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างประมาณ 2 ใน 3 เช่นเดียวกันที่ระบุคิดว่าการเลือกตั้งจะเป็น
ทางออกของปัญหาในขณะนี้ ในขณะที่ร้อยละ 22.8 ระบุไม่คิดว่าการเลือกตั้งจะเป็นทางออกโดยให้เหตุผลว่า พฤติกรรมนักการเมืองยังเหมือนเดิม /
จะมีการซื้อสิทธิขายเสียงเหมือนเดิม / นักการเมืองไม่มีอิสระแท้จริง / ปัญหาการไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง เป็นต้น ทั้งนี้ ตัวอย่างร้อยละ 11.1 ไม่
ระบุความคิดเห็น
สำหรับความตั้งใจของตัวอย่างในการไปลงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญนั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 63.7 ระบุตั้งใจจะ
ไป ในขณะที่ร้อยละ 16.9 ระบุไม่ไปและร้อยละ 19.4 ระบุไม่แน่ใจ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายภาคแล้วพบว่า ภาคใต้มีสัดส่วนของตัวอย่างที่
ระบุจะไปลงประชามติสูงกว่าภาคอื่นๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 73.1 ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนของผู้ที่ระบุตั้งใจจะไปลงประชามติต่ำที่สุด
โดยคิดเป็นร้อยละ 58.3
และเมื่อสอบถามตัวอย่างที่ตั้งใจจะลงไปลงประชามตินั้น พบว่า ร้อยละ 69.4 ระบุจะลงมติยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในขณะที่
ร้อยละ 30.6 ระบุจะไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยภาคใต้ยังคงเป็นพื้นที่ที่มีสัดส่วนของผู้ที่จะลงมติยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สูงกว่าภาค
อื่นๆ รองลงมาคือภาคเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ
และเมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงช่วงเวลาที่ควรจะมีการเลือกตั้งหลังการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญนั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่าง
มากกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 56.2 ระบุควรเลือกตั้งโดยเร็วทันทีหลังการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ร้อยละ 24.9 ระบุยังไม่จำเป็นต้อง
เลือกตั้งทันทีหลังการลงประชามติ และร้อยละ 18.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้าย เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกลุ่มขั้วอำนาจเก่า เช่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรืออดีตนักการเมืองพรรค
ไทยรักไทยที่เคยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ว่าจะได้จัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งใหม่ครั้งนี้หรือไม่นั้น ผลการสำรวจพบว่าตัวอย่าง
ประมาณ 2 ใน 3 ระบุไม่คิดว่ากลุ่มขั้วอำนาจเก่าจะได้จัดตั้งรัฐบาลอีก เพราะ ถ้าขั้วอำนาจเก่ากลับมาบ้านเมืองจะวุ่นวาย/รัฐบาลใหม่น่าจะได้รับการ
ยอมรับมากกว่า/รัฐบาลใหม่น่าจะเข้าใจความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนแล้ว/ รัฐบาลใหม่จะรวดเร็วแก้ปัญหาให้ประชาชนมากกว่า
รัฐบาลปัจจุบัน เป็นต้น อย่างไรก็ตามตัวอย่างร้อยละ 16.7 ระบุคิดว่ากลุ่มขั้วอำนาจเก่าจะได้จัดตั้งรัฐบาล และร้อยละ 21.4 ไม่ระบุความคิด
เห็น ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายภูมิภาคพบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนของผู้ที่คิดว่าขั้วอำนาจเก่าจะได้กลับมาจัดตั้งรัฐบาล สูงกว่าใน
ภาคอื่นๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 21.7 ในขณะที่ภาคใต้มีสัดส่วนต่ำที่สุด คิดเป็นร้อยละ 12.8 ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนเกินกว่าครึ่งรู้สึกว่าสถานการณ์การเมืองขณะนี้อยู่ในสภาพวิกฤตมากถึงมากที่สุด
โดยคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำลังจะเป็นทางออกของวิกฤตการณ์การเมืองขณะนี้ ถึงแม้จะยังไม่เข้าใจความหมายของรัฐธรรมนูญและการลงประชามติ
แต่ส่วนใหญ่ตั้งใจจะไปใช้สิทธิของตนเองถ้าวันนี้เป็นวันลงประชามติ นอกจากนี้ยังต้องการให้มีการเลือกตั้งทันทีหลังการลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐ
ธรรมนูญผ่านพ้นไป แต่คิดว่าการเมืองจะเปลี่ยนขั้วอำนาจหลังการเลือกตั้ง เพราะกลัวความวุ่นวายไม่รู้จบ และต้องการให้รัฐบาลใหม่เป็นรัฐบาลจาก
การเลือกตั้งที่ประชาชนยอมรับเพื่อสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนสอดคล้องความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ในช่วงเวลานี้ หน่วยงานและคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ให้ประชาชนยอมรับร่าง
รัฐธรรมนูญควรเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักในหมู่ประชาชนให้ประชาชนเห็นว่า รัฐธรรมนูญมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของประชาชน
และดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ เพื่อทำให้ประชาชนกล้าตัดสินใจเอาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องกับการลงประชามติ และไม่ยอมให้มีกลุ่มอำนาจใดๆ มา
ฉีกรัฐธรรมนูญได้อีกในอนาคต
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจต่อรัฐธรรมนูญ และการลงประชามติ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางการลงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “รัฐธรรมนูญกับทางออกของวิกฤตการณ์การเมืองไทยในสายตาประชาชน:
กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ” ในครั้งนี้ ดำเนินโครงการระหว่าง 26 พฤษภาคม—9 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี สระบุรี ชลบุรี สระแก้ว เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก เพชรบูรณ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ
อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ นครปฐม สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี ตรัง และสงขลา โดยมีเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้น
ภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,114
ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 หลังจากนั้นคณะผู้
วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 49.6 ระบุเป็นชาย
และร้อยละ 50.4 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 14.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 28.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 18.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 14.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 22.4 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 2.3 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.1 ระบุเป็นเกษตรกร / รับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 25.6 ระบุค้าขาย/อาชีพอิสระ
ร้อยละ 14.6 ระบุเป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.3 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.7 เป็นนักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 4.0 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 39.6
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 16.3
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 11.0
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 24.7
5 ไม่ได้ติดตาม 8.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ การรับทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ทราบความหมาย 58.4
2 ไม่ทราบ 41.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบความหมายของการลงประชามติ
ลำดับที่ การรับทราบความหมายของการลงประชามติ ค่าร้อยละ
1 ทราบความหมาย 56.0
2 ไม่ทราบ 44.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับของวิกฤตการณ์การเมืองขณะนี้
ลำดับที่ ระดับของวิกฤตการณ์เมืองขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 มากที่สุด 7.4
2 มาก 46.9
3 ปานกลาง 21.5
4 เบาบาง 9.4
5 ไม่วิกฤต 3.5
6 ไม่มีความเห็น 11.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ การชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาลและ คมช. กับทางออกของ
วิกฤตการณ์เมืองขณะนี้
ความคิดเห็นของประชาชน เหนือค่าร้อยละ กลางค่าร้อยละ ตะวันออกเฉียงเหนือค่าร้อยละ ใต้ค่าร้อยละ กทม.ค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1. คิดว่าการชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาล และ คมช. เป็นทางออก 17.9 10.6 25.8 5.2 8.9 12.8
2. ไม่คิดว่าเป็น เพราะทำให้บ้านเมือง วุ่นวาย/ทำให้เศรษฐกิจแย่ลงไปอีก/
ทำให้ประชาชนเดือดร้อน/เป็นการ ซ้ำเติมสถานการณ์บ้านเมืองมากกว่า /
ไม่ต้องขับไล่ รัฐบาลและ คมช. ก็ต้อง ออกไปอยู่แล้ว เป็นต้น 71.2 74.4 64.8 88.9 77.1 75.6
3. ไม่มีความคิดเห็น 10.9 15.0 9.4 5.9 14.0 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กับทางออกของวิกฤตการณ์เมืองขณะนี้
ความคิดเห็นของประชาชน เหนือค่าร้อยละ กลางค่าร้อยละ ตะวันออกเฉียงเหนือค่าร้อยละ ใต้ค่าร้อยละ กทม.ค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1. คิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นทางออก 66.4 63.2 60.6 74.1 59.2 64.8
2. ไม่คิดว่าเป็น เพราะ รัฐธรรมนูญฉบับเก่าดีอยู่แล้ว/รัฐธรรมนูญ
ไม่ใช่สาเหตุของวิกฤตการณ์การเมือง/ต้องแก้ไขที่พฤติกรรม
นักการเมือง / วิกฤตการเมืองขณะนี้เป็นเรื่องผลประโยชน์
มากกว่า เป็นต้น 20.7 26.1 28.9 18.8 22.4 21.9
3. ไม่มีความคิดเห็น 12.9 10.7 10.5 7.1 18.4 13.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ การเลือกตั้งกับทางออกของวิกฤตการณ์ทางเมืองขณะนี้
ความคิดเห็นของประชาชน เหนือค่าร้อยละ กลางค่าร้อยละ ตะวันออกเฉียงเหนือค่าร้อยละ ใต้ค่าร้อยละ กทม.ค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1. คิดว่า การเลือกตั้งเป็นทางออก 64.2 64.5 68.8 72.9 54.7 66.1
2. ไม่คิดว่าเป็น เพราะ พฤติกรรมนักการเมืองยังเหมือนเดิม/
จะมีการซื้อสิทธิขายเสียงเหมือนเดิม/นักการเมืองไม่มีอิสระแท้จริง/
ปัญหาการไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง เป็นต้น 24.9 21.3 14.8 20.6 35.9 22.8
3. ไม่มีความคิดเห็น 10.9 14.2 16.4 6.5 9.4 11.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจไปลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ถ้ามีการลงประชามติในวันนี้
ความตั้งใจไปลงประชามติ เหนือค่าร้อยละ กลางค่าร้อยละ ตะวันออกเฉียงเหนือค่าร้อยละ ใต้ค่าร้อยละ กทม.ค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1. ไป 64.9 61.7 58.3 73.1 60.4 63.7
2. ไม่ไป 13.6 15.1 18.2 17.5 22.2 16.9
3. ไม่แน่ใจ 21.5 23.2 23.5 9.4 17.4 19.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการลงประชามติต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่ระบุจะไปลงมติ)
ความคิดเห็นต่อการลงประชามติฉบับใหม่ เหนือค่าร้อยละ กลางค่าร้อยละ ตะวันออกเฉียงเหนือค่าร้อยละ ใต้ค่าร้อยละ กทม.ค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1. จะลงมติยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 70.9 69.7 65.1 82.8 68.2 69.4
2. จะไม่ยอมรับ 29.1 30.3 34.9 17.2 31.8 30.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ ช่วงเวลาการเลือกตั้งที่ควรจะเกิดขึ้น หลังการลง
ประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งหลังลงประชามติ ค่าร้อยละ
1. เลือกตั้งโดยเร็วทันทีหลังการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ 56.2
2. ไม่จำเป็น 24.9
3. ไม่มีความคิดเห็น 18.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ กลุ่มขั้วอำนาจเก่า (เช่น พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี
/อดีตนักการเมืองพรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล) จะได้จัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง
ความคิดเห็นของประชาชน เหนือค่าร้อยละ กลางค่าร้อยละ ตะวันออกเฉียงเหนือค่าร้อยละ ใต้ค่าร้อยละ กทม.ค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1. คิดว่ากลุ่มขั้วอำนาจเก่าจะได้จัดตั้งรัฐบาล 19.4 16.0 21.7 12.8 11.6 16.7
2. ไม่คิดว่าจะได้ เพราะ ถ้าขั้วอำนาจเก่ากลับมาบ้านเมืองจะวุ่นวาย/
รัฐบาลใหม่น่าจะได้รับการยอมรับมากกว่า / รัฐบาลใหม่น่าจะเข้าใจ
ความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนแล้ว/ รัฐบาลใหม่
จะรวดเร็วแก้ปัญหาให้ประชาชนมากกว่ารัฐบาลปัจจุบัน เป็นต้น 59.1 62.9 55.1 70.3 63.1 61.9
3. ไม่มีความคิดเห็น 21.5 21.1 23.2 16.9 25.3 21.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “รัฐธรรมนูญกับทางออกของวิกฤตการณ์เมืองไทย
ในสายตาประชาชน: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น 4,114 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม—9 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ตัวอย่างประมาณ 2 ใน 3 คือร้อยละ 66.9 ระบุติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำอย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 24.7
ไม่ได้ติดตามเป็นประจำ และร้อยละ 8.4 ไม่ได้ติดตามเลยในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความหมายของรัฐธรรมนูญนั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.4 ระบุทราบความหมาย ในขณะที่ร้อย
ละ 41.6 ระบุไม่ทราบว่ารัฐธรรมนูญหมายถึงอะไร นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงการลงประชามตินั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 56.0 ระบุ
ทราบความหมายของการลงประชามติ ในขณะที่ร้อยละ 44.0 ระบุว่าไม่ทราบความหมาย
ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อวิกฤตการณ์ทางการเมืองในขณะนี้นั้น ผลการสำรวจพบว่าตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ
54.3 ระบุวิกฤตการณ์ทางการเมืองในขณะนี้มีมาก-มากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 21.5 ระบุปานกลาง ร้อยละ 9.4 ระบุเบาบาง อย่างไรก็ตาม พบ
ว่าตัวอย่างร้อยละ 3.5 ระบุยังไม่วิกฤต และร้อยละ 11.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาลและคมช. กับทางออกของปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมืองในขณะนี้
นั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 75.6 ระบุไม่คิดว่าการชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่รัฐบาลและ คมช.จะเป็นทางของปัญหาดังกล่าว
เพราะทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย / ทำให้เศรษฐกิจแย่ลงไปอีก /ทำให้ประชาชนเดือดร้อน / เป็นการซ้ำเติมสถานการณ์บ้านเมืองมากกว่า อย่างไรก็
ตามตัวอย่างร้อยละ 12.8 ระบุคิดว่าเป็นทางออก และร้อยละ 11.6 ไม่ระบุความคิดเห็นต่อประเด็นดังกล่าว ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายภาค
นั้น พบว่าโดยส่วนใหญ่ประชาชนในทุกภูมิภาคมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันคือไม่คิดว่าการชุมนุมประท้วงจะเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาดัง
กล่าว อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจพบว่าตัวอย่างประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 25.8 ระบุคิดว่าการชุมนุมประท้วงเป็นทางออกของ
ปัญหา ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าในภูมิภาคอื่นๆ
และเมื่อสอบถามตัวอย่างกรณีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กับทางออกของวิกฤตการณ์ทางการเมืองในขณะนี้นั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่าง
ประมาณ 2 ใน 3 คือร้อยละ 64.8 คิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นทางออกของปัญหาดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 21.9 ระบุไม่คิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่
จะเป็นทางออก เพราะรัฐธรรมนูญฉบับเก่าดีอยู่แล้ว / รัฐธรรมนูญไม่ใช่สาเหตุของวิกฤตการณ์การเมือง / ต้องแก้ไขที่พฤติกรรมนักการเมือง / วิกฤต
การเมืองขณะนี้เป็นเรื่องผลประโยชน์มากกว่า และร้อยละ 13.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
สอดคล้องกับประเด็นเกี่ยวรัฐธรรมนูญ ที่ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างประมาณ 2 ใน 3 เช่นเดียวกันที่ระบุคิดว่าการเลือกตั้งจะเป็น
ทางออกของปัญหาในขณะนี้ ในขณะที่ร้อยละ 22.8 ระบุไม่คิดว่าการเลือกตั้งจะเป็นทางออกโดยให้เหตุผลว่า พฤติกรรมนักการเมืองยังเหมือนเดิม /
จะมีการซื้อสิทธิขายเสียงเหมือนเดิม / นักการเมืองไม่มีอิสระแท้จริง / ปัญหาการไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง เป็นต้น ทั้งนี้ ตัวอย่างร้อยละ 11.1 ไม่
ระบุความคิดเห็น
สำหรับความตั้งใจของตัวอย่างในการไปลงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญนั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 63.7 ระบุตั้งใจจะ
ไป ในขณะที่ร้อยละ 16.9 ระบุไม่ไปและร้อยละ 19.4 ระบุไม่แน่ใจ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายภาคแล้วพบว่า ภาคใต้มีสัดส่วนของตัวอย่างที่
ระบุจะไปลงประชามติสูงกว่าภาคอื่นๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 73.1 ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนของผู้ที่ระบุตั้งใจจะไปลงประชามติต่ำที่สุด
โดยคิดเป็นร้อยละ 58.3
และเมื่อสอบถามตัวอย่างที่ตั้งใจจะลงไปลงประชามตินั้น พบว่า ร้อยละ 69.4 ระบุจะลงมติยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในขณะที่
ร้อยละ 30.6 ระบุจะไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยภาคใต้ยังคงเป็นพื้นที่ที่มีสัดส่วนของผู้ที่จะลงมติยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สูงกว่าภาค
อื่นๆ รองลงมาคือภาคเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ
และเมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงช่วงเวลาที่ควรจะมีการเลือกตั้งหลังการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญนั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่าง
มากกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 56.2 ระบุควรเลือกตั้งโดยเร็วทันทีหลังการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ร้อยละ 24.9 ระบุยังไม่จำเป็นต้อง
เลือกตั้งทันทีหลังการลงประชามติ และร้อยละ 18.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้าย เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกลุ่มขั้วอำนาจเก่า เช่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรืออดีตนักการเมืองพรรค
ไทยรักไทยที่เคยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ว่าจะได้จัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งใหม่ครั้งนี้หรือไม่นั้น ผลการสำรวจพบว่าตัวอย่าง
ประมาณ 2 ใน 3 ระบุไม่คิดว่ากลุ่มขั้วอำนาจเก่าจะได้จัดตั้งรัฐบาลอีก เพราะ ถ้าขั้วอำนาจเก่ากลับมาบ้านเมืองจะวุ่นวาย/รัฐบาลใหม่น่าจะได้รับการ
ยอมรับมากกว่า/รัฐบาลใหม่น่าจะเข้าใจความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนแล้ว/ รัฐบาลใหม่จะรวดเร็วแก้ปัญหาให้ประชาชนมากกว่า
รัฐบาลปัจจุบัน เป็นต้น อย่างไรก็ตามตัวอย่างร้อยละ 16.7 ระบุคิดว่ากลุ่มขั้วอำนาจเก่าจะได้จัดตั้งรัฐบาล และร้อยละ 21.4 ไม่ระบุความคิด
เห็น ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายภูมิภาคพบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนของผู้ที่คิดว่าขั้วอำนาจเก่าจะได้กลับมาจัดตั้งรัฐบาล สูงกว่าใน
ภาคอื่นๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 21.7 ในขณะที่ภาคใต้มีสัดส่วนต่ำที่สุด คิดเป็นร้อยละ 12.8 ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนเกินกว่าครึ่งรู้สึกว่าสถานการณ์การเมืองขณะนี้อยู่ในสภาพวิกฤตมากถึงมากที่สุด
โดยคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำลังจะเป็นทางออกของวิกฤตการณ์การเมืองขณะนี้ ถึงแม้จะยังไม่เข้าใจความหมายของรัฐธรรมนูญและการลงประชามติ
แต่ส่วนใหญ่ตั้งใจจะไปใช้สิทธิของตนเองถ้าวันนี้เป็นวันลงประชามติ นอกจากนี้ยังต้องการให้มีการเลือกตั้งทันทีหลังการลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐ
ธรรมนูญผ่านพ้นไป แต่คิดว่าการเมืองจะเปลี่ยนขั้วอำนาจหลังการเลือกตั้ง เพราะกลัวความวุ่นวายไม่รู้จบ และต้องการให้รัฐบาลใหม่เป็นรัฐบาลจาก
การเลือกตั้งที่ประชาชนยอมรับเพื่อสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนสอดคล้องความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ในช่วงเวลานี้ หน่วยงานและคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ให้ประชาชนยอมรับร่าง
รัฐธรรมนูญควรเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักในหมู่ประชาชนให้ประชาชนเห็นว่า รัฐธรรมนูญมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของประชาชน
และดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ เพื่อทำให้ประชาชนกล้าตัดสินใจเอาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องกับการลงประชามติ และไม่ยอมให้มีกลุ่มอำนาจใดๆ มา
ฉีกรัฐธรรมนูญได้อีกในอนาคต
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจต่อรัฐธรรมนูญ และการลงประชามติ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางการลงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “รัฐธรรมนูญกับทางออกของวิกฤตการณ์การเมืองไทยในสายตาประชาชน:
กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ” ในครั้งนี้ ดำเนินโครงการระหว่าง 26 พฤษภาคม—9 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี สระบุรี ชลบุรี สระแก้ว เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก เพชรบูรณ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ
อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ นครปฐม สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี ตรัง และสงขลา โดยมีเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้น
ภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,114
ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 หลังจากนั้นคณะผู้
วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 49.6 ระบุเป็นชาย
และร้อยละ 50.4 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 14.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 28.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 18.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 14.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 22.4 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 2.3 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.1 ระบุเป็นเกษตรกร / รับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 25.6 ระบุค้าขาย/อาชีพอิสระ
ร้อยละ 14.6 ระบุเป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.3 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.7 เป็นนักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 4.0 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 39.6
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 16.3
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 11.0
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 24.7
5 ไม่ได้ติดตาม 8.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ การรับทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ทราบความหมาย 58.4
2 ไม่ทราบ 41.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบความหมายของการลงประชามติ
ลำดับที่ การรับทราบความหมายของการลงประชามติ ค่าร้อยละ
1 ทราบความหมาย 56.0
2 ไม่ทราบ 44.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับของวิกฤตการณ์การเมืองขณะนี้
ลำดับที่ ระดับของวิกฤตการณ์เมืองขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 มากที่สุด 7.4
2 มาก 46.9
3 ปานกลาง 21.5
4 เบาบาง 9.4
5 ไม่วิกฤต 3.5
6 ไม่มีความเห็น 11.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ การชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาลและ คมช. กับทางออกของ
วิกฤตการณ์เมืองขณะนี้
ความคิดเห็นของประชาชน เหนือค่าร้อยละ กลางค่าร้อยละ ตะวันออกเฉียงเหนือค่าร้อยละ ใต้ค่าร้อยละ กทม.ค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1. คิดว่าการชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาล และ คมช. เป็นทางออก 17.9 10.6 25.8 5.2 8.9 12.8
2. ไม่คิดว่าเป็น เพราะทำให้บ้านเมือง วุ่นวาย/ทำให้เศรษฐกิจแย่ลงไปอีก/
ทำให้ประชาชนเดือดร้อน/เป็นการ ซ้ำเติมสถานการณ์บ้านเมืองมากกว่า /
ไม่ต้องขับไล่ รัฐบาลและ คมช. ก็ต้อง ออกไปอยู่แล้ว เป็นต้น 71.2 74.4 64.8 88.9 77.1 75.6
3. ไม่มีความคิดเห็น 10.9 15.0 9.4 5.9 14.0 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กับทางออกของวิกฤตการณ์เมืองขณะนี้
ความคิดเห็นของประชาชน เหนือค่าร้อยละ กลางค่าร้อยละ ตะวันออกเฉียงเหนือค่าร้อยละ ใต้ค่าร้อยละ กทม.ค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1. คิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นทางออก 66.4 63.2 60.6 74.1 59.2 64.8
2. ไม่คิดว่าเป็น เพราะ รัฐธรรมนูญฉบับเก่าดีอยู่แล้ว/รัฐธรรมนูญ
ไม่ใช่สาเหตุของวิกฤตการณ์การเมือง/ต้องแก้ไขที่พฤติกรรม
นักการเมือง / วิกฤตการเมืองขณะนี้เป็นเรื่องผลประโยชน์
มากกว่า เป็นต้น 20.7 26.1 28.9 18.8 22.4 21.9
3. ไม่มีความคิดเห็น 12.9 10.7 10.5 7.1 18.4 13.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ การเลือกตั้งกับทางออกของวิกฤตการณ์ทางเมืองขณะนี้
ความคิดเห็นของประชาชน เหนือค่าร้อยละ กลางค่าร้อยละ ตะวันออกเฉียงเหนือค่าร้อยละ ใต้ค่าร้อยละ กทม.ค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1. คิดว่า การเลือกตั้งเป็นทางออก 64.2 64.5 68.8 72.9 54.7 66.1
2. ไม่คิดว่าเป็น เพราะ พฤติกรรมนักการเมืองยังเหมือนเดิม/
จะมีการซื้อสิทธิขายเสียงเหมือนเดิม/นักการเมืองไม่มีอิสระแท้จริง/
ปัญหาการไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง เป็นต้น 24.9 21.3 14.8 20.6 35.9 22.8
3. ไม่มีความคิดเห็น 10.9 14.2 16.4 6.5 9.4 11.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจไปลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ถ้ามีการลงประชามติในวันนี้
ความตั้งใจไปลงประชามติ เหนือค่าร้อยละ กลางค่าร้อยละ ตะวันออกเฉียงเหนือค่าร้อยละ ใต้ค่าร้อยละ กทม.ค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1. ไป 64.9 61.7 58.3 73.1 60.4 63.7
2. ไม่ไป 13.6 15.1 18.2 17.5 22.2 16.9
3. ไม่แน่ใจ 21.5 23.2 23.5 9.4 17.4 19.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการลงประชามติต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่ระบุจะไปลงมติ)
ความคิดเห็นต่อการลงประชามติฉบับใหม่ เหนือค่าร้อยละ กลางค่าร้อยละ ตะวันออกเฉียงเหนือค่าร้อยละ ใต้ค่าร้อยละ กทม.ค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1. จะลงมติยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 70.9 69.7 65.1 82.8 68.2 69.4
2. จะไม่ยอมรับ 29.1 30.3 34.9 17.2 31.8 30.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ ช่วงเวลาการเลือกตั้งที่ควรจะเกิดขึ้น หลังการลง
ประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งหลังลงประชามติ ค่าร้อยละ
1. เลือกตั้งโดยเร็วทันทีหลังการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ 56.2
2. ไม่จำเป็น 24.9
3. ไม่มีความคิดเห็น 18.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ กลุ่มขั้วอำนาจเก่า (เช่น พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี
/อดีตนักการเมืองพรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล) จะได้จัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง
ความคิดเห็นของประชาชน เหนือค่าร้อยละ กลางค่าร้อยละ ตะวันออกเฉียงเหนือค่าร้อยละ ใต้ค่าร้อยละ กทม.ค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1. คิดว่ากลุ่มขั้วอำนาจเก่าจะได้จัดตั้งรัฐบาล 19.4 16.0 21.7 12.8 11.6 16.7
2. ไม่คิดว่าจะได้ เพราะ ถ้าขั้วอำนาจเก่ากลับมาบ้านเมืองจะวุ่นวาย/
รัฐบาลใหม่น่าจะได้รับการยอมรับมากกว่า / รัฐบาลใหม่น่าจะเข้าใจ
ความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนแล้ว/ รัฐบาลใหม่
จะรวดเร็วแก้ปัญหาให้ประชาชนมากกว่ารัฐบาลปัจจุบัน เป็นต้น 59.1 62.9 55.1 70.3 63.1 61.9
3. ไม่มีความคิดเห็น 21.5 21.1 23.2 16.9 25.3 21.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-