ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “เสถียรภาพของรัฐบาลภายหลังการลาออกของ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร” จำนวนทั้งสิ้น 1,129 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ — 1 มีนาคม พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการทราบข่าวการลาออกของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล นั้นผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่
กว่าร้อยละ 90 ระบุรับทราบ ทั้งนี้มีเพียงร้อยละ 9.3 เท่านั้นที่ระบุว่าไม่ทราบ และเมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการตัดสินใจลาออก
ของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ดังกล่าวนั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 42.4 ระบุเห็นด้วยเพราะ แก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ /เป็นการ
เปิดทางให้คนอื่นมาแก้ปัญหาประเทศ / เข้าใจ / เห็นใจ / ไม่ควรทนอยู่ อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจพบว่ามีตัวอย่างในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันคือ
ร้อยละ 40.6 ระบุไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นการซ้ำเติมปัญหาของประเทศ / ไม่เกิดประโยชน์อะไร / ทำให้เกิดปัญหามากขึ้นอีก / ควรอยู่ทำงานแก้
ปัญหาต่อไป และตัวอย่างร้อยละ 17.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อคุณสมบัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่นั้น ผลการสำรวจพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 83.2 ระบุต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต รองลงมาคือ ร้อยละ 77.8 ระบุสามารถแก้ปัญหาได้รวดเร็วฉับไว ร้อยละ 63.8 ระบุกล้าคิด
กล้าตัดสินใจ ร้อยละ 62.2 ระบุมีความอดทน ร้อยละ 61.9 ระบุเป็นที่ยอมรับไว้วางใจได้จากคนในประเทศ ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึง
คุณสมบัติทางด้านการศึกษานั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 14.7 ระบุรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ควรเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษา
ระดับปริญญาเอก
สำหรับบุคคลที่น่าจะเหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่นั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 22.8 ระบุ
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รองลงมาคือร้อยละ 15.3 ระบุนายวีรพงษ์ รามางกูร และร้อยละ 8.9 ระบุนายเอกกมล คีรีวัฒน์ ทั้งนี้ตัวอย่าง
ประมาณ 1 ใน 3 คือร้อยละ 37.5 ระบุแล้วแต่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จะตัดสินใจ ในขณะที่ร้อยละ 15.5 ไม่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าว
และเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลจากการลาออกของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร นั้น ผลการสำรวจพบว่า
ตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 48.2 ระบุมีผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ในขณะที่ตัวอย่างประมาณ 1 ใน 3 คือร้อยละ 39.1 ระบุไม่
กระทบ และร้อยละ 12.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวต่อไปถึงผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการสนับสนุนรัฐบาล ถ้าหากว่ารัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
ได้ โดยพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 39.1 ระบุจะสนับสนุนมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 27.8 ระบุจะสนับสนุนเหมือนเดิม (เพราะสนับสนุนอยู่แล้ว)
ร้อยละ 18.4 ระบุจะไม่สนับสนุน และร้อยละ 11.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้นั้น ดร.นพดลกล่าวว่า ตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งคือ ร้อยละ
53.5 ระบุความขัดแย้งทางการเมืองมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 25.7 ระบุ เหมือนเดิม ร้อยละ 4.6 ระบุน้อยลง และร้อยละ
16.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสุดท้าย เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีอยากเห็นการเลือกตั้งเกิดขึ้นเมื่อใด ผลการสำรวจพบว่าตัวอย่างประมาณ
ครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 51.4 ระบุอยากให้มีการเลือกตั้งภายในเวลาไม่เกิน 3 เดือน ร้อยละ 37.8 ระบุ 3 เดือน- 6 เดือน ทั้งนี้มีตัวอย่างเพียง
ร้อยละ 10.8 เท่านั้นที่ระบุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้อยู่ท่ามกลางความไม่แน่นอนชัดเจนของปัจจัยการเมือง ส่งผล
ทำให้ความรู้สึกของประชาชนกำลังย่ำแย่ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเร่งสะสางปัญหาทางการเมืองโดยด่วน ในขณะเดียวกันปัจจัยด้านเศรษฐกิจจะเป็นตัว
แปรลดกระแสการเมืองลงไปได้ถ้ารัฐบาลมีผลงานทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้ดีกว่าที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้เพราะประชาชนส่วนใหญ่จะหัน
มาสนับสนุนรัฐบาลและนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า นับจากนี้ไปผู้ใหญ่ 5 ฝ่ายในสังคม เช่น นายกรัฐมนตรี ประธาน คมช. ประธาน สสร. ประธาน สนช. และ
ประธาน กกต. น่าจะมีโอกาสพบปะพูดคุยพร้อมกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อช่วยกันเร่งร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จโดยเร็ว สร้างกฎหมายระบบสังคม
ใหม่สังคมที่ดีต่อวิถีชีวิตของประชาชนและขจัดปัญหาทุจริตคอรัปชั่นให้หมดไปในห้วงเวลาที่ฟ้ากำลังเปิดอยู่นี้ เพื่อมิให้กลุ่มอำนาจใดๆ มากล่าวอ้างเหตุผล
เพื่อยึดอำนาจจากรัฐบาลในอนาคตได้ และคืนอำนาจให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว
“เพราะสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่น่าพิจารณาจากผลสำรวจครั้งนี้คือ ประชาชนเกินกว่าครึ่งอยากให้มีการเลือกตั้งใหม่ขึ้นภายในระยะเวลา
ไม่เกินสามเดือนนับจากนี้ไป และกว่าร้อยละสามสิบอยากให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายในเวลาไม่เกินหกเดือน จึงเป็นข้อมูลสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึก
ลึกๆ ของสาธารณชนว่ากำลังคาดหวังว่าการเลือกตั้งน่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ เพราะพลังสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลจะ
กลับมาพร้อมกับภาพของความเป็นตัวแทนประชาชนและความรับผิดชอบต่อประชาชนของฝ่ายการเมือง” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการลาออกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเสถียรภาพของรัฐบาลภายหลังการลาออกของรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลัง
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนคุณสมบัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “เสถียรภาพของรัฐบาลภายหลังการลาออกของ ม.
ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ
18 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ — 1 มีนาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,129 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.8 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.1 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 15.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.7 เป็นนักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 4.1 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุ การทราบข่าวการลาออกของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
ลำดับที่ การทราบข่าว ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 90.7
2 ไม่ทราบข่าว 9.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุ ความคิดเห็นต่อการตัดสินใจลาออกของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
ลำดับที่ การทราบข่าว ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้/เป็นการเปิดทางให้คนอื่นมาแก้ปัญหาประเทศ/เข้าใจ/เห็นใจ/ไม่ควรทนอยู่ 42.4
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นการซ้ำเติมปัญหาของประเทศ/ไม่เกิดประโยชน์อะไร/ทำให้เกิดปัญหามากขึ้นอีก/ควรอยู่ทำงานแก้ปัญหาต่อไป 40.6
3 ไม่มีความเห็น 17.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุ ความคิดเห็นต่อคุณสมบัติของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ค่าร้อยละ
1 ซื่อสัตย์สุจริต 83.2
2 แก้ปัญหาได้รวดเร็วฉับไว 77.8
3 กล้าคิดกล้าตัดสินใจ 63.8
4 มีความอดทน 62.2
5 เป็นที่ยอมรับไว้วางใจได้จากคนในประเทศ 61.9
6 มีผลงานในอดีตที่เชื่อถือได้ 58.1
7 เป็นที่ยอมรับไว้วางใจได้จากชาวต่างชาติ 56.0
8 มีวิสัยทัศน์ 55.7
9 เป็นที่รู้จักกว้างขวาง 52.9
10 จบปริญญาเอก 14.7
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุ ความคิดเห็นต่อบุคคลที่น่าจะเหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลังคนใหม่
ลำดับที่ บุคคลที่คิดว่าเหมาะสม ค่าร้อยละ
1 ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล 22.8
2 นายวีรพงษ์ รามางกูร 15.3
3 นายเอกกมล คีรีวัฒน์ 8.9
4 แล้วแต่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ตัดสินใจ 37.5
5 ไม่มีความเห็น 15.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุ ผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล
ลำดับที่ ผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 กระทบ 48.2
2 ไม่กระทบ 39.1
3 ไม่มีความเห็น 12.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุ แนวโน้มการสนับสนุนรัฐบาล ถ้าแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้
ลำดับที่ แนวโน้มการสนับสนุนรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 จะสนับสนุนมากขึ้น 42.4
2 จะสนับสนุนเหมือนเดิม (เพราะสนับสนุนอยู่แล้ว) 27.8
3 จะไม่สนับสนุน 18.4
4 ไม่มีความเห็น 11.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุ ความคิดเห็นต่อแนวโน้มของความรุนแรงในประเด็นขัดแย้งทางการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มากขึ้น 53.5
2 เหมือนเดิม 25.7
3 น้อยลง 4.6
4 ไม่มีความเห็น 16.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุ ความอยากเห็นการเลือกตั้งเกิดขึ้นเมื่อใด
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 น้อยกว่า 3 เดือน 51.4
2 3 เดือนถึง 6 เดือน 37.8
3 มากกว่า 6 เดือนขึ้นไป 10.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1550
www.abacsimba.au.edu
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “เสถียรภาพของรัฐบาลภายหลังการลาออกของ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร” จำนวนทั้งสิ้น 1,129 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ — 1 มีนาคม พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการทราบข่าวการลาออกของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล นั้นผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่
กว่าร้อยละ 90 ระบุรับทราบ ทั้งนี้มีเพียงร้อยละ 9.3 เท่านั้นที่ระบุว่าไม่ทราบ และเมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการตัดสินใจลาออก
ของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ดังกล่าวนั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 42.4 ระบุเห็นด้วยเพราะ แก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ /เป็นการ
เปิดทางให้คนอื่นมาแก้ปัญหาประเทศ / เข้าใจ / เห็นใจ / ไม่ควรทนอยู่ อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจพบว่ามีตัวอย่างในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันคือ
ร้อยละ 40.6 ระบุไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นการซ้ำเติมปัญหาของประเทศ / ไม่เกิดประโยชน์อะไร / ทำให้เกิดปัญหามากขึ้นอีก / ควรอยู่ทำงานแก้
ปัญหาต่อไป และตัวอย่างร้อยละ 17.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อคุณสมบัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่นั้น ผลการสำรวจพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 83.2 ระบุต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต รองลงมาคือ ร้อยละ 77.8 ระบุสามารถแก้ปัญหาได้รวดเร็วฉับไว ร้อยละ 63.8 ระบุกล้าคิด
กล้าตัดสินใจ ร้อยละ 62.2 ระบุมีความอดทน ร้อยละ 61.9 ระบุเป็นที่ยอมรับไว้วางใจได้จากคนในประเทศ ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึง
คุณสมบัติทางด้านการศึกษานั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 14.7 ระบุรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ควรเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษา
ระดับปริญญาเอก
สำหรับบุคคลที่น่าจะเหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่นั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 22.8 ระบุ
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รองลงมาคือร้อยละ 15.3 ระบุนายวีรพงษ์ รามางกูร และร้อยละ 8.9 ระบุนายเอกกมล คีรีวัฒน์ ทั้งนี้ตัวอย่าง
ประมาณ 1 ใน 3 คือร้อยละ 37.5 ระบุแล้วแต่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จะตัดสินใจ ในขณะที่ร้อยละ 15.5 ไม่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าว
และเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลจากการลาออกของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร นั้น ผลการสำรวจพบว่า
ตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 48.2 ระบุมีผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ในขณะที่ตัวอย่างประมาณ 1 ใน 3 คือร้อยละ 39.1 ระบุไม่
กระทบ และร้อยละ 12.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวต่อไปถึงผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการสนับสนุนรัฐบาล ถ้าหากว่ารัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
ได้ โดยพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 39.1 ระบุจะสนับสนุนมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 27.8 ระบุจะสนับสนุนเหมือนเดิม (เพราะสนับสนุนอยู่แล้ว)
ร้อยละ 18.4 ระบุจะไม่สนับสนุน และร้อยละ 11.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้นั้น ดร.นพดลกล่าวว่า ตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งคือ ร้อยละ
53.5 ระบุความขัดแย้งทางการเมืองมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 25.7 ระบุ เหมือนเดิม ร้อยละ 4.6 ระบุน้อยลง และร้อยละ
16.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสุดท้าย เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีอยากเห็นการเลือกตั้งเกิดขึ้นเมื่อใด ผลการสำรวจพบว่าตัวอย่างประมาณ
ครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 51.4 ระบุอยากให้มีการเลือกตั้งภายในเวลาไม่เกิน 3 เดือน ร้อยละ 37.8 ระบุ 3 เดือน- 6 เดือน ทั้งนี้มีตัวอย่างเพียง
ร้อยละ 10.8 เท่านั้นที่ระบุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้อยู่ท่ามกลางความไม่แน่นอนชัดเจนของปัจจัยการเมือง ส่งผล
ทำให้ความรู้สึกของประชาชนกำลังย่ำแย่ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเร่งสะสางปัญหาทางการเมืองโดยด่วน ในขณะเดียวกันปัจจัยด้านเศรษฐกิจจะเป็นตัว
แปรลดกระแสการเมืองลงไปได้ถ้ารัฐบาลมีผลงานทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้ดีกว่าที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้เพราะประชาชนส่วนใหญ่จะหัน
มาสนับสนุนรัฐบาลและนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า นับจากนี้ไปผู้ใหญ่ 5 ฝ่ายในสังคม เช่น นายกรัฐมนตรี ประธาน คมช. ประธาน สสร. ประธาน สนช. และ
ประธาน กกต. น่าจะมีโอกาสพบปะพูดคุยพร้อมกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อช่วยกันเร่งร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จโดยเร็ว สร้างกฎหมายระบบสังคม
ใหม่สังคมที่ดีต่อวิถีชีวิตของประชาชนและขจัดปัญหาทุจริตคอรัปชั่นให้หมดไปในห้วงเวลาที่ฟ้ากำลังเปิดอยู่นี้ เพื่อมิให้กลุ่มอำนาจใดๆ มากล่าวอ้างเหตุผล
เพื่อยึดอำนาจจากรัฐบาลในอนาคตได้ และคืนอำนาจให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว
“เพราะสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่น่าพิจารณาจากผลสำรวจครั้งนี้คือ ประชาชนเกินกว่าครึ่งอยากให้มีการเลือกตั้งใหม่ขึ้นภายในระยะเวลา
ไม่เกินสามเดือนนับจากนี้ไป และกว่าร้อยละสามสิบอยากให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายในเวลาไม่เกินหกเดือน จึงเป็นข้อมูลสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึก
ลึกๆ ของสาธารณชนว่ากำลังคาดหวังว่าการเลือกตั้งน่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ เพราะพลังสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลจะ
กลับมาพร้อมกับภาพของความเป็นตัวแทนประชาชนและความรับผิดชอบต่อประชาชนของฝ่ายการเมือง” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการลาออกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเสถียรภาพของรัฐบาลภายหลังการลาออกของรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลัง
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนคุณสมบัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “เสถียรภาพของรัฐบาลภายหลังการลาออกของ ม.
ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ
18 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ — 1 มีนาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,129 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.8 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.1 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 15.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.7 เป็นนักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 4.1 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุ การทราบข่าวการลาออกของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
ลำดับที่ การทราบข่าว ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 90.7
2 ไม่ทราบข่าว 9.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุ ความคิดเห็นต่อการตัดสินใจลาออกของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
ลำดับที่ การทราบข่าว ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้/เป็นการเปิดทางให้คนอื่นมาแก้ปัญหาประเทศ/เข้าใจ/เห็นใจ/ไม่ควรทนอยู่ 42.4
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นการซ้ำเติมปัญหาของประเทศ/ไม่เกิดประโยชน์อะไร/ทำให้เกิดปัญหามากขึ้นอีก/ควรอยู่ทำงานแก้ปัญหาต่อไป 40.6
3 ไม่มีความเห็น 17.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุ ความคิดเห็นต่อคุณสมบัติของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ค่าร้อยละ
1 ซื่อสัตย์สุจริต 83.2
2 แก้ปัญหาได้รวดเร็วฉับไว 77.8
3 กล้าคิดกล้าตัดสินใจ 63.8
4 มีความอดทน 62.2
5 เป็นที่ยอมรับไว้วางใจได้จากคนในประเทศ 61.9
6 มีผลงานในอดีตที่เชื่อถือได้ 58.1
7 เป็นที่ยอมรับไว้วางใจได้จากชาวต่างชาติ 56.0
8 มีวิสัยทัศน์ 55.7
9 เป็นที่รู้จักกว้างขวาง 52.9
10 จบปริญญาเอก 14.7
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุ ความคิดเห็นต่อบุคคลที่น่าจะเหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลังคนใหม่
ลำดับที่ บุคคลที่คิดว่าเหมาะสม ค่าร้อยละ
1 ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล 22.8
2 นายวีรพงษ์ รามางกูร 15.3
3 นายเอกกมล คีรีวัฒน์ 8.9
4 แล้วแต่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ตัดสินใจ 37.5
5 ไม่มีความเห็น 15.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุ ผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล
ลำดับที่ ผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 กระทบ 48.2
2 ไม่กระทบ 39.1
3 ไม่มีความเห็น 12.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุ แนวโน้มการสนับสนุนรัฐบาล ถ้าแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้
ลำดับที่ แนวโน้มการสนับสนุนรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 จะสนับสนุนมากขึ้น 42.4
2 จะสนับสนุนเหมือนเดิม (เพราะสนับสนุนอยู่แล้ว) 27.8
3 จะไม่สนับสนุน 18.4
4 ไม่มีความเห็น 11.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุ ความคิดเห็นต่อแนวโน้มของความรุนแรงในประเด็นขัดแย้งทางการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มากขึ้น 53.5
2 เหมือนเดิม 25.7
3 น้อยลง 4.6
4 ไม่มีความเห็น 16.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุ ความอยากเห็นการเลือกตั้งเกิดขึ้นเมื่อใด
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 น้อยกว่า 3 เดือน 51.4
2 3 เดือนถึง 6 เดือน 37.8
3 มากกว่า 6 เดือนขึ้นไป 10.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1550
www.abacsimba.au.edu
--เอแบคโพลล์--
-พห-