แท็ก
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
สุรยุทธ์ จุลานนท์
มหาวิทยาลัยบูรพา
ทักษิณ ชินวัตร
โรงแรมคอนราด
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง สำรวจคะแนนนิยมของนายก
รัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เปรียบเทียบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชน
ที่อายุ 18 ปีขึ้นไปใน กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ กาญจนบุรี จันทบุรี นครปฐม สิงห์บุรี พิษณุโลก แพร่ เชียงราย
กาฬสินธุ์ มุกดาหาร สุรินทร์ อุบลราชธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 4,334 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 20 มกราคม — 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ประชาชนส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ และเมื่อสอบถามถึงความมั่นใจของประชาชนต่อความ
ปลอดภัยหลังเกิดเหตุลอบวางระเบิดที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.1 ไม่มั่นใจ โดยคนกรุงเทพฯ ร้อยละ 69.0 ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 68.9 และคนภาคกลาง ร้อยละ 67.6 รู้สึกไม่มั่นใจมากที่สุด
สำหรับความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและหน่วยงานความมั่นคงที่จะดูแลคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน พบว่าประชาชนจำนวนก้ำกึ่งกันคือร้อย
ละ 48.5 และร้อยละ 50.7 ที่รู้สึกเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่น ที่เหลือร้อยละ 0.8 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.2 เห็นด้วยต่อการยุติความเคลื่อนไหวทางการเมืองของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.
ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่ร้อยละ 9.8 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 26.0 ไม่มีความเห็น เมื่อจำแนกตามภูมิภาคยิ่งพบประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชน
ส่วนใหญ่ในทุกภูมิภาคแม้แต่คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณร้อยละ 60 เห็นด้วยที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จะยุติการเคลื่อนไหวทางการเมือง รวม
ไปถึงสมาชิกพรรคไทยรักไทย ซึ่งสำรวจพบว่าร้อยละ 48.2 เห็นด้วย ร้อยละ 20.2 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 31.6 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในการกลับประเทศ พบว่า ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 44.8 ระบุว่า
ควรรออีกระยะหนึ่ง ร้อยละ 19.9 ระบุว่าควรกลับทันที และร้อยละ 35.3 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ยังไม่เห็นรัฐบาลแก้ไขให้เกิดผล พบว่า ร้อยละ 53.8 ระบุเป็นปัญหาเศรษฐกิจ ร้อย
ละ 49.1 ระบุปัญหาที่ทำกิน ราคาพืชผลทางการเกษตร ร้อยละ 42.7 ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยพิบัติ ร้อยละ 40.8 ปัญหาความไม่
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 39.7 ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 36.2 ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน (การไม่จัดระเบียบสังคม) ร้อยละ 34.4
ปัญหาการศึกษาด้อยคุณภาพ ร้อยละ 29.5 ปัญหาทุจริต รีดไถประชาชนและการเลือกปฏิบัติของข้าราชการ และร้อยละ 27.3 ปัญหาที่อยู่อาศัยและแหล่ง
เสื่อมโทรม ที่เหลือร้อยละ 13.6 ระบุปัญหาอื่นๆ เช่น แหล่งอบายมุข สาธารณูปโภคไม่มีคุณภาพ และกลุ่มผู้มีอิทธิพล เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงคะแนนนิยมสนับสนุนของประชาชนต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชิน
วัตร พบว่า แนวโน้มความนิยมของประชาชนต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ ลดต่ำลงอย่างมากจากร้อยละ 70.5 ในเดือนพฤศจิกายน เหลือร้อยละ 48.2 ในผล
สำรวจล่าสุดครั้งนี้ ในขณะที่คะแนนนิยมของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กลับเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 15.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 21.6
ดร.นพดล กล่าวว่า คะแนนนิยมของสาธารณชนต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีที่ค้นพบครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ฐานสนับสนุนของ
ประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลอยู่ในช่วงขาลงอย่างน่าเป็นห่วง จึงขอให้สังคมช่วยกันพิจารณาสาเหตุและแนวทางแก้ไขอย่างน้อยสี่ประการดังนี้
ประการแรก ท่าทีของรัฐบาลและ คมช. นั่นเองที่เป็นมูลเหตุทำให้บรรดาข้าราชการใส่เกียร์ว่างและเกียร์ถอยหลัง เพราะรัฐบาลและ
คมช. มักคิดและทำแบบทหารที่จะ พูด สั่ง และทำเพียงครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น แต่การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจำเป็นต้องใช้วิธีการ
แบบฝ่ายการเมืองบ้าง นั่นคือ รัฐบาลและ คมช. ต้องหมั่นพูด สั่งและทำซ้ำๆ ย้ำแล้วย้ำอีกในปัญหาอื่นๆ ควบคู่ไปกับการสะสางปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
เช่น ปัญหาที่ทำกิน ปัญหาความยากจน ปัญหาหนี้สิน ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และปัญหายาเสพติด
ประการที่สอง กฎระเบียบราชการและงบประมาณไม่ถูกแก้ไขให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อน งบลับ งบพิเศษนอกจาก
งบปกติอาจไม่ได้ถูกนำไปใช้แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเท่าที่ควร และกลายเป็นข้ออ้างสำคัญของข้าราชการในการช่วยเหลือประชาชน
ประการที่สาม คนของรัฐบาลเริ่มวางตัวเหนือประชาชน จนทำให้กลไกติดตามของรัฐบาลมีปัญหาลงไปไม่ถึงกลุ่มประชาชนผู้เดือดร้อนอย่าง
ทั่วถึง รัฐบาลน่าจะติดตามตรวจสอบจากต้นทางของความช่วยเหลือจนถึงปลายทางด้วยความรวดเร็วฉับไว นายกรัฐมนตรีควรลงพื้นที่ที่เป็นปัญหาเดือด
ร้อนของประชาชนแบบกระทันหันไม่ให้เจอบรรดาผักชีโรยหน้าทั้งหลาย เพราะระยะหลังนี้บรรดารัฐมนตรีของรัฐบาลชุดนี้เริ่มมีพิธีรีตอง มีขบวนต้อนรับ
มากมาย บุคคลใกล้ชิดรัฐมนตรีเริ่มวางตัวเป็นผู้มีอิทธิพลผิดกับช่วงแรกๆ ของอายุรัฐบาลที่ทำคล้ายๆ กับเป็นรัฐบาลสามัญชนเข้าถึงประชาชนแบบคน
ธรรมดา
ประการที่สี่ มีช่องว่างระหว่าง รัฐบาล สื่อมวลชน และประชาธิปไตยที่แท้จริง เมื่อบรรดารัฐมนตรีวางตัวเหนือประชาชนย่อมเกิดช่องว่าง
ขึ้น และการสื่อสารไปยังประชาชนจึงมีปัญหา รัฐบาลและคมช. ควรเร่งอุดช่องว่างและสร้างความสมดุลของข้อมูลข่าวสารไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
ระหว่างการสะสางปัญหาทุจริตคอรัปชั่นและปัญหาความเดือดร้อนที่ใกล้ตัวประชาชน การทำงานด้านประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลจึงน่าจะสื่อสารย้ำเจตนา
รมย์ของรัฐบาลบ่อยๆ เช่น รัฐบาลเอาจริงเรื่องการแก้ปัญหายาเสพติด รัฐบาลกำลังช่วยเหลือแก้ปัญหาที่ทำกิน ความยากจนและหนี้สิน รัฐบาลกำลัง
สร้างระบบสังคมไทยที่เข้มแข็งและยั่งยืน และรัฐบาลจะคืนอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งใหม่มีประชาธิปไตยที่แท้จริงตามกำหนดเวลาที่วางไว้ หรืออาจจะ
เร็วกว่านั้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ประชาชนจะไม่อยู่เย็นเป็นสุขเพราะสูญเสียความเชื่อมั่น วิตกกังวล เครียด เริ่มขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น และสาธารณ
ชนไม่เห็นผลงานของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องที่ใกล้ตัวอื่นๆ เช่น ปัญหาที่ทำกิน ผลผลิตทางการเกษตร ปัญหาหนี้สิน
ปัญหายาเสพติด ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิต และความไม่เป็นธรรมในสังคมถ้ารัฐบาลและ คมช. มีความฉับไวแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนอย่าง
ต่อเนื่องและทำลายกำแพงขวางกั้นระหว่างหน่วยงานราชการและกรมกองต่างๆ ได้ การปรากฏตัวของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จะไม่มีทางสร้าง
แรงกระเพื่อมทางการเมืองภายในประเทศได้ เพราะรัฐบาล คมช. ข้าราชการและประชาชนตกผลึกเป็นเนื้อเดียวกัน
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารทางการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขจากรัฐบาล
3. เพื่อสำรวจมั่นใจของประชาชนต่อความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน หลังเกิดเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล
4. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลและหน่วยงานด้านความมั่นคงในการดูแลความปลอดภัยของประชาชน
5. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาททางการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
6. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สำรวจคะแนนนิยมของนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุ
ลานนท์ เปรียบเทียบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ” ในครั้งนี้ได้
ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปใน กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ กาญจนบุรี จันทบุรี นครปฐม
สิงห์บุรี พิษณุโลก แพร่ เชียงราย กาฬสินธ์ มุกดาหาร สุรินทร์ อุบลราชธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น
4,334 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 มกราคม — 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 18 จังหวัด
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,334 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขต
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้น
เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 46.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 23.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.9 ระบุอาชีพค้าขาย ธุรกิจส่วนตัวทั่วไป
ร้อยละ 22.5 ระบุเกษตรกรและรับจ้างแรงงาน
ร้อยละ 13.6 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.0 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 9.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 2.5 ระบุว่างงานไม่ได้ประกอบอาชีพใดๆ
ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.2 อยู่นอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 29.8 อยู่ในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 48.9
2 3-4 วัน 22.0
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 20.3
4 ไม่ได้ติดตาม 8.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความมั่นใจในความปลอดภัยหลังเกิดเหตุลอบวางระเบิดที่กรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ ระดับความมั่นใจ เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กทม. รวมทั้งสิ้น
1 มั่นใจ 46.7 31.9 30.6 49.1 30.7 36.4
2 ไม่มั่นใจ 52.8 67.6 68.9 50.2 69.0 63.1
3 ไม่มีความเห็น 0.5 0.5 0.5 0.7 0.3 0.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละตัวอย่าง ที่ระบุความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและหน่วยงานความมั่นคงที่จะดูแลคุ้มครองความปลอดภัยของ
ประชาชน จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ ระดับความเชื่อมั่น เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กทม. รวมทั้งสิ้น
1 เชื่อมั่น 50.1 45.1 43.5 69.2 43.0 48.5
2 ไม่เชื่อมั่น 49.2 54.1 55.7 30.1 55.7 50.7
3 ไม่มีความเห็น 0.7 0.8 0.8 0.7 1.3 0.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละตัวอย่าง ที่ระบุความเห็นต่อการยุติความเคลื่อนไหวทางการเมืองของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรจำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กทม. รวมทั้งสิ้น
1 เห็นด้วย 63.6 60.9 60.1 85.3 59.4 64.2
2 ไม่เห็นด้วย 8.9 8.7 12.2 3.4 15.0 9.8
3 ไม่มีความเห็น 27.5 30.4 27.7 11.3 25.6 26.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อการยุติความเคลื่อนไหวทางการเมืองของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำแนก
ตามการเป็นสมาชิกพรรค
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน สมาชิกไทยรักไทย สมาชิกพรรคอื่น ประชาชนทั่วไป รวมทั้งสิ้น
1 เห็นด้วย 48.2 78.2 64.9 64.2
2 ไม่เห็นด้วย 20.2 5.5 9.0 9.8
3 ไม่มีความเห็น 31.6 16.3 26.1 26.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ การกลับประเทศของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กทม. รวมทั้งสิ้น
1 ควรกลับทันที 18.7 18.1 24.3 13.7 18.1 19.9
2 ควรรออีกระยะหนึ่ง 52.1 40.2 38.8 61.0 42.7 44.8
3 ไม่มีความเห็น 29.2 41.7 36.9 25.3 39.2 35.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเดือดร้อนของประชาชนที่ยังไม่เห็นรัฐบาลแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความเดือดร้อนของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ปัญหาเศรษฐกิจ 53.8
2 ปัญหาของเกษตรกร ที่ทำกิน พืชผลทางการเกษตร 49.1
3 ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยพิบัติ 42.7
4 ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 40.8
5 ปัญหายาเสพติด 39.7
6 ปัญหาคุณภาพเด็กเยาวชน (การไม่จัดระเบียบสังคม) 36.2
7 ด้านการศึกษาที่ด้อยคุณภาพ 34.4
8 ปัญหาทุจริต รีดไถประชาชนและการเลือกปฏิบัติของข้าราชการ 29.5
9 ปัญหาที่อยู่อาศัย และแหล่งเสื่อมโทรม 27.3
10 อื่นๆ เช่น แหล่งอบายมุข สาธารณูปโภคไม่มีคุณภาพ และกลุ่มผู้มีอิทธิพล เป็นต้น 13.6
ตารางที่ 8 แสดงความนิยมสนับสนุนของสาธารณชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เปรียบเทียบกับ พล.อ.สุรยุทธ์ จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ ความนิยมของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ / พล.อ.สุรยุทธ์ เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กทม. รวมทั้งสิ้น
1 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 50.6 42.7 40.7 79.6 39.2 48.2
2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 29.8 17.6 25.9 4.5 23.8 21.6
3 ไม่มีความเห็น 19.6 39.7 33.4 15.9 37.0 30.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
รัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เปรียบเทียบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชน
ที่อายุ 18 ปีขึ้นไปใน กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ กาญจนบุรี จันทบุรี นครปฐม สิงห์บุรี พิษณุโลก แพร่ เชียงราย
กาฬสินธุ์ มุกดาหาร สุรินทร์ อุบลราชธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 4,334 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 20 มกราคม — 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ประชาชนส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ และเมื่อสอบถามถึงความมั่นใจของประชาชนต่อความ
ปลอดภัยหลังเกิดเหตุลอบวางระเบิดที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.1 ไม่มั่นใจ โดยคนกรุงเทพฯ ร้อยละ 69.0 ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 68.9 และคนภาคกลาง ร้อยละ 67.6 รู้สึกไม่มั่นใจมากที่สุด
สำหรับความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและหน่วยงานความมั่นคงที่จะดูแลคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน พบว่าประชาชนจำนวนก้ำกึ่งกันคือร้อย
ละ 48.5 และร้อยละ 50.7 ที่รู้สึกเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่น ที่เหลือร้อยละ 0.8 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.2 เห็นด้วยต่อการยุติความเคลื่อนไหวทางการเมืองของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.
ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่ร้อยละ 9.8 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 26.0 ไม่มีความเห็น เมื่อจำแนกตามภูมิภาคยิ่งพบประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชน
ส่วนใหญ่ในทุกภูมิภาคแม้แต่คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณร้อยละ 60 เห็นด้วยที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จะยุติการเคลื่อนไหวทางการเมือง รวม
ไปถึงสมาชิกพรรคไทยรักไทย ซึ่งสำรวจพบว่าร้อยละ 48.2 เห็นด้วย ร้อยละ 20.2 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 31.6 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในการกลับประเทศ พบว่า ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 44.8 ระบุว่า
ควรรออีกระยะหนึ่ง ร้อยละ 19.9 ระบุว่าควรกลับทันที และร้อยละ 35.3 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ยังไม่เห็นรัฐบาลแก้ไขให้เกิดผล พบว่า ร้อยละ 53.8 ระบุเป็นปัญหาเศรษฐกิจ ร้อย
ละ 49.1 ระบุปัญหาที่ทำกิน ราคาพืชผลทางการเกษตร ร้อยละ 42.7 ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยพิบัติ ร้อยละ 40.8 ปัญหาความไม่
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 39.7 ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 36.2 ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน (การไม่จัดระเบียบสังคม) ร้อยละ 34.4
ปัญหาการศึกษาด้อยคุณภาพ ร้อยละ 29.5 ปัญหาทุจริต รีดไถประชาชนและการเลือกปฏิบัติของข้าราชการ และร้อยละ 27.3 ปัญหาที่อยู่อาศัยและแหล่ง
เสื่อมโทรม ที่เหลือร้อยละ 13.6 ระบุปัญหาอื่นๆ เช่น แหล่งอบายมุข สาธารณูปโภคไม่มีคุณภาพ และกลุ่มผู้มีอิทธิพล เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงคะแนนนิยมสนับสนุนของประชาชนต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชิน
วัตร พบว่า แนวโน้มความนิยมของประชาชนต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ ลดต่ำลงอย่างมากจากร้อยละ 70.5 ในเดือนพฤศจิกายน เหลือร้อยละ 48.2 ในผล
สำรวจล่าสุดครั้งนี้ ในขณะที่คะแนนนิยมของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กลับเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 15.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 21.6
ดร.นพดล กล่าวว่า คะแนนนิยมของสาธารณชนต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีที่ค้นพบครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ฐานสนับสนุนของ
ประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลอยู่ในช่วงขาลงอย่างน่าเป็นห่วง จึงขอให้สังคมช่วยกันพิจารณาสาเหตุและแนวทางแก้ไขอย่างน้อยสี่ประการดังนี้
ประการแรก ท่าทีของรัฐบาลและ คมช. นั่นเองที่เป็นมูลเหตุทำให้บรรดาข้าราชการใส่เกียร์ว่างและเกียร์ถอยหลัง เพราะรัฐบาลและ
คมช. มักคิดและทำแบบทหารที่จะ พูด สั่ง และทำเพียงครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น แต่การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจำเป็นต้องใช้วิธีการ
แบบฝ่ายการเมืองบ้าง นั่นคือ รัฐบาลและ คมช. ต้องหมั่นพูด สั่งและทำซ้ำๆ ย้ำแล้วย้ำอีกในปัญหาอื่นๆ ควบคู่ไปกับการสะสางปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
เช่น ปัญหาที่ทำกิน ปัญหาความยากจน ปัญหาหนี้สิน ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และปัญหายาเสพติด
ประการที่สอง กฎระเบียบราชการและงบประมาณไม่ถูกแก้ไขให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อน งบลับ งบพิเศษนอกจาก
งบปกติอาจไม่ได้ถูกนำไปใช้แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเท่าที่ควร และกลายเป็นข้ออ้างสำคัญของข้าราชการในการช่วยเหลือประชาชน
ประการที่สาม คนของรัฐบาลเริ่มวางตัวเหนือประชาชน จนทำให้กลไกติดตามของรัฐบาลมีปัญหาลงไปไม่ถึงกลุ่มประชาชนผู้เดือดร้อนอย่าง
ทั่วถึง รัฐบาลน่าจะติดตามตรวจสอบจากต้นทางของความช่วยเหลือจนถึงปลายทางด้วยความรวดเร็วฉับไว นายกรัฐมนตรีควรลงพื้นที่ที่เป็นปัญหาเดือด
ร้อนของประชาชนแบบกระทันหันไม่ให้เจอบรรดาผักชีโรยหน้าทั้งหลาย เพราะระยะหลังนี้บรรดารัฐมนตรีของรัฐบาลชุดนี้เริ่มมีพิธีรีตอง มีขบวนต้อนรับ
มากมาย บุคคลใกล้ชิดรัฐมนตรีเริ่มวางตัวเป็นผู้มีอิทธิพลผิดกับช่วงแรกๆ ของอายุรัฐบาลที่ทำคล้ายๆ กับเป็นรัฐบาลสามัญชนเข้าถึงประชาชนแบบคน
ธรรมดา
ประการที่สี่ มีช่องว่างระหว่าง รัฐบาล สื่อมวลชน และประชาธิปไตยที่แท้จริง เมื่อบรรดารัฐมนตรีวางตัวเหนือประชาชนย่อมเกิดช่องว่าง
ขึ้น และการสื่อสารไปยังประชาชนจึงมีปัญหา รัฐบาลและคมช. ควรเร่งอุดช่องว่างและสร้างความสมดุลของข้อมูลข่าวสารไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
ระหว่างการสะสางปัญหาทุจริตคอรัปชั่นและปัญหาความเดือดร้อนที่ใกล้ตัวประชาชน การทำงานด้านประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลจึงน่าจะสื่อสารย้ำเจตนา
รมย์ของรัฐบาลบ่อยๆ เช่น รัฐบาลเอาจริงเรื่องการแก้ปัญหายาเสพติด รัฐบาลกำลังช่วยเหลือแก้ปัญหาที่ทำกิน ความยากจนและหนี้สิน รัฐบาลกำลัง
สร้างระบบสังคมไทยที่เข้มแข็งและยั่งยืน และรัฐบาลจะคืนอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งใหม่มีประชาธิปไตยที่แท้จริงตามกำหนดเวลาที่วางไว้ หรืออาจจะ
เร็วกว่านั้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ประชาชนจะไม่อยู่เย็นเป็นสุขเพราะสูญเสียความเชื่อมั่น วิตกกังวล เครียด เริ่มขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น และสาธารณ
ชนไม่เห็นผลงานของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องที่ใกล้ตัวอื่นๆ เช่น ปัญหาที่ทำกิน ผลผลิตทางการเกษตร ปัญหาหนี้สิน
ปัญหายาเสพติด ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิต และความไม่เป็นธรรมในสังคมถ้ารัฐบาลและ คมช. มีความฉับไวแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนอย่าง
ต่อเนื่องและทำลายกำแพงขวางกั้นระหว่างหน่วยงานราชการและกรมกองต่างๆ ได้ การปรากฏตัวของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จะไม่มีทางสร้าง
แรงกระเพื่อมทางการเมืองภายในประเทศได้ เพราะรัฐบาล คมช. ข้าราชการและประชาชนตกผลึกเป็นเนื้อเดียวกัน
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารทางการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขจากรัฐบาล
3. เพื่อสำรวจมั่นใจของประชาชนต่อความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน หลังเกิดเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล
4. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลและหน่วยงานด้านความมั่นคงในการดูแลความปลอดภัยของประชาชน
5. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาททางการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
6. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สำรวจคะแนนนิยมของนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุ
ลานนท์ เปรียบเทียบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ” ในครั้งนี้ได้
ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปใน กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ กาญจนบุรี จันทบุรี นครปฐม
สิงห์บุรี พิษณุโลก แพร่ เชียงราย กาฬสินธ์ มุกดาหาร สุรินทร์ อุบลราชธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น
4,334 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 มกราคม — 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 18 จังหวัด
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,334 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขต
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้น
เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 46.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 23.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.9 ระบุอาชีพค้าขาย ธุรกิจส่วนตัวทั่วไป
ร้อยละ 22.5 ระบุเกษตรกรและรับจ้างแรงงาน
ร้อยละ 13.6 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.0 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 9.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 2.5 ระบุว่างงานไม่ได้ประกอบอาชีพใดๆ
ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.2 อยู่นอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 29.8 อยู่ในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 48.9
2 3-4 วัน 22.0
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 20.3
4 ไม่ได้ติดตาม 8.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความมั่นใจในความปลอดภัยหลังเกิดเหตุลอบวางระเบิดที่กรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ ระดับความมั่นใจ เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กทม. รวมทั้งสิ้น
1 มั่นใจ 46.7 31.9 30.6 49.1 30.7 36.4
2 ไม่มั่นใจ 52.8 67.6 68.9 50.2 69.0 63.1
3 ไม่มีความเห็น 0.5 0.5 0.5 0.7 0.3 0.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละตัวอย่าง ที่ระบุความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและหน่วยงานความมั่นคงที่จะดูแลคุ้มครองความปลอดภัยของ
ประชาชน จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ ระดับความเชื่อมั่น เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กทม. รวมทั้งสิ้น
1 เชื่อมั่น 50.1 45.1 43.5 69.2 43.0 48.5
2 ไม่เชื่อมั่น 49.2 54.1 55.7 30.1 55.7 50.7
3 ไม่มีความเห็น 0.7 0.8 0.8 0.7 1.3 0.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละตัวอย่าง ที่ระบุความเห็นต่อการยุติความเคลื่อนไหวทางการเมืองของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรจำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กทม. รวมทั้งสิ้น
1 เห็นด้วย 63.6 60.9 60.1 85.3 59.4 64.2
2 ไม่เห็นด้วย 8.9 8.7 12.2 3.4 15.0 9.8
3 ไม่มีความเห็น 27.5 30.4 27.7 11.3 25.6 26.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อการยุติความเคลื่อนไหวทางการเมืองของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำแนก
ตามการเป็นสมาชิกพรรค
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน สมาชิกไทยรักไทย สมาชิกพรรคอื่น ประชาชนทั่วไป รวมทั้งสิ้น
1 เห็นด้วย 48.2 78.2 64.9 64.2
2 ไม่เห็นด้วย 20.2 5.5 9.0 9.8
3 ไม่มีความเห็น 31.6 16.3 26.1 26.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ การกลับประเทศของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กทม. รวมทั้งสิ้น
1 ควรกลับทันที 18.7 18.1 24.3 13.7 18.1 19.9
2 ควรรออีกระยะหนึ่ง 52.1 40.2 38.8 61.0 42.7 44.8
3 ไม่มีความเห็น 29.2 41.7 36.9 25.3 39.2 35.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเดือดร้อนของประชาชนที่ยังไม่เห็นรัฐบาลแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความเดือดร้อนของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ปัญหาเศรษฐกิจ 53.8
2 ปัญหาของเกษตรกร ที่ทำกิน พืชผลทางการเกษตร 49.1
3 ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยพิบัติ 42.7
4 ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 40.8
5 ปัญหายาเสพติด 39.7
6 ปัญหาคุณภาพเด็กเยาวชน (การไม่จัดระเบียบสังคม) 36.2
7 ด้านการศึกษาที่ด้อยคุณภาพ 34.4
8 ปัญหาทุจริต รีดไถประชาชนและการเลือกปฏิบัติของข้าราชการ 29.5
9 ปัญหาที่อยู่อาศัย และแหล่งเสื่อมโทรม 27.3
10 อื่นๆ เช่น แหล่งอบายมุข สาธารณูปโภคไม่มีคุณภาพ และกลุ่มผู้มีอิทธิพล เป็นต้น 13.6
ตารางที่ 8 แสดงความนิยมสนับสนุนของสาธารณชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เปรียบเทียบกับ พล.อ.สุรยุทธ์ จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ ความนิยมของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ / พล.อ.สุรยุทธ์ เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กทม. รวมทั้งสิ้น
1 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 50.6 42.7 40.7 79.6 39.2 48.2
2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 29.8 17.6 25.9 4.5 23.8 21.6
3 ไม่มีความเห็น 19.6 39.7 33.4 15.9 37.0 30.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-