แท็ก
มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
สภาธุรกิจตลาดทุนไทย
สุขภัณฑ์กะรัต
นายกรัฐมนตรี
นพดล กรรณิกา
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “บรรยากาศการเมือง รัฐธรรมนูญและคุณลักษณะ
นายกรัฐมนตรีที่ประชาชนอยากได้: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน เขตกรุงเทพมหานคร” จำนวนทั้งสิ้น 1,373 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลา
การดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 21 -24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
เมื่อถามถึงบรรยากาศการเมืองไทยขณะนี้ พบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.1 เห็นว่าแย่ลงและแย่เหมือนเดิม มีเพียง
ร้อยละ 10.2 เห็นว่าดีเหมือนเดิม และร้อยละ 13.7 เท่านั้นที่เห็นว่าดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจก่อนหน้านี้เพียงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า
ประชาชนที่เห็นว่าบรรยากาศการเมืองไทยขณะนี้แย่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจยังพบอีกว่าประชาชนในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.9 เห็นว่าสถานการณ์การเมืองไทยไม่มีความ
ชัดเจน ในขณะที่ร้อยละ 17.4 เห็นว่ามีความชัดเจน และร้อยละ 18.7 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ที่น่าเป็นห่วงคือ คนกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.1 ไม่ทราบความหมายของ “รัฐธรรมนูญ” ซึ่งเป็น
จำนวนที่ต่ำกว่าผลรวมของการสำรวจทั่วประเทศก่อนหน้านี้ที่พบว่าคนทั่วประเทศร้อยละ 50.6 ไม่ทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ จึงสะท้อนให้เห็นว่า
แม้แต่ประชาชนที่อยู่ในเมืองหลวงของประเทศใกล้กับแหล่งข้อมูลข่าวสารแต่กลับไม่ทราบความหมายของ “รัฐธรรมนูญ” แล้วจะทำให้รัฐธรรมนูญเป็นของ
ประชาชนได้อย่างไร สอดคล้องกับผลสำรวจล่าสุดที่พบว่า ประชาชนร้อยละ 54.7 ไม่เชื่อมั่นว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเป็นของประชาชนทั่วประเทศได้
อย่างแท้จริง ในขณะที่ร้อยละ 29.1 ยังมีความเชื่อมั่น และร้อยละ 16.2 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.6 คิดว่า
จำเป็นต้องให้ประชาชนมีเวลาอ่านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนการลงประชามติ ร้อยละ 9.5 คิดว่าไม่จำเป็นและร้อยละ 18.9 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ คนกรุงเทพมหานครประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.4 ไม่มั่นใจว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ในปลายปี พ.ศ. 2550
นี้ ในขณะที่ร้อยละ 36.7 มั่นใจ และร้อยละ 13.9 ไม่มีความเห็น
สำหรับคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ประชาชนต้องการ ผลสำรวจพบว่า มี 5 คุณลักษณะสำคัญที่ประชาชนโหวตมาสูงสุดคือ อันดับหนึ่ง
ได้แก่ร้อยละ 79.5 ระบุต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต อันดับสองได้แก่ ร้อยละ 65.5 ระบุต้องมีความเป็นผู้นำ ร้อยละ 65.0 ระบุต้องกล้าคิด กล้าตัดสิน
ใจ ร้อยละ 65.0 ระบุต้องเข้าถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนด้วยความฉับไว และร้อยละ 56.8 ต้องมีความเสียสละ ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงการสนับสนุนของประชาชนเปรียบเทียบระหว่าง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร พบว่า การสนับ
สนุนของประชาชนคนกรุงเทพมหานครต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีแนวโน้มลดต่ำลงจากร้อยละ 39.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 34.8 ในขณะที่เสียงสนับสนุน
ต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กลับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 23.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 28.8 ที่เหลือไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม คนกรุงเทพมหานครเพียงร้อยละ 15.2 ที่คิดว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรกลับประเทศไทยขณะนี้ทันที ในขณะที่ร้อยละ
26.9 เห็นว่าควรรออีกระยะหนึ่งก่อน ร้อยละ 22.0 เห็นว่าควรกลับมาหลังการเลือกตั้ง และร้อยละ 35.9 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่ทุกฝ่ายควรพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่เกือบร้อยละร้อยหรือร้อยละ 97.6 อยากเห็นสังคมไทยสงบสุข โดยแยกออกเป็นร้อย
ละ 45.5 จะเลือกสังคมไทยที่มีความสงบสุขเมื่อถูกถามว่าจะเลือกอะไรระหว่างนายกรัฐมนตรีที่อยากได้กับสังคมไทยที่สงบสุข ในขณะที่ร้อยละ 52.1
จะเลือกทั้งนายกรัฐมนตรีที่อยากได้กับสังคมไทยที่สงบสุข และมีเพียงร้อยละ 2.4 เท่านั้นที่จะเลือกนายกรัฐมนตรีที่อยากได้โดยไม่คำนึงถึงความสงบสุข
ของสังคมไทย
ดร.นพดล ผ.อ.ศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า หากสถานการณ์ทางการเมืองเป็นเช่นนี้ต่อไป
จะไม่เป็นผลดีต่อประเทศอย่างแน่นอน เพราะคนกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ที่มักเป็นตัวแปรชี้ชะตาความเป็นไปของประเทศอยู่ในสภาวะที่นักสังคมวิทยา
เรียกว่า “ความแปลกแยกทางสังคม” ส่งผลกระทบทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้คนย่ำแย่ลงไปเรื่อยๆ และจะถึงจุดที่ทำลาย “ทุนทางสังคม” ของ
ชุมชนและประเทศโดยรวมให้ล่มสลายไป
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สาเหตุสำคัญมีอย่างน้อย 5 ประการคือ
ประการแรก รัฐบาลและกลไกตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลของรัฐบาลทักษิณยังไม่ประสบผลสำเร็จที่จะพิสูจน์ให้สาธารณชนเชื่อได้ว่า
รัฐบาลทักษิณทุจริตคอรัปชั่น
ประการที่สอง รัฐบาลที่ได้ภาพว่าซื่อสัตย์สุจริตภายใต้ภาพลักษณ์ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ยังไม่ทำให้ประชาชนเห็นได้ว่าจะทำให้
ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขมากกว่ารัฐบาลที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริตคอรัปชั่น
ประการที่สาม รัฐบาลสูญเสียฐานสนับสนุนของกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมบางกลุ่มไปเพราะทำให้ประชาชนผิดหวังและอาจถูกมองว่ามีการ
แทรกแซงล็อบบี้ของกลุ่มนายทุนในหลายเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายปกป้องคุณภาพเด็กและเยาวชน เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
กฎหมายที่สุ่มเสี่ยงกับการส่งเสริมสิ่งมอมเมาประชาชน และกฎหมายจัดระเบียบสังคมอื่นๆ เป็นต้น
ประการที่สี่ รัฐบาลและกลไกสำคัญของรัฐ กำลังเดินตามรอยและวิถีทางที่รัฐบาลทักษิณในเรื่องหลักๆ ที่เคยเป็นเหตุผลในการหักล้างโค่น
ล้มรัฐบาลทักษิณ เช่น การแทรกแซงสื่อมวลชน ในขณะที่ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นยังมีเกิดขึ้นไปทั่วพื้นที่ของประเทศโดยไม่สามารถจับมาดำเนินคดีให้เป็นเยี่ยง
อย่างของสังคมคุณธรรมได้
และประการที่ห้าคือ รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้เทียบเท่ากับรัฐบาลของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาผู้มีอิทธิพล
ปัญหาอบายมุข สื่อลามกอนาจาร และปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชนอื่นๆ
“สาเหตุสำคัญเหล่านี้ทำให้เกิดความหวั่นไหวในหมู่ประชาชนถึงขั้นยากที่จะฟื้นความเชื่อมั่นศรัทธาต่อระบบคุณธรรมของประเทศ ถ้ารัฐบาล
เล็งเห็นว่าบรรยากาศทางการเมืองจะเป็นเช่นนี้ต่อไป โดยไม่มีอะไรดีขึ้นไปกว่านี้อีกทางออกที่ดีที่สุดของรัฐบาลชุดนี้คือ เร่งสร้างระบบสังคมใหม่ให้
เสร็จภายใน 3 - 4 เดือน ลด“ความแปลกแยกทางสังคม” ในหมู่ประชาชน และคืนอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งโดยเร็ว” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบรรยากาศและสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรณีประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “บรรยากาศการเมือง รัฐธรรมนูญและคุณลักษณะนายก
รัฐมนตรีที่ประชาชนอยากได้: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน เขตกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มี
อายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21 -24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,373 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 49.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 50.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.9 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 22.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.0 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 19.6 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 12.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 4.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.5 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุความคิดเห็นต่อบรรยากาศทางการเมืองในขณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบ
กับช่วงต้นปี 2549 ที่มีการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อบรรยากาศทางการเมือง 17 กุมภาพันธ์ 2550 ค่าร้อยละ 24 กุมภาพันธ์ 2550 ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้น 16.4 13.7
2 ดีเหมือนเดิม 13.9 10.2
3 แย่เหมือนเดิม 38.2 37.3
4 แย่ลง 31.5 38.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็น ต่อความชัดเจนของสถานการณ์การเมืองไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มีความชัดเจน 17.4
2 ไม่มีความชัดเจน 63.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 18.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหมายของรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความหมายของรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ไม่ทราบความหมาย 64.1
2 กฎหมายสูงสุดของประเทศ/กฏหมายที่ใช้ในการบริหารประเทศ 16.7
3 กฏ/ข้อบังคับ/แนวทางในการปฏิบัติซึ่งจะทำให้บ้านเมืองสงบสุข 3.8
4 ประชาธิปไตย 3.1
5 การปกครองประเทศ 3.1
6 กฏหมายสูงสุดที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร 2.0
6 ร่างกฏหมายโดยชอบธรรมจากตัวแทนของประชาชน 1.6
7 อื่นๆ อาทิ สิทธิของประชาชน/ความเท่าเทียมกัน/โครงสร้างปกครองประเทศ/ความเป็นธรรม/ความยุติธรรม 5.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ผลสำรวจทั่วประเทศ 23 จังหวัด พบว่าร้อยละ 50.6 ไม่ทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นว่าจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นของประชาชนทั้งประเทศ อย่างแท้จริง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 29.1
2 ไม่เชื่อมั่น 54.7
3 ไม่มีความคิดเห็น 16.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีความจำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนมีเวลาอ่าน
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนการลงประชามติ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 จำเป็น 71.6
2 ไม่จำเป็น 9.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 18.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ในปลายปี พ.ศ. 2550
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 36.7
2 ไม่มั่นใจ 49.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 13.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุลักษณะของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ต้องการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มีความซื่อสัตย์สุจริต 79.5
2 มีความเป็นผู้นำ 65.5
3 กล้าคิด กล้าตัดสินใจ 65.0
4 เข้าถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนด้วยความฉับไว 65.0
5 มีความเสียสละ 56.8
6 มีความทุ่มเททำงานหนัก 49.1
7 มีความอดทน 48.2
8 มีผลงานเด่นชัด 43.4
9 ไม่เบียดเบียนผู้อื่น 39.3
10 มีความสุภาพอ่อนโยน 37.5
11 การบริจาค/การให้ทาน 15.9
12 มีความสำเร็จทางธุรกิจ /ร่ำรวย 9.5
13 จบปริญญาเอก 6.9
ตารางที่ 8 แสดงการสนับสนุนของตัวอย่างที่มีต่อพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เปรียบเทียบกับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ การสนับสนุน 3 กุมภาพันธ์ 50ค่าร้อยละ 24 กุมภาพันธ์ 50ค่าร้อยละ
1 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ 39.2 34.8
2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 23.8 28.8
3 ไม่มีความเห็น 37.0 36.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการกลับมาประเทศไทยของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรกลับมาทันที 15.2
2 ควรรออีกระยะหนึ่งก่อน 26.9
3 ควรกลับมาหลังเลือกตั้ง 22.0
4 ไม่มีความเห็น 35.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ต้องการจะเลือกระหว่าง นายกรัฐมนตรีที่อยากได้กับสังคมไทยที่สงบสุข
ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการจะเลือก ค่าร้อยละ
1 เลือกนายกรัฐมนตรีที่อยากได้ 2.4
2 เลือกสังคมไทยที่สงบสุข 45.5
3 เลือกทั้งสองอย่าง (ทั้งสังคมที่สงบสุขและนายกฯ ที่อยากได้) 52.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacsimba.au.edu
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “บรรยากาศการเมือง รัฐธรรมนูญและคุณลักษณะ
นายกรัฐมนตรีที่ประชาชนอยากได้: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน เขตกรุงเทพมหานคร” จำนวนทั้งสิ้น 1,373 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลา
การดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 21 -24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
เมื่อถามถึงบรรยากาศการเมืองไทยขณะนี้ พบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.1 เห็นว่าแย่ลงและแย่เหมือนเดิม มีเพียง
ร้อยละ 10.2 เห็นว่าดีเหมือนเดิม และร้อยละ 13.7 เท่านั้นที่เห็นว่าดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจก่อนหน้านี้เพียงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า
ประชาชนที่เห็นว่าบรรยากาศการเมืองไทยขณะนี้แย่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจยังพบอีกว่าประชาชนในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.9 เห็นว่าสถานการณ์การเมืองไทยไม่มีความ
ชัดเจน ในขณะที่ร้อยละ 17.4 เห็นว่ามีความชัดเจน และร้อยละ 18.7 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ที่น่าเป็นห่วงคือ คนกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.1 ไม่ทราบความหมายของ “รัฐธรรมนูญ” ซึ่งเป็น
จำนวนที่ต่ำกว่าผลรวมของการสำรวจทั่วประเทศก่อนหน้านี้ที่พบว่าคนทั่วประเทศร้อยละ 50.6 ไม่ทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ จึงสะท้อนให้เห็นว่า
แม้แต่ประชาชนที่อยู่ในเมืองหลวงของประเทศใกล้กับแหล่งข้อมูลข่าวสารแต่กลับไม่ทราบความหมายของ “รัฐธรรมนูญ” แล้วจะทำให้รัฐธรรมนูญเป็นของ
ประชาชนได้อย่างไร สอดคล้องกับผลสำรวจล่าสุดที่พบว่า ประชาชนร้อยละ 54.7 ไม่เชื่อมั่นว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเป็นของประชาชนทั่วประเทศได้
อย่างแท้จริง ในขณะที่ร้อยละ 29.1 ยังมีความเชื่อมั่น และร้อยละ 16.2 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.6 คิดว่า
จำเป็นต้องให้ประชาชนมีเวลาอ่านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนการลงประชามติ ร้อยละ 9.5 คิดว่าไม่จำเป็นและร้อยละ 18.9 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ คนกรุงเทพมหานครประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.4 ไม่มั่นใจว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ในปลายปี พ.ศ. 2550
นี้ ในขณะที่ร้อยละ 36.7 มั่นใจ และร้อยละ 13.9 ไม่มีความเห็น
สำหรับคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ประชาชนต้องการ ผลสำรวจพบว่า มี 5 คุณลักษณะสำคัญที่ประชาชนโหวตมาสูงสุดคือ อันดับหนึ่ง
ได้แก่ร้อยละ 79.5 ระบุต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต อันดับสองได้แก่ ร้อยละ 65.5 ระบุต้องมีความเป็นผู้นำ ร้อยละ 65.0 ระบุต้องกล้าคิด กล้าตัดสิน
ใจ ร้อยละ 65.0 ระบุต้องเข้าถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนด้วยความฉับไว และร้อยละ 56.8 ต้องมีความเสียสละ ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงการสนับสนุนของประชาชนเปรียบเทียบระหว่าง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร พบว่า การสนับ
สนุนของประชาชนคนกรุงเทพมหานครต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีแนวโน้มลดต่ำลงจากร้อยละ 39.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 34.8 ในขณะที่เสียงสนับสนุน
ต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กลับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 23.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 28.8 ที่เหลือไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม คนกรุงเทพมหานครเพียงร้อยละ 15.2 ที่คิดว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรกลับประเทศไทยขณะนี้ทันที ในขณะที่ร้อยละ
26.9 เห็นว่าควรรออีกระยะหนึ่งก่อน ร้อยละ 22.0 เห็นว่าควรกลับมาหลังการเลือกตั้ง และร้อยละ 35.9 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่ทุกฝ่ายควรพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่เกือบร้อยละร้อยหรือร้อยละ 97.6 อยากเห็นสังคมไทยสงบสุข โดยแยกออกเป็นร้อย
ละ 45.5 จะเลือกสังคมไทยที่มีความสงบสุขเมื่อถูกถามว่าจะเลือกอะไรระหว่างนายกรัฐมนตรีที่อยากได้กับสังคมไทยที่สงบสุข ในขณะที่ร้อยละ 52.1
จะเลือกทั้งนายกรัฐมนตรีที่อยากได้กับสังคมไทยที่สงบสุข และมีเพียงร้อยละ 2.4 เท่านั้นที่จะเลือกนายกรัฐมนตรีที่อยากได้โดยไม่คำนึงถึงความสงบสุข
ของสังคมไทย
ดร.นพดล ผ.อ.ศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า หากสถานการณ์ทางการเมืองเป็นเช่นนี้ต่อไป
จะไม่เป็นผลดีต่อประเทศอย่างแน่นอน เพราะคนกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ที่มักเป็นตัวแปรชี้ชะตาความเป็นไปของประเทศอยู่ในสภาวะที่นักสังคมวิทยา
เรียกว่า “ความแปลกแยกทางสังคม” ส่งผลกระทบทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้คนย่ำแย่ลงไปเรื่อยๆ และจะถึงจุดที่ทำลาย “ทุนทางสังคม” ของ
ชุมชนและประเทศโดยรวมให้ล่มสลายไป
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สาเหตุสำคัญมีอย่างน้อย 5 ประการคือ
ประการแรก รัฐบาลและกลไกตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลของรัฐบาลทักษิณยังไม่ประสบผลสำเร็จที่จะพิสูจน์ให้สาธารณชนเชื่อได้ว่า
รัฐบาลทักษิณทุจริตคอรัปชั่น
ประการที่สอง รัฐบาลที่ได้ภาพว่าซื่อสัตย์สุจริตภายใต้ภาพลักษณ์ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ยังไม่ทำให้ประชาชนเห็นได้ว่าจะทำให้
ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขมากกว่ารัฐบาลที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริตคอรัปชั่น
ประการที่สาม รัฐบาลสูญเสียฐานสนับสนุนของกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมบางกลุ่มไปเพราะทำให้ประชาชนผิดหวังและอาจถูกมองว่ามีการ
แทรกแซงล็อบบี้ของกลุ่มนายทุนในหลายเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายปกป้องคุณภาพเด็กและเยาวชน เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
กฎหมายที่สุ่มเสี่ยงกับการส่งเสริมสิ่งมอมเมาประชาชน และกฎหมายจัดระเบียบสังคมอื่นๆ เป็นต้น
ประการที่สี่ รัฐบาลและกลไกสำคัญของรัฐ กำลังเดินตามรอยและวิถีทางที่รัฐบาลทักษิณในเรื่องหลักๆ ที่เคยเป็นเหตุผลในการหักล้างโค่น
ล้มรัฐบาลทักษิณ เช่น การแทรกแซงสื่อมวลชน ในขณะที่ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นยังมีเกิดขึ้นไปทั่วพื้นที่ของประเทศโดยไม่สามารถจับมาดำเนินคดีให้เป็นเยี่ยง
อย่างของสังคมคุณธรรมได้
และประการที่ห้าคือ รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้เทียบเท่ากับรัฐบาลของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาผู้มีอิทธิพล
ปัญหาอบายมุข สื่อลามกอนาจาร และปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชนอื่นๆ
“สาเหตุสำคัญเหล่านี้ทำให้เกิดความหวั่นไหวในหมู่ประชาชนถึงขั้นยากที่จะฟื้นความเชื่อมั่นศรัทธาต่อระบบคุณธรรมของประเทศ ถ้ารัฐบาล
เล็งเห็นว่าบรรยากาศทางการเมืองจะเป็นเช่นนี้ต่อไป โดยไม่มีอะไรดีขึ้นไปกว่านี้อีกทางออกที่ดีที่สุดของรัฐบาลชุดนี้คือ เร่งสร้างระบบสังคมใหม่ให้
เสร็จภายใน 3 - 4 เดือน ลด“ความแปลกแยกทางสังคม” ในหมู่ประชาชน และคืนอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งโดยเร็ว” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบรรยากาศและสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรณีประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “บรรยากาศการเมือง รัฐธรรมนูญและคุณลักษณะนายก
รัฐมนตรีที่ประชาชนอยากได้: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน เขตกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มี
อายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21 -24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,373 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 49.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 50.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.9 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 22.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.0 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 19.6 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 12.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 4.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.5 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุความคิดเห็นต่อบรรยากาศทางการเมืองในขณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบ
กับช่วงต้นปี 2549 ที่มีการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อบรรยากาศทางการเมือง 17 กุมภาพันธ์ 2550 ค่าร้อยละ 24 กุมภาพันธ์ 2550 ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้น 16.4 13.7
2 ดีเหมือนเดิม 13.9 10.2
3 แย่เหมือนเดิม 38.2 37.3
4 แย่ลง 31.5 38.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็น ต่อความชัดเจนของสถานการณ์การเมืองไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มีความชัดเจน 17.4
2 ไม่มีความชัดเจน 63.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 18.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหมายของรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความหมายของรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ไม่ทราบความหมาย 64.1
2 กฎหมายสูงสุดของประเทศ/กฏหมายที่ใช้ในการบริหารประเทศ 16.7
3 กฏ/ข้อบังคับ/แนวทางในการปฏิบัติซึ่งจะทำให้บ้านเมืองสงบสุข 3.8
4 ประชาธิปไตย 3.1
5 การปกครองประเทศ 3.1
6 กฏหมายสูงสุดที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร 2.0
6 ร่างกฏหมายโดยชอบธรรมจากตัวแทนของประชาชน 1.6
7 อื่นๆ อาทิ สิทธิของประชาชน/ความเท่าเทียมกัน/โครงสร้างปกครองประเทศ/ความเป็นธรรม/ความยุติธรรม 5.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ผลสำรวจทั่วประเทศ 23 จังหวัด พบว่าร้อยละ 50.6 ไม่ทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นว่าจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นของประชาชนทั้งประเทศ อย่างแท้จริง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 29.1
2 ไม่เชื่อมั่น 54.7
3 ไม่มีความคิดเห็น 16.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีความจำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนมีเวลาอ่าน
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนการลงประชามติ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 จำเป็น 71.6
2 ไม่จำเป็น 9.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 18.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ในปลายปี พ.ศ. 2550
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 36.7
2 ไม่มั่นใจ 49.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 13.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุลักษณะของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ต้องการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มีความซื่อสัตย์สุจริต 79.5
2 มีความเป็นผู้นำ 65.5
3 กล้าคิด กล้าตัดสินใจ 65.0
4 เข้าถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนด้วยความฉับไว 65.0
5 มีความเสียสละ 56.8
6 มีความทุ่มเททำงานหนัก 49.1
7 มีความอดทน 48.2
8 มีผลงานเด่นชัด 43.4
9 ไม่เบียดเบียนผู้อื่น 39.3
10 มีความสุภาพอ่อนโยน 37.5
11 การบริจาค/การให้ทาน 15.9
12 มีความสำเร็จทางธุรกิจ /ร่ำรวย 9.5
13 จบปริญญาเอก 6.9
ตารางที่ 8 แสดงการสนับสนุนของตัวอย่างที่มีต่อพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เปรียบเทียบกับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ การสนับสนุน 3 กุมภาพันธ์ 50ค่าร้อยละ 24 กุมภาพันธ์ 50ค่าร้อยละ
1 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ 39.2 34.8
2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 23.8 28.8
3 ไม่มีความเห็น 37.0 36.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการกลับมาประเทศไทยของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรกลับมาทันที 15.2
2 ควรรออีกระยะหนึ่งก่อน 26.9
3 ควรกลับมาหลังเลือกตั้ง 22.0
4 ไม่มีความเห็น 35.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ต้องการจะเลือกระหว่าง นายกรัฐมนตรีที่อยากได้กับสังคมไทยที่สงบสุข
ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการจะเลือก ค่าร้อยละ
1 เลือกนายกรัฐมนตรีที่อยากได้ 2.4
2 เลือกสังคมไทยที่สงบสุข 45.5
3 เลือกทั้งสองอย่าง (ทั้งสังคมที่สงบสุขและนายกฯ ที่อยากได้) 52.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacsimba.au.edu
--เอแบคโพลล์--
-พห-